เทคนิค(car)
ทดสอบต่างแดน
XTANT 1.1 I ครั้งแรกของแอมพ์ CLASS D ฟูลล์เรนจ์ ที่ออกแบบมาสำหรับออดิโอไฟล์
มันเป็นเรื่องยากที่จะให้ข้อจำกัดความสำหรับเพาเวอร์แอมพ์รุ่นนี้ แต่ถ้าหากจะพิจารณาจากประสิทธิภาพการทำงานแล้วล่ะก็ นักเล่นเครื่องเสียงระดับออดิโอไฟล์ทั้งหลาย ก็จะให้สมญานามมันว่า "AUDIOFILE FULL-SPECTRUM CLASS D" ซึ่งบรรดาทีมวิศวกรของค่ายนี้ ต้องการให้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยวางตำแหน่งที่ครั้งแรกของเพาเวอร์แอมพ์ CLASS D แบบฟูลล์เรนจ์
และโมโนออกแบบมาเพื่อคุณภาพเสียงโดยเฉพาะ
ภาคขยายขาออกของ XTANT 1.1 I อยู่ที่ 100 วัตต์ ความต้านทาน 4 โอห์ม และไม่เพิ่มขึ้นที่ความต้านทาน 2 โอห์ม คือ ตัวเลข 100 วัตต์ เท่าเดิม ด้วยความจำกัดด้านกระแส ทำให้กำลังขับสูงนั้นอยู่ในขีดจำกัดเช่นกัน และก็เป็นในลักษณะเดียวกัน สำหรับเพาเวอร์แอมพ์รุ่นอื่นๆ ของค่ายนี้ เจ้า CLASS D รุ่นนี้ มีค่าความถี่ตอบสนองที่กว้าง คือ 17-20,000 HZ (+2 ดีบี)
ขนาดเดียวของเพาเวอร์แอมพ์ ที่มีครีบระบายความร้อน 3 ก้าน พาดผ่านอยู่ทางด้านหลังเป็นฮีทซิงค์อลูมิเนียมกินพื้นที่มาถึงอีกด้าน ด้านบนของฮีทซิงค์อลูมิเนียม เป็นบลอคสเตนเลสสตีลครอบช่องว่างที่เหลือทั้งหมด เป็นรูปแบบเฉพาะที่บอกความเป็น XTANT ช่องต่อสายเคเบิล สายลำโพง แบบสกรูบีบชุบทอง และอินพุท RCA ชุบทอง รวมอยู่ในด้านเดียวกัน มีปุ่ม GAIN ปรับระดับให้มาเพียงปุ่มเดียว พร้อมหลอด LED สีฟ้า แสดงการทำงานของตัวเครื่อง เป็นเรื่องปกติ หากคุณต้องการคุณภาพเสียงที่สมบูรณ์แบบ มี GAIN ปรับระดับเสียงปุ่มเดียวก็เพียงพอ ทำให้มันดูสะอาด คลาสสิค และโดดเด่นทันทีที่ปรากฏ และเมื่อคุณเปิดฝาครอบเครื่องออก ทำได้ง่ายด้วยสกรู 6 เหลี่ยม ไม่กี่ตัว ก็จะเห็นวงจรที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ คัดเลือกอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์เกรดพิเศษ
งานออกแบบ
การเชื่อมต่อระบบกับชุดฟรอนท์ของเพาเวอร์แอมพ์เครื่องนี้ ทำให้เรารู้สึกได้ถึงสัญญาณที่ขยายออกมา จะคงคุณภาพเสียงเอาไว้ได้ แบทเตอรีเพาเวอร์ เชื่อมขั้วต่อไฟขนาดใหญ่ ออกแบบมาเพื่อรองรับสายเคเบิลขนาด 4 GAUGE อยู่ทางด้านขวามือที่ด้านข้าง ครอบด้วยบลอคไฟเบอร์สีดำ สำรองกำลังไฟรวม 3,000 ไมโครฟารัด และอุปกรณ์ครอบสวิทชิงถึงตัวฮีทซิงค์ ทรานสฟอร์เมอร์มีขนาดเล็กอยู่ทางด้านขวา ขณะที่ตัวแปลงกระแส และตำแหน่งเซนเซอร์ อยู่ตรงกลาง ขั้วต่อสัญญาณอินพุทอยู่ถัดมาทางด้านซ้าย และขั้วต่อสายลำโพงอยู่ทางด้านซ้ายสุด เป็นบลอคขั้วสกรูบีบชุบทอง รองรับสายลำโพงขนาด 8 GAUGE
XTANT ใช้วงจรมาตรฐานขนาดเล็ก สำหรับเจ้า 1.1 I ภาคอินพุทไอโซเลทส์ สำหรับกราวน์ดได้ออกแบบมาให้มีขนาดเพียงพอ ครอบคลุมไปถึงเนกาทีฟ และบาลานศ์ไลน์อินพุท ซึ่งแตกต่างจากเพาเวอร์แอมพ์ทั่วไป ถ้าเฮดยูนิทไม่มีบาลานศ์ไลน์ ก็สามารถใช้สัญญาณกับ RCA ทั่วไปได้ ประการแรก สัญญาณจะสะอาด และออกมาถูกต้องสมบูรณ์แบบ ประการที่ 2 ปราศจากเสียงรบกวน และป้องกันเสียงกวนระหว่างสายสัญญาณ ประการที่ 3 สามารถควบคุมสัญญาณบริสุทธิ์ได้จากเฮดยูนิทโดยตรง ผ่านมายังเพาเวอร์แอมพ์
อุปกรณ์ต่างๆ จัดวางใกล้เคียงกัน แต่แยกส่วนภายใต้หน้ากากปกปิด มีตัวรีซิสเตอร์ขนาดใหญ่ตัวบอร์ดเป็นขนาดดับเบิลไซด์ และเชื่อมต่อสัญญาณด้วย BUSS BAR อย่างแข็งแรง อุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ ติดตั้งด้านเดียวบนบอร์ด และทุกตัวที่เชื่อมต่อกันวางตำแหน่งใกล้กันจนถึงไลน์เอาท์ ทีมงานทดสอบชื่นชมกับการทำงานได้ แม้อุณหภูมิสูงถึง 105 องศาเซลเซียส ตัวคาพาซิเตอร์ทั้งหมด เลือกใช้เกรดดีสุด และมีสำรองอีก 1 ชุด ในภาคเพาเวอร์ซัพพลาย จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าธรรมดา ซึ่งทำงานได้แค่ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส เพราะว่ามันร้อนมากเกิน ซึ่งอุณหภูมิจะส่งผลต่อการทำงานโดยตรง
ภาคเพาเวอร์ซัพพลาย ควบคุมให้มีความต่อเนื่อง สวิทชิงที่ 1.06 MHZ มันคือกุญแจสำคัญของค่ายนี้ ที่ทำให้การตอบสนองความถี่ได้เป็นช่วงกว้าง ภายใต้ CLASS D ซึ่งมีการตอบสนองช่วงความถี่สูงๆ ได้ด้วย โดยสวิทชิงความถี่ขึ้นเป็น 2 เท่า หากมีภาคโลว์พาสส์ฟิลเตอร์อยู่ถัดจากเอาท์พุทมันก็จะทำหน้าที่ตัดสัญญาณที่ไม่ต้องการออกไปเอง ถ้าคุณต้องการความถี่ถึง 20,000 HZ
และสวิทชิงความถี่ขึ้นเป็น 40,000 HZ จะต้องคำนึงถึงฟิลเตอร์ที่ตัดสัญญาณได้แม่นยำมากเพราะเสียงกวนที่ระดับนั้นมีความกว้างถึง 1 ช่วงเสียง จะตัองใช้ความลาดชันสูงถึง 100 ดีบี/ออคเทฟ ซึ่งไม่มีพาสสีฟครอสส์โอเวอร์รองรับ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็น 6, 12, 18, 24 ดีบี/ออคเทฟ ความเป็นจริงต้องการเลือกความลาดชันที่ต่ำที่สุด ที่ให้คุณภาพเสียงดีที่สุด ดังนั้นต้องเลือกความลาดชัน ให้สัมพันธ์กันกับสวิทชิงความถี่ ดังนั้นสามารถเลือกฟิลเตอร์ พาสสีฟ เอาท์พุท ที่ระดับความลาดชัน 6 ดีบี/ออคเทฟ ทำงานร่วมกับสวิทชิงความถี่ 1.28 MHZ ที่ระดับเสียง 60 ดีบี และความถี่สัญญาณ 20,000 HZ
ในการทดสอบ แสดงตัวเลขอัตราส่วนสัญญาณต่อเสียงกวน (SIGNAL TO NOISE RATIO) 105 ดีบี และตอบสนองความถี่ได้ถึง 34,000 HZ ภาคเอาท์พุท ใช้ N-CHANNEL PHILLIPS 2 ตัว รองรับกำลัง 150 วัตต์ ทั้งคู่ มากกว่าค่าที่ระบุมาในสเปค เหมือนกับว่ามันไม่ใช่เพาเวอร์แอมพ์แบบโมโนแท้ๆ แต่ก็ไม่ได้มีระบุว่า เพาเวอร์แอมพ์โมโนจะออกแบบภาคเอาท์พุทลักษณะนี้ไม่ได้ ซึ่งมีการบริดจ์ให้เรียบร้อย เอาท์พุทจึงเหลือเพียงแชนแนลเดียว นี่เป็นการออกแบบมาเพื่อลำโพงฟูลล์เรนจ์โดยเฉพาะ
พละกำลัง
ค่าความถี่ตอบสนองที่ 3-34,000 HZ (-1 ดีบี) มันดีกว่าเพาเวอร์แอมพ์ CLASS A/B โดยทั่วไปเสียอีกดูจากวงจรที่จัดวางแล้ว มองเห็นเส้น และตำแหน่ง IC ภายใน กำลังมีมากกว่าที่ระบุมาให้ ที่แรงดันไฟ 12.5 โวลท์ ปกติ ซึ่งวัดที่ความต้านทาน 4 และ 2 โอห์ม โดยมีการจำกัดแรงดันไฟเอาไว้ให้คงที่แต่ถ้าต้องการพละกำลังที่มากกว่านั้น โดยทั่วไปก็จะเพิ่มแรงดันไฟให้สูงขึ้น จาก 12.5 โวลท์ เป็น 14.4 โวลท์ เหมือนการทำงานจริงในรถ แต่ค่ายนี้ก็ไม่ได้ระบุเอาไว้
ที่น่าสนใจเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างตัวเลขค่า THD และ SNR (SIGNAL TO NOISE RATIO) ด้วยค่า THD 0.7 % มันไม่น่าจะมีค่า SNR มากกว่า 85 ดีบี แต่มันกลับมีค่ามากกว่า 105 ดีบี ซึ่งทีมงานได้ทำการตรวจสอบถึง 2 ครั้งในการทดสอบ ความผันแปรค่า THD ของภาคเพาเวอร์เอาท์พุทจะแสดงให้เห็นเมื่อขับเต็มกำลัง และจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อเครื่องใกล้จะคลิพซึ่งมีมากถึง 75 % แต่ก็จำเป็นต้องปิดเครื่องก่อนที่จะเกิดอาการ ซึ่งผลที่ได้ก็ถือว่าดีมากเพราะไม่เคยมีค่า THD 0.7 % ตลอดทั้งช่วงความถี่
ภาคป้องกันวงจร จะเลิกทำงานต่อเมื่อเครื่องเริ่มเย็นลง ทีมงานได้ทดสอบ 2 ขั้นตอนโดยการปิดเครื่องหลังจากวงจรทำงาน และเป่าด้วยพัดลมตัวใหญ่ เมื่อวงจรเลิกทำงานก็อัดเล่นต่อกับแนวดนตรีที่ไม่หยุด ซึ่งเป็นการทำงานที่ดี จึงทำให้มันสามารถทำงานได้ต่อเนื่องกับแนวดนตรีที่มีช่วงพีคขึ้น/ลงในคู่มือการติดตั้ง เน้นรายละเอียดทุกขั้นตอน ทั้งการต่อสาย และปรับแต่ง ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ จะทำให้เห็นผลต่างอย่างชัดเจน คุณระวังเพียงแค่ 4 จุด เท่านั้น ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน จากนั้น XTANT จะรับประกันชิ้นส่วนให้ถึง 4 ปี โดยเฉพาะหากติดตั้งกับดีเลอร์ของเขา ซึ่งมีบริการออนไลน์ สะดวกถ้าต้องการรับบริการ
ผลการฟัง
ทีมงานได้ติดตั้งเพาเวอร์แอมพ์ 2 ตัว ลงในรถจริง และต้องออกแบบตัวพาสสีฟครอสส์โอเวอร์เป็นพิเศษ จริงๆ ไม่ควรจะมีเสียงเครื่องยนต์มาร่วมด้วย แต่คิดว่าเจ้า CLASS D จะเอาชนะมันได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่ช่วงความถี่เสียงแหลม ซึ่งไม่เคยใช้แอมพ์ประเภทนี้มาก่อนแต่ต้องทำกับมันเหมือนเพาเวอร์แอมพ์ทั่วไป ทั้งในด้าน IMAGE และ TONAL BALANCE
หลังจากติดตั้ง เจ้าแอมพ์คู่ดูโอก็พบกับเสียงในรูปแบบ THE REDROCK THEATER ROOM ระดับความกว้างของเสียงดูจะเบาบาง ทำให้เป็นกังวลใจ จึงกับไปเริ่มเซทใหม่อีกครั้งโดยเฉพาะกับช่วงความถี่เสียงแหลมซึ่งอาจจะต้องยกเว้นด้านพลังเมื่อทดสอบในรถเมื่อเริ่มต้นด้วยดนตรีเบาๆ ในช่วงแรกๆ ไม่กี่นาที ก่อนจะกลับไปใช้แผ่นอ้างอิงโดยไม่สนใจว่าทดสอบจริงในรถ
การทำงานของมันทั้งคู่ทำให้ได้ประสบการณ์ในการรับฟัง ซึ่งน่ากลัวสำหรับคู่แข่งทั้งหลายเมื่อทดลองฟังเพลง "BIRD ON A WIRE" ของ JENNIFER WARNES' เสียงร้องนั้น ขณะที่ซาวน์ดบางลง และเอาท์ออฟเฟสในบางท่อน มันออกมาเต็ม และดีมาก TRIANGLE ออกมาใสสะอาด เสียงดนตรีกังวานมีไดนามิคเรนจ์ อย่างเสียงสแนร์ออกมาสมจริง เหมือนต้นฉบับ
เปลี่ยนแผ่นเป็น ROBBEN FORD'S กับเพลง "TALK TO YOUR DAUGHTER" และ "EYE OF LOVE" ของ MICHAEL RUFF ในโทนความถี่ต่ำซึ่งมีการปรับระดับเสียงที่ไม่สมดุลกัน และต้องใช้พลังเค้นมากเป็นพิเศษ เพาเวอร์แอมพ์ทั้งคู่ ผ่าน 2 แทรคนี้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง
อีกบททดสอบเป็นเพลง "TOMORROW' S GIRL" ของ DONALD FAGEN' S KAMAKIRIAD มีการอัด CYMBLE ไปด้วยตลอด ทั้งการแทพ และสลิพมีความสดใสกระจ่างชัด ฟังง่ายราบรื่บ และชัดเจน ซึ่งเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้ดี ทำให้ได้บทสรุปว่าเป็นเพาเวอร์แอมพ์ CLASS D ที่มีรายละเอียดของสัญญาณ จึงแตกต่างจากคู่แข่งโดยสิ้นเชิง
บทสรุป
XTANT 1.1I ทำงานได้อย่างที่คุยไว้ในแมนวล มันให้คุณภาพเสียงได้ดีในทุกแทรคมากกว่าเพาเวอร์แอมพ์ 12 โวลท์ ที่เคยได้ฟังมา ไม่ว่าจะเป็น CLASS AB/D/H หรือ CLASS อื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าตัว 350 เหรียญสรอ. หรือประมาณ 14,000 บาท คิดต่อวัตต์ 1.57 เหรียฐสรอ. หรือประมาณ 63 บาท ที่ความต้านทาน 2 โอห์ม อาจจะสูงไปนิด แต่ก็ขึ้นอยู่กับความชอบ
สำหรับผู้ทดสอบแล้ว มีอะไรที่มากกว่าราคา อย่างเสียง FULL SPECTRUM ในระดับออดิโอไฟล์ที่ CLASS D ทำได้ โดยเฉพาะความถี่ในย่านเสียงแหลม ความถี่ทั้งระนาบของลำโพง เสียงเบสส์ทั่วไปในซับวูเฟอร์ตัวใหญ่บางครั้งอาจขาดหาย แต่มันทำได้ดี และขนาดที่เล็กติดตั้งง่ายในทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะใต้เบาะ หรือแม้แต่ที่คอนโซล หากนำไปขับลำโพงชุดหลัง ใช้กำลังเพียงแค่ 80 % ก็เพียงพอ
ABOUT THE AUTHOR
บ
บรรณาธิการ
นิตยสาร 409 ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2548
คอลัมน์ Online : เทคนิค(car)