ธุรกิจ
สอท. เผยยอดผลิตเดือนธันวาคม 2566
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนธันวาคม 2566 ดังต่อไปนี้
รถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนธันวาคม 2566 มีทั้งสิ้น 133,621 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 15.75 เพราะผลิตขายในประเทศลดลงถึงร้อยละ 29.94 โดยเฉพาะรถกระบะที่ผลิตลดลงถึงร้อยละ 41.30 จากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถกระบะเพราะหนี้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 90.6 ของ GDP และอีกส่วนหนึ่งมาจากรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาขายในประเทศ โดยมียอดจดทะเบียนถึง 75,690 คัน ทำให้ผลิตรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 16.24 แต่การผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกปี 2566 กลับเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.44 ตามยอดการส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.30 และสูงกว่าส่งออกปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์ COVID-19 และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 18.19 เนื่องจากวันทำงานน้อยกว่า
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,841,663 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม -ธันวาคม 2565 ร้อยละ 2.22
รถยนต์นั่ง เดือนธันวาคม 2566 ผลิตได้ 50,099 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 7.94 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 35,086 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 22.45
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 6 คัน ซึ่งในเดือนธันวาคมปี 2565 ยังไม่มีการผลิต
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 216 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 81.30
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 14,791 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 84.38
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 มีจำนวน 648,803 คัน เท่ากับร้อยละ 35.23 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 7.98 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 493,499 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 2.87
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 164 คัน ซึ่งช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วยังไม่มีการผลิต
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 8,990 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 11.25
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 146,150 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 72.62
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนธันวาคม 2566 ผลิตได้ 2 คัน ช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตได้ 118 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 145.83
รถยนต์บรรทุก เดือนธันวาคม 2566 ผลิตได้ทั้งหมด 83,520 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 19.83 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 1,192,742 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 7.01
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนธันวาคม 2566 ผลิตได้ทั้งหมด 80,489 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 21.37 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 1,155,267 คัน เท่ากับร้อยละ 62.73 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 7.03 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 204,919 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 31.50
รถกระบะ Double Cab 756,392 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 3.71
รถกระบะ PPV 193,956 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 22.82
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนธันวาคม 2566 ผลิตได้ 3,031 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 66.36 รวมเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตได้ 37,475 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 6.24
ผลิตเพื่อส่งออก เดือนธันวาคม 2566 ผลิตได้ 82,592 คัน เท่ากับร้อยละ 61.81 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 3.70 ส่วนเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 1,156,035 คัน เท่ากับร้อยละ 62.77 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 11.44
รถยนต์นั่ง เดือนธันวาคม 2566 ผลิตเพื่อการส่งออก 27,155 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 0.47 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 333,195 คัน เท่ากับร้อยละ 51.36 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 15.82
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนธันวาคม 2566 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 55,437 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 5.62 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 822,840 คัน เท่ากับร้อยละ 67.18 ของยอดการผลิตรถกระบะ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 9.76 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 78,054 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 6.01
รถกระบะ Double Cab 616,813 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 7.11
รถกระบะ PPV 127,973 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 41.03
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนธันวาคม 2566 ผลิตได้ 51,029 คัน เท่ากับร้อยละ 38.19 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนธันวา คม 2565 ร้อยละ 29.94 และเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตได้ 685,628 คัน เท่ากับร้อยละ 37.23 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 18.98
รถยนต์นั่ง เดือนธันวาคม 2566 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 22,944 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 16.24 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ผลิตได้ 315,608 คัน เท่ากับร้อยละ 48.64 ของยอดการผลิตรถ ยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.78
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนธันวาคม 2566 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 25,052 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 42.57 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 332,427 คัน เท่ากับร้อยละ 28.77 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 32.57 ซึ่งแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 126,865 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 41.30
รถกระบะ Double Cab 139,579 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 33.44
รถกระบะ PPV 65,983 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 1.78
เดือนธันวาคม 2566 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 201,128 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 8.73 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 164,528 คัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 8.84 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 36,600 คัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 8.27
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,472,872 คัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 5.86 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 2,120,738 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 5.20 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 352,134 คัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 42.35
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 68,326 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกา ยน 2566 ร้อยละ 10.88 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 17.48 ลดลงเพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถกระบะจากภาระหนี้ครัวเรือนสูง และเพราะเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงตามการส่งออกที่ลดลง โรงงานจึงลดกะทำงาน และลดทำงานล่วงเวลา คนงานขาดรายได้ ประกอบกับค่าครองชีพ และอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้เหลือเงินไม่เพียงพอในการใช้จ่ายอย่างอื่นได้ นอกจากนี้การลงทุน และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐก็ยังต้องรองบประมาณรายจ่ายปี 2567 ที่ล่าช้าออกไปอีกหลายเดือน แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 39,500 คัน เท่ากับร้อยละ 57.81 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 13.95
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 17,555 คัน เท่ากับร้อยละ 25.69 ของยอดขายทั้ง หมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 31.58
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 8,753 คัน เท่ากับร้อยละ 12.81 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 239.92
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 107 คัน เท่ากับร้อยละ 0.16 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 80.33
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 13,085 คัน เท่ากับร้อยละ 19.15 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 122.27
รถกระบะมีจำนวน 19,543 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 44.94 รถ PPV มีจำนวน 4,480 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.79 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 3,312 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 1.88 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,491 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 4.55
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 132,377 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 7.51 และลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 8.35 โดยแบ่งเป็น
รถจักรยานยนต์สันดาปภายใน (ICE) 132,365 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 99.87 ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 8.26
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าผสม (HEV) 12 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 0.01 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันไม่มีการผลิต
ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 รถยนต์มียอดขาย 775,780 คัน ลดลงจากปี 2565 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 8.67 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 406,995 คันเท่ากับร้อยละ 52.46 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 16.94
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 238,570 คัน เท่ากับร้อยละ 30.75 ของยอดขายทั้ง หมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 13.75
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 73,568 คัน เท่ากับร้อยละ 9.48 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 603.66
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 1,895 คัน เท่ากับร้อยละ 0.24 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 37.71
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 92,962 คัน เท่ากับร้อยละ 11.98 ของยอดขายรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 60.41
รถกระบะมีจำนวน 264,738 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 31.82 รถ PPV มีจำนวน 60,286 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 9.45 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 27,682 คัน ลดลงจากเดือนเดียว กันในปีที่แล้วร้อยละ 11.36 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 16,079 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 5.51
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,856,814 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 3.62 โดยแบ่งเป็น
รถจักรยานยนต์สันดาปภายใน (ICE) 1,855,576 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 99.93 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.62
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (BEV) 420 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 0.02 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 100
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าผสม (HEV) 818 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 0.04 ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.03
การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เดือนธันวาคม 2566 ส่งออกได้ 90,305 คัน ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 9.34 และลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 19.09 แยกเป็นรถยนต์สันดาปภายใน ICE 87,390 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 21.26 ส่งออกรถยนต์ HEV 2,915 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 366.40 มูลค่าการส่งออก 62,499.78 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 12.41
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,805.83 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 25.40
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 16,858.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 3.37
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,170.48 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 8.33
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนธันวาคม 2566 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 84,334.69 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 10.08
เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 1,117,539 คัน สูงกว่ายอดส่งออกก่อนเกิดการระบาดของโรค COVID-19 ปี 2562 และสูงสุดในรอบ 5 ปี เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 11.73 เพิ่มขึ้นเพราะประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ยังมียอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้ส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกตลาด ยกเว้นตลาดแอฟริกาที่ลดลง แยกเป็นรถยนต์สันดาปภายใน ICE 1,102,694 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 11.30 ส่งออกรถยนต์ HEV 14,845 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 56.02 มูลค่าการส่งออก 719,991.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 15.25 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 38,653.23 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 11.80
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 189,489.99 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 6.51
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 24,655.44 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 13.35
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 972,790.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 8.13
รถจักรยานยนต์ เดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนส่งออก 76,573 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกา ยน 2566 ร้อยละ 0.56 และลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 16.73 โดยมีมูลค่า 5,764.14 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 18.97
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 163.13 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 39.92
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 142.56 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 10.25
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนธันวาคม 2566 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 6,069.83 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 19.54
เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 822,608 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 20.51 มีมูลค่า 68,588.60 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 6.97
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 2,925.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 2.31
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,896.59 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 23.02
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 73,410.37 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราค-ธันวาคม 2565 ร้อยละ 7.14
เดือนธันวาคม 2566 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยาน ยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 90,404.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ -10.78
เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 1,046,201.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 6.89
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ เปิดเผยตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของสมาชิกกลุ่มฯ ในปี พศ. 2567 โดยแยกเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก และการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ดังนี้
ประมาณการการผลิตรถยนต์ในปี พศ. 2567 ประมาณ 1,900,000 คัน มากกว่าปี พศ. 2566 ซึ่งมีจำนวน 1,841,663 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.17 โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,150,000 คัน เท่ากับร้อยละ 65 ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 750,000 คัน เท่ากับร้อยละ 35 ของยอดการผลิตทั้งหมด
ผลิตเพื่อการส่งออก จำนวน 1,150,000 คัน ลดลงจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 1,156,035 คัน ลดลงร้อยละ 0.52
ปัจจัยบวก มีดังนี้
ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะซึ่งขนส่งสินค้า และคนเพื่อส่งออกไปทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ จึงอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากจากเศรษฐกิจชะลอตัว ประเทศจีนเปิดประเทศซึ่งอาจส่งผลให้การค้าโลก และการท่องเที่ยวเติบโตเป็นผลดีต่อการส่งออกของหลายประเทศดีขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกของประเทศไทย การขาด แคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดัคเตอร์คลี่คลายลงมากส่งผลให้การผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น การลงทุนผลิตยานยนต์ไฟ ฟ้าในประเทศไทยอาจมีการส่งออกยานยนต์ไฟฟ้า คำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้า สหรัฐฯ, ยุโรป, จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ GCC อัตราดอกเบี้ยอาจอยู่ในช่วงขาลงทำให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้น
ด้านปัจจัยลบ มีดังนี้
การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และความขัดแย้งระหว่างประเทศอาจขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและการเพิ่มขึ้นใหม่ซึ่งจะ ส่งผลต่อการส่งออกลดลง และเงินเฟ้ออาจสูงขึ้น
ตลาดทั้งใน และต่างประเทศเกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในสินค้าประเภทเดียวกัน และคู่แข่งเกิดขึ้นในภูมิภาคเพิ่มขึ้น
นโยบายของประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เช่น การขึ้นภาษีสรรพสามิตในรถยนต์บางประเภทในลาว
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จำนวน 750,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 685,628 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.39 โดยมีปัจจัย ดังนี้ต่อไปนี้
ปัจจัยบวก มีดังนี้
การย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาไทย ทำให้เกิดการเชื่อมโยง Supply Chain ของอุตสาหกรรม
ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั่วโลกจากกฎระเบียบและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
เริ่มมีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
ปัจจัยลบ ดังต่อไปนี้
หนี้ครัวเรือนสูง หนี้สาธารณะสูง ค่าครองชีพสูง อัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของประชาชนลดลง ทำให้ยอดขายอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งมี Supply Chain หลายอุตสาหกรรมชะลอตัวลง ส่งผลต่อการจ้างงาน ทำให้รายได้คนงานก่อสร้าง และโรงงานลดลง
งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ล่าช้าออกไปราว 8 เดือน ทำให้การลงทุน และการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้าออกไปด้วย ส่งผลให้การลงทุนการจ้างงานของเอกชนล่าช้าออกไป เศรษฐกิจจึงเติบโตในระดับต่ำ
ภัยธรรมชาติที่คาดไม่ถึง อาจจะกระทบต่อผลผลิต และรายได้เกษตรกร
ความขัดแยังระหว่างประเทศอาจขยายตัว และเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่จะส่งผลให้ราคาพลังงาน สินค้า และวัตถุดิบสูงขึ้น
การส่งออกสินค้าต่างๆ ในปีนี้อาจลดลงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงส่งผลการผลิตการลงทุนการจ้างงานลดลง อำนาจซื้อลดลง
ประมาณการการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี พศ. 2567 ประมาณ 2,120,000 คัน น้อยกว่าปี พศ. 2566 ซึ่งมีจำนวน 738 คัน ลดลงร้อยละ 0.03 โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 420,000 คัน เท่ากับร้อยละ 19.81 ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 1,700,000 คัน เท่ากับร้อยละ 80.19 ของยอดการผลิตทั้งหมด
ผลิตเพื่อการส่งออก จำนวน 420,000 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 10.73
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จำนวน 1,700,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ร้อยละ 3.01