สุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ มอบนโยบายดำเนินการ เพื่อขับเคลื่อนนโย บายรัฐบาล และนโยบายกระทรวงคมนาคม พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เพื่อกำกับดูแลการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้า ผ่านศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS และศูนย์คุ้มครองผู้โดยสาร และรับเรื่องร้องเรียน 1584 และด้านการให้บริการประชาชนในกระบวนการออกใบอนุญาตขับรถ โดยมี จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และผู้บริหารกรมการขนส่งทางบก ให้การต้อนรับ และรายงานสรุปการดำเนินงานที่สำคัญ พร้อมรับมอบนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด
สุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกเป็นหน่วยงานสำคัญในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจในการกำกับ ดูแล ตรวจสอบ ตรวจตรา ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประสาน และวางแผน ให้มีการเชื่อมต่อการขนส่งรูปแบบอื่น เพื่อให้ระบบการขนส่งสาธารณะ เกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมการขนส่งทางบกมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล และนโยบายกระทรวงคมนาคม อันนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในทุกมิติ พร้อมทั้งเดินหน้าพัฒนาเชิงรุก ดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบนโยบายของกระทรวงคมนาคม “คมนาคม เพื่อความอุดม สุขของประชาชน” ประกอบด้วย ด้านที่ 1 “คมนาคม เปิดประตูการค้า การท่องเที่ยว สร้างการเป็น HUB เพื่อการเชื่อมโยงการเดินทางทุกมิติ” โดยเร่งรัดให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าทางถนน ให้สอด คล้องกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาคตามนโยบายรัฐบาล เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง และระบบลอจิสติคส์ ให้เป็นจุดให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เชื่อมโยงระบบการขนส่งสินค้าทางราง และรองรับการขนส่งสินค้าในเส้นทางยุทธศาสตร์ สร้างโอกาส และรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ อันจะเป็นการเปิดประตูการค้าการลงทุน และเปิดโอกาสของประเทศในด้านการขนส่งสินค้าทางถนนให้มากขึ้น พร้อมส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนส่งสินค้า และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการขนส่งสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจ นำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมการขน ส่งอย่างยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านลอจิสติคส์ของประเทศ ด้านที่ 2 “คมนาคม เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน” โดยให้ดำเนินการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน มุ่งเน้นสร้างความปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “คน” และ “รถ” ซึ่งในด้าน “คน” ให้พัฒนาการเรียนรู้ สมรรถนะ และทักษะในการขับรถ โดยพัฒนา และยกระดับการออกใบอนุญาตขับรถให้มีคุณภาพ ปลูกจิตสำนึก และกระตุ้นให้ประชาชน เกิดความตระหนักในการใช้รถใช้ถนนให้มีความปลอดภัย ผ่านสื่อ และช่องทางต่างๆ โดยให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับในด้าน “รถ” ให้ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของตัวรถให้เทียบเท่ากับสากล พัฒนาระบบตรวจสภาพรถ และกำกับดูแลการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถเอกชนให้ได้มาตรฐาน และให้สภาพตัวรถมีความมั่นคงแข็งแรง และปลอดภัย พร้อมใช้งานบนท้องถนน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในระ บบการเดินทางในทุกมิติ ที่มุ่งเน้นการกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานโดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนการกำกับดูแลการให้บริการในระบบขนส่ง โดยให้ขับเคลื่อนการตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยในทุกมิติ ทั้งสภาพรถ คนประจำรถ คนขับ และยกระดับไปสู่มาตรฐานที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง และการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการขนส่งทางถนนอย่างยั่งยืน ด้านที่ 3 “คมนาคม เพื่อคุณภาพชีวิต และลดต้นทุนในการเดินทาง” โดยให้ การเดินทางทุกระบบต้องไร้รอยต่อ ด้วยการกำหนด/ปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทางรองรับเป็น Feeder ให้แก่ระบบรถไฟฟ้า และพัฒนาเส้นทางรถโดยสารประจำทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟ และท่าอากาศยาน มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกกลุ่ม สามารถเข้าสู่ระบบการขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา และเพิ่มขีดความสามารถการขนส่ง เพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพ และจัดระเบียบการขนส่งสินค้า เพิ่มจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าบริเวณนอกเมือง เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเมือง ด้านที่ 4 “คมนาคม เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น” (Green Transport) ให้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมสนับสนุนให้ใช้รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องกำกับดูแล และตรวจสอบมิให้เกิดฝุ่นละออง โดยตรวจสอบควันดำ หรือมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการขนส่งทางถนน รวมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการปล่อยแกสคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และ PM 2.5
สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่ต้องขับเคลื่อนภายในระยะสั้น (ไม่เกิน 3 ปี) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ต้องเดินทางมาติดต่อราชการที่สำนักงาน โดยจะต้องเร่งรัดขับเคลื่อนการดำเนินการ เพื่อประ ชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ ในเรื่องการชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยให้นำเทคโนโลยีดิจิทอลมาใช้ในพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวก และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับประชาชน รวมทั้งเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนด้วย ที่จะเริ่มเปิดให้บริการได้ ภายในเดือนมกราคม 2567 เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก จากการเสียภาษีผ่านระบบออนไลน์ ไม่ต้องรอเครื่องหมายการเสียภาษี โดยสามารถใช้เครื่องหมายการเสียภาษีแบบอีเลคทรอนิคส์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งคาดว่าในปีงบประมาณ พศ. 2567 จะมีประชาชนใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ ช่องทาง Internet เป็นจำนวน 1 ล้านคัน สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตขับรถประเภทต่างๆ ได้ให้กรมการขนส่งทางบกรับไปพิจารณาเพิ่มช่องทางการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเพิ่มเติม บนพื้นฐานที่ผู้ขับรถจะต้องมีความสามารถที่จะขับขี่บนท้องถนนได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำการดำเนินการตามนโยบาย โดยให้เร่งปฏิบัติงานแข่งกับเวลา เพื่อประชาชน และเพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศในภาพรวม และพัฒนางานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งเน้นการให้บริการผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว สร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ อันจะนำไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทอล ตลอดจนบริ หารงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบก ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และนโยบายกระทรวงคมนาคมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งทางถนนให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยในปีนี้ กรมการขนส่งทางบก ครบรอบ 82 ปี ยังคงมุ่งมั่นพัฒนางาน โดยนำเทคโนโล ยีดิจิทอลที่ทันสมัยมาใช้การกำกับ ดูแล และการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทอล โดยมีบูรณาการ หรือมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ผ่านการดำเนินงาน หรือโครงการที่สำคัญ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทุกมิติ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนต่อไป
บทความแนะนำ