PowerNext ผู้บริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ ร่วมกับ บริษัท พยัคฆ์ มอเตอร์ จำกัด ผู้นำเข้า ประกอบ และจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำ เปิดตัวระบบ "Smart Energy Swapping Platform" ทุ่มงบโครงการกว่า 3,000 ล้านบาท ควบคู่การพัฒนาระบบพแลทฟอร์ม 72V รองรับองค์กร ภาครัฐ และเอกชน รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ และบริการจัดส่งอาหาร และพัสดุ
พุทธพงศ์ สมใจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พาวเวอร์ เน็คซ์ จำกัด กล่าวว่า PowerNext ดำเนินงานบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Platform) มุ่งเน้นการพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ให้เกิดการเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของอุตสาหกรรมยานยนด์ไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ และครบวงจร ในการที่ภาครัฐมีมติส่งเสริมนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต และกำหนดให้ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม S-Curve โดย PowerNext พร้อมขานรับนโยบายในการสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด และช่วยต่อยอดกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อผลักดันให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Noutrality) และมุ่งสู่การไม่ปลดปล่อยคาร์บอนในระบบนิเวศ (Net Zero Emission)
PowerNext ร่วมกับ บริษัท พยัคฆ์ มอเตอร์ จำกัด เปิดตัวระบบ Smart Energy Swapping Platform ผลิตภัณฑ์ และบริการโครงการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ (SmartEnergy Platform) สำหรับระบบนิเวศ (Ecosystem) รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และระบบโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสลับแบทเตอรี ที่ทันสมัย และได้มาตรฐานทางด้านความปลอดภัย รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งภายในมหาวิทยาลัย และสถานศึกษาชั้นนำทั่วประเทศ นิคมอุตสาหกรรม พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงเกาะต่างๆ ตลอดจนสามารถรองรับการใช้งานในกิจกรรมของการขนส่งพัสดุ และอาหารแบบเร่งด่วน รวมถึงการใช้งานในการขนส่งสาธารณะของรถจักรยานยนด์รับจ้างสาธารณะ
ภาณุ ศีติสาร เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พยัคฆ์ มอเตอร์ จำกัด ผู้นำเข้า ผลิต ประกอบ และจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำ แบรนด์ Zeeho, Honwin และ Payak Motor กล่าวว่า พยัคฆ์ มอเตอร์ฯ ร่วมกับ PowerNext ในการพัฒนา Smart Battery ในรูปแบบ Swappable ซึ่งเป็น Lithium Battery ที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด UN R136 ตลอดจนทั้งระบบตู้ชาร์จ และสลับแบทเตอรีแบบ Fast Charge โดยมีการเชื่อมต่อ Big Data ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะประสิทธิภาพสูง True5c และได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ 8 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และล่าสุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นำร่องการให้บริการโครงการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Platform) ด้วยการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการลดจำนวนการใช้รถจักรยานยนต์น้ำมัน เปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนด์ไฟฟ้าสลับแบทเตอรีกับโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสลับแบทเตอรีที่ดิดตั้งภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย โดยให้บริการกับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัย ด้วยระบบพแลทฟอร์ม 60V ที่ให้บริการรถจักรยานยนด์ไฟฟ้าสลับแบทเตอรี จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ Elektra 1, Elektra 2 และ SK1 โดยมีค่าเช่าเริ่มต้นเดือนละ 1,250 บาท รวมค่าจดทะเบียน ฟรีประกันอุบัติเหตุ ฟรีซ่อมบำรุง (ยกเว้นปะยาง) ฟรีสลับแบทเตอรีได้ตลอดอายุสัญญา ฟรีชุดของแถม (จำนวนจำกัด โดยผู้สนใจขอใช้บริการจะต้องมีใบขับขี่ บัตรนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ใช้เอกสารรับรองจากทางมหาวิทยาลัย เป็นตัน
โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของนักศึกษา และผู้ปกครอง ตลอดจนร่วมกันพัฒนางานวิจัย และบุคลากรด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีแบทเตอรี ประสิทธิภาพชิ้นส่วนยานยนต์ และวัสดุที่ยั่งยืน ระบบสารสนเทศบริหารจัดการ การวิเคราะห์ข้อมูล และการออกแบบนวัตกรรม ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน และร่วมแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ที่เป็นมลพิษทำลายสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของนักศึกษา และประชาชน ที่ส่วนหนึ่งมาจากการเผาไหม้ของระบบเครื่องยนด์ที่ใช้น้ำมัน โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 22 ล้านคันทั่วประเทศ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง
PowerNext ตั้งเป้าขยายโครงการดังกล่าวไปสู่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศภายในปีนี้ ไม่น้อยกว่า30 แห่ง มูลค่าลงทุนของโครงการประมาณ 3,000 ล้านบาท จากความสำเร็จดังกล่าว PowerNEXT มุ่งมั่นในการพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการใช้งานยานยนด์ไฟฟ้าในอนาคตสำหรับประเทศไทยจึงได้พัฒนาโครงการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Platform) ระบบพแลทฟอร์ม 72V สำหรับระบบนิเวศ (Ecosystem) รถจักรยานยนด์ไฟฟ้า และระบบโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสลับแบทเตอรีเพื่อรองรับการใช้งานหลากหลาย และทรงประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ความเร็ว และระยะทาง ระบบพแลทฟอร์ม 72V จึงมาพร้อมกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และรองรับฟังค์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เหมาะกับการใช้งานเพื่อสนับสนุนการทำงานในองค์กรภาครัฐ และเอกชน ธุรกิจรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ และบริการจัดส่งอาหาร และพัสดุ และยังคงประสิทธิภาพการสื่อสารข้อมูล Big data กับโครงข่ายอัจฉริยะ True5G เช่นกัน