ธุรกิจ
ข่าวเด่นรอบสัปดาห์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) แจงยอดผลิตรถยนต์เดือน พค. ลดลง 16.19 %
สอท. เผยเดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 126,161 คัน ลดลงร้อยละ 16.19 ขาย 49,871 คัน ลดลงร้อยละ 23.38 ส่งออก 89,284 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.39 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 865 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7,763.64 % ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 5,117 คัน ลดลงร้อยละ 30.94
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2567 ดังต่อไปนี้
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม 2567 มีทั้งสิ้น 126,161 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 16.19 ลดลงจากการผลิตรถกระบะขายในประเทศลดลงร้อยละ 54.66 และผลิตรถยนต์นั่งขายในประเทศลดลงร้อยละ 14.35 ตามยอดขายในประเทศที่ลดลงจากเศรษฐกิจในประเทศที่เติบโตในอัตราต่ำ และการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่พร้อมเต็มที่ แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 20.54
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 644,951 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 16.88
รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 46,951 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 7.74 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 29,935 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 24.70
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 865 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 7,763.64
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 797 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 15.12
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 15,354 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 50.71
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มีจำนวน 240,190 คัน เท่ากับร้อยละ 37.24 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 11.29 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 147,426 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 31.19
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 4,156 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 3,048.48
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 2,591 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 43.77
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 86,017 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 66.17
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนพฤษภาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 83.87
รถยนต์บรรทุก เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 79,210 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 20.49 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 404,751 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19.87
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 78,319 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19.05 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 394,321 คัน เท่ากับร้อยละ 61.14 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19.87 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 67,956 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 24.22
รถกระบะดับเบิลแคบ 260,088 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19.98
รถกระบะ PPV 66,277 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 14.41
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 891 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 69.03 รวมเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 10,430 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19.78
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 88,808 คัน เท่ากับร้อยละ 70.39 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 1 ส่วนเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 434,416 คัน เท่ากับร้อยละ 67.36 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.54
รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 25,284 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 1.21 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 127,881 คัน เท่ากับร้อยละ 53.24 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 3.13
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 63,524 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 0.92 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 306,535 คัน เท่ากับร้อยละ 77.74 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 4.73 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 26,474 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 22.36
รถกระบะดับเบิลแคบ 225,458 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 8.75
รถกระบะ PPV 54,603 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 34.62
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 37,353 คัน เท่ากับร้อยละ 29.61 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 38.57 และเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 210,525 คัน เท่ากับร้อยละ 32.64 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 36.23
รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 21,667 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 14.35 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ผลิตได้ 112,309 คัน เท่ากับร้อยละ 46.76 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ลดลงร้อยละ 23.47
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 14,795 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 54.66 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 87,786 คัน เท่ากับร้อยละ 22.26 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 48.48 ซึ่งแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 41,482 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 25.37
รถกระบะดับเบิลแคบ 34,630 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 55.57
รถกระบะ PPV 11,674 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 68.34
รถจักรยานยนต์
เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 191,970 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 12.30 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 168,190 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 15.62 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 23,780 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 21.51
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,013,665 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 5.64 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 837,975 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.96 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 175,690 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 14.21
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพฤษภาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 49,871 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 6.70 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 23.38 เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งเศรษฐกิจในประเทศขยายตัวในอัตราต่ำจากการล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ทำให้การลงทุนของภาครัฐลดลง ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงติดต่อกันมากกว่า 10 เดือน โรงงานหลายแห่งลดเวลาทำงานลง และมีการเลิกจ้างพนักงานหลายหมื่นคน ทำให้ขาดรายได้ ประชาชนจึงระมัดระวังการใช้จ่าย เพราะความไม่แน่นอนในเรื่องรายได้ รวมทั้งค่าอาหาร ค่าเดินทาง และพลังงาน มีราคาสูงขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และปี 2568 ที่่กำลังพิจารณาในสภาฯ แต่เศรษฐกิจจะขยายตัวถึงร้อยละ 3 หรือไม่ ยังน่ากังวล ถ้ายอดผลิตรถยนต์ และขายรถยนต์ และขายอสังหาริมทรัพย์ยังติดลบ เพราะทั้ง 2 อุตสาหกรรมมีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และแรงงานมาก ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศมาก
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 29,679 คัน เท่ากับร้อยละ 59.51 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 13.71
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 13,343 คัน เท่ากับร้อยละ 26.76 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.94
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 5,117 คัน เท่ากับร้อยละ 10.26 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 30.94
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 222 คัน เท่ากับร้อยละ 0.45 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.77
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 10,997 คัน เท่ากับร้อยละ 22.05 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 96.34
รถกระบะมีจำนวน 14,832 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 33.87 รถ PPV มีจำนวน 2,819 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.42 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,280 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 35.90 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,261 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 8.09
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 165,339 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 30.14 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 10.19
ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 รถยนต์มียอดขาย 260,365 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 23.80 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 156,386 คัน เท่ากับร้อยละ 60.06 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 7.60
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 69,993 คัน เท่ากับร้อยละ 26.88 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.26
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 28,148 คัน เท่ากับร้อยละ 10.81 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 12.89
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 981 คัน เท่ากับร้อยละ 0.38 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.80
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 57,264 คัน เท่ากับร้อยละ 21.99 ของยอดขายรถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 71.53
รถกระบะมีจำนวน 75,510 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 40.80 รถ PPV มีจำนวน 16,255 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.09 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 6,807 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 35.33 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 5,407 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 14.28
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 739,988 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 9.16 แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ICE จำนวน 739,788 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.08 รถจักรยานยนต์ HEV จำนวน 200 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 1.96
การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป
เดือนพฤษภาคม 2567 ส่งออกได้ 89,284 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 27.26 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 3.39 เพิ่มขึ้นทั้งที่ผลิตเพื่อส่งออกลดลง เพราะมีรถยนต์ที่ยังไม่ได้ส่งออกเดือนที่แล้วมาส่งออกเดือนนี้ จึงส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ตลาดออสเตรเลีย ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดอเมริกาเหนือ ตลาดอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แบ่งเป็น
รถกระบะ 50,159 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 56.18 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.13
รถยนต์นั่ง ICE 22,400 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 25.09 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 0.89
รถยนต์นั่ง HEV 4,404 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 4.93 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 373.04
รถ PPV 12,321 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.80 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 31.24
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 63,073.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 14.74
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,107.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 39.56
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 15,403.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 3.78
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,169.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 2.03
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 83,754.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 12.93
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 429,969 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.28 แบ่งเป็น
รถกระบะ ICE 246,943 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 57.43 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 5.15
รถยนต์นั่ง ICE 100,034 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 23.27 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 23.32
รถยนต์นั่ง HEV 23,822 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 5.54 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 536.10
รถ PPV 59,170 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.76 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 30.22
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 300,375.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 9.92 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 12,776.39 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 2.54
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 77,989.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 8.63
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 10,496.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 9.83
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 401,637.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 9.23
รถจักรยานยนต์
เดือนพฤษภาคม 2567 มีจำนวนส่งออก 53,105 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 0.63 และลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 7.96 โดยมีมูลค่า 4,608.60 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 14.41
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 161.45 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 30.64
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 56.12 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 74.68
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนพฤษภาคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,826.17 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 17.34
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 359,603 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 0.74 มีมูลค่า 28,584.82 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 5.53
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,002.05 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 19.68
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 726.31 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 19.49
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 30,313.17 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 6.47
เดือนพฤษภาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 88,580.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 10.72
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 431,950.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 7.95
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนพฤษภาคม 2567
เดือนพฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,166 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 14.50 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,455 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 2.17
รถยนต์นั่งจำนวน 5,274 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 167 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 1 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 13 คัน
รถกระบะ รถแวนมีทั้งสิ้น 10 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 100
รถยนต์สามล้อรับจ้างมีทั้งสิ้น 22 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 57.14
รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน 3 คัน
รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน 14 คัน
รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 2,580 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 87.50
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 2,481 คัน
รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน 99 คัน
รถโดยสารมีทั้งสิ้น 74 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 44.35
รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 25 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 10.71
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 43,921 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 31.64 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 31,732 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 32.10
รถยนต์นั่งจำนวน 30,857 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 819 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 6 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 47 คัน
รถยนต์บริการให้เช่าจำนวน 3 คัน
รถกระบะ รถแวนมีทั้งสิ้น 162 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 285.71
รถยนต์สามล้อมีทั้งสิ้น 51 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 58.54
รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน 12 คัน
รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน 39 คัน
รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 11,639 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 40.87
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 11,538 คัน
รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน 101 คัน
รถโดยสารมีทั้งสิ้น 181 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 78.35
รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 156 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 92.59
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนพฤษภาคม 2567
เดือนพฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 10,789 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 34.64 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 10,729 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 34.82
รถยนต์นั่งจำนวน 10,721 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 2 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 1 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 5 คัน
รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 60 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 9.09
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 60 คัน
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 59,317 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 53.48 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 59,126 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 54.08
รถยนต์นั่งจำนวน 59,064 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 12 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 13 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 34 คัน
รถยนต์บริการให้เช่าจำนวน 3 คัน
รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 191 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 30.04
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 191 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนพฤษภาคม 2567
เดือนพฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 704 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 31.32 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 704 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 31.32
รถยนต์นั่งจำนวน 704 คัน
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 4,053 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 22.01 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 4,053 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 22.01
รถยนต์นั่งจำนวน 4,051 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 2 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567
ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 175,316 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 168.34 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 121,310 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 221.45
รถยนต์นั่งมีจำนวน 119,457 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 219.27
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 1,426 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 450.58
รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 66 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 500
รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 108 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1,100
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 253 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 488.37
รถกระบะ และรถแวนมีจำนวน 447 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 351.52
รถยนต์ 3 ล้อมีจำนวนทั้งสิ้น 941 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 53.26
รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมีจำนวน 92 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 31.43
รถยนต์รับจ้างสามล้อมีจำนวน 849 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 56.07
รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 49,556 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 100.42
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 49,425 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 100.71
รถจักรยานยนต์สาธารณะมีจำนวน 131 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 29.70
อื่นๆ
รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2,601 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 27
รถบรรทุกมีจำนวนทั้งสิ้น 461 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 326.85
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567
ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 402,414คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 35.06 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 393,218 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 36.15
รถยนต์นั่งมีจำนวน 392,313 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 36.15
รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 487 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1.67
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 66 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 106.25
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 186 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 86
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 66.67
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 161 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 222
รถกระบะ และรถแวนมีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 9,193 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.65
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 9,193 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.65
อื่นๆ
รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567
ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 57,951คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 21.89 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 57,879 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 21.89
รถยนต์นั่งมีจำนวน 57,197 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 23.08
รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 41 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 5.13
รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 23 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 43.75
รถยนต์บริการให้เช่ามีจำนวน 3 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 150
BMW Motorrad เปิดตัว F 900 XR
BMW Motorrad ประเทศไทย สร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้แก่นักบิดชาวไทยสายผจญภัยอีกครั้ง เปิดตัวสีใหม่สำหรับ BMW F 900 XR (บีเอมดับเบิลยู เอฟ 900 เอกซ์อาร์) ด้วยสีตัวถังภายนอกสีน้ำ เงิน Racing Blue Metallic และยังคงรักษาเอกลักษณ์ที่แท้จริงของตระกูลไดนามิคโรดสเตอร์ ในกลุ่มแอดเวนเจอร์ สปอร์ท พร้อมสะกดทุกสายตาบนท้องถนน BMW F 900 XR ยังคงนำเสนอความสปอร์ทซึ่งมาพร้อมกับความสามารถอันหลากหลาย และฟีเจอร์ทันสมัยต่างๆ พร้อมมอบสมรรถนะในการขับขี่ระยะไกลที่เหนือกว่า ไม่ว่าจะเดินทางไปบนถนนอันคดเคี้ยว หรือท่องเที่ยวไปในเมือง
ชิวาภาดา เรย์ ผู้อำนวยการ BMW Motorrad เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้นำเข้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า การเพิ่มตัวเลือกสีใหม่สำหรับ BMW F 900 XR ช่วยยกระดับรูปลักษณ์แบบไดนามิค และเสริมมาดแบบใหม่ให้แก่มอเตอร์ไซค์แนวสปอร์ทผจญภัยรุ่นนี้ พร้อมผสานความสปอร์ท และสมรรถนะแบบ Touring ไว้ได้อย่างลงตัว ซึ่งช่วยถ่ายทอดความรู้สึกอิสระ และไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ให้แก่นักบิดในการขับขี่ทุกเส้นทาง BMW F 900 XR นำเสนอคุณลักษณะเฉพาะในกลุ่มมอเตอร์ไซค์ขนาดกลาง มาพร้อมคุณสมบัติที่โดดเด่น และเทคโนโลยีล่าสุดที่ได้รับการต่อยอดจากรุ่นก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นนักบิดที่มีประสบการณ์ หรือมือใหม่ เราขอเชิญชวนแฟนๆ ทุกท่านให้มาสัมผัสประสบการณ์สุดยอดการผจญภัยในการขับขี่ และสมรรถนะอันทรงพลังของมอเตอร์ไซค์ที่น่าตื่นเต้นรุ่นนี้ ซึ่งผสมผสานความคล่องตัว ความสะดวกสบาย และสไตล์เข้ากับตัวเลือกสีใหม่ที่โดดเด่น
BMW F 900 XR สีน้ำเงิน Racing Blue Metallic ราคาจำหน่าย 599,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
BMW F 900 XR นับเป็นที่สุดของมอเตอร์ไซค์ในตระกูลแอดเวนเจอร์ สปอร์ทอย่างแท้จริง ด้วยสมรรถนะโฉบเฉี่ยว ตำแหน่งการขับขี่แบบนั่งตรงสไตล์ GS ความสะดวกสบายในการขับขี่ระยะไกล ทั้งสำหรับผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร และรูปลักษณ์ที่สื่อถึงความทรงพลัง เปี่ยมด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ ความโดดเด่นของ BMW F 900 XR ยังอยู่ที่การสืบทอดดีไซจ์น และคอนเซพท์ของมอเตอร์ไซค์ในตระกูล XR ที่ผสานความสปอร์ท และสมรรถนะแบบ Touring เข้าไว้ได้อย่างลงตัว ทั้งยังมาพร้อมเทคโนโลยีในการขับขี่ที่ล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟหน้า LED ที่ปรับองศาตามการเลี้ยวโค้ง (Adaptive Cornering Light) และระบบ Keyless Ride ซึ่งล้วนเป็นคุณสมบัติที่ไม่เคยมีมาก่อนในมอเตอร์ไซค์ระดับกลาง
BMW F 900 XR ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 2 สูบเรียง ระบายความร้อนด้วยน้ำ ส่งพละกำลัง 73 กิโลวัตต์ (99 แรงม้า) ที่ 8,500 รตน. ให้แรงบิด 88 นิวตันเมตร ที่ 6,750 รตน. ให้ความเร็วสูงสุดมาก กว่า 200 กม./ชม. โดดเด่นด้วยขนาดของเครื่องยนต์ 895 ซีซี พร้อมองศาการจุดระเบิดที่ 270/450 องศา และระบบเก็บเสียงแบบใหม่ มอบเสียงทรงพลัง และเร้าใจยิ่งขึ้น ทั้งยังมาพร้อมระบบคลัทช์แบบ Anti-Hopping และระบบป้องกันการลื่นไถลของล้อหลัง (MSR) จากการชะลอตัว หรือลดเกียร์ เพื่อมอบความปลอดภัยยิ่งขึ้นให้แก่ผู้ขับขี่ มอเตอร์ไซค์รุ่นนี้มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 4.2 ลิตร/ 100 กม. และรองรับน้ำมันเชื้อเพลิงไร้สารตะกั่วค่าออคเทน 91 ขึ้นไป
BMW F 900 XR สร้างความสนุกเร้าใจในการขับขี่ด้วยโหมดการขับขี่ "Rain" และ "Road" รวมทั้ง Riding Modes Pro ประกอบด้วย "Dynamic" และ "Dynamic Pro" เพื่อยกระดับความสปอร์ทให้เร้าใจยิ่งขึ้น ระบบ ABS Pro ช่วยให้ควบคุมมอเตอร์ไซค์ได้อย่างแม่นยำในทุกสถานการณ์การขับขี่ พร้อมระบบ Dynamic Traction Control (DTC) ระบบ Dynamic Brake Control (DBC) ระบบ Dynamic ESA และระบบตรวจสอบความดันลมยาง (RDC) ในขณะที่ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติยังช่วยให้ผู้ขับขี่รักษาความเร็วรถให้คงที่ได้ นอกจากนั้น ระบบช่วยเปลี่ยนเกียร์ Gear Shift Assistant Pro ยังช่วยให้สามารถเปลี่ยนเกียร์ขึ้น และลงได้เกือบทุกช่วงน้ำหนักบรรทุก และช่วงความเร็วรอบเครื่องยนต์โดยไม่ต้องควบคุมคลัทช์ ระบบทำความร้อนที่แฮนด์ยังช่วยป้องกันมือชา และความเมื่อยล้าเมื่อขับขี่ไปในสภาพอากาศที่หนาวเย็น
BMW F 900 XR มาพร้อมถังน้ำมันขนาด 15.5 ลิตร โดยถังน้ำมันของรุ่นนี้มีน้ำหนักเบา และผ่านกระบวนการเชื่อมที่นำมาใช้ในการผลิตมอเตอร์ไซค์เป็นครั้งแรก ขณะที่โครงสร้างการยึดเหล็กกล้าส่วนท้ายรถก็ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเป็นครั้งแรกในมอเตอร์ไซค์รุ่นนี้เช่นกัน จึงทำให้ส่วนท้ายรถมีรูปลักษณ์ที่เพรียว และสั้นยิ่งขึ้น นอกจากนั้น BMW F 900 XR ซึ่งมีระยะสปริงที่ค่อนข้างยาวขึ้น ช่วยมอบความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และหลากหลายกว่าในสไตล์แบบ Touring
ระบบไฟหน้า LED ที่ปรับองศาตามการเลี้ยวโค้ง (Adaptive Cornering Light) พร้อมระบบ Headlight Pro นอกจากจะสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ขับขี่ยิ่งขึ้นแล้ว ยังนับว่าเป็นฟีเจอร์ที่โดดเด่นในมอ เตอร์ไซค์ขนาดมิดไซซ์ ทำให้การขับขี่เวลากลางคืนมีความอุ่นใจยิ่งขึ้นด้วยไฟหน้าส่องสว่างตามการเลี้ยวโค้ง และหลอดไฟทั้งหมดเป็นแบบ LED ที่ได้รับการติดตั้งมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับมอเตอร์ไซค์ในตระกูล F-Series ทุกรุ่น BMW F 900 XR มาพร้อมตำแหน่งที่นั่งซึ่งมอบทั้งความสปอร์ท และความสบายสำหรับการขับขี่แบบ Touring เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการขับขี่ระยะไกล ชุดแฟริงด้านหน้าที่มาพร้อมกระจกกันลมปรับระดับได้ มอบทั้งลุคสปอร์ท และการป้องกันให้แก่ผู้ขับขี่
นอกจากนี้ ในรุ่นนี้ยังมาพร้อมโซ่ M Endurance ด้วยคุณสมบัติการหล่อลื่น และความทนทานต่อการสึกหรอที่ยอดเยี่ยม โซ่ M Endurance ช่วยมอบความสะดวกสบายด้านการบำรุงรักษามากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับมอเตอร์ไซค์รุ่นอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการทำความสะอาดที่ยุ่งยาก และหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากต้องเผชิญปัญหาน้ำมันหล่อลื่นกระเด็นหากใช้โซ่ธรรมดา โซ่ M Endurance จึงมอบทั้งความสะ ดวกสบาย และความทนทานในการใช้งานสูงสุด
BMW F 900 XR ยังมีหน้าจอ TFT สีขนาด 6.5 นิ้ว และระบบเชื่อมต่อ BMW Connected Ride เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ฟีเจอร์ดังกล่าวช่วยให้นักบิดสามารถคุยโทรศัพท์ ฟังเพลง หรือใช้งานระบบนำ ทางได้อย่างสะดวกในขณะขับขี่ ทั้งนี้ มอเตอร์ไซค์รุ่นนี้มีวางจำหน่ายแล้วในสีน้ำเงิน Racing Blue Metallic
กรมการขนส่งทางบก เผย !!! ยอดการชำระภาษีรถยนต์ ประจำปีงบประมาณ 2567
กรมการขนส่งทางบก เผย !!! ยอดการชำระภาษีรถยนต์ผ่านช่องทางต่างๆ ประจำปีงบประมาณ 2567 ในส่วนกลาง ระหว่างเดือน ตค. 66-พค. 67 แนะ !!! รถยนต์อายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยาน ยนต์อายุการใช้งานเกิน 5 ปี สามารถนำรถเข้าตรวจสภาพก่อนชำระภาษีออนไลน์ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว
เสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และโฆษกกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก มีช่องทางในการให้บริการประชาชนสำหรับการชำระภาษีรถยนต์ และรถจักร ยานยนต์หลายช่องทาง โดยมีช่องทางการชำระภาษีออนไลน์ ซึ่งได้รับความนิยมจากประชาชนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีความสะดวก และไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานขนส่ง อยู่ที่ไหนก็สามารถชำระภาษีได้ สำหรับยอดผู้ชำระภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ประจำปีงบประมาณ พศ. 2567 ระหว่างเดือน ตค. 66-พค. 67 กรมการขนส่งทางบกสามารถจัดเก็บภาษีรถในส่วนกลาง (สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯ พื้นที่ 115 ) ได้จำนวนทั้งสิ้น 4,451,342 คัน รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 6,012,370,467.73 บาท
แบ่งออกเป็นผู้ใช้บริการชำระภาษีรถออนไลน์บนแอพพลิเคชัน DLT Vehicle Tax จำนวน 83,797 คัน เวบไซท์ https://eservice.dlt.go.th จำนวน 598,650 คัน เคาน์เตอร์เซอร์วิศ จำนวน 107,450 คัน และผ่านโทรศัพท์มือถือ (Truemove) 7,570 คัน ในส่วนการใช้บริการรับชำระภาษีรถประจำปี ณ สำนักงานขนส่งพื้นที่ 1-5 มีผู้ใช้บริการจำนวน 3,061,951 คัน การใช้บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) จำนวน 516,259 คัน Shop Thru for Tax จำนวน 4,784 คัน ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 4,240 คัน ชำระผ่านศูนย์บริการร่วมคมนาคม 48,284 คัน ตู้ Kiosk จำนวน 18,355 คัน และผ่านธนาคารจำนวน 1 คัน สำหรับผู้ที่ชำระภาษีรถประจำปีผ่านแอพพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เรียบร้อยแล้ว สามารถเลือกให้จัดส่งเครื่องหมายการเสียภาษี และใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ ซึ่งจะได้รับภายใน 5 วันทำการนับจากวันชำระเงิน หรือเลือกพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษีด้วยตนเองที่ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) ภายในสำนักงานขนส่งกรุงเทพฯ พื้นที่ 1-5 ก็ได้ และในระหว่างที่รอรับเอกสารระบบจะแสดงหลักฐานการชำระภาษีรถประจำปีชั่วคราว เพื่อให้เจ้าของรถสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงการชำระภาษีจนกว่าจะได้รับเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีจากกรมการขนส่งทางบก
กรมการขนส่งทางบกแนะนำผู้ที่ต้องการชำระภาษีรถประจำปีสามารถชำระล่วงหน้าได้ก่อนครบอายุภาษี 90 วัน ทั้งนี้ รถยนต์อายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานเกิน 5 ปี รวมถึงรถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี สามารถนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพรถเอกชนก่อนชำระภาษีล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามเกี่ยวกับการชำระภาษีรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์สามารถโทรสายด่วน 1584 ตลอด 24 ชม.
ศึก Plan-B Media BRIC Superbike สนาม 3 วันที่ 5-7 กค. นี้
สุดยอดมอเตอร์สปอร์ทสองล้อ อันดับ 1 ของไทย "Plan-B Media BRIC Superbike 2024" เตรียมกระหึ่มคันเร่ง สนามที่ 3 ของฤดูกาล ต้นเดือนกรกฎาคมนี้ กองทัพนักบิดไทยพร้อมชิงชัย บนเซอร์กิทระดับเวิร์ลด์คลาสส์ที่รองรับศึก "MotoGP" อย่างสนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิท จ. บุรีรัมย์ ซึ่งจะมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ปรับความยาก และท้าทายของทแรค เพิ่มความสูง "ขอบเคิร์บ " โค้ง 1, 4 และโค้ง 8 สไตล์ "มิซาโน เคิร์บ" ขณะที่ "แสตมป์" อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ ลุ้นคว้าชัย 3 สนามติด สร้างโอกาสคว้าแชมพ์ประเทศไทย ด้านคู่แข่งคนสำคัญท้าชนหวังยื้อถึง "ชิงดำ"
การแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมพ์ประเทศไทย รายการ Plan-B Media BRIC Superbike Championship 2024 สนาม 3 มีคิวดวลความเร็วระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2567 ที่สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิท จ. บุรีรัมย์ โดยนับเป็นการก้าวเข้าสู่ครึ่งฤดูกาลหลังในการลุ้นแชมพ์ประจำปีอย่างเป็นทางการ
ศึก Plan-B Media BRIC Superbike Championship 2024 ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จนถูกยกให้เป็นศึกมอเตอร์สปอร์ทสองล้อ เบอร์ 1 ของไทย และเดินหน้าต่อเนื่อง เพื่อยกระดับเป็น "ศูนย์กลางของอาเซียน" ซึ่งในปีนี้ยังมีการลุ้นแชมพ์ประจำปีที่เข้มข้นในทุกคลาสส์ จากนักบิดแถวหน้า และทีมแข่งระดับคุณภาพของเมืองไทย ที่ร่วมไล่ล่าความสำเร็จ
สถานการณ์ลุ้นแชมพ์ในรุ่นใหญ่สุดของเมืองไทยอย่าง Superbike 1,000 ซีซี ยังคงเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง โดย "แสตมป์" อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ อดีตนักบิดเวิร์ลด์ซูเพอร์สปอร์ท ยังคงรั้งจ่าฝูงหลังคว้าชัยชนะ 2 สนามแรก แต่ก็ยังมีคู่แข่งคนสำคัญอย่าง "บอล" จักกฤษณ์ แสวงสวาท จาก East NJT Racing Team และ "ซีเค" ชัยวิชิต นิสกุล นักบิดแถวหน้าของไทยอีกคนจาก Core Motorsport Thailand เป็นตัวพลิกเกมที่ประมาทไม่ได้
ตนัยศิริ ชาญวิทยารมณ์ กรรมการผู้อำนวยการ สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิท ฝ่ายจัดการแข่งขันกล่าวว่า ปี 2024 เปิดฤดูกาลอย่างสนุก เรามีโอกาสที่จะเห็นการคว้าแชมพ์ประจำปีในแต่ละรุ่นจากทั้งนักแข่งมากฝีมือ ดีกรีระดับอินเตอร์ และนักแข่งดาวรุ่งหน้าใหม่ที่ขึ้นมายืนโพเดียมได้สำเร็จ และด้วยตารางแข่งขันที่ต้องลุ้นแชมพ์ประจำปีอีก 3 เรศ โดยแบ่งเป็น สนามที่ 3 จำนวน 1 เรศ และสนามที่ 4 ดวลกัน 2 เรศ ก็ยังคงทำให้อาจมีจุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปีนี้ก็ได้
"นอกจากนี้ ความสำคัญของสนามนี้ คือ เป็นหนึ่งในการซ้อมใหญ่ เพื่อรองรับการแข่งขัน MotoGP 2024 รายการ PT Grand Prix of Thailand ซึ่งจะมีความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ของสนาม คือ การเพิ่มความสูงของขอบเคิร์บในโค้ง 1, โค้ง 4 และ โค้ง 8 ที่มีความสูงมากขึ้นมาจากเดิม 5 ซม. (มิซาโน เคิร์บ) นั่นจะทำให้นักแข่งต้องระมัดระวังมากขึ้นในจุดดังกล่าว ซึ่งการปีนขอบเคิร์บจะไม่ได้ช่วยสร้างความเร็วอีกต่อไป"
"ความท้าทายนี้ จะทำให้นักแข่งต้องหาวิธีสร้างความเร็วในรูปแบบที่แตกต่าง และผู้ชมจะได้ดูการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น นั่นอาจเป็นจุดเปลี่ยนของการลุ้นแชมพ์ก็ได้ ส่วนการแข่งขันชิงแชมพ์ประ เทศไทย “Plan-B Media BRIC Superbike” เป็นช่วงเวลาที่แฟนชาวไทยต้องคอยจับตาเกมชิงไหวชิงพริบในครั้งนี้ให้ดี เพราะอาจมีจุดเปลี่ยนสำคัญของการลุ้นแชมพ์ประจำปี ซึ่งเราถ่ายทอดสดการแข่งขันให้รับชมอย่างเต็มอิ่มเช่นเคย"
ทั้งนี้ การลุ้นแชมพ์ประจำปีในรุ่นอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Superstock 1,000 ซีซี, Supersport 600 ซีซี, Supersport 400 ซีซี และ Sport Production 400 ซีซี ก็ยังคงขับเคี่ยวกันอย่างเข้มข้น ซึ่งสนามที่ 3 ในวันที่ 5-7 กรกฎาคมนี้ จะเป็นจุดชี้วัดสถานการณ์ในโค้งสุดท้ายได้เป็นอย่างดี
สำหรับการแข่งขัน Plan-B Media BRIC Superbike Champiomship 2024 สนาม 3 จะเข้าสู่โปรแกรมการซ้อมอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม ก่อนจะจับเวลารอบควอลิฟายด์ในวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 และดวลความเร็วรอบชนะเลิศในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2567
ร่วมเชียร์ และลุ้นแชมพ์ประเทศไทย โดยซื้อบัตรเข้าชมการแข่งขันได้ที่จุดจำหน่ายบัตรหน้าทางขึ้น Grand Stand สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิท ที่นั่ง Grand Stand ราคา 100 บาท/วัน (จำหน่ายบัตรวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 6-7 กรกฎาคม 2567)
พิเศษ ! เพียงซื้อบัตรชมการแข่งขัน Plan-B Media BRIC Superbike มีสิทธิ์ลุ้นรับบัตร VIP โค้ง 12 และบัตร Paddock Pass ชมการแข่งขัน MotoGP 2024 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แฟนเพจ Chang Circuit Buriram, BRIC Superbike และยูทูบ Chang International Circuit