ธุรกิจ
สอท.แจง ยอดผลิตรถเดือนมิถุนายน 2567 ลดลงร้อยละ 20.11
เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตรถยนต์ 116,289 คัน ลดลงร้อยละ 20.11 ขาย 47,662 คัน ลดลงร้อยละ 26.04 ส่งออก 89,071 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 ขาย 47,662 คัน ลดลงร้อยละ 26.04 ส่งออก 89,071 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 5,360 คัน ลดลงร้อยละ 16.38
ศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2567 ดังต่อไปนี้
รถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมิถุนายน 2567 มีทั้งสิ้น 116,289 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 20.11 และลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2567 ร้อยละ 7.82 จากการผลิตขายในประเทศที่ลดลงถึงร้อยละ 43.08 ตามยอดขายในประเทศที่ลดลงร้อยละ 26.0 และผลิตส่งออกลดลงร้อยละ 3.70
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 761,240 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 17.39
รถยนต์นั่ง เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตได้ 43,033 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 14.45 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 29,894 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 23.67
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 797 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 7,145.45
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 598 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 36.32
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 11,744 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 15.27
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 มีจำนวน 283,223 คัน เท่ากับร้อยละ 37.21 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 11.79 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 177,320 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 30.03
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 4,953 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 3,363.64
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 3,189 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 42.51
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 97,761 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 57.80
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนมิถุนายน 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 87.18
รถยนต์บรรทุก เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 73,256 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 23.08 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 478,007 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 20.38
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 72,417 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 21.06 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 466,738 คัน เท่ากับร้อยละ 61.31 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 20.06 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 78,054 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 25.98
• รถกระบะดับเบิลแค็บ 309,130 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 19.83
• รถกระบะ PPV 79,554 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 14.32
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตได้ 839 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 76.06 รวมเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตได้ 11,269 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 31.73
ผลิตเพื่อส่งออก เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตได้ 81,767 คัน เท่ากับร้อยละ 70.31 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 3.70 ส่วนเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 516,183 คัน เท่ากับร้อยละ 67.81 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.73
รถยนต์นั่ง เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 23,627 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 2.42 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 151,508 คัน เท่ากับร้อยละ 53.49 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 3.02
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมิถุนายน 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 58,140 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 5.98 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 364,675 คัน เท่ากับร้อยละ 78.13 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 4.93 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 30,872 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 22.59
• รถกระบะดับเบิลแคบ 269,292 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 8.49
• รถกระบะ PPV 64,511 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 30.55
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตได้ 34,522 คัน เท่ากับร้อยละ 29.69 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 43.08 และเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตได้ 245,047 คัน เท่ากับร้อยละ 32.19 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 37.30
รถยนต์นั่ง เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 19,406 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 28.74 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ผลิตได้ 131,715 คัน เท่ากับร้อยละ 46.51 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ลดลงร้อยละ 24.30
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมิถุนายน 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 14,277 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 52.25 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 102,063 คัน เท่ากับร้อยละ 21.87 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 49.04 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 47,182 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 28.04
• รถกระบะดับเบิลแคบ 39,838 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 56.36
• รถกระบะ PPV 15,043 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 65.36
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนมิถุนายน 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 87.18
รถบรรทุก เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตได้ 839 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 76.06 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 11,269 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 31.73
รถจักรยานยนต์ เดือนมิถุนายน 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 183,528 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 25.78 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 156,598 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 24.41 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 26,930 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 32.84
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,197,193 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 13 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 994,573 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.80 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 202,620 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 18.48
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 47,662 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2567 ร้อยละ 4.43 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 26.04 เพราะรถกระบะที่ขายลดลงถึงร้อยละ 36.44 และรถ PPV ลดลงร้อยละ 49.98 จากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และเศรษฐกิจของประเทศเติบโตในอัตราต่ำ สถาบันการเงินจึงระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อโดยเฉพาะรถกระบะ และรถบรรทุก
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 28,095 คัน เท่ากับร้อยละ 58.95 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 15
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 12,667 คัน เท่ากับร้อยละ 26.58 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 37.51
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 5,360 คัน เท่ากับร้อยละ 11.25 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 16.38
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 222 คัน เท่ากับร้อยละ 0.47 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.27
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 9,846 คัน เท่ากับร้อยละ 20.66 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 59.42
รถกระบะมีจำนวน 14,071 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 36.44 รถ PPV มีจำนวน 2,601 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 49.98 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,532 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 41.10 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,363 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 5.81
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 150,456 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 8.95 แต่ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 16.07
ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 รถยนต์มียอดขาย 308,027 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 24.16 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 184,481 คันเท่ากับร้อยละ 59.89 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 8.81
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 82,660 คัน เท่ากับร้อยละ 26.84 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.45
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 33,508 คัน เท่ากับร้อยละ 10.88 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 6.91
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 1,203 คัน เท่ากับร้อยละ 0.39 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.93
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 67,110 คัน เท่ากับร้อยละ 21.79 ของยอดขายรถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 69.64
รถกระบะมีจำนวน 89,581 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 40.15 รถ PPV มีจำนวน 18,856 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 43.32 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 8,339 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 36.47 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 6,770 คัน ลดลงจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้วร้อยละ 12.70
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 890,534 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 10.41 แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ICE จำนวน 890,334 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 10.33 รถจักรยานยนต์ BEV จำนวน 200 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.09
คาดว่ายอดขายรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของครึ่งปีหลังปี 2567 จะดีขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และ 2568 ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นของรัฐบาล
การส่งออก *รถยนต์สำเร็จรูป*
เดือนมิถุนายน 2567 ส่งออกได้ 89,071 คัน ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 0.24 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 0.28 จากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังเติบโต และส่งออกรถยนต์นั่ง HEV เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 356.12 จึงส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แบ่งเป็น
• รถกระบะ 54,557 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 61.25 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 1.04
• รถยนต์นั่ง ICE 20,127 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 22.60 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 13.01
• รถยนต์นั่ง HEV 3,690 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 4.14 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 356.12
• รถ PPV 10,697 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 12.01 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 9.70
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 63,099.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 12.83
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,155.75 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 5.31
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 15,779.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 8.63
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,074.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 12.06
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมิถุนายน 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 84,108.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 11.20
เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 519,040 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 1.85 แบ่งเป็น
• รถกระบะ ICE 301,500 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 58.09 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 4.43
• รถยนต์นั่ง ICE 120,161 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 23.15 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 21.77
• รถยนต์นั่ง HEV 27,512 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 5.30 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 504.13
• รถ PPV 69,867 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.46 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 26.60
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 363,474.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 10.42 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 15,932.14 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 3.10
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 93,768.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 8.63
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 12,571.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 10.19
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 485,746.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 9.56
รถจักรยานยนต์
เดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวนส่งออก 54,715 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2567 ร้อยละ 3.03 และลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 16.29 โดยมีมูลค่า 4,144.86 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 26.02
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 208.45 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 23.02
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 75.72 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 55.02
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนมิถุนายน 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,429.02 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 26.69
เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 414,318 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 3.11 มีมูลค่า 32,729.67 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.73
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,210.50 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 20.27
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 802.02 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 25.07
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 34,742.19 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 9.65
เดือนมิถุนายน 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 88,537.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 8.40
เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 520,488.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 8.03
ปรับเป้าการผลิตรถยนต์ ปี 2567 จาก 1,900,000 คัน เป็น 1,700,000 คัน
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์ของสมาชิกกลุ่มฯ ในปี 2567 (ใหม่) ปรับเป้าผลิตรถยนต์ปี 2567 จาก 1,900,000 คัน เป็น 1,700,000 คัน ลดลง 200,000 คัน โดยปรับเป้าเฉพาะผลิตขายในประเทศลดลงจาก 750,000 คัน เป็น 550,000 คัน
ปัจจัยลบของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง
• หนี้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 90 ของ GDP ประเทศในขณะที่รายได้ครัวเรือนยังต่ำจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำ
• การลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังลดลงมาหลายเดือนแล้ว คนงานมีรายได้ลดลง ประชาชนระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
• หน่วยงานเศรษฐกิจหลายแห่งลดการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยลง
• สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์โดยเฉพาะรถกระบะ
• จำนวนแรงงานวัยทำงานน้อยกว่าเพื่อนบ้านจากอัตราการเกิดต่ำ จะทำให้นักลงทุนลังเลในการลงทุนเพราะเป็นสังคมสูงอายุ
ปัจจัยบวกของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง
• รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่าย และการลงทุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567
• งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 เบิกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะทำให้รัฐบาลใช้จ่าย และลงทุนรวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามนโยบาย
• นักท่องเที่ยวต่างชาติ และการส่งออกยังเติบโต ชึ่งจะช่วยให้ภาคอุตสากรรมผลิตได้มากขึ้น คนงานมีรายได้มากขึ้น
• ความขัดแย้งระหว่างประเทศไม่ขยายตัว หรือเพิ่มขึ้นอีกในแห่งอื่นของโลก ซึ่งจะส่งผลถึงการขาดแคลนชิพ และชิ้นส่วน
• ธนาคารกลางสหรัฐอาจลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยได้ ภาระของลูกหนี้อาจลดลงซึ่งจะช่วยให้มีอำนาจซื้อมากขึ้น
• คาดหวังว่าจะมีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นจากการเดินทางไปชักชวนนักลงทุนรายใหญ่ๆ ตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศเติบโต หนี้ครัวเรือนจะได้ลดลง
• เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชดเชยอัตรา 1:1 ของรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจำหน่ายในปี 2565-2566
ปัจจัยลบของการคาดการณ์ยอดผลิตเพื่อส่งออกเท่าเดิม
• สงครามการค้า และสงครามยูเครนกับรัสเซีย และสงครามอิสราเอลกับฮามาส อาจบานปลาย
• การเพิ่มการเข้มงวดในการควบคุมเซมิคอนดัคเตอร์ของสหรัฐอเมริกา อาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเซมิคอนดัคเตอร์
• ถ้าเศรษฐกิจจีนโตในอัตราต่ำจะส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศในเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 รองจากตลาดออสเตรเลีย
ปัจจัยบวกของการคาดการณ์ยอดผลิตเพื่อส่งออกเท่าเดิม
• ยอดขายรถยนต์ของประเทศคู่ค้ายังเติบโต
• คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะลดอัตราดอกเบี้ยลง
• เศรษฐกิจของประเทศจีนที่ยังเติบโตส่งผลดีต่อประเทศในเอเชียที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 28 ของรถยนต์ที่ไทยส่งออก
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนมิถุนายน 2567
เดือนมิถุนายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 7,990 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วร้อยละ 17.46 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,763 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 24.44
o รถยนต์นั่งจำนวน 5,661 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 99 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 3 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 23 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 76.92
• รถยนต์สามล้อรับจ้างมีทั้งสิ้น 27 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 35.71
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน 4 คัน
o รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน 23 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 2,094 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 28.07
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 2,090 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน 4 คัน
• รถโดยสารมีทั้งสิ้น 27 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 89.45
• รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 56 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วร้อยละ 47.66
เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 51,911 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายนปีที่แล้ว ร้อยละ 20.60 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 37,495 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 18.48
o รถยนต์นั่งจำนวน 36,518 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 918 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 6 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 50 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่าจำนวน 3 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 185 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 236.36
• รถยนต์สามล้อมีทั้งสิ้น 78 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 52.73
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน 16 คัน
o รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน 62 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 13,733 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 38.76
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 13,628 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน 105 คัน
• รถโดยสารมีทั้งสิ้น 208 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 80.95
• รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 212 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 12.77
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนมิถุนายน 2567
เดือนมิถุนายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 12,589 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วร้อยละ 68.01 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 12,515 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 68.46
o รถยนต์นั่งจำนวน 12,513 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 2 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 74 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 15.63
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 74 คัน
เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 71,906 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายนปีที่แล้วร้อยละ 55.84 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 71,641 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 56.41
o รถยนต์นั่งจำนวน 71,577 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน 14 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 13 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 34 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่าจำนวน 3 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 265 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 21.36
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 265 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนมิถุนายน 2567
เดือนมิถุนายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 843 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วร้อยละ 21.58 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 843 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 21.58
o รถยนต์นั่งจำนวน 840 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 3 คัน
เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 4,896 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายนปีที่แล้วร้อยละ 21.94 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 4,896 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ร้อยละ 21.94
o รถยนต์นั่งจำนวน 4,891 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 5 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 183,221 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 144.31 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 127,034 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 180.06
o รถยนต์นั่งมีจำนวน 125,061 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 178.01
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 1,526 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 443.06
o รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 67 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 458.33
o รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 111 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 753.85
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 269 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 295.59
• รถกระบะ และรถแวนมีจำนวน 469 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 318.75
• รถยนต์ 3 ล้อมีจำนวนทั้งสิ้น 969 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 47.71
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมีจำนวน 96 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 37.14
o รถยนต์รับจ้างสามล้อมีจำนวน 873 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 48.98
• รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 51,603 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 95.73
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 51,469 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 96.09
o รถจักรยานยนต์สาธารณะมีจำนวน 134 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 32.67
• อื่นๆ
o รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2,628 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 14.06
o รถบรรทุกมีจำนวนทั้งสิ้น 518 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 140.93
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 414,894 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 35.30 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 405,652 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 36.35
o รถยนต์นั่งมีจำนวน 404,739 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 36.36
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 490 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.30
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 66 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 94.12
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 188 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 79.05
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 66.67
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 164 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 124.66
• รถกระบะ และรถแวนมีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
• รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 9,239 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1.08
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 9,239 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1.08
• อื่นๆ
o รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 58,774 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 20.41 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 58,774 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 20.41
o รถยนต์นั่งมีจำนวน 58,699 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 20.40
o รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 41 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 10.81
o รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 26 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 62.50
o รถยนต์บริการให้เช่ามีจำนวน 3 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 150