ธุรกิจ
ฟอร์ด ทดสอบการกัดกร่อนแบบสุดโหดเพื่อให้รถพร้อมลุย ในทุกสภาวะแวดล้อม

ประเทศไทยขึ้นชื่อในเรื่องของชายหาดที่สวยงามและภูมิอากาศเขตร้อนตลอดปี ที่เป็นที่โปรดปรานของนักท่องเที่ยว แต่ในอีกมุมสวรรค์บนดินอาจกลายเป็นปัญหาสำหรับผู้อยู่อาศัย เมื่อน้ำเค็มจากทะเลเจอกับอากาศร้อนชื้น จึงก่อให้เกิดการกัดกร่อน มีการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวสามารถทำให้ประเทศไทยเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 3 แสนล้านบาท/ปี
วัสดุต่างๆ ที่ดูทนทาน อย่างเหล็ก พลาสติค หรือคอนกรีท ก็เกิดการกัดกร่อนได้ทั้งสิ้น โชคดีที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถสร้างนวัตกรรมที่ช่วยปกป้องวัสดุภายนอกเหล่านี้ รวมถึงแผ่นปิดใต้ท้องรถไม่ให้พื้นผิวถูกกัดกร่อนได้
ถึงแม้จะอยู่อาศัยห่างจากพื้นที่ชายทะเลก็ไม่ได้หมายความว่าจะหลีกเลี่ยงการกัดกร่อนได้ ในเมืองอย่างกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ก็ยังมีความชื้น และมลพิษที่รวมตัวกันก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวกับวัสดุต่างๆ หรือแม้กระทั่งรถยนต์ได้อยู่ดี การมีรถที่ทนทานต่อสภาพอากาศจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของรถควรคำนึงถึงด้วยเช่นกัน
หาก ฟอร์ด เอเวอเรสต์ สี Deep Crystal Blue กลายเป็นสีฟ้าเรืองแสง คงน่าเสียดาย วิศวกรของ ฟอร์ด จึงคิดค้นวิธีทดสอบแบบสุดขั้วขึ้นมาเพื่อใช้ในศูนย์ทดสอบ You Yang Proving Grounds (YYPG) ของ ฟอร์ด ในออสเตรเลีย เรียกว่า “การทดสอบความทนทานการกัดกร่อนทั้งคันรถ” ซึ่งใช้เวลา 12 สัปดาห์ติดต่อกัน ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง
ขั้นตอนแรกสุด คือ การนำรถเข้าไปผ่านความชื้นในตู้อบชื้น ตู้ดังกล่าวสามารถจุรถได้ถึง 4 คันในครั้งเดียว และสามารถสร้างความชื้นได้เทียบเท่ากับห้องซาวนา หลังจากผ่านการอบชื้นแล้ว วิศวกรจะนำรถไปขับบนพื้นผิวหลากหลายทำให้รถสั่นสะเทือน และให้รถผ่านสสารต่างๆ ทั้ง เกลือ ฝุ่น และกรวด โดยอุณหภูมิและความชื้นรอบด้านแปรผันในระดับสูงสุด และต่ำสุดสลับกันตลอดเวลา โดยระยะทางทั้งหมดของรถที่ใช้จากการทดสอบการกัดกร่อนนี้ เทียบเท่ากับสภาพแวดล้อมที่รถถูกอากาศและสสารต่างๆ เสมือนการวิ่งบนชายฝั่งอันดามันเป็นเวลาราว 6 ปี
ถ้าคุณคิดว่า เท่านี้คงจะทรมานรถมากเพียงพอแล้ว แต่วิศวกรยังแยกชิ้นส่วนรถตั้งแต่ภายนอก ไปจนถึงช่วงล่างไปอีก เพื่อดูว่ารถมีภูมิคุ้มกันการกัดกร่อนมากแค่ไหน ขั้นตอนนี้ยังทำให้มั่นใจได้ว่าทุกชิ้นส่วนผ่านการประเมินในทุกด้าน ทั้งรูปลักษณ์ภายนอก ประสิทธิภาพ และการใช้งาน การวิเคราะห์จนทราบได้ว่าช่วงใด และชิ้นส่วนใดของรถยนต์ได้รับผลกระทบบ้าง ทำให้วิศวกรของ ฟอร์ด สามารถหาทางป้องกันที่ดีขึ้นจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในระยะยาว
สตีเฟน แอนดรูว์ส หัวหน้าฝ่ายทดสอบการกัดกร่อน ภูมิภาคเอเชีย แฟซิฟิค ประจำศูนย์ทดสอบ YYPG ฟอร์ด กล่าวว่า เป้าหมายของการทดสอบสุดทรหดที่แสนยาวนานนี้ ก็เพื่อหาจุดอ่อนของรถ ก่อนที่รถจะถึงมือลูกค้า
“หากมีวัสดุใด หรือช่วงใดที่เป็นจุดอ่อนถูกกัดกร่อน เราจะสามารถเคลื่อนย้าย หรือสับเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่เริ่มกร่อน หรือทั้งแผ่นบอบบางลงจากการผ่านสภาพอากาศ และสสารต่างๆ อย่างหนักหน่วง”
อย่างไรก็ดี การดูแลรถของลูกค้าไม่ให้มีสภาพถูกกัดกร่อนนั้นไม่ได้หยุดแค่ที่การทดสอบ ในโรงงานเอฟทีเอมที่ระยอง รถทุกคันที่ผลิตขึ้นจะผ่านการอาบสารป้องกันการกัดกร่อนก่อนที่จะพ่นสี เพื่อเพิ่มการป้องกันผลจากการกัดกร่อนมากขึ้นอีกขั้น