ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (รยสท.) ตอบรับนโยบายรัฐ เร่งเครื่องยกระดับมอเตอร์สปอร์ทไทยรับนโยบาย "Sport Tourism" ของกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา พร้อมเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ ล่าสุดเตรียมจัดแข่งแรลลีและทางเรียบมาราธอนส่งท้ายไตรมาส 4 โหมกระแสมอเตอร์สปอร์ทคึกคักส่งท้ายปี 2021
พฤฒิรัตน์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ประธานคณะกรรมการกีฬายานยนต์ ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (รยสท.) หรือ RAAT เปิดเผยถึงนโยบาย และทิศทางการดำเนินงานว่า ทางสมาคมฯ ได้วางกรอบแนวทางการพัฒนาศักยภาพของกีฬามอเตอร์สปอร์ทในประเทศไทย สู่ความยั่งยืน สอดรับนโยบาย "Sport tourism" ของกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬาไว้ในหลายมิติ เนื่องจากกีฬาแข่งรถนั้นนอกจากจะเป็นอีกกิจกรรมที่สามารถสร้างเสน่ห์ และเม็ดเงินรายได้ให้แก่การท่องเที่ยวของประ เทศไทยได้ในระดับสูงแล้วนั้น ยังมีความเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญอีกแห่งของโลกในปัจจุบันนี้
“ความเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นประเด็นที่คณะกรรมการที่มี สนธยา คุณปลื้ม ในฐานะนายกสมาคมฯ ให้ความสนใจ เพราะประเทศไทยเป็นฐานผลิตสำคัญอีกแห่งของโลก ที่มีเม็ดเงินในระบบธุรกิจมากกว่า 1 ล้านล้านบาทในแต่ละปี ในอนาคตมีโอ กาสสูงที่บรรดาผู้ผลิตทั้งรถ และชิ้นส่วน อย่างเช่น ค่ายยางรถยนต์จะหันมาให้ความสนใจ ส่งเสริมด้านมอเตอร์สปอร์ท เหมือนกับในต่างประเทศที่รถยนต์ และมอเตอร์สปอร์ทจะมีกิจกรรมเชื่อมโยงกันมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นในรูปแบบผู้ประกอบรถ ไม่ใช่แบรนด์ผู้ผลิตโดยตรง การให้ความสำคัญด้านมอเตอร์สปอร์ทในปัจจุบันจึงมีไม่มากนัก แต่ในอนาคตเมื่อรูปแบบการแข่งขันมีความชัดเจน มีการพัฒนามากขึ้น ก็น่าจะเป็นปัจจัยที่กลุ่มบริษัทรถ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จะหันมาให้ความสำคัญกับมอเตอร์สปอร์ท เมื่อเราทำให้เค้าเห็นว่ามันส่งผลดีต่อแบรนด์ของเค้า ที่เห็นชัดเจนในปัจจุบัน คือ Toyota (โตโยตา) ที่ยืนหนึ่งในด้านนี้ แต่เรายังหวังจะให้มีแบรนด์อื่นๆ เกิดขึ้นตามมา แต่การจะเกิดจุดนั้นได้ คือ ภาพของความเป็นทีมแข่งที่มีศักยภาพในจำนวนที่มากขึ้น รวมถึงการตอบรับของผู้ชมที่มากขึ้น แน่นอนว่ามันก็เชื่อมโยงสู่การพัฒนาให้เกมกีฬานี้เดินหน้าสู่การเป็นกีฬาอา ชีพนั่นเอง และสามารถสร้างผลผลิตสู่นักแข่งชั้นนำ เกิดเป็นนักกีฬาอาชีพ แล้วสร้างให้นักกีฬาเหล่านี้เติบโต ต่อยอดไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ไปสู่จุดสูงสุดในอาชีพของเค้า และไปถึงระดับโลก อย่างเช่น เอส นราศักดิ์ อิทธิริทพงษ์ ที่ได้รับเชิญให้ร่วมแข่งขันในรายการ เวิร์ลด์แรลลีแชมเพียนชิพ ในปี 2022 เป็นต้น
พฤฒิรัตน์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับแผนงานเบื้องต้นนั้น คือ เร่งยกระดับศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกีฬายานยนต์ เช่น นักแข่ง ทีมแข่ง และกรรมการผู้ตัดสินชาวไทยให้ก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างให้การแข่งขันรถเป็นกีฬาอาชีพ เนื่อง จากที่ผ่านมายังไม่มีการผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง ในฐานะที่เข้ามาบริหารงานในจุดนี้ อย่างหนึ่งที่ให้ความสำคัญ คือ เรื่องนี้ โดยเริ่มจากการวางเกณฑ์ก่อน อาทิ ด้านระเบียบการแข่งขัน ตัวนักกีฬา รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ องค์กรการจัดแข่งขันที่ต้องเป็นมืออา ชีพ นักแข่ง และทีมก็ต้องเป็นมืออาชีพเช่นกัน ซึ่งอาจเหมือนกับการนับ 1 อีกครั้ง แต่จะส่งผลดีต่อภาพรวมของกีฬามอเตอร์สปอร์ทในอนาคต
“นักแข่งบางคนก็ไม่รู้ว่าสามารถทำเป็นกีฬาอาชีพได้ หรือได้รับการส่งเสริมอย่างไรบ้าง นั่นเพราะยังไม่มีการสื่อสารชัดเจนออกมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสู่วงกว้าง จะมีเฉพาะกลุ่มที่รู้ถึงนโยบายนี้ เราจึงพยายามทำเต็มที่ และพัฒนากีฬานี้ให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น พัฒนาบุคลากรให้ได้มาตรฐานเช่นกัน และเมื่อมันทุกอย่างเติบโตไปพร้อมๆ กัน มันจะเกิดเป็นความยั่งยืนในอนาคต ที่ผ่านมากี ฬาประเภทนี้ถูกมองว่าเป็นเกมกีฬาของบุคคลเฉพาะกลุ่ม กลุ่มคนที่มีเงิน ซึ่งเมื่อเราพัฒนา และสร้างให้เป็นกีฬาอาชีพได้อย่างจริง จัง อนาคตก็จะมีการสนับสนุนจากกลุ่มสปอนเซอร์เข้ามามากกว่านี้ ไม่อย่างนั้นก็กลับไปสู่วงจรเดิม คือ คนที่มีเงินเท่านั้นที่จะได้เข้าร่วมแข่งขัน หลักของกีฬาอาชีพ คือ ต้องเป็นอาชีพที่เลี้ยงตัวเองได้
พร้อมกันนี้ ในปีนี้จะเป็นปีแรกที่ทางสมาคมฯ ได้เตรียมจัดการแข่งขัน แรลลีชิงแชมพ์ประเทศไทย ในรายการ RAAT Thailand Rally Championship 2021 ชิงถ้วยพระราชทาน ซึ่งรายการดังกล่าวนี้เป็นอีกตัวอย่างของการพัฒนาวงการมอเตอร์สปอร์ทไทย โดยสมาคมฯ ได้นำเสนอรูปแบบการจัดแข่ง ภายใต้แนวคิดการจัดในลักษณะแรลลีปิด ซึ่งหมายถึงไม่ใช้ถนนสาธารณะ หรือไลน์การขับที่ไม่ไปรบกวนผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณนั้น อีกทั้งจะต้องไม่ไปสร้างปัญหา หรือมลพิษ พอลลูชันให้คนท้องถิ่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสียง หรือฝุ่นก็ตาม ฉะนั้นแรลลีปิดจึงเป็นแนวคิดใหม่ที่จะเกิดขึ้น ทางคณะทำงานจึงได้ทำการสำรวจพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอรองรับแนวคิดดังกล่าว ซึ่งมีทั้งพื้นที่ของเอกชน และหน่วยงานรัฐ โดยเบื้องต้นนั้นต้องมีระยะทาง และรูปแบบที่เป็นไปตามกฎของ รยสท. โดยจัดทั้งสิ้น 3 ครั้ง เริ่มสนามแรกวันที่ 23-24 เดือนตุลาคมศกนี้ที่ อ. บ่อพลอย จ. กาญจนบุรี สนามที่ 2 ในวันที่ 27-28 พฤศจิกายน ที่ จ. ราชบุรี และจบสนามสุดท้ายในวันที่ 18-19 ธันวาคม จ. ฉะเชิงเทรา แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 รุ่น ประกอบด้วย 1. Rally Category 1: Super 2WD (ซูเพอร์ ทูวีลดไรฟ) (Super 1600 (ซูเพอร์ 1600), Super 1500 (ซูเพอร์ 1500), Super 1300 (ซูเพอร์1300), 2.Rally Category 2: Super 4WD (ซูเพอร์ โฟร์วีลดไรฟ), Super 2000 2WD (ซูเพอร์ 2000 ทูวีลดไรฟ) และรุ่นที่ 3 Classic Car Class 1/2/3 (คลาสสิค คาร์ คลาสส์ 1/2/3)
นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ได้เตรียมจัดการแข่งขันรายการยานยนต์ทางเรียบมาราธอน RAAT Thailand Endurance Champion ship International 2021 เพื่อสนับสนุนกีฬามอเตอร์สปอร์ทในประเทศไทย ให้เป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน ณ สนามพีระอินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิท โดยสนามแรกจะจัดขึ้นในวันที่ 19-20 เดือนพฤศจิกายน และสนามที่ 2 วันที่ 10-11 ธันวาคม ส่วนสนามที่ 3 จัดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคมศกนี้ แบ่งรุ่นการแข่งขันออกเป็น 5 ประเภทหลัก ประกอบด้วย 1 รุ่น Eco (อีโค) (Overall), 2 รุ่น Compact (คอมแพคท์) : 1200 Turbo (1200 เทอร์โบ), 1500-1600 CC (1500-1600 ซีซี), 3 รุ่น Touring Car (ทัวริง คาร์): 1500-1600 CC Turbo (1500-1600 ซีซี เทอร์โบ), 2000 CC (2000 ซีซี), 4 รุ่น Toyota One Make Race (โตโยตา วันเมคเรศ) และ 5 รุ่น Toyota Vios One Make Race Lady (โตโยตา วีออส วันเมคเรซ เลดี)
บทความแนะนำ