เฮดโฟนไร้สาย (WIRELESS HEADPHONES) แบบสวมหัว กลายเป็น GADGET สุดฮิท ไม่เฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบฟังเพลงจากไอพอด หรือสมาร์ทโฟน กลุ่มคนทำงาน จนถึงวัยกลางคน ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจ ด้วยหลงใหลในคุณภาพเสียงเอกลักษณ์ของ เฮดโฟน ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เอกลักษณ์อันโดดเด่นของ เฮดโฟน คือ สายคาดหัว ที่มีทั้ง สายคาดแบบพลาสติค, หนัง, อลูมิเนียม, หรือวัสดุสมัยใหม่ เช่น เคฟลาร์ ก็ยังนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตให้ดูสวยงาม ประเภทของเฮดโฟน 1. แบบฟูลล์ไซซ์ โดยหูฟังครอบทั้งใบหู ให้มิติเสียงใกล้เคียงกับเครื่องเสียงบ้าน เหมาะสำหรับใช้งานส่วนตัว มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก 2. แบบเซมิฟูลล์ไซซ์ เป็นหูฟังที่ย่อส่วนลงมาจากฟูลล์ไซซ์ พอสมควร พกพาง่าย มิติเสียงจะสู้แบบ ฟูลล์ไซซ์ไม่ได้ เพราะขนาดของหูฟังเล็กลง ไม่สามารถป้องกันเสียงจากภายนอกได้ เฮดโฟนไร้สาย มีทั้ง 2 แบบ ฟูลล์ไซส์ และเซมิฟูลล์ไซส์ เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย ดูไฮเทค รับสัญญาณได้ไกลขึ้น คุณภาพเสียงไม่ด้อยไปกว่าแบบสายมากเท่าไร หลักการทำงาน เฮดโฟนไร้สาย เชื่อมต่อด้วยสัญญาณบูลทูธ เป็นหลัก และยังมีเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นที่กำลังนิยม คือ NFC (NEAR FIELD COMMUNICATIONS) เป็นเทคโนโลยีสื่อสารระยะสั้น พัฒนาขึ้นโดย SONY และ NXP เพียงใช้สมาร์ทโฟน แตะไปที่เฮดโฟน ที่มีระบบ NFC ก็จะสามารถเล่นเพลงได้เลย (เฮดโฟนต้องมีระบบรองรับ NFC) เหมือนเชื่อมต่อเฮดยูนิทในรถยนต์ คุณภาพเสียง ค่ายที่ผลิตเฮดโฟน ได้คิดค้นออกแบบ คุณภาพเสียงตรงกับแนวเพลงที่หลากหลาย ควรพิจารณาจากเสียงโดยรวม ความกลมกลืน และมีเสียงเบสส์ให้ได้ยิน แต่ละค่ายจะมีจุดเด่นของการออกแบบเนื้อเสียงที่ออกมาจากเฮดโฟน เช่น เสียงกลาง/แหลม ที่คมชัดสดใส หรือเสียงเบสส์ที่หนักแน่น นุ่ม ลึก ระยะหลังแต่ละค่ายจะเริ่มมาสนใจเนื้อเสียงเบสส์กันมากขึ้น การดูแลรักษา การใช้งานเฮดโฟน ควรเริ่มต้นด้วยการเปิดเสียงปกติ ที่เรียกว่า การเบิร์นเสียง ระยะการเบิร์นเสียง ก็อยู่ที่เฮดโฟนแต่ละรุ่นซึ่งแตกต่างกันไป เมื่อใช้งานเสร็จควรใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบเหงื่อ และสิ่งสกปรกออก ห้ามเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง ข้อดี เฮดโฟนไร้สาย ตัดปัญหาสายสัญญาณพันกัน และไม่ต้องกลัวว่าสายจะขาดภายใน ซึ่งมีผลต่ออรรถรสการฟังเป็นอย่างมาก ข้อเสีย ต้องคอยดูแบทเตอรี เพราะถ้าสัญญาณอ่อน ก็ไม่สามารถฟังเพลงได้ เฮดโฟนไร้สายสุดแนว SONY MDR-1RBT PRESTIGE
บทความแนะนำ