Leipzig-บริษัทที่ปรึกษาของ Kearney ร่วมกับ Süddeutscher Verlag Veranstaltungen และนิตยสารการค้า Produktion ประกาศมอบรางวัล "โรงงานยอดเยี่ยมแห่งปี" ประจำปี 2567 แก่โรงงาน Porsche ในเมือง Leipzig ประเทศเยอรมนี ที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง และสร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในการเยี่ยมชมเมื่อฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา โดยมีโรงงานเกือบ 100 แห่งจากทั่วโลกที่เข้าร่วมชิงรางวัลอันทรงเกียรตินี้
โรงงานอัจฉริยะที่ผสมผสานนวัตกรรม ประหยัดทรัพยากร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Porsche มุ่งสู่อนาคตแห่งการผลิตยานยนต์ด้วย โรงงานอัจฉริยะ ที่ผสมผสานเทคโนโลยีล้ำสมัย เข้ากับแนวทางการผลิตที่ยั่งยืน และยืดหยุ่น โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดทรัพยากร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หัวใจสำคัญ ของโรงงานอัจฉริยะ คือ กระบวนการผลิตแบบผสมผสาน ที่ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและมีความซับซ้อนสูง ซึ่งสามารถรองรับการผลิตรถยนต์หลากหลายรูปแบบ บนสายการประกอบเดียว ไม่ว่าจะเป็นระบบขับเคลื่อนแบบเผาไหม้ ไฮบริด หรือไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีระบบเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น ระบบตรวจสอบแบทเตอรีด้วยกล้องสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และระบบการวัดเกลียวสกรูอัตโนมัติ
เทคโนโลยีล้ำสมัยจากแผนกพ่นสี ในอดีตสมาชิกในแผนกพ่นสีจะตรวจสอบชั้นเคลือบสีด้วยสายตา แต่ปัจจุบัน ระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะได้เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ ด้วยระบบตรวจจับข้อผิดพลาดอัตโนมัติ (Automatic Error Detection-AFE) ที่เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี 2023 ซึ่งใช้เวลาเพียง 70 วินาที หุ่นยนต์ 2 ตัวจะสแกนพื้นผิวด้านนอกทั้งหมดของตัวรถด้วยแถบแสงจากภาพถ่ายประมาณ 100,000 ภาพ ระบบสามารถวิเคราะห์การสะท้อนแสงเพื่อระบุความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย จากผลลัพธ์ที่ได้ คอมพิวเตอร์ประมวลผลภาพ 5 เครื่องจะสร้างภาพร่างแบบ 3 มิติ ซึ่งแสดงให้พนักงานเห็นตำแหน่งและประเภทของสิ่งผิดปกติที่ตรวจพบได้อย่างรวด เร็ว
ความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จในอนาคต
Porsche ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยตั้งเป้าที่จะลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด และวิสัยทัศน์อีกประการของโรงงาน Zero Impact คือ การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณภาพอากาศ โดยตั้งแต่ปี 2560 โรงงานในเมืองไลพ์ซิกใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเท่านั้น และการผลิตที่โรงงานในเมือง Leipzig มีความเป็นกลางจากแกสคาร์บอนไดออกไซด์มาตั้งแต่ปี 2564 โรงงานได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ 4 ระบบ สำหรับกำลังการผลิตรวมประมาณ 9.4 MWP เพื่อการสร้างไฟฟ้าภายในโรง งาน Porsche ตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยแกสคาร์บอนให้เป็นกลาง (Carbon-Neutral) ตลอดจนสร้างห่วงโซ่ที่มีคุณภาพสำหรับรถยนต์ที่ผลิตใหม่ภายในปี 2573
นอกเหนือจากการประหยัดทรัพยากรในการผลิตแล้ว Porsche ยังได้แสดงความมุ่งมั่นต่อสังคมในเมือง Leipzig อีกด้วย ผู้ผลิตรถสปอร์ทรายนี้สนับสนุนโครงการในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัฒนธรรมสังคม กีฬา และสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ของโรงงานยังรวมถึงโครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่ประมาณ 132 Hectare มานานกว่า 20 ปี โรงงานได้ใช้แนวคิด การเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้า ที่อิงตามระบบธรรมชาติ นอกเหนือจากการเลี้ยงวัวพันธุ์ Heck และม้าพันธุ์ Exmoor แล้ว Porsche ยังได้นำพาผึ้ง Honeybees ประมาณ 3 ล้านตัวมาอยู่ที่นี่ ซึ่งพื้นที่ธรรมชาตินี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และพืชหลายชนิดอีกด้วย
ในปี 2545 โรงงานPorsche ในเมือง Leipzig ได้เปิดดำเนินการ เป็นโรงงานผลิตแห่งที่ 2 ของ Porsche รองจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทในเมือง Stuttgart-Zuffenhausen ปัจจุบัน โรงงานแห่งนี้เป็นสถานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ และนับว่าเป็นผู้สร้างงานในภูมิภาคเยอรมนีตอนกลาง เพราะมีพนักงานมากกว่า 4,600 คน มีการผลิตรถยนต์ Porsche Macan และ Panamera ที่นี่ โรงงานแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ Porsche Experience Centre ซึ่งมีสนามแข่งที่ได้รับการรับรองจาก FIA และสนามออฟโรดอีกด้วย
บทความแนะนำ