พิเศษ(formula)
พูดจาภาษา เอฟ-1
ABORTED START
การยกเลิกการเริ่มต้นการแข่งขัน จะพิจารณาสั่งการโดยนายสนามเพื่อความปลอดภัยเป็นหลักไม่ว่าจากสภาพอากาศ สภาพภายในสนามแข่ง เช่นรถแข่งที่ไม่สามารถติดเครื่องเพื่อเข้าร่วม ฟอร์เมชันแลพ(FORMATION LAP) ได้ นายสนามต้องสั่งเลื่อนการสตาร์ทเพื่อให้เวลาสำหรับการเคลื่อนย้ายรถออกจากกริดสตาร์ท
AERODYNAMICS
หลักวิศวกรรมเกี่ยวกับการไหลเวียของอากาศที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ
AERODYNAMICS BALANCE
ค่าความสมดุลของรถที่เกิดจากผลทางอากาศพลศาสตร์ คิดจากสัดส่วนของแรงกดที่เกิดขึ้นในส่วนหน้าต่อแรงกดรวมที่เกิดขึ้นทั้งคัน หากมีสัดส่วนแรงกดมาก รถจะมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการโอเวอร์สเตียร์ ถ้าแรงกดลดลงรถจะมีอาการอันเดอร์สเตียร์
AERODYNAMIC EFFICIENCY
สัดส่วนของแรงกดทางอากาศพลศาสตร์รวมทั้งคันต่อแรงฉุดที่เกิดขึ้นซึ่งในรถที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีจะมีแรงกดมาก และแรงฉุดน้อย
AEROFOILS
แผ่นดักลมที่ถูกออกแบบให้เกิดแรงกดสูงสุด เพื่อให้เกิดแรงกด (DOWN FORCE) ในส่วนที่ต้องการเพื่อให้รถมีประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนตามต้องการ
AIRBOX
ช่องดักลมมีตำแหน่งที่อยู่ข้างหลังนักแข่ง ทำหน้าที่ดักลม และป้อนอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์
APEX
จุดที่นักแข่งจะเบียดเข้าชิดโค้งในมากที่สุด ซึ่งตำแหน่งนี้จะอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับจุดยอดโค้งในมากที่สุด
AQUAPLANING
อาการเหินน้ำของรถแข่ง เนื่องจากหน้ายางไม่สามารถรีดน้ำออกได้หมดจะทำให้เกิดแรงดันที่จะยกให้ยางลอยตัวขึ้นจากผิวทางวิ่ง
BALLAST
ก้อนน้ำหนักที่ใส่ถ่วงรถแข่งโดยการยึดติดกับตัวรถ ด้วยจุดประสงค์ให้รถมีน้ำหนักรวมไม่ต่ำกว่า 600 กก. ตามที่กติกากำหนด
BARGEBOARD/DEFLECTORS
แผ่นดักลมที่ทำหน้าที่ต้อนให้กระแสลมไหลออกไปด้านข้างของตัวรถ
BLACK BOX/ADR
กล่องดำ หรือกล่องบันทึกข้อมูลการขับขี่ ซึ่ง เอฟไอเอ บังคับให้รถแข่งทุกคันติดตั้งกล่องบันทึกข้อมูลการขับขี่เพื่อเป็นข้อมูลในการสอบหาสาเหตุของอุบัติเหตุ
BLISTERING
เมื่อยางมีอูณหภูมิสูงเกินกำหนดจะทำให้ฟองอากาศในเนื้อยางขยายตัวขึ้นและจะทำให้ยางในส่วนนั้นหลุดร่อนออกจากโครงผ้าใบหน้ายาง
BOTTOMING
อาการที่ส่วนใต้ท้องของตัวรถกระแทกกับพื้นทางวิ่งขณะใช้ความเร็วสูง
BRAKE BALANCE
ค่าของสัดส่วนแรงดันเบรคในล้อหน้า และล้อหลัง ซึ่งนักแข่งสามารถเลือกปรับเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสนามและรูปแบบการขับของนักแข่งแต่ละคน
CAD/CAM
คำย่อของคำว่า COMPUTER-AIDED DESIGN และ COMPUTER AIDED MANUFACTUREซึ่งโพรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เข้ามาช่วยใช้งานออกแบบ และสร้างรถ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบรูปทรงการคำนวณการรับแรงของโครงสร้าง ฯลฯ
CARBON FIBRE
ใยของคาร์บอน ซึ่งมีความบางเหนียว และแข็งแกร่ง สามารถถักเป็นผืนได้มักจะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบหลายๆส่วนในรถ โดยเฉพาะในการขึ้นรูปตัวรถ
CENTRE OF PRESSURE
ตำแหน่งจุดศูนย์กลางแรงกดทางอากาศพลศาสตร์สูงสุดบนตัวรถ
CFD
COMPUTATIONAL FLUID DYNAMICS : อีกกรรมวิธีหนึ่งในการวัดค่าความลื่นไหลที่เกิดขึ้นบนตัวรถโดยใช้ของเหลว เพื่อช่วยในการออกแบบรถแข่งโดยปกติจะใช้ CFD ร่วมกับการออกแบบในอุโมงค์ลม และทดสอบจริงในสนามทดสอบ
CHASSIS
ส่วนโครงสร้างของตัวรถที่เป็นจุดยึดของเครื่องยนต์ และระบบรองรับ
CHICANE
ทางโค้งที่กำหนดขึ้นในแทรค เพื่อเป็นการช่วยลดความเร็วของรถแข่งลงโดยเฉพาะในจุดที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ความเร็วสูงเกินไป
CLEAN AIR
มวลอากาศที่ไหลเข้าสู่ตัวรถโดยไม่ถูกรบกวนจากรถแข่งคันหน้าซึ่งจะมีผลให้แผ่นดักลมสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
CLERK OF THE COURSE/RACE DIRECTOR
นายสนาม ผู้ควบคุม ตัดสินใจในระหว่างการแข่งขันรถ
COCKPIT
ตัวรถในส่วนที่เป็นที่นั่งของนักแข่ง
CRASH TEST
การทดสอบการชนเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของนักแข่ง อย่างน้อยต้องผ่านการทดสอบการชนในด้านหน้า ด้านข้างและด้านท้าย
DAMPER
ชอคแอบซอร์เบอร์ หรือชอคอับ ทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกจากผิวทางวิ่งและควบคุมความเร็วของการเคลื่อนตัวของระบบรองรับให้มีความเร็วตามต้องการ
DIFFUSER
มีลักษณะเป็นแผ่นรีดอากาศอยู่ในส่วนท้ายรถ ทำหน้าที่ในการรีดส่งอากาศออกไปด้านท้ายอย่างเป็นระเบียบเพื่อลดกระแสลมหมุนวน (TURBULANCE) ซึ่งเป็นสาเหตุของแรงฉุด
DOWNFORCE
แรงกดที่เกิดจากหลักการทางอากาศพลศาสตร์ ช่วยกดตัวรถในส่วนที่ต้องการ เพื่อประสิทธิภาพการยึดเกาะสูงสุด
DRAG
แรงฉุดเกิดขึ้นจากผลทางด้านอากาศพลศาสตร์ ซี่งจะเกิดในทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนตัวของรถที่ทำให้รถไม่สามารถทำความเร็วได้ตามต้องการ
DRIVE BY WIRE THROTTLE
การควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ด้วยการส่งสัญญาณจากแป้นคันเร่งไปยังเครื่องยนต์ด้วยระบบอีเลคทรอนิคซึ่งจะมีการทำงานที่แม่นยำกว่าด้วยสายคันเร่ง
DRIVER AIDS
เป็นโพรแกรมที่ป้อนเข้าไปใน ECU เพื่อให้รถสามารถใช้กำลังสูงสุด โดยไม่มีอาการล้อหมุนฟรีระบบนี้จะมีบทบาทมากในขณะเริ่มต้นการแข่งขัน และการเปลี่ยนเกียร์
DRIVESHAFT
เพลาส่งกำลังซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังจากห้องเกียร์ไปยังล้อหลัง
ECU
ENGINE CONTROL UNIT ระบบสมองกลควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์
ENDPLATE
ตัวปิดปลายแผ่นดักลม เพื่อให้บนแผ่นดักลมทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและช่วยให้กระแสลมไหลออกจากแผ่นดักลมอย่างเป็นระเบียบ
ENGING MAPPING
รูปแบบของการสั่งการของส่วนควบคุมต่างๆในเครื่องยนต์ให้มีการตอบสนองการขับขี่เหมาะสมกับรูปแบบการขับขี่ของนักแข่งแต่ละคนและสภาพของแต่ละสนาม
FIA
THE FEDERATION INTERNATIONAL DE L'AUTOMOBILE องค์กรควบคุมการแข่งขันรถยนต์แข่งนานาชาติตั้งอยู่ที่ กรุงเจนีวา ประเทศสวิทเซอร์แลนด์
FLAT SPOT
การสึกของยางที่เกิดจากการเบรคอย่างรุนแรงจนล้อลอค มักจะเกิดขึ้นบนล้อหน้า
FLYING LAP
การขับเพื่อให้ได้เวลาต่อรอบดีที่สุด
FOCA
FORMULA ONE CONSTRUCTORS' ASSOCIATION องค์กรควบคุมการแข่งขันรถ ฟอร์มูลา วัน ก่อตั้งในทศวรรษที่ 60 โดยการร่วมทุนจากเจ้าของทีมแข่งต่างๆ
FORMATION LAP
การให้รถแข่งวิ่งรอบสนามหนึ่งรอบ เพื่อเป็นการยืนยันว่าทุกคันสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้หากคันใดไม่สามารถออกร่วมฟอร์เมชันแลพ ได้ ต้องนำรถออกไปจากกริดสตาร์ท
GRAVEL TRAP
บ่อกรวด ที่สร้างขึ้นมาเพื่อการชะลอความเร็วให้กับรถแข่งที่หลุดออกจากทางวิ่งเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุทั้งนักแข่ง เจ้าหน้าที่ และผู้ชม
GRIP
แรงยึดเกาะของยางที่มีต่อทางวิ่ง ไม่ว่าขณะเลี้ยวโค้ง เร่งออก หรือเบรคก็ตาม
GURNEY FLAP
แผ่นดักลมเสริมที่ติดตั้งบริเวณปลายแผ่นดักลมเพื่อเพิ่มแรงกดให้มากขึ้นและสามารถถอดออกได้หากต้องการแก้ไขสมดุลทางอากาศพลศาสตร์
HAIRPIN BEND
โค้งความเร็วต่ำรูปตัว "ยู"
INSTALLATION LAP
การนำรถลงไปวิ่งในทางวิ่งในรอบแรกของวัน เพื่อเชคความพร้อมของระบบการทำงาน
INTERMEDIATE TYRE
ยางกึ่งเปียก ซึ่งจะมีดอกที่ตื้นกว่ายางสำหรับทางเปียก อาจนำออกมาใช้งานในสภาพฝนตกเล็กน้อย
JUMP START
การตรวจจับรถแข่งที่ออกจากตำแหน่งกริดสตาร์ทก่อนได้รับสัญญาณสตาร์ทด้วยเซนเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ในทุกตำแหน่งกริดสตาร์ท และจะส่งสัญญาณไปยังระบบควบคุมการเริ่มการแข่งขัน
KERB
เส้นแสดงตำแหน่งขอบทางวิ่ง ซึ่งจะมีอยู่ทั้งด้านใน และด้านนอกของโค้ง
LEFT FOOT BRAKING
การใช้เท้าซ้ายช่วยเบรคในโค้ง เพื่อเป็นการลดการลื่นไถลของล้อในโค้ง โดยที่เท้ายังขวาสามารถควบคุมคันเร่งได้
LIFT
แรงยกที่เกิดขึ้นจากผลทางอากาศพลศาสตร์
LOLLIPOP
ป้ายสัญญาณรูปทรงกลมพร้อมด้ามจับ หน้าหนึ่งมีคำว่า "BRAKE" ใช้ในขณะทีมช่างเข้าเซอร์วิศ และอีกหน้าคือ "1st GEAR" เพื่อให้นักแข่งเข้าเกียร์หนึ่งเตรียมออกตัวทันทีที่ทีมช่างเซอร์วิศเสร็จ
MARBLES
เศษยางชิ้นเล็กๆ ที่หลุดออกจากหน้ายาง กระจายอยู่ในบริเวณเรซิงไลน์หากมีจำนวนมากจะทำให้ยางรถสูญเสียการยึดเกาะกับพื้นทางวิ่ง
MARSHAL
เจ้าหน้าที่ตีสัญญาณธง แจ้งสถานการณ์ในสนามแข่งให้กับนักแข่งรวมไปถึงทำหน้าที่เข้าช่วยเหลือนักแข่งออกจากรถที่เสียหายในระหว่างการแข่งขัน
McLAREN
บรูศ แมคลาเรน ชาวนิวซีแลนด์ผู้ก่อตั้งทีม แมคลาเรน เป็นนักแข่งผู้คว้าชัยจากสนามสูตรหนึ่งที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง 22 ปี และในปี 1968 รถ แมคลาเรน ที่เขาสร้างขึ้นเองสามารถคว้าชัยในสนามสูตรหนึ่งเป็นครั้งแรกขณะเดียวกันเขาก็มีโครงการสร้างรถแข่งแคนแอมเพื่อชิงชัยในฝั่งอเมริกาด้วย แต่เขาเสียชีวิตในปี 1970
MID WING
ปีกดักลมที่ติดตั้งเพิ่มบนตัวรถมีตำแหน่งอยู่ระหว่างช่องดักลมหลังนักแข่งกับปีกหลังเพื่อเพิ่มแรงกดให้กับตัวรถในบริเวณดังกล่าว
MONOCOQUE
โครงสร้างหลักของตัวรถขึ้นรูปจากคาร์บอน ประกอบไปด้วยห้องนักขับ จุดยึดถังน้ำมัน เครื่องยนต์และเป็นจุดยึดให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในตัวรถ
NORMALLY/NATURALLY ASPIRATED
เครื่องยนต์หายใจธรรมดา จุอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ด้วยอากาศที่ป้อนเข้ามาจากช่องดักลมโดยไม่ได้ใช้ระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จ หรือซูเพอร์ชาร์จ
NOT CLASSIFIED
เป็นการแสดงผลการแข่งขันสำหรับรถที่วิ่งไม่ครบ 90 เปอร์เซนต์ ของรอบการแข่งขันทั้งหมด
ON-CAR CAMERA
กล้องที่ติดตั้งเพิ่มบนรถแข่งเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นภาพในมุมเดียวกับที่นักแข่งเห็น
OPPOSITE LOCK
การหักพวงมาลัยย้อนทางเพื่อแก้อาการโอเวอร์สเตียร์
OVERSTEER
การที่ล้อหลังสูญเสียการยึดเกาะ เกิดจากการหักเลี้ยวมากเกินไป ขณะที่เร่งเครื่องจนล้อหลังสูญเสียการยึดเกาะ
PADDLES
แป้นเปลี่ยนเกียร์ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณหลังพวงมาลัย
PADDOCK
พื้นที่ของทีมแข่งบริเวณหลังพิท ซึ่งจะเป็นที่จอดรถเทรเลอร์บรรทุกอุปกรณ์ และห้องพักเจ้าหน้าที่ทีมแข่ง
PARC FERME
พื้นที่หวงห้ามเฉพาะ สำหรับจอดรถแข่งหลังจบการแข่งขัน และผ่านการตรวจสภาพแล้ว
PIT BOARD
แผ่นบอร์ดที่ทางทีมแข่งใช้ยกแจ้งให้นักแข่งทราบตำแหน่ง และช่วงห่างของเวลาของรถคันนำ และคันตามรวมถึงรอบการแข่งขันที่เหลืออยู่
PIT WALL
พื้นที่ทำงานสำหรับผู้บริหารทีมแข่งในขณะทำการแข่งขัน ซึ่งทำการวางแผนการขับ และให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่นักแข่ง
PITCH
อาการกระดกของตัวรถซึ่งเกิดขึ้นจากการเร่ง หรือเบรค
PLANK
ในปี 1994 ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย ในบริเวณใต้ท้องรถแข่งเพื่อเป็นการลดความเร็วลงซึ่งจะกำหนดการติดตั้งตามกฎเกณฑ์ที่ FIA กำหนด
POLE POSITION
ตำแหน่งสตาร์ทหัวแถวสำหรับผู้ที่ควอลิฟายได้อันดับหนึ่ง
PRACTICE
ช่วงเวลาของการซ้อมในวันศุกร์ และเสาร์เช้า เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการควอลิฟายในช่วงบ่ายของวันเสาร์และแข่งขันในวันรุ่งขึ้น
PULL RODS
ลิงค์เกจของระบบกันสะเทือนที่รถของทีม แมคลาเรน เคยใช้ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ PUSH RODS
PUSH RODS
ระบบลิงค์เกจที่ยึดติดกับแชสซีส์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงสั่นสะเทือนจากล้อไปสู่สปริง ชอคอับ และเหล็กกันโคลง
QUALIFYING
ในช่วงบ่ายก่อนวันแข่งขันหนึ่งวัน จะมีการควอลิฟาย หรือการคัดเลือกผู้ทำเวลาต่อรอบเร็วที่สุด ตั้งแต่เวลา 13.00-14.00 น. ผู้ทำเวลาควอลิฟายดีที่สุดจะได้ตำแหน่งสตาร์ทหัวแถว
QUALIFYING CUT OFF
การคัดรถแข่งออกในรอบควอลิฟาย โดยพิจารณาจากเวลาที่ทำได้ หากมากกว่า 107 %ของเวลาควอลิฟายของนักแข่งอันดับหนึ่ง ซึ่งวิธีการนี้ได้นำมาใช้ตั้งแต่ช่วงกลางของทศวรรษที่ 90
REFERENCE PLANE
กติกาของ FIA กำหนดให้รถแข่งต้องอยู่ในสภาพ และมีมิติคงเดิมตั้งแต่เริ่มจนจบการแข่งขัน
RIDE HEIGHT
การกำหนดระยะห่างจากพื้นกับใต้ท้องของรถแข่ง โดยวัดในตำแหน่งที่ตรงกับแนวแกนล้อหน้า และหลัง
ROLL BAR
เป็นคำย่อของ ANTI-ROLL BAR หมายถึง "เหล็กกันโคลง" ซึ่งใช้คุณสมบัติของสปริงในการต้านการเอียงตัวของรถ
ROLL HOOP
FIA กำหนดให้ทุกคันต้องมี ROLL HOOP ในตำแหน่ง และมีความแข็งแกร่งตามกำหนด เพื่อสามารถทนต่อแรงกระแทก และสามารถป้องกันนักแข่งให้ปลอดภัยจากการพลิกคว่ำ
SAFETY CAR
รถนำขบวนรถแข่งเพื่อควบคุมให้รถแข่งลดความเร็วลง และไม่อนุญาตให้มีการแซงเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางออกจากทางวิ่งหรือลดความเร็วของรถแข่งลงขณะที่มีฝนตกหนัก
SCRUTINEERTING
การตรวจสอบรถแข่งเพื่อให้เป็นไปตามที่กติกากำหนดทั้งก่อน และหลังการแข่งขัน
SHAKEDOWN
การตรวจสอบสภาพความพร้อมของรถแข่งก่อนการแข่งขัน
SIDE POD
กล่องดักลมด้านข้างรถแข่ง เพื่อทำหน้าที่ป้อนลมเข้าสู่หม้อน้ำ
SLICK TYRE
ยางแข่งสำหรับสภาพสนามแห้ง หน้ายางเรียบ ไม่มีดอก และร่อง แต่ในปี 1997 เป็นต้นมาได้บังคับให้รถแข่ง เอฟ-1ต้องใช้ยางแข่งแบบมีร่อง
SLIPSTREAMING
โพรงอากาศความหนาแน่นต่ำเกิดขึ้นจากการแหวกอากาศของรถแข่งคันหน้า จะช่วยลดแรงต้านให้กับรถคันหลังได้แต่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแผ่นดักลม และระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ลดลงด้วย
SLAP AND DASH
การเข้าพิทเพียงช่วงสั้นๆ ก่อนจบการแข่งขัน เพื่อเติมน้ำมันให้เพียงพอสำหรับรอบการแข่งขันที่เหลือ
STEWARD
กรรมการควบคุมการแข่งขัน มีหน้าที่ควบคุมป้องกันการละเมิดกฎ ให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าแข่งขัน ตัดสินคำประท้วงและอุทธรณ์ รวมไปถึงการควบคุมการแข่งขันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด
STOP/GO PENALTY
การลงโทษนักแข่งที่ทำผิดในระหว่างการแข่งขันโดยจะต้องขับรถเข้ามาให้ล้อทั้งสี่หยุดนิ่งที่หน้าพิทของทีมแข่งนั้นๆแล้วจึงออกรถไปได้(ในบางครั้งอาจให้หยุดเป็นเวลา 10 วินาที) และต้องเข้ามาภายในสามรอบตั้งแต่ได้รับแจ้งจากทางสนามในระหว่างการทำ STOP/GO ห้ามทำการเซอร์วิศใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนยาง หรือ เติมน้ำมัน
TEAR OFF STRIPS
แผ่นพลาสติคใสติดบนแผ่นกันลมของหมวกกันนอคซึ่งนักแข่งสามารถลอกออกได้หากมีคราบฝุ่นและน้ำมันมากจนบดบังทัศนวิสัยในขณะแข่งขันแผ่นพลาสติดดังกล่าวอาจติดซ้อนกัน 2-3 ชั้นได้ตามความเหมาะสม
TECHNICAL COMMISSION
องค์กรทำหน้าที่ควบคุมกติกาเทคนิค
TELEMETRY
กระบวนการส่งข้อมูลระหว่างรถแข่ง และเจ้าหน้าที่ในพิท
TEST TEAM
ทีมทดสอบพิเศษประกอบด้วยช่าง และวิศวกร จะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลระบบการทำงานของรถและเครื่องยนต์ในขณะที่รถกำลังทำการแข่งขันอยู่ทีมทดสอบชุดนี้จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์หลักซึ่งอาจจะเป็นโมบายล์เมนเฟรมอยู่ในบริเวณสนามแข่ง หรืออาจจะใช้ระบบเมนเฟรมในสำนักงานใหญ่ของทีมก็ได้ จากนั้นทีมทดสอบพิเศษจึงสั่งการไปยังทีมช่างที่สนามแข่งอีกที
TRACTION
แรงยึดเกาะของล้อหลัง ที่ช่วยผลักให้รถวิ่งไปข้างหน้า
TRACTION CONTROL
ระบบควบคุมการจ่ายแรงบิดที่ส่งไปยังล้อหลังแต่ละล้อ เพื่อช่วยให้การขับเคลื่อนเต็มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนสูงสุดโดยไม่หมุนฟรี
TRANSPONDER
อุปกรณ์ส่งสัญญาณช่วยระบบนับรอบของสนามแข่งที่ติดตั้งบนรถแข่งแต่ละคันจะส่งสัญญาณไปยังนาฬิกาจับเวลาของกรรมการจับเวลาเพื่อบันทึกเวลาต่อรอบของรถแข่งแต่ละคันที่วิ่งผ่านเส้นสตาร์ท/ฟินิช
TYRE COMPOUND
การปรับสูตรองค์ประกอบของยางเพื่อให้เนื้อยางมีความนุ่มเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการยึดเกาะสูงสุดโดยมีความทนทานพอเพียงพอสำหรับรอบการแข่งขันที่ต้องการด้วย
TELEMETRY
ผ้าห่มไฟฟ้าสำหรับห่อหุ้มยางแข่ง เพื่อให้ยางแข่งมีอุณหภูมิ และแรงดันยางเหมะสมเพื่อให้ยางมีความพร้อมสำหรับการแข่งขัน
UNDERSTEER
อาการหน้าดื้อโค้ง ซึ่งเกิดจากการที่ล้อหน้ามีการตอบสนองการบังคับพวงมาลัยน้อยกว่าที่นักแข่งบังคับเนื่องจากล้อหน้ามีแรงยึดเกาะต่ำกว่าล้อหลัง
UNDERTRAY
พื้นของรถที่สามารถถอดแยกออกจากตัวรถ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการซ่อม
VENTURI
ส่วนคอดของท่อลม ซึ่งทำหน้าที่บีบให้กระแสลมมีความเร็วเพิ่มขึ้น แต่จะมีผลให้แรงดันลมลดลง
WET RACE
หากสภาพสนามแข่งมีน้ำขังมากจนอาจเกิดอุบัติเหตุ ผู้อำนวยการแข่งขันตัดสันใจประกาศ WET RACEเพื่ออนุญาตให้ใช้ยางสำหรับทางเปียกในการแข่งขัน แต่ถ้านักแข่งต้องการใช้ยางสำหรับทางแห้งก็สามารถทำได้
WISHBONE
แขนของระบบกันสะเทือนอีกรูปแบบหนึ่ง มีรูปร่างเป็นรูปตัววี
X-WINGS
ในปี 1998 มีทีมแข่งบางทีมนำปีกดักลมรูปตัวเอกซ์ติดตั้งอยู่บริเวณด้านข้างคอกพิทเพื่อเพิ่มแรงกด
แต่โดนแบนทันทีที่ถูกนำออกมาใช้งาน
YAW
อาการส่ายของตัวรถซึ่งเกิด ในขณะเร่งออกตัว เบรค หรือเข้าโค้ง
ZIG ZAG/WEAVING
ลักษณะการขับเพื่อเบียดป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้แซงขึ้นหน้าแต่การเบียดในลักษณะนี้สามารถทำได้เพียงครั้งเดียวหากมากกว่านั้นอาจถูกกรรมการตักเตือนได้
สัญญาณธง
ธงแดง
การแข่งขับยุติ ธงแดงจะตีที่เดียวที่เส้นสตาร์ท/ฟินิช
ธงฟ้า
แจ้งให้ทราบว่ามีรถที่เร็วกว่าขึ้นมาด้านหลัง หากไม่ปฏิบัติตามอาจโดนลงโทษ
ธงเหลือง
เตือนให้ทราบว่ามีอันตรายเกิดขึ้น และห้ามแซงในช่วงสัญญาณธงเหลือง หากยกขึ้นหมายถึงให้ลดความเร็วแต่ถ้าโบกธงเหลือง หมายถึงให้ลดความเร็ว และพร้อมสำหรับการหยุด
ธงเขียว
แจ้งให้ทราบว่าพ้นจากจุดอันตรายแล้ว และสามารถแซงได้
ธงแถบเหลืองแดง
พื้นทางวิ่งลื่น มักเกิดจากน้ำมันเครื่อง
ธงดำ และวงกลมเหลือง พร้อมหมายเลขรถ
รถแข่งคันนั้นมีปัญหาทางด้านกลไก ต้องนำรถเข้าพิททันที
ธงขาวดำตามแนวทแยง พร้อมหมายเลขรถ
เตือนนักแข่ง ขับไม่มีน้ำใจนักกีฬา
ธงดำ พร้อมหมายเลขรถ
นักแข่งทำผิดกติกา ให้นำรถแข่งกลับเข้าพิท
ธงตาหมากรุก
แจ้งการแข่งขันสิ้นสุดแล้ว
ABOUT THE AUTHOR
อ
อกนิษฐ์ ทัพภะสุต
ภาพโดย : -นิตยสาร 399 ฉบับเดือน มกราคม ปี 2546
คอลัมน์ Online : พิเศษ(formula)