ดร. เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสถาบันฯ ให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์คนต่อไป ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ในโอกาสนี้สถาบันฯ จัดให้มีการแถลงข่าวเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ พร้อมนำเสนอทิศทาง นโยบาย ก้าวต่อไปของ สยย. ภายใต้แนวคิด Reshape The Future พลิกโฉมสู่ยานยนต์แห่งอนาคต โดยมีแนวทางการปฏิรูปหน่วยงาน และปรับแนวทางการปฏิ บัติงานในอนาคตตามนโยบาย Mind ใช้หัว และใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน
การเข้ามาของเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตตามนโยบาย 30@30 คือ การตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถที่ปล่อยมลพิษเป็น 0 ให้ได้อย่างน้อย 30 % ของการผลิตยานยนต์ภายในปี คศ. 2030 เป็นกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งในปี คศ. 2023 มีการประมาณการตัวเลขการผลิตรถยนต์ในประเทศอยูที่ 1,950,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี คศ. 2022 ถึง 3.53 % โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1,050,000 คัน และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 900,000 คัน และคาดการณ์ว่าภายใน ปี คศ. 2030 ประเทศไทยการผลิตรถยนต์ที่ 2.4 ล้านคัน แบ่งเป็นรถ ZEV จำ นวน 725,000 คัน ตั้งแต่ปี คศ. 2023-2030 ประเทศไทยจะมีอัตราการเจริญเติบโต 3.5 %/ปี ทำให้ประเทศไทยมีบทบาทในการเป็นฐานการส่งออกเพิ่มมากขึ้น
จากนโยบายดังกล่าว สยย. จำเป็นต้องเกิดการ Reshape ปฏิรูปงานบริการของ สยย. พร้อมปรับเปลี่ยนรูปแบบ Business Model เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยปัจจุบัน สยย. มีการให้บริการหลัก ดังนี้ บริการทดสอบยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ตามมาตรฐานบริการตรวจการทำผลิตภัณฑ์ (IB) และ Free Zone เขตปลอดอากร บริการฝึกอบรม รวมถึงบริการข้อมูลศูนย์สารสนเทศยานยนต์ที่รวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ พร้อมจัดทำงานวิจัย เพื่อเสนอแนะชี้นำ และเตือนภัย เพื่อสนับสนุนการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะมีแนวทางการดำเนินงานใหม่ด้วยยุทธศาสตร์ “3 Ribbons Strategy”หรือยุทธศาสตร์โบว์ 3 สี ฟ้า เขียว ขาว
• Blue Ocean การสร้างนวัตกรรม
(2023-2030) จะมีการปรับปรุงรูปแบบการให้บริการ และเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจใหม่พร้อมขับเคลื่อน สยย. ด้วยการทำการตลาดเชิงรุกพัฒนาให้ สยย. เป็นผู้ให้บริการด้านเทคนิค (Technical Service) ทั้งในประ เทศ และต่างประเทศอย่างครบวงจร อาทิ มาตรฐานบังคับ (มอก.) มาตรฐานกรมขนส่ง Asian MRA และมาตรฐานตามข้อตกลง 1958 Agreement ของสมาชิก 48 ประเทศ เป็นต้นเพื่อยกระดับการทดสอบของ สยย. ให้ผลการทดสอบเป็นที่ยอมรับในสากล ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการส่งออกยานยนต์ไทยตามนโยบายการเป็นฐานการผลิตรถยนต์แห่งอนาคต เปิดบริการให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาธุรกิจ สร้างนวัตกรรม ด้านวิศว กรรม โดยผู้เชี่ยวชาญ เสริมสร้างความพร้อมด้านการทดสอบด้วยศูนย์ทดสอบยานยนต์ และยางล้อแห่งชาติ (Attric) ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ และยางล้อ สู่การเป็น Super Cluster ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ทำให้ไทยเป็นผู้นำ และเป็นศูนย์กลางการทดสอบ และรับรองในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งการทดสอบเพื่อความสอดคล้องในกระบวน การผลิต การส่งเสริมตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทน (Aftermarket) พร้อมขยายพันธมิตรทางธุรกิจให้เพิ่มขึ้น
(2023-2030) เตรียมพร้อมห้องปฏิบัติการทดสอบการปล่อยสารมลพิษจากเครื่องยนต์ตามมาตรฐานยูโร 5 และ 6 เพื่อลดปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของโลกที่ทุกประเทศให้ความสำ คัญ ซึ่งขณะนี้ สยย. ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องมือทดสอบ พร้อมให้บริการเป็นที่เรียบร้อย รวมถึงการทดสอบแบทเตอรียานยนต์ไฟฟ้า โดย สยย. มีศูนย์ทดสอบแบทเตอรียานยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจรที่สุดในอาเซียน ตามมาตรฐาน UNECE R100 สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และ UNECE R136 สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงสามารถทดสอบเพื่อการวิจัย และพัฒนาในการปรับปรุงสมรรถนะของแบทเตอรีได้อีกด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายิน ดี ในเดือนนี้ สยย. ได้มีโครงการชื่อ “แบทเตอรีดี มีคืน” เป็น Promotion พิเศษสำหรับลูกค้าที่มาใช้บริการทดสอบแบทเตอรียานยนต์ไฟฟ้า จะได้รับคืนเงินค่าบริการทดสอบ 10 % เมื่อมาทดสอบกับ สยย. และผ่านมาตร ฐาน มอก.3026-2563 หรือ มอก.2952-2536 ภายในเดือน มีค.-ธค. นี้ นี่เป็นครั้งแรกที่ สยย. มีการจัดทำ Promotion สนับสนุนผู้ประกอบการในเรื่องการทดสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์นอกจากนี้ สยย. ยังสนับ สนุนนโยบาย ZEV การปล่อยมลพิษเป็น 0 มุ่งเน้นสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน Net Zero รวมถึงการลด หรือกักเก็บปริมาณแกสเรือนกระจกไว้ไม่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมมุ่งสู่การทำธุรกิจที่ยั่งยืน และจะเพิ่มเติมการทำกิจ กรรมเพื่อสังคม อาทิ การรณรงค์เรื่องการขับขี่ปลอดภัย เป็นต้น
(2023-2030) การปรับเปลี่ยนวิถีการบริหาร การจัดการควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆ ของ สยย. ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ มุ่งเน้นประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยปรับกระบวนการทำงานมุ่งสู่ความเป็นเลิศในด้านการปฎิบัติการ การบริหารจัดการองค์กรด้วยแนวคิด Smart Strong และ Slim
ความท้าทายของการบริหารงาน สยย. ในยุคนี้ คือ การปรับการทำงานของ สยย. ให้มีความทันสมัยตอบโจทย์ในการส่งเสริม และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สร้าง Model ของธุรกิจใหม่ๆ ในเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และการพัฒนาทักษะเดิม พร้อมเสริมสร้างทักษะใหม่ให้แก่บุคลากรภายใน สยย. รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร และเรื่องเร่งด่วนที่สุด คือ “การปั้นสถาบันยานยนต์ให้มีความพร้อม เป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ ในการทดสอบยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์มีความสมบูรณ์ในทุกมิติ เพื่อผลักดันประเทศไทยในก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก หรือศูนย์ กลางของภูมิภาคเติบโต และเข้มแข็งอย่างมีศักยภาพรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยศักยภาพของศูนย์ทดสอบยานยนต์ และยางล้อแห่งชาติ (Attric) ที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 11 ของโลก และเป็นใหญ่เป็นลำดับที่ 1 ของภาคพื้นอาเซียน และศูนย์ทดสอบแบทเตอรียานยนต์ไฟฟ้าที่สามารถทดสอบได้ตามมาตรฐานครบวงจร” และนี่เรียกได้ว่าเป็นการ “พลิกโฉมสู่ยานยนต์แห่งอนาคต” อีกบทบาทก็ว่าได้