ธุรกิจ
Continental สำรวจความกังวลหลังพลังงานราคาสูง
เมืองฮันโนเฟร์-ผู้คนมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และราคายานพาหนะ นี่เป็นหนึ่งในการค้นพบที่สำคัญจากการวิจัย Continental Mobility Study 2022 (ยานพาหนะ และการเดินทาง) โดย Continental เผยว่า สถานการณ์ขณะนี้ คือ อัตราเงินเฟ้อสูง และยิ่งไปกว่านั้น คือ ราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วกำลังเป็นภัยคุกคามที่จะระงับการเปลี่ยนแปลงของยานพานหนะในเยอรมนี หากพูดถึงเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องมากขึ้นกับพลเมืองชาวเยอรมันส่วนใหญ่ จากผลสำรวจพบว่ามีเพียงร้อยละ 44 ของชาวเยอรมันที่อยากให้ยานพาหนะในอนาคตเป็นแบบไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม การเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ถูกมองว่า เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญสำหรับชาวเยอรมัน เมื่อเทียบกับราคาไฟฟ้า น้ำมันเบนซิน และนำมันดีเซลที่มีราคาสูง นอกจากนี้ มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจในเยอรมนีจะไม่สามารถขับรถได้อีกต่อไป หากราคาน้ำมันเบนซินเกิน 2.80 ยูโร/ลิตร ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามไม่พร้อมที่จะใช้จ่ายกับยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ทั่วไป ในขณะเดียวกันเกือบครึ่งหนึ่ง (43 %) ระบุว่า ค่าใช้จ่ายที่สูงนี้เป็นเหตุผลในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ จากความเห็นของคนส่วนใหญ่ รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือมากกว่านี้ เช่น ผ่านการอุดหนุน เพื่อให้แน่ใจว่าสัดส่วนของรถยนต์ปลอดมลพิษจะเพิ่มขึ้น และเหนือสิ่งอื่นใด คือ เพื่อให้แน่ใจว่าการเดินทางโดยรวมยังคงมีราคาที่ไม่แพง ซึ่งนี่ก็เป็นหน้าที่ของผู้กำหนดนโยบายในการสร้างเงื่อนไขกรอบการทำงานที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุจุดประ สงค์นี้ ความคาดหวังเหล่านี้ชัดเจนโดยผู้ที่เข้าร่วมในการวิจัย Continental Mobility Study “เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วที่ Continental Mobility Study เป็นมาตรวัดที่สำคัญสำหรับการพัฒนาแนวโน้มยานพาหนะทั่วโลก และการยอมรับเทคโนโลยีใหม่” Nikolai Setzer ซีอีโอของ Continental กล่าว “ผลการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าผู้คนทั่วโลกต้องการการขับขี่ที่ปลอดภัยมากขึ้น สะดวกมากขึ้น และยั่งยืนมากขึ้นด้วย แต่สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ ต้องมีราคาที่จับต้องได้”
Continental ได้ส่งตัวแทนเพื่อทำการศึกษาเรื่องยานพาหนะร่วมกับ Infas บริษัทวิจัยตลาดที่มีชื่อเสียง เป็นครั้งที่ 7 แล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2565 Infas ได้สำรวจพลเมือง 6,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-70 ปี ทั่วเยอรมนี ฝรั่งเศส นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน เกี่ยวกับข้อกำหนดด้านยานพาหนะส่วนบุคคล และพฤติกรรมการเดินทาง และการพักผ่อน
ค่าไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้น และการขาดข้อมูล เป็นอุปสรรคต่อยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
การศึกษาระบุว่า ค่าใช้จ่าย และโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เพียงพอนั้นเป็นอุปสรรคต่อความต้องการที่สูงขึ้นสำหรับการยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจในเยอรมนีรู้สึกว่า มีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการซื้อ และใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ผู้ตอบแบบสำรวจ 67 % ไม่แน่ใจเกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากค่าไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้น โดยรวมแล้ว คนส่วนใหญ่ (62 %) จึงไม่คิดว่า ตนเองจะสามารถซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ในอนาคตอันใกล้นี้
อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มองว่า เป็นสิ่งสำคัญ หรือสำคัญมากที่วัสดุที่ใช้สำหรับรถยนต์ของพวกเขานั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน นอกจากนี้ มาตรฐานทางสังคม และสิทธิมนุษยชนยังได้รับการสนับสนุนระหว่างการผลิต และตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมที่จะจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลในรถยนต์ของตน เช่นเดียวกับการใช้เชื้อเพลิงที่ได้จากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานงานสะอาดจากไฮโดรเจน
ประชาชนต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน และมาตรการเพิ่มเติมจากรัฐบาล
โดยทั่วไปแล้วผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (73 %) กังวลว่าจะไม่มียานพาหนะที่อยู่ในราคาที่เอื้อมถึงได้อีกต่อไป เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น ดังนั้น มากกว่า 4 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (82 %) คิดว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องประกันว่ายังคงมียานพาหนะที่ราคาสมเหตุสมผล นอกจากนี้ 77 % มองว่า เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่จะต้องแน่ใจว่า ยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะมีราคาต่ำกว่ายานพาหนะที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์สำหรับประเทศนอร์เวย์ซึ่งรวมอยู่ในการศึกษาด้านยานพาหนะ และการเดินทางเป็นครั้งแรก แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลสามารถใช้บทบาทการออกกฎเชิงรุกได้ รัฐบาลนอร์เวย์ส่งเสริมการซื้อรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าผ่านสิทธิประโยชน์ทางภาษี และออกแคมเปญต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลโดยเฉพาะ
มาตรการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนอร์เวย์สนับสนุนการเจาะตลาดของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นในผลการศึกษาเช่นกัน คือ ข้อมูลที่ได้จากผู้ตอบแบบสอบถามนี้ ชี้ว่า ส่วนแบ่งทางตลาดของรถยนต์ไฟฟ้า หรือไฮบริด (26 %) สูงกว่าที่เห็นในอีก 5 ประเทศที่ทำการสำรวจ อย่างไรก็ตาม ในประเทศนอร์เวย์ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในยุโรป ยังต้องดำเนินการอีกมากเกี่ยวกับแนวคิดยานพาหนะยั่งยืน สัดส่วนของรถยนต์ที่ใช้เครื่อง ยนต์ดีเซลอยู่ที่ 41 % ในนอร์เวย์ ซึ่งมักเรียกกันว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านยานยนต์ไฟฟ้า ในขณะที่ตัวเลขในฝรั่งเศสอยู่ที่ 46 %
Steffen Schwartz-Hofler หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนของ Continental อธิบายว่า “การศึกษา Continental Mobility Study 2022 แสดงให้เห็นว่าผู้คนเห็นชอบต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษต่ำ หรือปราศจากมลพิษ ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้น และพร้อมที่จะใช้เส้นทางนั้นเช่นกัน ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษา Continental Mobility Study ทั่วโลกประจำปีนี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคภาคเอกชนไม่เต็มใจที่จะแบกรับภาระทางการเงินของการเปลี่ยนแปลงด้านยานพาหนะนี้เพียงลำพัง หากโครงการนี้ประสบความเร็จตามจังหวะที่จำเป็น รูปแบบใหม่ของการเคลื่อนที่แบบยั่งยืนจะต้องมีราคาที่เอื้อมถึง เมื่อนั้นพวกเขาถึงจะได้รับแต่การตอบรับในเชิงบวก”
รถยนต์ยังคงเป็นรูปแบบการเดินทางที่สำคัญที่สุด แม้หลังจากการระบาดใหญ่บรรเทาลง
Continental Mobility Study 2022 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า รถยนต์เป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ในการระบาดใหญ่ และถูกกำหนดให้ยังคงเป็นวิธีการเดินทางที่สำคัญที่สุด
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รายงานว่า ใช้รถอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ในสหรัฐอเมริกามากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (59 %) ใช้รถทุกวัน มีเพียงประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และมีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะทุกวัน ปัจจัยชี้ขาดในที่นี้จากการศึกษา คือ รถยนต์จะคงตำแหน่งที่โดดเด่นในอนาคต และอาจขยายตลาดเพิ่มได้อีก ผู้ที่รายงานว่า เคยเดินทางในช่วงการระบาดใหญ่ส่วนใหญ่ยืนยันในการสำรวจว่า พวกเขาตั้งใจที่จะใช้รถของตนต่อไป (84 %) หรือใช้รถมากขึ้นไปอีก (60 %) เมื่อการระบาดใหญ่สิ้นสุดลง
รถยนต์เป็นส่วนสำคัญของพื้นที่อยู่อาศัยส่วนตัวของผู้คนมากขึ้น
คนส่วนใหญ่ในประเทศเยอรมนี นิยามรถยนต์ว่า เป็นส่วนสำคัญของความคล่องตัว และพื้นที่ใช้สอยส่วนตัว
ผู้คนต้องการให้รถของพวกเขามีเทคโนโลยีล่าสุด เช่น คนส่วนใหญ่ต้องการให้รถของพวกเขาเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนทเพื่อดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ล่าสุด ตลอดจนข้อมูลการจราจร และสิ่งแวดล้อม ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบ สอบถามมองว่า ระบบช่วยเหลือทางอีเลคทรอนิคส์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น 1 ใน 4 ต้องการฟังค์ชันต่างๆ เช่น การขับขี่อัตโนมัติระหว่างรถติด
พวกเขากังวลเกี่ยวกับผลที่ตามมาที่ไม่อาจควบคุมได้จากการใช้เทคโนโลยี ไม่เพียงแต่ข้อผิดพลาดในซอฟท์แวร์เท่านั้นที่อาจบั่นทอนการทำงาน หรือความปลอดภัยของรถ แต่เทคโนโลยีอาจทำให้รถยนต์ซับซ้อน และใช้งานยากเกินไป อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ยังคิดว่าการขับรถอัตโนมัติสามารถป้องกันอุบัติเหตุได้ Gilles Mabire ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Continental Automotive กล่าวว่า "แนวโน้มทั่วไปที่เปิดเผยโดยการศึกษาวิจัยนี้ก็คือ ตัวรถเอง และเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่ภายในนั้นจะต้องยังคงใช้งานได้ง่าย ปลอดภัย และมีราคาจับต้องได้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ระบุว่า การเชื่อมต่อ ระบบอัตโนมัติ และประสบการณ์ของผู้ใช้มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใหม่ ฟังค์ชันความสะดวกสบายจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า เราเชื่อว่า ด้วยกลยุทธ์ยานยนต์ใหม่ของเรา เราอยู่ในตำแหน่งที่ดี และพร้อมสำหรับความท้าทายในอนาคต”
The Continental Mobility Study 2022
ตั้งแต่ปี 2554 บริษัทเทคโนโลยี Continental ได้ดำเนินการทำ Continental Mobility Study ศึกษาเรื่องยานพาหนะ และการเดินทางในหัวข้อสำคัญต่างๆ เป็นระยะๆ สำหรับฉบับปี 2565 ร่วมกับ สถาบันวิจัยการตลาดและสังคม Infas Continental ได้สำรวจผู้คนจำนวน 6,000 คน ที่อายุเกิน 18 ปีในประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ในเดือนพฤษภาคม 2565 เกี่ยวกับข้อกำหนดด้านยานพาหนะ และการเดินทางส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในแต่ละประเทศจะเป็นตัวแทนของประชากร สำหรับประเทศจีนนั้นเป็นตัวแทนของประชากรในเมือง จุดมุ่งหมายของ Continental Mobility Study ซึ่งขณะนี้อยู่ในฉบับที่ 7 คือ การให้การเปรียบเทียบระหว่างประเทศของทัศนคติของผู้คนที่มีต่อการพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวทั้งในปัจจุบัน และอนาคต และพฤติกรรมการใช้งานส่วนบุคคลของพวกเขา หัวข้อที่กล่าวถึงในการศึกษาการขับเคลื่อนในปีนี้ ได้แก่ ความต้องการด้านยานพาหนะโดยทั่วไป ทัศนคติต่อความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ตลอดจนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ ท่ามกลางฉากหลังของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 การศึกษานี้เน้นที่บทบาทของรถยนต์ในฐานะสถานที่หลบภัยที่เป็นไปได้ และเป็นสถานที่พักผ่อนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง และวันหยุดพักผ่อน
Continental ก่อตั้งขึ้นในปี 2414 พัฒนาเทคโนโลยี และบริการที่ก้าวล้ำสำหรับยานยนต์ที่มีการเชื่อมต่อ และความยั่งยืนให้แก่ผู้คน และสินค้า โดยนำเสนอวิธีการที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด และราคาไม่แพงให้แก่ยานยนต์ เครื่องจักร การจราจร ตลอดจนการขนส่ง Continental ยอดขายเบื้องต้นที่ 33.8 พันล้านยูโร ในปี 2564 และมีพนักงานกว่า 190,000 คน ใน 58 ประเทศทั่วโลก และฉลองครบรอบ 150 ปี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564
ABOUT THE AUTHOR
![](https://autoinfo.co.th/uploads/2024042121525456.jpg)
นุสรา เงินเจริญ
บรรณาธิการข่าวธุรกิจและสังคม รักการอ่าน ขอบงานเขียน ชอบพบปะผู้คน ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารในวงการยานยนต์ไทย ท่องเที่ยว เป็นประสบการณ์ที่ดี พร้อมได้ เปิดโลก ได้พัฒนาตัวในแวดวงสื่อสารมวลชน
ภาพโดย : บริษัทผู้ผลิตคอลัมน์ Online : ธุรกิจ (บก. ออนไลน์)
คำค้นหา