บริษัท เกียรติธนา ขนส่ง จำกัด (มหาชน) หรือ KIAT ผู้นำในการให้บริการด้านการขนส่งวัตถุอันตราย และสินค้าพิเศษที่เน้นความปลอดภัยสูง เปิดศูนย์ 24/7 Fleet Monitoring Center ที่มูลนิธิมหา ไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โดยทำการโอนงานด้าน In-Vehicle Monitoring System ให้สมาชิกมูลนิธิที่เป็นคนพิการรับช่วงต่อจากทีมงานของ KIAT
เมฆ มนต์เสรีนุสรณ์ รองกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดและพัฒนาธุรกิจ KIAT เปิดเผยว่างานที่จะทำการโอนไปยังมูลนิธิฯ ได้แก่งานด้านการตรวจสอบสถานะรถ และอุปกรณ์ In-Vehicle Monito ring System ได้แก่ GPS Tracking, การเฝ้าสังเกตกล้อง CCTV และพฤกรรมพนักงานขับรถผ่านระบบเทคโนโลยีป้องกันการหลับใน และการละสายตาขณะขับขี่ Guardian System รวมไปถึงการทำรายงานการขนส่งของกองรถ KIAT
มูลนิธิมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร และพัฒนาคนพิการให้มีศักยภาพในการทำงานที่เหมาะสมกับร่างกายมายาวนานกว่า 40 ปี โดยเริ่มจากโรงเรียนฝึกอาชีพ และได้ขยายเครือข่ายโรงเรียนเพิ่มเป็น 4 แห่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา และฝึกอาชีพ รวมถึงการสร้างอาชีพให้cdjคนพิการ ปัจจุบัน มูลนิธิฯ ได้มอบหมายให้คนพิการทำงานด้าน Call Center, Service Center และ Customer Support ให้มากกว่า 10 บริษัท ในกลุ่มธุรกิจหลายประเภทเช่นกลุ่มธุรกิจประกันภัย กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มค้าปลีก กลุ่มธุรกิจสื่อสาร และเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจพลังงาน และกลุ่มการขนส่ง
“เราได้มีโอกาสเห็นการทำงานของคนพิการเหล่านี้แล้ว ทำให้เรากลับมาคิดว่าที่คนพิการเหล่านี้ทำอยู่ ไม่แพ้คนทั่วไป บวกกับเราเองก็มีนโยบายที่จะสนับสนุนสังคมด้วยการให้โอกาสกับคนพิการเหล่านี้มีอาชีพที่ดี และมั่นคง อีกทั้งเรายังขาดแคลนพนักงานที่จะพัฒนางานด้านการวางแผนงานขนส่ง และงานด้านความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นงานหลักของเรา KIAT จึงตัดสินใจโอนงานส่วนที่สามารถให้คนพิการมาช่วยทำงานร่วมกับเรา และโอนย้ายพนักงานที่เคยทำงานด้านนี้มาในส่วนงานที่เป็นงานหลักของเรา คือ งานด้านการวางแผนงานขนส่ง และความปลอดภัย”
บริษัทฯ ได้มีการเจรจากับคณะผู้บริหาร มูลนธิฯ จนสามารถบรรลุข้อตกลงในการโอนย้ายงาน In-Vehicle Monitoring System โดยได้จัดตั้งศูนย์ 24/7 Fleet Monitoring Center ขึ้นที่ทำการมูลนิธิฯ โดยช่วงที่ผ่านมา ได้มีการฝึกอบรมคนพิการเพื่อเตรียมการรับมอบงานดังกล่าว โดยจะมีการเริ่มงานอย่างเป็นทางการในต้นเดือนสิงหาคมนี้
KIAT ถือเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรายล่าสุดที่ให้การสนับสนุนอาชีพคนพิการในโครงการของมูลนิธิฯ โดยเบื้องต้น มูลนิธิฯ ได้จัดบุคลากรผู้พิการทางขา จำนวน 5 คน เพื่อทำงานด้าน GPS Tracking, การเฝ้าสังเกตกล้อง CCTV และพฤกรรมพนักงานขับรถผ่านระบบเทคโนโลยีป้องกันการหลับใน และการละสายตาขณะขับขี่ Guardian System รวมไปถึงการทำรายงานการขนส่งของกองรถ KIAT
มานพ เอี่ยมสอาด ผู้จัดการศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม มูลนิธิฯ กล่าวว่า ภายใต้โครงการต่างๆ ที่เราได้รับความร่วมมือจากองค์กรเอกชนในการให้การสนับสนุนงานให้cdjสมาชิกคนพิการในโครงการ ได้สร้างงาน สร้างอาชีพให้คนพิการมีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนมากกว่า 10,000 คน และปัจจุบัน เรามีคนพิการได้รับโอกาสทำงานมากกว่า 500 คนภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรเอกชน