บริษัท นีโอ โมบิลิตี้ เอเชีย จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่มอรุณ พลัส และ MGC-Asia เพื่อดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้า ครอบคลุมบริการครบวงจร จัดพิธีลงนาม MOU เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการรีไซเคิลแบทเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย กับ Primobius หนึ่งในผู้นำด้านการรีไซเคิลแบทเตอรีจากประเทศเยอรมนี
สัญหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ กรรมการ บริษัท นีโอ โมบิลิตี้ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันความนิยมในการใช้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าล้วน ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก รวมถึงในประ เทศไทย ซึ่งการรีไซเคิลแบทเตอรีรถยนต์ไฟฟ้า นับเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยสำคัญ ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทยในอนาคต โดยการนำแบทเตอรีที่เสื่อมสภาพ กลับมาใช้ประโยชน์ผ่านกระ บวนการอันทันสมัย เพื่อลดการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เราได้ยกระดับการเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าครบทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ผ่านการร่วมมือระหว่าง นีโอ โมบิลิตี้ เอเชียฯ และไพรโมเบียสฯ ในการร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการรีไซเคิลแบทเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยผมมั่นใจว่าทั้งสองบริษัทมีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน คือ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน พร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
มิเชล ซิย์มอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรโมเบียส จำกัด กล่าวว่า จุดประสงค์หลักของการรีไซเคิลแบทเตอรี คือ การนำวัตถุดิบจากแบทเตอรีที่เสื่อมสภาพ กลับมาใช้ใหม่ ผ่านกระบวนการที่ทันสมัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการเกิดคาร์บอนฟุตพรินท์จากการสรรหาทรัพยากรใหม่ด้วยการทำเหมืองถ่านหิน โดยเราเล็งเห็นถึงศักยภาพของ นีโอ โมบิลิตี้ เอเชียฯ ที่มีความสามารถในการให้บริการได้แบบครบวงจร อีกทั้งประเทศไทยก็นับว่ามีศักยภาพ พิสูจน์ได้จากความนิยมในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับโครงสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ครอบคลุม
Primobius ผู้เชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิลแบทเตอรีแบบครบวงจร
ไพรโมเบียสฯ เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท Neometals จากประเทศออสเตรเลีย และ SMS Group GmbH ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแบทเตอรีมาตรฐานสากลในประเทศเยอรมนี โดยเป็นหนึ่งในสมา ชิกของ EBRA (European Battery Recycling Association) และ EBA 250 (European Battery Alliance) อีกทั้งได้รับความไว้วางใจจากพันธมิตรทางธุรกิจระดับโลก อาทิ Mercedes-Benz (เมร์เซเดส-เบนซ์), BMW (บีเอมดับเบิลยู), STELCO และ ITOCHU จากเยอรมนี, แคนาดา และญี่ปุ่น ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายในการสร้างกระบวนการรีไซเคิลแบทเตอรีลิเธียม-ไออน ที่ล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงบริการคัดแยกวัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ พร้อมกำจัดแบทเตอรีที่เสื่อมสภาพอย่างเหมาะสม