“ฟอร์ด มีความยินดีที่ได้ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาแก่นักเรียนไทยอย่างต่อเนื่อง การประกวดสุดยอดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ในโครงการทุนการศึกษา Go Further Innovator Scholarship เป็นเวทีที่ให้โอกาสเด็กไทยได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ และเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ในการคิดค้นนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อนำไปพัฒนาและแก้ไขปัญหาการใช้รถใช้ถนนในประเทศไทย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้นำมาเข้าประกวดกันในครั้งนี้ล้วนแต่มีไอเดียที่แปลกใหม่ น่าสนใจ ซึ่งแต่ละไอเดียเป็นผลมาจากความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งใกล้ตัวในชีวิตประจำวันของเราที่บางครั้งอาจนึกไม่ถึง ฟอร์ด เชื่อว่าสิ่งใหม่ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดและพัฒนามาจากผลงานในที่นี้ จะสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่มีมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจในอนาคต”
การประกวดเฟ้นหาสุดยอด “สิ่งประดิษฐ์เพื่อทุกชีวิตปลอดภัยบนท้องถนน” ของโครงการทุนการศึกษา Go Further Innovator Scholarship ในปี 2018 ได้รับเกียรติจาก ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กษมา ถาวร กรรมการผู้จัดการ บริษัท กษมา เฮลิคอปเตอร์ จำกัด และคมสัน นันทจิต นักแสดงและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ให้เกียรติร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน
ผลงานชนะเลิศระดับอุดมศึกษา เป็นผลงาน “สีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืน” ของ ดลชนก ดรุณวรรณ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยผลิตภัณฑ์สีเรืองแสงสูตรใหม่นี้ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยนำสาร Optical brightener ไปผสมในเนื้อสี ซึ่งสาร Optical brightener ที่อยู่ในเนื้อสีนี้จะทำปฏิกิริยากับแสงไฟหน้ารถของรถที่ขับผ่าน หรือแสงจากหลอดไฟในบริเวณใกล้เคียง แล้วเกิดการเปล่งแสงขึ้นมาโดยกระบวนการเรืองแสง สีเรืองแสงสูตรใหม่นี้สามารถนำไปใช้ทาบนพื้นถนน ทางจักรยาน ทางเดิน หรือป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสว่างและทัศนวิสัยให้แก่ผู้ขับขี่ยานยนต์ และผู้ใช้เส้นทางในเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนถนนและบริเวณที่ไม่มีไฟถนน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน
สำหรับผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับอาชีวศึกษา ได้แก่ ผลงาน “ระบบแจ้งเตือนสัญญาณไฟแผงหน้าปัดรถยนต์ด้วยเสียง” จากทีมวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ซึ่งในทีมประกอบด้วย ภานุรุจ นิลรัตน์ ณัฐกานต์ ปานสุวรรณ และวีระพล บุญจันทร์ โดยสิ่งประดิษฐ์จะทำงานเมื่อเซนเซอร์ในรถยนต์ตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบ โดยระบบจะมีการแจ้งเตือนไปยังหน้าปัดเรือนไมล์รถยนต์ ทำให้ Arduino Uno R3 ตรวจจับได้ว่ามีความผิดปกติ และจะสั่งให้โมดูล SD Card ทำการเล่นเสียงที่บันทึกไว้ของเซนเซอร์ต่างๆ ออกลำโพง ทำให้ทราบถึงรายละเอียดของเซนเซอร์ที่มีความผิดปกติ และข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ ทำให้สามารถรู้ได้ทันทีว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับรถยนต์ โดยสิ่งประดิษฐ์นี้สามารถนำไปต่อยอดกับบริษัทผลิตรถยนต์ หรือทำเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ในอนาคตได้
นอกจากนี้ นักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษา ยังมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการ Ford Driving Skills for Life หรือโครงการฉลาด ขับ ประหยัด ปลอดภัย ซึ่งเป็นกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการขับขี่ปลอดภัยจากฟอร์ด โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทั้งยังสามารถนำข้อมูลและความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ขับขี่จริงบนท้องถนน ในปีนี้ ฟอร์ด ได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 และมีผู้ผ่านการอบรมในประเทศไทยแล้วกว่า 12,000 ราย
บทความแนะนำ