หลังจากได้รับการต่ออายุจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมาเรียบร้อย Carlos Ghosn ซึ่งเป็นผู้นำค่าย Renault มานับแต่ปี 2548 และดำรงตำแหน่งซีอีโอ ได้รับคำสั่งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้ทำการสนับสนุนและพัฒนารถไฟฟ้าปัจจุบัน Carlos Ghosn ในวัย 64 ปี ส่งมอบงานประจำที่ต้องทำทุกวันในหน้าที่ ให้แก่ Thierry Bollore และยอมรับเงินรายได้ที่ลดลง 19 % เหลือเพียง 1 ล้านยูโร ในปี 2561 แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นบางส่วน แต่ก็มีเสียงบ่นว่า เขามีรายได้มากเกินไป เพราะเขาเพิ่งรับเงินรายได้ต่างหากจาก Nissan นอกเหนือจากแผนงานรายได้ของ Carlos Ghosn ในปีนี้แล้ว เงินรายได้พิเศษอีก 30 % จะขึ้นอยู่กับแผนงานใหม่ คือ การจำหน่ายรถไฟฟ้า หากสามารถทำได้เพิ่มขึ้น 5 % จากแผนงานที่ประเมินไว้ Ghosn จะได้รับเงินรายได้เพิ่ม 30 % แต่หากสามารถทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ เขาจะได้รับเพียง 21 % เป้าหมายการจำหน่ายรถไฟฟ้านี้ Renault ไม่ได้ระบุไว้เป็นตัวเลข แต่ในปีที่ผ่านมา ขายรถไฟฟ้าไปทั้งสิ้น 36,000 คัน ซึ่งเป็นรุ่น Zoe แฮทช์แบค ราว 32,000 คัน ที่เหลือเป็นรถตู้ขนาดเล็ก Kangoo ซึ่งเพิ่มขึ้นราว 10,000 คัน จากปี 2559 Renault มียอดขายรถไฟฟ้าในยุโรป น้อยกว่า 2 % และในปีนี้ คาดว่าจากมาตรการด้านมลภาวะที่เข้มงวด ทั้งในยุโรป และประเทศจีน จะทำให้รถไฟฟ้ามียอดขายเพิ่มมากขึ้น “เราจะเห็นความต้องการรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า” Ghosn เล่าให้ผู้ถือหุ้นฟัง ใน 4 เดือนแรกของปีนี้ ยอดขายของรถไฟฟ้า Nissan Leaf แซงหน้ายอดขาย Renault Zoe ไปแล้ว รวมทั้งคู่ต่อสู้อย่าง Volkswagen e-Golf และ BMW i3 ก็เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่ ยืนยันว่าจะมีรถไฟฟ้าครบทุกไลน์ ภายในปี 2563 เรื่องของรถไฟฟ้า เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของ Ghosn ก่อนหน้านี้ โดยประกาศเพิ่มเงินลงทุน 4 ล้านยูโร ในปี 2554 โดยประเมินว่าจะสามารถทำให้พันธมิตร Renault Nissan ผลิตรถไฟฟ้าให้ได้ปีละ 500,000 คัน ในปี 2566 ขณะที่ Renault เพิ่งประกาศการลงทุนเพิ่ม 1 พันล้านยูโร ในการผลิตรถไฟฟ้า สำหรับทวีปยุโรป โดยจะเพิ่มยอดผลิตให้เป็น 2 เท่า จากโรงงานในเมือง Flins ฝรั่งเศส และผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าให้ได้เป็น 3 เท่า จากโรงงานใน Cleon ฝรั่งเศส เช่นกัน แม้ว่ายอดการผลิตจะยังไม่สามารถทำได้ตามต้องการ แต่ Ghosn ก็ประเมินเอาไว้แล้วว่า “ภายในไม่กี่ปี ยอดขายรถไฟฟ้าจะแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แน่นอน”