ธุรกิจ
Mazda ปรับกลยุทธ์ ยกระดับแบรนด์
ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังด้านการใช้จ่าย เนื่องจากไม่แน่ใจสถานการณ์ และยังส่งผลกระทบถีงโรงงานผลิตชิ้นส่วนหลายแห่ง ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต และกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งระบบ อย่างไรก็ดี ยังมีสัญญาณบวกจากการที่ประชาชนได้รับวัคซีนเพิ่มมากขี้นเล็กน้อย การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ จากภาครัฐ ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยปีงบประมาณ 2564 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2563 ที่ 1 % ประมาณ 795,000 คัน โดยตลาดรถพิคอัพได้รับความนิยมสูงสุด มีจำนวนรวม 357,000 คัน ตามมาด้วยรถยนต์นั่งจำนวน 214,000 คัน รถอเนกประสงค์เอสยูวี (รวม PPV) จำนวน 143,000 คัน อื่นๆ จำนวน 81,000 คัน ซึ่งจำนวนนี้มีรถยนต์ไฟฟ้า 2,097 คัน
สำหรับปีงบประมาณ 2564 (ระหว่างเดือนเมษายน 2564-มีนาคม 2565) Mazda ทำยอดขายได้ 35,654 ค้น ลดลงเล็กน้อย 11 % เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563 ครองส่วนแบ่งการตลาด 4.5 % แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง จำนวน 20,115 คัน โดยเฉพาะ Mazda2 ยังร้อนแรงต่อเนื่องด้วยยอดขายเกินกว่าครึ่ง มีจำนวนสูงถึง 18,426 คัน ตามมาด้วย Mazda3 จำนวน 1,685 คัน และ Mazda MX-5 จำนวน 4 คัน ขณะที่รถพิคอัพ Mazda BT-50 จำนวน 1,224 คัน Mazda CX-30 มียอดขายสูงสุดถึง 6,879 คัน Mazda CX-3 จำนวน 5,378 คัน Mazda CX-8 จำนวน 1,074 คัน และ Mazda CX-5 จำนวน 984 คัน
ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในปีงบประมาณ 2565 ว่าสถานการณ์ในปีนี้ แม้ว่าจะยังมองไม่เห็นปัจจัยบวกที่ชัดเจน อีกทั้งยังมีปัจจัยลบที่อยู่นอกเหนือการควบคุมรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความตึงเครียดในยุโรป ภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทที่มีความผันผวน ความหวาดหวั่นต่อการกลายพันธุ์ของโรค COVID-19 ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ระบบขนส่งลอจิสติคส์ และการขาดแคลนชิ้นส่วนเพื่อผลิตรถยนต์ แต่เชื่อว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว การที่ประชาชนได้รับวัคซีน เป้าหมายการปรับเป็นโรคประจำถิ่น การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ และมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ ล้วนแล้วแต่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นกลับมาได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เติบโตหวือหวามากนัก แต่เชื่อว่าจะดีกว่าปีที่ผ่านมา คาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในปีงบประมาณนี้จะมียอดขายรวมอยู่ที่ประมาณ 820,000-850,000 คัน และ Mazda คาดว่าจะมียอดขายมากกว่า 40.000 คัน หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 15 %
สำหรับในปีงบประมาณ 2565 นี้ Mazda เตรียมบุกตลาดรถมือสองด้วยการเปิดตัวธุรกิจใหม่ Mazda CPO (Certified Pre-Owned) นำเสนอรถยนตํใช้แล้วคุณภาพดีให้แก่ลูกค้า เพื่อเป็นช่องทางให้ลูกค้าได้นำรถเก่ามาทเรด-อิน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำ หรือซื้อเพิ่มเติม ภายใต้กลยุทธ์ Trade Cycle Management ซึ่งลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุดจากการครอบครองรถยนต์ Mazda ที่ผ่านการตรวจสอบอุปกรณ์ และชิ้นส่วนกว่า 100 รายการ ผ่านมาตรฐาน และการรับรองจาก มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย)ฯ ซึ่งโครงการ Mazda CPO จะเป็นการยกระดับมูลค่ารถ Mazda มือสองในตลาด รวมถึงเสริมความแข็งแกร่งให้แก่แบรนต์ และสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันเปิดดำเนินการแล้ว 9 แห่ง ปีนี้ตั้งเป้าขยายเพิ่ม 18 แห่ง และจะเพิ่มขึ้นเป็น 38 แห่ง ภายในปี 2568 ครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด
ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ กล่าวต่ออีกว่า กลยุทธ์ และแนวทางการดำเนินธุรกิจในปีงบประมาณใหม่นี้ Mazda จะเดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบตามแผนงานระยะกลาง (Mid-Term Plan) เพื่อยกระดับคุณค่าแบรนด์ Mazda ในประเทศไทย ผ่านโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า "Retention Business Mode!" โดยให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าแบรนด์ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าในระยะยาว ซึ่งโมเดลธุรกิจใหม่นี้จะเป็นแกนหลักสำคัญที่จะถูกส่งต่อเพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการทำงานในทุกๆ ส่วน โดยแบ่งออกเป็น 5 แกนหลัก ได้แก่
1. สร้างคุณค่าของแบรนด์ Brand Value Management (BVM) ยกระดับคุณค่าแบรนด์ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าในทุก Touchpoint เพื่อยกระดับความพึงพอใจสูงสุด โดยเริ่มต้นก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ ผ่านขั้นตอนการซื้อ จนถึงการเอาใจใส่ดูแลลูกค้าไปตลอดอายุการใช้งาน
2. สร้างความผูกพันกับลูกค้า Customer Retention Business ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าด้วยการบริการหลังการขาย และสร้างความผูกพันกับแบรนด์ Mazda ภายใต้ธุรกิจรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะศูนย์ซ่อมตัวถัง และสี เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการของลูกค้า การขยายไลน์ธุรกิจรถมือสองคุณภาพเหนือระดับ Mazda CPO การขยายศูนย์บริการตรวจเชคระยะแบบเร่งด่วนภายใน 30 นาที หรือ Mazda Fast Service ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการใช้บริการของลูกค้าหนาแน่น และเน้นสร้างความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ด้วยโครงการ CRM และ Customer Privilege Program มอบสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้า ดูแลลูกค้าแบบพรีเมียม เป็นบุคคลพิเศษสุด เกิดเป็นความจงรักภักดีกับแบรนด์ กลับมาใช้บริการซ้ำ และส่งต่อไปยังเจเนอเรชันถัดไป
3. กลยุทธ์ด้านการขยายเครือข่าย Dealer Network Strategy รองรับปริมาณลูกค้าที่เพิ่มขึ้น สร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุด ให้บริการลูกค้าได้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ Mazda มีแผนงาน ดังนี้
-ขยายโชว์รูม และศูนย์บริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 139 แห่ง พร้อมปรับทุกฟังค์ชันให้สามารถรองรับการบริการแบบครบวงจร
-ขยายศูนย์ซ่อมตัวถัง และสี ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 54 แห่ง เพิ่มขึ้นเป็น 58 แห่ง
-เพิ่มช่องการให้บริการตรวจเชคตามระยะแบบเร่งด่วน ภายในเวลา 60 นาที หรือ Mazda Fast Track เพิ่มเป็น 34 แห่ง
-ขยายศูนย์บริการในเขตที่มีประชากร Mazda หนาแน่น Mazda Fast Service หรือ Mazda Satellite Service เพื่อให้บริการตรวจเชคตามระยะแบบเร่งด่วนภายใน 30 นาที ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยตั้งเป้าเพิ่มขึ้นเป็น 3 แห่ง
4. การตลาดยุคดิจิทอล Use of Digital Platform นำพแลทฟอร์มออนไลน์สื่อสารกับลูกค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำการตลาดแบบ Fan-Based Marketing แบบ One-to-One Communication รวมถึงการนำฐานข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านระบบที่เรียกว่า Global One Customer Data Management System
5. มุ่งมั่นสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน Sustainable Zoom-Z00m ภายในปี 2573
-Mazda ประกาศวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแผนพัฒนาเทคโนโลยีระยะยาว Sustainable Zoom-Zoom เมื่อปี 2550 และอัพเดทอีกครั้งในปี 2560 เป็น "Sustainable Zoom-Zoom 2030" โดยแก่นแท้ของวิสัยทัศน์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง Mazda ให้คำมั่นที่จะบรรจุเป้าหมายในเรื่องของการลดการปล่อยแกสคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2593
-ภายใต้กลยุทธ์ Building Block Strategy เพื่อบรรลุเป้าหมายในการลด CO2 แบบ Well-to-Wheel ด้วยการใช้แนวทาง Multi-Solution ช่วยให้นำเสนอรูปแบบพลังงานที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละตลาด ตลอดจนสถานการณ์ด้านพลังงานของแต่ละภูมิภาค การผลิตไฟฟ้า และอื่นๆ
ดังนั้นแนวทาง Building Block Strategy ที่จะทำให้ Mazda บรรลุวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว คือ การสร้างรากฐานด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีด้วยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เกิดการพัฒนารถยนต์ที่ตอบสนองการใช้งานในกรอบเวลาที่เหมาะสม
-เฟส 1 พัฒนาเทคโนโลยีบนพื้นฐานของรถทั้งคัน ด้วยเทคโนโลยีสกายแอคทีฟ ประกอบด้วย เครื่องยนด์ ระบบส่งกำลังโครงสร้างตัวถัง และพแลทฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสูง โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์หลากหลายรุ่น ขั้นตอนในการพัฒนานี้ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีพื้นฐานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้ เช่น ระบบ i-Stop และ Regenerative Braking System ที่นำเอาพลังงานจากการหยุดรถกลับมาชาร์จเป็นพลังงานไฟฟ้า และนำพลังงานกลับมาใช้ในระบบไฟฟ้าของรถยนต์
-จากเฟส 1 จนมาถึง เฟส 2 ได้มีการพัฒนาเครื่องยนด์ และระบบส่งกำลังเจเนอเรชันใหม่ พร้อมกับการพัฒนาพแลทฟอร์ม Skyactiv Scalable Architecture เป็น Muti-Solution สำหรับกลุ่มรถขนาดเล็ก และขนาดกลาง ล่าสุดได้พัฒนา Large Platform สำหรับกลุ่มรถขนาดใหญ่ เครื่องยนต์ตามแนวยาว
-รวมถึงการนำเอาพลังงานไฟฟ้าเข้ามาเสริม อาทิ HEV, PHEV, Rotary Range Extender และรถยนต์ไฟฟ้า BEV โดยรุ่นแรก คือ MX-30 ด้วยพื้นฐานพแลทฟอร์ม และเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้รถยนต์ xEV ประหยัดพลังงาน และมีสมรรถนะการขับขี่ที่ดีเยี่ยม
-และในอนาคต เฟส 3 Mazda กำลังพัฒนา Skyactiv EV Scalable Architecture หรือ Next Generation บนโครงสร้างพื้นฐาน Skyactiv สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ปรับขนาดได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอโครงสร้างที่ตอบโจทย์รถไฟฟ้าในทุกองค์ประกอบ ในทุกเซกเมนท์ ซึ่งลูกค้ามีความต้องการที่แตกต่างกัน ภายใต้ Building Block Strategy และ Muti-Solution โดยนำเสนอรถยนต์ ICE ประสิทธิภาพสูง และรถพลังงานไฟฟ้า xEV แบบ Multi-Solution ในแต่ละตลาดที่แตกต่างกัน
"Mazda ยังคงเดินหน้าเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ที่มาพร้อมเครื่องยนต์สันดาปภายใน ที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และความปลอดภัย ให้การประหยัดน้ำมันที่ดีเยี่ยมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของ Mazda ซึ่ง Mazda เชื่อว่ารถยนต์ภายใต้เครื่องยนต์สันดาปภายในจะยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากลูกค้าในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้เตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประทศไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยจะทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดในประเทศไทยแบบเป็นขั้นเป็นตอน ภายใต้กรอบเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกค้าได้รับเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ในเวลาช่วงที่เหมาะสมที่สุดกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินธุรกิจของ Mazda ในปีงบประมาณ 2565 ที่จะมาเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจในห้วงเวลาที่อุตสาหกรรมรถยนต์กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เพื่อมอบทางเลือกที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ Mazda จะมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ มอบความคุ้มค่า และส่งมอบเทคโนโลยียานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ตามวิสัยทัศน์ Sustainable Zoom-Zoom 2030 เพื่อให้โลกของเรายังคงสวยงาม เพื่อความสุขของผู้คนในสังคม และสร้างสังคมให้น่าอยู่ตลอดไป
ชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานที่ปรึกษา บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ทาดาชิ มิอุระ ประธานบริหาร
ธีร์ เพิ่มพงษ์พันธ์ รองประธานบริหารอาวุโส