รู้หรือไม่ บัตร Easy Pass สำหรับผ่านขึ้นทางด่วน มีอายุการใช้งานเพียง 7 ปี หลักจากนั้นแบทเตอรีจะหมด ไม่สามารถใช้งานได้Easy Pass มีอายุประมาณ 7 ปี บัตร Easy Pass (เริ่มจำหน่ายครั้งแรกเมื่อตุลาคม 2552) เป็นบัตรอีเลคทรอนิคที่มีแบทเตอรีในตัว อายุใช้งานประมาณ 7 ปี หรือประมาณ 14,000 เที่ยว ดูอย่างไรว่าหมดอายุ ? การตรวจดูอายุบัตร Easy Pass ดูได้จากตัวเครื่อง Easy Pass โดยตรง ที่ตัวเครื่องจะมี วันผลิตอุปกรณ์ ดูได้จากแถบตัวเลข จำนวน 23 หลัก ด้านข้างอุปกรณ์ ซึ่งจะขึ้นต้นด้วย 3085 86....... โดยดูเฉพาะตัวเลข 4 ตัวสุดท้าย เช่น 3085 86XX XXXXXXXXXXX0938 ตัวเลข 4 ตัวสุดท้าย 09 หมายถึง ปีที่ผลิต คือ ปี คศ. 2009 (พศ. 2552) 38 หมายถึง สัปดาห์ที่ผลิตอุปกรณ์ในปี 2552 ในกรณีนี้ 09/38 หมายความว่า อุปกรณ์นี้ผลิตใน ปี คศ. 2009 (พศ. 2552) สัปดาห์ที่ 38 บัตรหมดอายุ คืน/เปลี่ยนฟรี ! หากตรวจสอบพบว่า บัตรหมดอายุ (เพราะแบทเตอรีหมด) สามารถเปลี่ยนบัตร หรือคืนบัตรได้ดังนี้ การคืนบัตร (ยกเลิกใช้งาน) ต้องยื่นคำร้องพร้อมคืนอุปกรณ์ (บัตร Easy Pass และบัตร Smart Card) โดยการทางพิเศษฯ จะโอนยอดเงินคงเหลือคืนเข้าบัญชีธนาคารของเจ้าของบัตร ในกรณีไม่มีบัตร จะต้องชำระค่าอุปกรณ์สูญหาย คือ บัตร Easy Pass จำนวน 1,000 บาท และบัตร Smart Card จำนวน 100 บาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบสมัคร หรืออาจจะหักไปจากจำนวนเงินที่คงเหลือในบัตร . เปลี่ยน/คืน ได้ที่ไหนบ้าง? 1. อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษทุกด่านของทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษศรีรัช, ทางพิเศษฉลองรัช, ทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 05.00-22.00 น 2. ศูนย์บริการลูกค้าบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass Fast Service) สถานีบริการน้ำมัน ปตท. บริเวณจุดพักรถบางนา (ขาออก) (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร วันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 09.30-15.30 น. 3. ศูนย์บริการที่เดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน เวลา 08.30-15.30 น. 4. ศูนย์บริการลูกค้าบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ถนนอโศก-ดินแดง เวลา 09.00-17.00 น. ลองเชค Easy Pass ของคุณดูสักนิดว่าหมดอายุแล้วหรือยัง