Car Stereo
CAR STEREO GLOSSORY 2002
A
AC ALTERNATING CURRENT ไฟฟ้ากระแสสลับ เช่น กระแสไฟใช้ในบ้าน
AC-3 AUDIO CODE 3 หรือ DOLBY DIGITALเป็นระบบเสียงที่ใช้ในโรงภาพยนต์ แบบ 5.1 แชนแนล
ACOUSTIC สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อคลื่นเสียง รวมถึงปริมาตร และรูปลักษณ์
ACOUSTIC PHASE SHIFT สภาวเสียงที่ไม่ประสงค์เกิดขึ้น คือ เมื่อเสียงลำโพงจากระบบสเตริโอไปยังหูผู้ฟังเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างกัน
ACOUSTIC PATH LENGTH ระยะห่างระหว่างลำโพงถึงคนฟังทั้ง 2 ข้าง
ACOUSTIC SUSPENSION ENCLOSURE ตู้ลำโพงแบบปิดซึ่งใช้อากาศอัดจากภายใน เพื่อขับลำโพงให้ทำงาน
ACROSS ข้าม ตรงข้าม พาดผ่าน ตัดขวาง
ACTIVE CROSSOVER อุปกรณ์อิเลคทรอนิค ซึ่งทำหน้าที่แยกสัญญาณจากแหล่งกำ
เนิดออกเป็นความถี่คลื่นวิทยุ (เสียงต่ำ เสียงกลาง และเสียงแหลม) ก่อนเพาเวอร์แอมพ์จะขับออก และจะใช้กับเครื่องที่มีมากกว่า 2 เชนแนล
ACTIVE SECURITY SYSTEM ระบบความปลอดภัยที่บังคับด้วยมือ แต่โดยปกติแล้วจะ
บังคับด้วยรีโมท
ACRYLIC สารชนิดหนึ่งสำหรับเคลือบผิว
AFTERMARKTE การอธิบายถึงอุปกรณ์ซึ่งบุคคลที่สามติดให้ในรถยนต์ดูเพิ่มเติมจากคำแปลของ OEM
AIR-CORE INDUCTOR คอยล์แบบแกนอากาศ
ALIGNMENT การเดินทางของเสียง
ALLOY โลหะผสมชนิดหนึ่ง
ALTERNATOR ส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้าในรถ อุปกรณ์นี้สามารถแบทเตอรีขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน แล้วป้อนกระแสไฟไปให้อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมทั้งตัวเพาเวอร์แอมพ์ อุปกรณ์ตัวนี้จะผลิตกระแสไฟระหว่าง 30-60 แอมแพร์
ALTERNATOR WHINE เสียงความถี่สูงเกิดจากเครื่องทำกระแสไฟ ที่ขยายผ่าน
เข้าทางระบบเสียง เนื่องจากติดสายลงดินไม่แน่น ดูเพิ่มจากคำ GROUND LOOP
ALUMINIUM ALLOY โลหะผสมชนิดหนึ่ง นิยมนำมาทำโดมทวีเตอร์
AMBIENCE ระบบเสียงที่ตอบสนองการบันทึกต้นฉบับ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
AMP หรือ AMPLIFIER อุปกรณ์ในการขยายสัญญาณ
AMP-RACK แผงติดตั้งแอมพ์ที่สร้างจากโลหะ สามารถยึดแขวนได้
ANGLE มุม หรือองศา
ANGLE ALIGNMENT การปรับตั้งมุม หรือทิศทางของลำโพง
ANODIZED สารเคลือบโลหะที่เพิ่มความทนทาน
ANTI-JITTER ป้องกันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในรูปคลื่น
APERIODIC ประเภทตู้ซับวูเฟอร์ ที่ออกแบบขึ้นเพื่อเพิ่มช่วงความถี่
ANTICIPATION คาดล่วงหน้า
A-PILLAR ตำแหน่งการติดตั้งที่บริเวณเสาของรถทั้ง 2 ข้าง
AUDIOPHILE ชำนาญในการฟัง และเล่นเครื่องเสียง
AUX (AUXILARY) ช่องสัญญาณเข้า (เสริม)
AXIS ทิศทางของเสียงจากลำโพง เช่น ON-AXIS ทิศทางเสียงของลำโพงหันไปยังหูผู้ฟังโดยตรง
B
BACK PLATE แผ่นปิดแม่เหล็กด้านท้ายลำโพง
BASKET โครงสร้างลำโพง
BASS BOOST การเพิ่มระดับเสียงเบสส์
BASS CONTROL การปรับแต่งเสียงเบสส์
BASS REFLEX การสะท้อนกลับของเสียงเบสส์ หรือตู้ลำโพงที่มีท่อให้เสียงเบสส์มีความทุ้มนุ่มลึกขึ้น
BASS UP FRONT เสียงเบสส์จากด้านหลังแผ่มาถึงด้านหน้า
BALANCE การปรับความสมดุลย์เสียงระหว่างด้านซ้าย และด้านขวา
INPUT การปรับความสมดุลย์ของสัญญาณขาเข้า
BANDPASS ตู้ซับวูเฟอร์ชนิดที่มี 2 ห้อง โดยซ่อนตัวลำโพงด้านใน ติดตั้งที่ผนังตู้บริเวณที่อยู่ในตู้ หรือการตัดความถี่เป็นช่วง
BANDWIDTH เกี่ยวกับภาคทูเนอร์ วงจรในเพาเวอร์แอมพ์ หรือครอสส์โอเวอร์เป็นช่วงความถี่ระหว่าง 2 จุด
BASS UP-FRONT การปรับทูนเสียงเบสส์ให้ลอยมาตกทางด้านหน้า
BI-AMP ระบบการติดตั้งโดยแยกสัญญาณเบสส์/กลาง/แหลมเป็น 2 ชุด แบบอิสระ
BI-CAP วงจรพาสสีฟ ครอสส์โอเวอร์ ที่ติดตั้งตัวคาพาซิเตอร์ซ้อนกัน 2 ตัว
BIT หน่วย หรือรูปแบบของระบบการถอดรหัสเครื่องเล่นซีดี ปัจจุบันมีแบบ1, 16, 18, 20 และ 24 BIT
BI-WIRE เป็นการแยกขั้วสัญญาณขาเข้าของพาสสีฟ ครอสส์โอเวอร์แบบอิสระ
BOOST การเพิ่มระดับสัญญาณ หรือเพิ่มเสียง เช่น +12 ดีบี
BRIDGE MONO การต่อสัญญาณเอาท์พุทเพาเวอร์แอมพ์จาก 2 แชนแนลเป็น 1 แชนแนลเพื่อให้ได้กำลังขับเพิ่มขึ้น สัญญาณขั้วบวกด้านขวา กับลบด้านซ้าย
BUSS BAR สะพานไฟ เป็นแผ่นทองเหลือง หรือโลหะชุบทอง ส่วนมากใช้กับขั้วแบทเตอรี
BUTTERWORTH ประเภทวงจรตัดความถี่ในครอสส์โอเวอร์ ที่ให้สัญญาณแฟลท
BUTYL RUBBER วัสดุที่ใช้ทำขอบ หรือเซอร์ราวน์ดลำโพง เป็นยาง
C
CAPACITOR อุปกรณ์อีเลคทรอนิคในวงจร หรืออุปกรณ์สำรองกระแสไฟในระบบหรือตัวตัดความถี่เสียงต่ำในวงจร
CABIN GAIN การปรับแต่งความถี่ต่ำให้พอเหมาะกับห้องโดยสารเหมือนกับ BASS TRANSFER FUNCTION
CARBON วัสดุที่นำมาเป็นส่วนประกอบในการทำกรวยลำโพง
CARBON FIBER วัสดุกรวยลำโพงชนิดหนึ่ง
CAR THEATRE ระบบจำลองการดูหนังในโรงภาพยนต์ เข้ามาไว้ในรถยนต์
CASSETTE ม้วนเทปคาสเสทท์
CASSETTE COMPARTMENT แผ่นกั้นตรงช่องเทป
CAST หล่อขึ้นรูป
CAVITY ช่อง หรือโพรง
CD COMPACT DISCแผ่นเก็บสัญญาณเสียง อ่านด้วยแสงเลเซอร์
CELLULOID แผ่นสังเคราะห์
CLAMP ตัวลอคแบบหนีบ หรือบีบเข้าหากัน ใช้ในการยึดประตูรถที่แต่งเครื่องเสียงเน้นพลังเบสส์หนักๆ
CLASS ประเภทของเพาเวอร์แอมพ์ เช่น CLASS A หรือ CLASS AB
CLASS A เพาเวอร์แอมพ์เน้นคุณภาพเสียง ค่าความเพี้ยนน้อย และเสียงรบกวนน้อย หรือต่ำมาก แต่กำลังขับไม่สูงมาก มีขีดจำกัดในการเล่นต่อเนื่อง
ปัจจุบันพัฒนาให้มีกำลังขับมากขึ้น เหมาะสำหรับนักฟังที่เน้นรายละเอียดเสียงเป็นพิเศษ ไม่เน้นพลัง
CLASS AB เพาเวอร์แอมพ์เน้นทั้งกำลังขับ และคุณภาพเสียง แต่ค่าความเพี้ยนและเสียงกวนมีมากกว่า CLASS A ข้อดีมีกำลังขับสูง และขับเล่นได้
ต่อเนื่องโดยไม่มีขีดจำกัด ได้รับความนิยมมาก และมีลูกเล่นมากมายเหมาะสำหรับนักเล่นที่เน้นทั้งรายละเอียด และพลัง
CLASS D เพาเวอร์แอมพ์กำลังขับสูง เน้นพลังอย่างเดียว ส่วนมากผลิตออกมาแบบโมโนบลอค 1 แชนแนล เหมาะสำหรับขับซับวูเฟอร์ ปัจจุบันมี
กำลังขับ 500-2,000 วัตต์ โหลดเล่นได้ที่ความต้านทาน 1 โอห์ม
CLASS T เพาเวอร์แอมพ์ที่พัฒนามาจาก CLASS D และ AB โดยเน้นทั้งพลังและเพิ่มรายละเอียด นำมาขับเล่นได้แบบ FULL RANGE 20-20,000
HZ เช่น ให้เสียงแบบสเตริโอ และมีกำลังขับสูงๆ ที่ 4 โอห์ม
CLIPING สภาพที่ปรากฎกับแอมพลิจูด หากสัญญาณอินพุทมากเกิน เพาเวอร์แอมพ์จะไม่ขยายยอดคลื่น และความยาวสัญญาณ ทำให้เกิดความเพี้ยน
COAXIAL แกนร่วม หรือลำโพงประเภทที่ใช้แกนร่วมกัน มักใช้แรกลำโพงแบบ 2 ทาง แกนร่วม
COMPONENT แยกชิ้น หรือส่วนประกอบ ประเภทลำโพงที่แยกส่วนกันระหว่างเสียงเบสส์/กลาง/แหลม
CONE กรวยลำโพง
CONTINUE ต่อเนื่อง ใช้กับกำลังขับ หรือทนกำลังขับที่ทำได้ต่อเนื่อง ไม่เกิดความเสียหาย
CROSSFIRE การปรับมุมเสียง แบบตัดไขว้
CROSSOVER ตัดความถี่เสียง
CROSSOVER FREQUENCY จุดตัดความถี่เสียง มีหน่วยเป็นเฮิร์ทซ์ (HZ)
CROSSOVER NETWORK อุปกรณ์กรองความถี่เสียง หรือตัดความถี่เสียง ออกแบบมาเป็นกล่องหรือแผงเซอร์กิตแยกชุดจากลำโพง
CUBIC FOOT ปริมาตร 1 ลูกบาศก์ฟุต ขนาด กว้าง 1 ฟุตxยาว 1 ฟุตxสูง 1 ฟุต
CURRENT กระแสไฟ
CUSHION เครื่องรองรับน้ำหนัก, เบาะรองนั่ง, กันกระทบกระแทก
CUT การลดระดับเสียง เช่น -12 ดีบี
CYBER PUNK ไม่ใช่ CYBER PRINT
D
DAMPING การติดวัสดุซับเสียง
DAMPING FACTOR ค่าเกี่ยวกับวงจรในเพาเวอร์แอมพ์ ที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพงหลังจากที่สัญญาณหยุด ค่ามากกว่า 200 ถือว่าดี ไม่มีหน่วย
DASHBOARD บริเวณแผงคอนโซลหน้าของรถ
DB DECIBEL ระดับความดังของเสียง
DB DRAG RACING การแข่งขันเครื่องเสียง แบบเน้นความดัง ระดับเสียง SPL
DC DIRECT CURRENTไฟฟ้ากระแสตรง
DECIBEL DB ระดับความดังของเสียง
DEEP CYCLE ประเภทแบทเตอรีที่เก็บ และคายประจุไฟฟ้าได้รวดเร็ว
DEPTH ความลึก
DESIGN การออกแบบ เช่น SYSTEM DESIGN การออกแบบระบบเครื่องเสียง
DIAGRAM แผนผังการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ และการเดินสัญญาณในระบบ
DIAPHRAGM ลักษณะเป็นแผ่น
DIE-CAST ขึ้นรูปชิ้นเดียว
DIGITAL ระบบการทำงานที่แสดงผลด้วยตัวเลข หรือตัวอักษรบนหน้าปัดในวิทยุระบบการนำส่งสัญญาณ หรือสัญญาณเสียงที่คมชัด และสมจริง
DIGITAL CROSSOVER ครอสส์โอเวอร์ที่ทำงาน และแสดงผลด้วยตัวเลข
DIN DEUTSCHE INDUSTRIE NORMENขนาดมาตรฐานในช่องคอนโซลวิทยุ ขนาดของวิทยุ
DIPOLE การแผ่กระจายเสียงของลำโพง เช่น ด้านบนกับด้านล่าง ด้านหน้ากับด้านหลัง
DISPERSION การแผ่กระจายของลำโพงเสียงแหลม หน่วยเป็นองศา
DISTORT ความเพี้ยนของสัญญาณ
DISTORTION ความถี่ฮาร์โมนิคส์ ที่ไม่ต้องการ ที่เพิ่มแก่สัญญาณดนตรี เมื่อผ่านอุปกรณ์ในระบบเครื่องเสียง เมื่อแสดงปอร์เซนเตจ ของเอาท์พุทเสียงรวมดู THD
DOLBY ระบบลดเสียงกวนกับหัวอ่านแถบแม่เหล็ก
DOLBY AC1/AC2 ใช้ส่งคลื่นเสียงดิจิทอล FM
DOLBY B ระบบลดเสียงกวน 10 DB
DOLBY S ระบบแยกแยะเลือกลดสัญญาณรบกวนได้คุณภาพเหมือนกับ CD แต่ไม่ได้รับความนิยม เพราะราคาสูงมาก
DTS DIGITAL THEATRE SYSTEMระบบเสียงในโรงภาพยนต์
DRIVER ตัวถ่ายทอดสัญญาณเสียง หรือลำโพง
DSP DIGITAL SIGNAL PROCESSOR การปรับแต่งสัญญาณเสียงทุกรูปแบบหรืออุปกรณ์ปรับแต่งสัญญาณที่มีความละเอียดมากๆ
DSD DOLBY STEREO DIGITALระบบเสียงในโรงภาพยนต์ หรือ (SR-D)
DVD DIGITAL VIDEO DISC แผ่นเก็บสัญญาณดิจิทอลทั้งภาพ และเสียงได้รายละเอียด ความคมชัด มีฟังค์ชันการทำงานมากกว่าแผ่น VCD
DUSTCAP ส่วนที่ปิดบริเวณตรงกลางกรวยลำโพง
DYNAMICS การเคลื่อนตัวของแผ่น DIAPHARGM ขณะกระแสไหลผ่านสนามแม่เหล็ก
DYNAMIC RANGE ค่าความแตกต่าง ระหว่างการขับลำโพงอย่างนุ่มนวล และหนักหน่วงมีหน่วยเป็นดีบี (DB) ยิ่งมากยิ่งดี
E
EAR PLUG อุปกรณ์ลดระดับเสียง ใช้เสียบกับหู ประสิทธิภาพ 20 ดีบี
EFFICIENCY สัดส่วนของพลังงานเสียง กับพลังงานไฟฟ้าที่ป้อน มักจะวัดจากพลังงาน1 วัตต์ ระยะห่างลำโพง 1 เมตร ตัวเลขมากหมายถึงประสิทธิภาพสูงวัดเป็นระดับความดัง หน่วยเป็นดีบี (DB)
ELECTRONIC อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ทำงานได้ โดยป้อนกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง
ELECTRONIC CROSSOVER ครอสส์โอเวอร์ตัดสัญญาณแบบปรับค่าได้ โดยใช้กระแสไฟหล่อเลี้ยงเหมือนกับ ACTIVE CROSSOVER
ENCLOSURE ตู้ลำโพง
EQUALIZATION การเพิ่ม หรือตัดระดับสัญญาณของความถี่เสียง จากวิธีทางอีเลคทรอนิคส์สามารถทำขึ้น เพิ่อให้สัญญาณการฟังที่ถูกต้อง หรือเตรียมสัญญาณที่ถูกต้องแก่ผู้ฟัง
EQUALIZER อุปกรณ์ปรับแต่งเสียงที่แยกเป็นจุดความถี่โดยเฉพาะ
F
FADER ตัวควบคุมระดับลำโพง หรือสัญญาณซึ่งกระจายต่างๆ กันของสัญญาณสเตริโอ ระหว่างด้านหน้า และด้านหลัง
FARAT หน่วยวัดความจุไฟฟ้า (เมตร/กิโลกรัม/วินาที) ใช้ในคาพาซิเตอร์
FERRITE ประเภทของแม่เหล็กชนิดหนึ่ง
FILL คำใช้อธิบายข้อมูลการฟังในระบบเสียง มาจากด้านหน้า/หลัง หรือข้างก็ได้ เช่น REAR FILL เสียงจากด้านหลัง
FILTER ตัวกรองสัญญาณความถี่
FLAT ความกลมกลืนราบเรียบ หรือเสียงที่มีความกลมกลืนต่อเนื่อง
FLAT PISTON ซับวูเฟอร์แบบหน้าเรียบ
FLEXIBLE NEON เส้นหลอดนีออน (ใช้ในประกอบตกแต่งแผงซาวน์ด คอนเซพท์)
FOCUS ตำแหน่งชิ้นดนตรีที่ได้ยิน ในการฟังเน้น SOUND IMAGE
FOOTWALL การติดตั้งลำโพงบริเวณที่วางเท้า
FORMER ประเภทแกนวอยศ์คอยล์ในลำโพง
FREE AIR การติดตั้งซับวูเฟอร์ที่แผงเรียร์เดค แบบไม่ตีตู้ หรือแขวนลอย
FREQUENCY ค่าความถี่ของสัญญาณ
FREQUENCY RESPONSE ค่าการตอบสนองความถี่ของสัญญาณ
FRONTEND แหล่งกำเนิดสัญญาณ
FRONT PLATE แผ่นปิดด้านบนแม่เหล็กของลำโพง
FRONTSTAGE เวทีเสียงทางด้านหน้า หรือรูปแบบการฟังเพลงที่เน้นเสียงจากด้านหน้า
FRONTIMAGE มิติเสียงด้านหน้า
FULL RANGE ตอบสนองความถี่ได้ 20-20,000 HZ
FUSE อุปกรณ์ที่มีสาย หรือแถบโลหะติดตั้งในชุดด้วยสายไฟ ออกแบบให้หลอมละลาย หากถึงปริมาณกระแสถึงจุด เป็นส่วนป้องกันความเสียหายของ
วงจร หรือระบบทั้งที่ต่างจากตัวตัด วงจร ที่ไมาอาจจะต่อวงจรใหม่ได้
G
GAIN INPUT ระดับสัญญาณขาเข้า
GASKET ปะเก็นลำโพง
GPS GLOBAL POSITIONING SYSTEMระบบตรวจหาตำแหน่งบนพื้น
GRILLE หน้ากากลำโพง
GROUND ขั้วต่อไฟ สำหรับต่อลงตัวถังรถ
H
HARMOMIC ความกลมกลืนของสัญญาณ
HEADROOM ความสามารถรับกำลังเป็นพิเศษ ที่จำเป็นในพรีแอมพ์ระบบเสียง แอมพ์และลำโพงที่มีพีคกำลังทรานเชียนซ์ ทั้งยังสามารถอ้างถึงความแตกต่าง(เป็นเดซิเบล) ระหว่างระดับสูงสุด และปกติของวงจรอินพุท และเอาท์พุท
HEADUNIT แหล่งกำเนิดสัญญาณ โดยมากใช้กับตัว วิทยุ, วิทยุ/เทป, วิทยุ/ซีดี
HEAT ความร้อนที่เกิดขึ้นในวงจร หรือระบบ
HEATZINK โครงสร้างของแอมพ์ ในส่วนที่ช่วยระบายความร้อน ส่วนมากผลิตจากอลูมิเนียม ระบายความร้อนด้วยร่อง หรือครีบ
HEIGHT ความสูง (H)
HIGH CURRENT กระแสสูง
HIGH PASS การตัดสัญญาณความถี่เสียงสูง
HIGH VOLTAGE แรงดันสูง
HLCD HORN LOAD COMPRESSION DRIVER ลำโพงปากแตร
HORN SPEAKER ลำโพงปากแตร
HZ HERTZ ค่าความถี่เสียง
I
IASCA INTERNATIONAL AUTO SOUND CHALLENGE ASSOCIATION, INC.เป็นองค์กรตัดสินคุณภาพของระบบเสียง
IC INTEGRATED CIRCUITอุปกรณ์อีเลคทรอนิคในแผงวงจร
ICFR IN CAR FREQUENCY RESPONSEกฎเหล็กในการติดตั้งเครื่องเสียงในรถยนต์ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอคูสติค
IMAGE มิติ หรือภาพของเสียง ตำแหน่งชิ้นดนตรี เช่น SOUND IMAGEมิติเสียงที่นึกเห็นภาพขณะได้ยินเสียงดนตรี
IMPEDANCE ความต้านทาน คือคุณสมบัติของลำโพง ในการต้านการไหลของสัญญาณเสียง ความต้าน ทานนี้จะแปรผันไป ตามความถี่ของสัญญาณ ในเครื่องรถยนต์ปกติอยู่ที่ 4 โอห์ม
IN DASH ขนาดที่ติดตั้งพอดีในช่อง DASH BOARD ใช้กับวิทยุ
INDUCTOR คอลย์ หรือตัวตัดความถี่เสียงแหลม
INCAR ภายในห้องโดยสารรถ
INFINITE BAFFLE การติดตั้งแบบฟรีแอร์
INJECTION ฉีดขึ้นรูป ใช้ในการผลิตกรวยลำโพง
INNOVATION เปลี่ยนแปลงใหม่
INPUT ขั้วสัญญาณขาเข้า
INSTABILITY เวทีเสียงที่ฟังดูแล้วสับสน
J
JACK ขั้วต่อสัญญาณ
JAZZ แนวดนตรี
K
KAPTON วัสดุชนิดหนึ่งที่เป็นแกน หรือส่วนประกอบในวอยศ์คอยล์
KEVLAR วัสดุที่ใช้ผลิตกรวยลำโพง มีสีเหลือง
KICK PANEL การติดตั้งบริเวณข้างเท้า เป็นเทคนิคของระบบ FRONTSTAGE
L
LAMINATE วัสดุสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในงานติดตั้ง เพื่อความสวยงาม
LASER ลำแสงชนิดหนึ่ง มีสีแดง
LASER POINT จุด หรือตำแหน่งการยิงลำแสง มักใช้ในการปรับตั้งมุมลำโพง
LCD LIQUID CRYSTAL DISPLAYประเภทจอภาพ ของมอนิเตอร์
LED LIGHT EMITTING DIODEหลอดไฟขนาดเล็กภายในวงจร
LD (LAZER DISC) แผ่นเก็บข้อมูลทั้งภาพ และเสียง มีขนาดใหญ่กว่าแผ่น CD/VCD/DVDมีความคมชัด และเสียงดี แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม
LENGTH ความยาว (L)
LEVEL MATCH เทคนิคการปรับแต่งแรงดันสัญญาณให้สมดุล
LEVEL MATCHING ADJUSTMENT การปรับแต่งแรงดันสัญญาณให้สมดุลกันทั้งระบบ
LINEARLITY มีความกลมกลืนราบเรียบ
LINE OUTPUT ขั้วสัญญาณขาออก ที่ผ่านสัญญาณขาเข้าให้ออกไปโดยตรง
LINKWITZ-RILEY ประเภทวงจรครอสส์โอเวอร์ มีระดับความลาดชัน 24 ดีบี
LONG STROKE ช่วงชักยาว
LOUDNESS ส่งเสียงกึกก้อง หรือการเพิ่มช่วงเสียงเบสส์ในสัญญาณ
LOWPASS การตัดสัญญาณสำหรับเสียงเบสส์ หรือเสียงต่ำ
M
MECA MOBILE ELECTRONICS COMPETITION ASSOCIATIONสมาพันธ์เครื่องเสียงในอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1999
MAGNAT แม่เหล็กลำโพง
MAGNESIUM ALUMINIUM ALLOYโลหะผสม ใช้ผลิตโครงสร้างลำโพง
MAX MAXIMUMสูงสุด กำลังขับ หรือทนกำลัง เหมือนกับ PEAK
MASTER ปุ่มปรับระดับเสียงรวม เหมือนกับ VOLUME
MATCHING ความกลมกลืนลงตัวกัน
MEMBRANE เยื่อ หรือแผ่นเยื่อสังเคราะห์ เป็นวัสดุที่นำมาใช้ประกอบตู้ซับวูเฟอร์
MD MINI DISCแผ่นบันทึกสัญญาณดิจิทอล ที่มีขนาดเล็ก บรรจุในกล่องเหมือนดิสค์เกต
MDF MEDIUM DENSITY FIBERBOARD แผ่นไม้อัดขนาด 3/4"นิยมนำมาตีแผงติดตั้ง หรือตู้ลำโพง
MICA-FILLED POLYPROPYLENEวัสดุผสม ใช้ผลิตกรวยลำโพง
MICROSUB ตู้ซับวูเฟอร์ที่ออกแบบให้มีขนาดเล็ก
MID BASS ลำโพงเสียงต่ำ
MID RANGE ลำโพงเสียงกลาง
MILLENNIUM รอบพันปี หรือ สหัสวรรษ
MONO การต่อเล่นแบบ 1 แชนแนล
MOSFET METAL OXIDE SEMICONDUCTOR FIELD EFFECT TRANSISTORอุปกรณ์อีเลคทรอนิคที่ออกแบบมาพิเศษ สำหรับภาคจ่ายไฟในเพาเวอร์แอมพ์ให้กระแสสูงในช่วง PEAK และมีความเพี้ยนต่ำ
MOTORIZE ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
MULTI-AMP เพาเวอร์แอมพ์หลายแชนแนล หรือระบบเสียงที่แยกเข้า และขับทั้งระบบตั้งแต่ 4 ช่วงสัญญาณขึ้นไป
MV MILLIVOLTหน่วยวัดแรงดันไฟ มีค่า 1/1,000 โวลท์
MYLAR วัสดุกรวยลำโพงประเภทหนึ่ง
N
NAVIGATION SYSTEM ระบบนำร่อง หรือระบบนำทาง
NEODIMIUM แม่เหล็กคุณภาพสูงที่ให้ความเข้มของสนามแม่เหล็กมากกว่าแม่เหล็กธรรมดา 10 เท่า
NOISE เสียงรบกวน
NOISE FLOOR เสียงรบกวนที่ตำกว่าระดับสัญญาณ เป็นฐานช่วงกว้าง เช่นเสียงเครื่องยนต์ หรือสภาพแวดล้อม
NOISE GATE การลดเสียงกวนที่ต่ำกว่าระดับสัญญาณให้น้อยลง
NOMAL ปกติ ต่อเนื่องใช้กับกำลังขับของแอมพ์ และการทนกำลังขับของลำโพง
NOMAL PHASE คลื่นความถี่เสียงปกติ จากการต่อสัญญาณที่ถูกต้อง
O
OCTIVE ช่วงของชั้นเสียงดนตรี หรือตัวโนทดนตรี 7 ตัว
ODR OPTICAL DIGITAL REFERENCE SYSTEMSระบบในภาควิทยุ
OFF-CENTER CENTER IMAGES มิติตรงกลางไม่สมดุลย์
ON-AXIS ตำแหน่งบนแกนกลางของลำโพง
OEM ORIGINAL EQUIPMENT MANUFACTURERอุปกรณ์ที่เป็นส่วนควบมาจากโรงงานกับตัวรถ
OFF-AXIS การปรับมุมลำโพงไม่เข้าหาผู้ฟังโดยตรง
OHM หน่วยความต้านทานกระแสไฟ
ON-AXIS การปรับมุมลำโพงหาผู้ฟังโดยตรง
OUNCE ออนซ์ หน่วยน้ำหนักแม่เหล็ก
OUTPUT ขาออกของสัญญาณ
OVERDRIVE อุปกรณ์เพิ่มระดับสัญญาณ
OVERSAMPLING การกรองสัญญาณดิจิทอลในภาคซีดี
P
PATHLENGTH OFFSET วิธีลดระยะทางจากหูถึงลำโพง
PASSIVE CROSSOVER อุปกรณ์ตัดสัญญาณแบบไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ปรับเลือกจุดตัดอิสระไม่ได้
PANEL บริเวณด้านข้าง
PARAMETRIC ปุ่มปรับระดับสัญญาณความถี่
PATH การเดินทางของเสียง
PATH LENGTH ระยะการเดินทางของเสียง
PEAK ระดับสัญญาณที่บูสต์ขึ้นสูงในช่วงแบบไม่ต่อเนื่อง กำลังขับ หรือการทนกำลังขับสูงสุด
PEAK AND DIP การหักล้างความถี่เสียง
PEAK TO PEAK ช่วงชักลำโพงสูงสุด
PERFORMANCE พลัง หรือกำลัง หมายถึงวัตต์ หรือระดับเสียง ส่วนมากใช้กับเพาเวอร์แอมพ์ และซับวูเฟอร์
PHASE องศาของคลื่นความถี่
PHASE SHIFT การคลาดเคลื่อนของ PHASE
PID PORT INNER DIAMETERเส้นผ่าศูนย์กลางท่อในตู้ลำโพง
PIL PORT INNER LENGTHความยาวท่อในตู้ลำโพง
PINK NOISE สัญญาณความถี่เสียงที่เป็นแนวระนาบเส้นตรงตั้งแต่ 20-20,000 HZเป็นช่วงสัญญาณความถี่ที่หูมนุษย์สามารถได้ยิน
PLEXIGLAS แผ่นวัสดุบางใส เหมือนพลาสติค ใช้ในการประกอบตู้ซับวูเฟอร์ หรือตกแต่งเพื่อให้เห็นอุปกรณ์ภายใน
POLYETHER ใยสังเคราะห์ หรือผ้าใยสังเคราะห์
POLYPROPYLENE วัสดุกรวยลำโพงชนิดหนึ่ง
POLYMER LAMINATE วัสดุกรวยลำโพงชนิดหนึ่ง
POLYMER RACIN สารเคลือบลำโพง
POLY MICA วัสดุกรวยลำโพงชนิดหนึ่ง
PORT ท่อในตู้ลำโพง ชนิดตู้ซับวูเฟอร์แบบเปิด
PORT NOISE เสียงหายใจ หรือเสียงกวนจากท่อในตู้ลำโพง
POWER กำลัง หรือพลังวัตต์
POWER CONNECTOR ขั้วต่อไฟเข้าอุปกรณ์
POWERAMP หรือ POWER AMPLIFIER อุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ในการขยายสัญญาณ
PRE AMPLIFIER อุปกรณ์ปรับแต่งสัญญาณก่อนเข้าเพาเวอร์แอมพ์
PRESET การตั้งไว้ล่วงหน้า ใช้กับการตั้งสถานีวิทยุ
PROCESSOR อุปกรณ์ปรับแต่งสัญญาณแบบเน้นรายละเอียดก่อนเข้าเพาเวอร์แอมพ์
PVC เป็นวัสดุประเภทหนึ่งที่ใช้ทำฉนวนหุ้ม สายสัญญาณ
PWM PLUSE WIDTH MODULATIONวงจรในภาคขยายในเพาเวอร์แอมพ์ ที่ลดเสียงรบกวนได้สมบูรณ์แบบ
Q
QUAD-AMP ระบบเสียงแบบแยกเข้า และขับอิสระ 4 ช่วงสัญญาณ
QUALITY คุณภาพ เช่น SOUND QUALITY คุณภาพเสียง
R
RADIAL VENT ช่องระบายความร้อนบริเวณรอบๆ วอยศ์คอยล์
RCA ประเภทขั้วสัญญาณแบบกลม มีช่องตรงกลาง ใช้งานสะดวก
RDS RADIO DATA SYSTEMการทำงานในภาควิทยุของฟรอนท์เอนด์
REAR DECK แผงคอนโซลหลัง บริเวณด้านหลังเบาะโดยสาร
REAR FILL ทิศทางของเสียงที่มาจากด้านหลัง
RESOLUTION รายละเอียดอณูเสียง
RESONANCE เสียงก้อง เสียงสะท้อน สั่นเครือ
RESPONSE CURVE คลื่นการตอบสนองความถี่
REVERSE PHASE การกลับ PHASE
RMS ROOT MEAN SQUAREกำลังขับต่อเนื่อง หรือทนกำลังขับต่อเนื่อง
ROAD KILL แผ่นยางกันสะเทือน
RTA REAL TIME ANALYZERเครื่องวัดค่าความถี่ตอบสนองแสดงค่าเป็นจุดกราฟ 30 จุดตั้งแต่ 25-20,000 HZ
RUBBER SERROUND ขอบลำโพงแบบยาง
S
SATELLITE ประเภทลำโพงที่มีเสียงกลาง/แหลมอยู่ในตัวเดียวกัน สามารถติดตั้งได้ทันที
SCAN การหาคลื่นความถี่ในภาควิทยุ หรือเลือกเพลงในภาคซีดี
SCREWS ตัวยึดแบบเกรียว
SDDS SONY DIGITAL DYNAMIC SOUNDระบบเสียงดิจิทอล ที่คิดค้นโดย SONY
SEAL ตู้ซับวูเฟอร์แบบปิด
SENSITIVITY ความไวเสียง หน่วยเป็นดีบี (DB)
SERIES อนุกรม หรือหมวดรุ่นในไลน์การผลิต
SIGNAL สัญญาณเสียง
SIGNAL PROCESSOR อุปกรณ์ปรับแต่งเสียงให้เหมาะสมกับสภาพอคูสติค
SILK TEXTILE DIAPHRAGM ใยไหมถักขึ้นรูป เป็นวัสดุผลิตโดมทวีเตอร์ชนิดหนึ่ง
SILICONE สารสังเคราะห์สำหรับเคลือบพื้นผิว ใช้เคลือบกรวยลำโพง
SLEW RATE ประสิทธิภาพการจ่ายไฟแบบเฉียบพลัน ในเพาเวอร์แอมพ์ มีหน่วยเป็น
โวลท์/ไมโครเซกัน (V/S)
SLOP ระดับความลาดชันของจุดตัดครอสส์โอเวอร์ มีหน่วยเป็น ดีบี/ออคเทฟ
(DB/OCTAVE) เช่น 6, 12, 18, 24 และ 60 ดีบี/ออคเทฟ
S/N RATIO SIGNAL TO NOISE RATIO
อัตราส่วนสัญญาณต่อเสียงกวน มีหน่วยเป็นดีบี (DB)
SOFT DOME โดมทวีเตอร์แบบนุ่ม เช่น ใยไหมถักขึ้นรูป
SOUNDFIELD สนามเสียง
SOUNDSTAGE เวทีเสียง
SOURCE แหล่งกำเนิดสัญญาณ
SPEAKER ลำโพง
SPIDER วัสดุสังเคราะห์อัดเป็นลอนยึดด้านล่างของกรวยกับโครงลำโพง
ให้ความยืดหยุ่น เหมือนกับเซอร์ราวน์ด
SPL SOUND PRESURE LEVEL
ระดับความดังของเสียง มีหน่วยเป็นดีบี (DB)
SQ SOUND QUALITY
คุณภาพเสียง หรือรุ่นการแข่งขันที่เน้นคุณภาพเสียง
SQ PLUS SQ+ หรือ SOUND QUALITY PLUS
มากกว่าคุณภาพเสียง หรือรุ่นการแข่งขันที่ดูทั้งคุณภาพเสียง
การติดตั้ง และพลัง
SQUARE SUBWOOFER ซับวูเฟอร์ที่มีกรวยรูปทรงสี่เหลี่ยม
SR-D SPECTRAL RECORDING DOLBY STEREO DIGITAL
ระบบเสียงในโรงภาพยนต์ (DSD)
STAGE เวทีแสดงดนตรี
STAINLESS STEEL โลหะชนิดหนึ่ง
STANDING WAVE คลื่นที่คงที่ คลื่นที่อยู่ปกติ หรือปัญหาคลื่นความถี่เสริม
STEALTH BOX ตู้ซับวูเฟอร์สำเร็จ ติดซ่อนในส่วนต่างๆ ของรถ
STEREO SEPARATION ความสามารถในการตอบสนองสัญญาณข้างซ้าย และขวา
มีหน่วยเป็นดีบี (DB) ค่ายิ่งมากยิ่งดี
STRONTIUM FERRITE MAGNAT ชนิดของแม่เหล็ก
SUBSONIC FILTER วงจรกรองสัญญาณเสียงเบสส์ย่านต่ำ
SUBWOOFER ลำโพงเสียงเบสส์ที่ต่ำมากๆ
SUPER TWEETER ลำโพงเสียงแหลม ชนิดพิเศษ มีขนาดเล็กกว่าทวีเตอร์ ถ่ายทอดสัญญาณ
เสียงแหลมที่ประมาณ 16,000 HZ ขึ้นไป
SURROUND ขอบของลำโพง ส่วนที่ยึดกรวยกับโครงสร้าง
เสียงดนตรีแบบรอบทิศทาง
SURROUND EX ระบบเสียงรอบทิศทาง วางตัวลำโพงเสริมเสียงด้านหลังให้เต็ม
SWIVEL หมุนได้รอบทิศ
SYSTEM ระบบ หมายถึงการจัดชุด
SYSTEM DESIGN การออกแบบระบบเสียง 1 ในกฎเหล็ก ICFR
T
THD TOTAL HAMONIC DISTORTION ค่าความเพี้ยนรวมของสัญญาณ
มีหน่วยเป็นเปอร์เซนต์ (%)
THERMOSTAT ตัวเปิด/ปิดระบบควบคุมความร้อน
THERTRE โรงภาพยนตร์
THIELE SMALL PARAMETER ค่าเฉพาะของลำโพงซับวูเฟอร์
THREE WAY COMPONENT ลำโพงแยกชิ้น 3 ทาง
TIME ALIGNMENT ระยะเวลาการเดินทางของเสียง
TITANIUM โลหะชิ้นหนึ่ง นิยมนำมาผลิตเป็นโดมทวีเตอร์
TONAL BALANCE ความกลมกลืนต่อเนื่องของเสียงทุ้ม/กลาง/แหลม
TONAL HAMONIC DISTORTION ค่าความเพี้ยนรวม มีหน่วยเป็นเปอร์เซนต์ (%)
TOROIDAL หม้อแปลงวงแหวน
TRANSFER FUNCTION วิธีแก้ไขค่าแตกต่างระหว่างตู้ซับวูเฟอร์ในรถ กับห้องทดสอบ
TRANSIENT การ PEAK ขึ้นอย่างรวดเร็วในสัญญาณ ที่เกิดจากเสียงดนตรี
TRANSISTOR อุปกรณ์อีเลคทรอนิคในแผงวงจรของเพาเวอร์แอมพ์ ให้กำลังขับสูง
TREBLE CONTROL การปรับแต่งเสียงแหลม
TRI-AMP ระบบการจัดชุดแบบแยกช่วงเข้า และขับแบบอิสระ 3 ช่วงสัญญาณ
TRIAXIAL ลำโพงแกนร่วมแบบ 3 ทาง มักใช้กับลำโพง 6"x9"
TRUNK ห้องเก็บของด้านหลัง
TUBE หลอดสุญญากาศในวงจรของเพาเวอร์แอมพ์ ให้เสียงเป็นธรรมชาติ
TWEETER ลำโพงเสียงแหลม
TWISTED PAIR สายสัญญาณที่ออกแบบให้มีลักษณะถักไขว้ เพื่อลดเสียงรบกวน
TWO COAXIAL ลำโพงแกนร่วม 2 ทาง
TWO WAY COMPONENT ลำโพงแยกชิ้น 2 ทาง
U
UNIT DRIVER ตัวลำโพงโดดๆ
USAC UNITED STATES AUTOSOUND COMPETITION
องกรณ์เครื่องเสียง
V
VARIABLE ต่อเนื่อง ปรับตั้งได้อย่างอิสระ
VCD VIDEO COMPACT DISC
แผ่นเก็บสัญญาณดิจิทอลทั้งภาพ และเสียง ความละเอียดใกล้เคียงกับ
วีดีโอเทป แต่ฟังค์ชันการทำงานมากกว่า
VENT ช่องสำหรับให้เสียงออก ใช้ในตู้ซับวูเฟอร์ ทำงานเหมือนท่อ PORT
VINYL ไวนิล หรือหนังเทียม
VOICE COIL ขดลวดทองแดงในลำโพง
VOLTAGE แรงดันของกระแสไฟ
VOLUME ระดับสัญญาณเสียง
W
WATT หน่วยของกำลังขับ หรือการทนกำลังขับ
WAVE คลื่นเสียง
WAVE ALIGNMENT การเดินทางของคลื่นเสียง
WAVE GUIDE ตัวบังคับการกระชากเสียงของลำโพง
WIDTH ความกว้าง (W)
WOOFER ลำโพงที่ตอบรับสัญญาณความถี่ได้ตั้งแต่เสียงเบสส์ต่ำๆ
ขึ้นไปถึงย่านเสียงกลาง เป็นช่วงกว้างกว่าลำโพง MID BASS
X
X-MAX ช่วงชักของลำโพง OPT 1.50 !B!B _ N n
ABOUT THE AUTHOR
ก
กองบรรณาธิการ
ภาพโดย : -นิตยสาร 409 ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2545
คอลัมน์ Online : Car Stereo