ธุรกิจ
ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์
ยอดขายรถยนต์เดือน กรกฎาคม ลดลง 20%
Toyota (โตโยตา) แจงตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2567 ยอดขายชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ลดลง 20.6 % หรือมียอดขาย 46,394 คัน
ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2567 มียอดขาย 46,394 คัน ลดลง 20.6 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่งชะลอตัวที่ 26.4 % ด้วยยอดขาย 16,571 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวเช่นกันที่ 16.9 % ด้วยยอดขาย 29,823 คัน และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ชะลอตัว ด้วยยอดขาย 16,125 คัน ลดลง 35.5 % ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด 17,243 คัน คิดเป็นสัดส่วน 37.2 % ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้น 41.4 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายรถยนต์ HEV เติบโตขึ้น 44.3 % ด้วยยอดขาย 9,203 คัน ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 7,265 คัน เพิ่มขึ้น 48.0 %
ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม มีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนกรกฎาคม แต่ยังคงเติบโตลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และโปรโมชันพิเศษจากหลากหลายค่ายรถยนต์ ภายในงาน “Big Motor Sale 2024” ที่ในปีนี้มาพร้อมกับคอนเซพท์ “ยกโชว์รูม มาขายที่นี่” อาจมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และอาจเป็นผลให้ยอดขายเติบโตขึ้นเล็กน้อย
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกรกฎาคม 2567
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 46,394 คัน ลดลง 20.6 %
อันดับที่ 1 Toyota 17,786 คัน ลดลง 12.9 % ส่วนแบ่งตลาด 38.3 %
อันดับที่ 2 Isuzu 6,784 คัน ลดลง 42.2 % ส่วนแบ่งตลาด 14.6 %
อันดับที่ 3 Honda 5,442 คัน ลดลง 27.9 % ส่วนแบ่งตลาด 11.7 %
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 16,571 คัน ลดลง 26.4 %
อันดับที่ 1 Toyota 5,313 คัน ลดลง 34.0 % ส่วนแบ่งตลาด 32.1 %
อันดับที่ 2 Honda 2,623 คัน ลดลง 46.7 % ส่วนแบ่งตลาด 15.8 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 1,083 คัน ลดลง 0.3 % ส่วนแบ่งตลาด 6.5 %
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 29,823 คัน ลดลง 16.9 %
อันดับที่ 1 Toyota 12,473 คัน เพิ่มขึ้น 0.8 % ส่วนแบ่งตลาด 41.8 %
อันดับที่ 2 Isuzu 6,784 คัน ลดลง 42.2 % ส่วนแบ่งตลาด 22.7 %
อันดับที่ 3 Honda 2,819 คัน เพิ่มขึ้น 7.2 % ส่วนแบ่งตลาด 9.5 %
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 16,125 คัน ลดลง 35.5 %
อันดับที่ 1 Toyota 7,369 คัน ลดลง 27.0 % ส่วนแบ่งตลาด 45.7 %
อันดับที่ 2 Isuzu 5,843 คัน ลดลง 42.9 % ส่วนแบ่งตลาด 36.2 %
อันดับที่ 3 Ford 1,947 คัน ลดลง 29.3 % ส่วนแบ่งตลาด 12.1 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,958 คัน
Isuzu 1,160 คัน - Toyota 933 คัน - Ford 759 คัน - Mitsubishi 91 คัน - Nissan 15 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 13,167 คัน ลดลง 35.2 %
อันดับที่ 1 Toyota 6,436 คัน ลดลง 22.6 % ส่วนแบ่งตลาด 48.9 %
อันดับที่ 2 Isuzu 4,683 คัน ลดลง 45.2 % ส่วนแบ่งตลาด 35.6 %
อันดับที่ 3 Ford 1,188 คัน ลดลง 34.7 % ส่วนแบ่งตลาด 9.0 %
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 354,421 คัน ลดลง 23.7 %
อันดับที่ 1 Toyota 134,064 คัน ลดลง 14.8 % ส่วนแบ่งตลาด 37.8 %
อันดับที่ 2 Isuzu 53,044 คัน ลดลง 45.9 % ส่วนแบ่งตลาด 15.0 %
อันดับที่ 3 Honda 48,941 คัน ลดลง 8.8 % ส่วนแบ่งตลาด 13.8 %
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 135,897 คัน ลดลง 20.3 %
อันดับที่ 1 Toyota 38,577 คัน ลดลง 34.7 % ส่วนแบ่งตลาด 28.4 %
อันดับที่ 2 Honda 27,253 คัน ลดลง 22.9 % ส่วนแบ่งตลาด 20.1 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 10,970 คัน เพิ่มขึ้น 2.9 % ส่วนแบ่งตลาด 8.1 %
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 218,524 คัน ลดลง 25.7 %
อันดับที่ 1 Toyota 95,487 คัน ลดลง 2.8 % ส่วนแบ่งตลาด 43.7 %
อันดับที่ 2 Isuzu 53,044 คัน ลดลง 45.9 % ส่วนแบ่งตลาด 24.3 %
อันดับที่ 3 Honda 21,688 คัน เพิ่มขึ้น 18.3 % ส่วนแบ่งตลาด 9.9 %
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 124,562 คัน ลดลง 40.1 %
อันดับที่ 1 Toyota 57,058 คัน ลดลง 29.2 % ส่วนแบ่งตลาด 45.8 %
อันดับที่ 2 Isuzu 46,436 คัน ลดลง 47.7 % ส่วนแบ่งตลาด 37.3 %
อันดับที่ 3 Ford 13,229 คัน ลดลง 42.2 % ส่วนแบ่งตลาด 10.6 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 21,814 คัน
Toyota 7,914 คัน - Isuzu 7,089 คัน - Ford 5,022 คัน - Mitsubishi 1,543 คัน - Nissan 246 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 102,748 คัน ลดลง 39.6 %
อันดับที่ 1 Toyota 49,144 คัน ลดลง 26.8 % ส่วนแบ่งตลาด 47.8 %
อันดับที่ 2 Isuzu 39,347 คัน ลดลง 47.7 % ส่วนแบ่งตลาด 38.3 %
อันดับที่ 3 Ford 8,207 คัน ลดลง 47.6 % ส่วนแบ่งตลาด 8.0 %
Chery จับมือ KGEN ลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท
Chery International ค่ายรถยักษ์ใหญ่ของจีน บริษัทแม่ของ โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย) จับมือ บริษัท คิงเจน จำกัด (มหาชน) สร้างความสำเร็จครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่ในไทย เพื่อผลิตรถยนต์ Omoda (โอโมดา) และ Jaecoo (แจคู) ด้วยมูลค่าลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท โดยจะมีกำลังการผลิตในเฟสแรก 50,000 คัน/ปี และภายในปี 2571 จะขยายเป็น 80,000 คัน/ปี พร้อมลุยตลาดในประเทศ และส่งออกทั่วโลก หวังผลักดันไทยขึ้นแท่นฮับ EV ของภูมิภาค ขณะที่ KGEN ประกาศพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการผลิตรถยนต์ EV สนองความต้องการตลาดทั้งในประเทศ และระดับโลก โดยทั้ง 2 บริษัท ได้จัดพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุน (Joint Venture) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในงานยังได้รับเกียรติจาก ศุภมาศ อิศรภักดี รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมเป็นประธานเปิดงาน และร่วมเป็นสักขีพยานว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต EV ระดับโลก KGEN เป็นบริษัทมหาชนรายแรกของไทย ที่ได้เข้าร่วมลงทุนในโรงงานผลิตรถยนต์ระดับโลก
ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในฐานะคณะกรรมการนโยบายยานยนต์พลังงานไฟฟ้าแห่งชาติ หรือบอร์ดอีวี กล่าวว่า การร่วมลงทุนในครั้งนี้จะส่งผลให้คนไทย และประเทศไทยได้รับประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อม จากการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนการวิจัย และพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับ Chery ถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศจีนที่เชื่อมั่นนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย และตัดสินใจเข้ามาลงทุนโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ขอยืนยันว่ารัฐบาลไทย และ อว. พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เชื่อมั่นว่าตลาดยานยนต์ของไทยมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง
Chen Chunqing รองประธาน Chery International กล่าวว่า Chery มีประสบการณ์ด้านยานยนต์ระดับโลกมากว่า 27 ปี ผลิต และจำหน่ายรถยนต์ไปกว่า 80 ประเทศทั่วโลก มีโรงงานในต่างประเทศกว่า 10 แห่ง พร้อมผู้แทนจำหน่ายและศูนย์บริการมากกว่า 1,500 แห่ง รวมถึงมีศูนย์วิจัย และพัฒนาทุกภูมิภาคทั่วโลก ขึ้นแท่นเป็นผู้ส่งออกรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรายใหญ่ที่สุดของจีนติดต่อกันมาถึง 22 ปี และเป็นแบรนด์รถยนต์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ด้วยศักยภาพและการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง ประกอบกับความเชื่อมั่นในนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย Chery จึงตัดสินใจเข้ามาลงทุนโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย การจับมือกับ KGEN ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย) ด้วยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของ KGEN ที่แข็งแกร่ง จะช่วยตอกย้ำจุดยืนให้แก่ Chery ในตลาดประเทศไทย และสร้างความเชื่อมั่นว่ารถยนต์ Omoda และ Jaecoo ได้มาตรฐานสูงสุดระดับสากล พร้อมช่วยยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสู่มาตรฐานระดับสากลอีกด้วย
ขณะที่ Qi Jie ประธาน บริษัท โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่ง และตั้งใจสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในประเทศไทย พร้อมไม่หยุดนิ่งที่จะเติมเต็มประสบการณ์ของผู้ขับขี่ให้รถยนต์เป็น “มากกว่ารถยนต์” และส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบริการที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคชาวไทย การจับมือกับ KGEN เพื่อร่วมลงทุนสร้างโรงงานในครั้งนี้ จะเน้นผลิตรถไฟฟ้าทั้งแบบแบทเตอรี และไฮบริด โดยเฟสแรกมีเป้าหมายการผลิตรถ Jaecoo EV จำนวน 50,000 คัน ภายในปี 2568 และเฟสต่อมามีเป้าหมายผลิตรถ Omoda EV จำนวน 80,000 คัน ภายในปี 2571 สำหรับขายในประเทศ และส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย)ฯ ได้สร้างความเชื่อมั่นในศักย ภาพการบริการหลังการขายของทั้งสองแบรนด์ ที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้าแบบครบวงจร ผ่านผู้จำหน่าย Omoda & Jaecoo ทั่วประเทศทั้ง 23 แห่ง และจะขยายถึง 40 แห่งภายในปีนี้
พรทิพย์ ตรงกิ่งตอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิงเจน จำกัด (มหาชน) หรือ KGEN กล่าวว่า การร่วมทุนในโรงงานผลิตรถยนต์ภายใต้ความร่วมมือกับ Chery International ในครั้งนี้ทาง KGEN ถือหุ้น 60 % ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการยานยนต์ไทย จากการลงทุนในอดีตที่บริษัทต่างชาติจะลงทุนเองทั้ง 100 % ซึ่งเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของไทยจากการเป็นเพียงแหล่ง OME โดยการลงทุนครั้งนี้มีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท คาดว่าเฟสแรกจะสามารถเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2568 และจะขยายกำลังการผลิตในปี 2571
นอกจากการจำหน่ายในประเทศแล้ว บริษัทยังมีแผนที่จะส่งออกไปยังตลาดทั่วโลก โดยโรงงานแห่งนี้จะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในการส่งออก ที่สามารถรองรับการผลิตรถยนต์ทั้งพวงมาลัยขวาและพวงมาลัยซ้าย ซึ่ง โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย)O ตั้งเป้าหมายมุ่งยกกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถพวงมาลัยขวาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ และการขยายตลาดส่งออกจะเป็นส่วนสำคัญในการดึงเม็ดเงินกลับเข้าสู่ประเทศตามเป้าหมายของรัฐบาล เชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้cdj KGEN และช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่ง ขันในตลาดยานยนต์ระดับโลก
สอท. แจงยอดผลิตรถเดือน กค. ลดลงร้อยละ 16.62
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) แจง เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 124,829 คัน ลดลงร้อยละ 16.62 ขาย 46,394 คัน ลดลงร้อยละ 20.58 ส่งออก 83,527 คัน ลดลงร้อยละ 22.70 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 552 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18,300 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 6,835 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.01
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประ เทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2567
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม 2567 มีทั้งสิ้น 124,829 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 16.62 เพราะผลิตขายในประเทศลดลงร้อยละ 40.85 ตามยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ลดลงจากการเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินเพราะหนี้ครัวเรือนสูง และเศรษฐกิจที่อ่อนแอ แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2567 ร้อยละ 7.34
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 886,069 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 17.28
รถยนต์นั่ง เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตได้ 46,046 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 8.94 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 32,251 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 17.83
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 522 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 18,300
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 372 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 54.80
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 12,871 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 22.65
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 มีจำนวน 329,269 คัน เท่ากับร้อยละ 37.16 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 11.40 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 209,571 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 28.39
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 5,505 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 3,670.55
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 3,561 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 44.10
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 110,632 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 52.71
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนกรกฎาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 87.80
รถยนต์บรรทุก เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 78,783 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 20.53 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 556,790 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 20.40
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 77,838 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 19.14 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 544,576 คัน เท่ากับร้อยละ 61.46 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 19.93 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 88,323 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 29.03
รถกระบะ Double Cab 361,177 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 19.26
รถกระบะ PPV 95,076 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 12.25
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตได้ 945 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 67.19 รวมเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตได้ 12,214 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 37
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตได้ 87,538 คัน เท่ากับร้อยละ 70.13 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 1.01 ส่วนเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 603,721 คัน เท่ากับร้อยละ 68.13 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.20
รถยนต์นั่ง เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 25,958 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 8.02 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 177,466 คัน เท่ากับร้อยละ 53.90 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 3.72
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกรกฎาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 61,580 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 1.67 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 426,255 คัน เท่ากับร้อยละ 78.27 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 4.47 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 35,322 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 24.35
รถกระบะ Double Cab 314,612 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 7.69
รถกระบะ PPV 76,321 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 30.01
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตได้ 37,291 คัน เท่ากับร้อยละ 29.87 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 40.85 และเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตได้ 282,348 คัน เท่ากับร้อยละ 31.87 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 37.80
รถยนต์นั่ง เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 20,088 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 24.30 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ผลิตได้ 151,803 คัน เท่ากับร้อยละ 46.10 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ลดลงร้อยละ 24.30
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกรกฎาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 16,258 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 51.65 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 118,321 คัน เท่ากับร้อยละ 21.73 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 49.42 ซึ่งแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 53,001 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 31.84
รถกระบะ Double Cab 46,565 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 56.28
รถกระบะ PPV 18,755 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 62.22
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนกรกฎาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 87.80
รถบรรทุก เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตได้ 945 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 67.19 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 12,214 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรก ฎาคม 2566 ร้อยละ 37
รถจักรยานยนต์
เดือนกรกฎาคม 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 179,176 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 8.01 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 150,947 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.27 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 28,229 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 14.52
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,376,369 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.33 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,145,520 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.73 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 230,849 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 13.30
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนกรกฎาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 46,394 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2567 ร้อยละ 2.66 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 20.58 เพราะการเข้มงวดในการให้สินเชื่อโดยเฉพาะรถกระบะและรถบรรทุกจากความกังวลเรื่องหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 91 ของ GDP ของประเทศ และเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำในอัตราร้อยละ 1.5 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 จากงบประมาณรายจ่ายปีที่ล่าช้า
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 27,736 คัน เท่ากับร้อยละ 59.78 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 7.03
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 11,837 คัน เท่ากับร้อยละ 25.51 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 37.57
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 6,835 คัน เท่ากับร้อยละ 14.73 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 54.01
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 160 คัน เท่ากับร้อยละ 0.34 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.30
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 8,904 คัน เท่ากับร้อยละ 19.19 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 41.29
รถกระบะ มีจำนวน 13,167 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 35.17 รถ PPV มีจำนวน 2,958 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 36.70 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,318 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.57 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,215 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 7.11
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 141,557 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 5.97 และลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 6.12
ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 รถยนต์มียอดขาย 354,421 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 23.71 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 212,217 คันเท่ากับร้อยละ 59.88 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 8.58
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 94,497 คัน เท่ากับร้อยละ 26.66 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.59
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 40,343 คัน เท่ากับร้อยละ 11.38 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 12.75
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 1,363 คัน เท่ากับร้อยละ 0.38 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.26
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 76,014 คัน เท่ากับร้อยละ 21.45 ของยอดขายรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 65.75
รถกระบะมีจำนวน 102,748 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 39.56 รถ PPV มีจำนวน 21,814 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.50 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 9,657 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 37.38 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 7,985 คัน ลดลงจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้ว 11.89
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,032,091 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 9.84 แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ICE จำนวน 1,031,891 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.78 รถจักรยานยนต์ BEV จำนวน 200 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.09
การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูป
เดือนกรกฎาคม 2567 ส่งออกได้ 83,527 คัน ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 6.22 และลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 22.70 เพราะปัญหาการขนส่งไปตะวันออกกลาง และยุโรปจากสงครามอิสราเอลกับฮามาส จึงส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แบ่งเป็น
รถกระบะ 45,439 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 54.40 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 24.68
รถยนต์นั่ง ICE 26,288 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 31.47 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 22.65
รถยนต์นั่ง HEV 3,684 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 4.41 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 405.35
รถ PPV 8,116 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 9.72 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 37.59
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 56,397.87 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 16.56
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 4,047.92 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 15.22
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 18,450.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 3.52
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,537.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 23.69
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 81,434.29 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 11.71
เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 602,567 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 5.39 แบ่งเป็น
รถกระบะ ICE 346,939 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 57.58 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 7.68
รถยนต์นั่ง ICE 146,449 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 24.30 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 21.93
รถยนต์นั่ง HEV 31,196 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 5.18 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 490.50
รถ PPV 77,983 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 12.94 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ14.36
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 419,872.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 5.82 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 19,980.06 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 5.83
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 112,219.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 7.76
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 15,108.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 12.24
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 567,180.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 5.90
รถจักรยานยนต์
เดือนกรกฎาคม 2567 มีจำนวนส่งออก 58,757 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2567 ร้อยละ 7.39 และลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 8.53 โดยมีมูลค่า 4,624.92 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 18.72
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 240.21 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 21.33
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 209.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 13.83
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนกรกฎาคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 5,074.94 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 17.88
เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 473,075 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 3.82 มีมูลค่า 37,354.60 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 10.10
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,450.71 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 20.45
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,011.83 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ19.36
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 39,817.14 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 10.79
เดือนกรกฎาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่น ๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 86,509.24 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ12.10
เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 606,997.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 4.62
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนกรกฎาคม 2567
เดือนกรกฎาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,332 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วร้อยละ 20.68 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,771 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 13.58
รถยนต์นั่ง จำนวน 5,475 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 290 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 2 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 4 คัน
รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 73 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 711.11
รถยนต์สามล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 9 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 80.85
รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล จำนวน 7 คัน
รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ จำนวน 2 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 2,413 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 40.62
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 2,411 คัน
รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 2 คัน
รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 16 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 52.94
รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 50 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วร้อยละ 194.12
เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 60,243 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคมปีที่แล้วร้อยละ 21.05 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 43,524 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 18.29
รถยนต์นั่ง จำนวน 43,266 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 1,208 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 8 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 54 คัน
รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 258 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 303.13
รถยนต์สามล้อ มีทั้งสิ้น 87 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 58.96
รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 23 คัน
รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ จำนวน 64 คัน
รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 16,146 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 39.03
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 16,039 คัน
รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 107 คัน
รถโดยสารมีทั้งสิ้น 224 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 80.11
รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 262 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 1,090.91
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนกรกฎาคม 2567
เดือนกรกฎาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 11,888 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วร้อยละ 99.80 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 11,833 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 99.98
รถยนต์นั่ง จำนวน 11,823 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 3 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 2 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 5 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 55 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 66.67
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 55 คัน
เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 83,794 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคมปีที่แล้วร้อยละ 60.86 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 83,474 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 61.40
รถยนต์นั่ง จำนวน 83,400 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 17 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 15 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 39 คัน
รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 320 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 13.51
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 320 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนกรกฎาคม 2567
เดือนกรกฎาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 826 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วร้อยละ 15.46 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 826 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 15.46
รถยนต์นั่ง จำนวน 826 คัน
เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 5,722 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กรกฎาคมปีที่แล้วร้อยละ 21.06 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,722 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566 ร้อยละ 21.06
รถยนต์นั่ง จำนวน 5,717 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 5 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567
ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 191,414 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 133.82 % โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 132,735 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 163.21
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 130,434 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 160.82
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 1,821 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 504.98
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 71 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 273.68
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 119 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 373.33
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน ซึ่งในช่วงเดียวกันไม่มีการจดทะเบียน
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 287 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 241.67
รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 537 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 336.59
รถยนต์ 3 ล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 978 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 39.91
รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 104 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 40.54
รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ มีจำนวน 874 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 39.84
รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 53,953 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 92.40
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 53,819 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 92.76
รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 134 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 9.84
อื่นๆ
รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,644 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 13.09
รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 567 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 144.40
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567
ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 426,642 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 37.12 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 417,389 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 38.19
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 416,456 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 38.21
รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 492 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.50
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 70 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 79.49
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 193 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 77.06
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 66.67
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 173 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 110.98
รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
รถจักรยานยนต์มี จำนวนทั้งสิ้น 9,250 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1.58
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,250 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1.58
อื่นๆ
รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567
ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 59,587 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 20.17 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 59,587 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 20.17
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 59,518 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 20.18
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 41 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 5.13
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 20 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเล็คทรอนิคส์ มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25
รีวิว Mercedes-Benz EQS 450 SUV ราคา 5,990,000 บาท+EQE 300 ราคา 3,970,000 บาท
Mercedes-Benz EQS 450 4MATIC SUV AMG Dynamic ราคา 5,990,000 บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars/models/suv/eqs/overview.html
Mercedes-Benz EQS 450 4Matic SUV AMG Dynamic (เมร์เซเดส-เบนซ์ อีคิวเอส 450 4 เมทิค เอสยูวี เอเอมจี ไดนามิค) เอสยูวีไฟฟ้าระดับ Top-End Luxury รองรับการโดยสารสูงสุด 7 ที่นั่ง ติดตั้งขุมพลังมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ All-Wheel Drive ให้กำลังสูงสุด 360 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 800 นิวทันเมตร/81.6 กก.ม. อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. ในเวลา 6.1 วิ นาที ความเร็วสูงสุดได้ 210 กม./ชม. ความจุของแบทเตอรีขนาดใหญ่ถึง 118 กิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้รถยนต์คันนี้สามารถวิ่งได้ไกลสูงสุด 658 กม. (WLTP)/การชาร์จเต็ม 1 ครั้ง โดยรองรับการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC charge) สูงถึง 200 กิโลวัตต์ ใช้เวลาชาร์จเพียง 31 นาทีจาก 10-80 % ส่วนการชาร์จแบบกระแสสลับ (AC Charge) รองรับสูงสุด 11 กิโลวัตต์ ใช้เวลาชาร์จจาก 0-100 % ในระยะเวลา 12 ชม. 15 นาที
ผู้ขับขี่ยังสามารถเลือกโหมดการขับขี่ได้ตามความต้องการกว่า 5 โหมด ด้วยการสัมผัสบริเวณจอกลางผ่านฟังค์ชัน Dynamic Select โดยรถยนต์จะเปลี่ยนรอบเครื่องยนต์ พวงมาลัย ช่วงล่าง คันเร่ง และการทำงานของแอร์ ให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละโหมด ไม่ว่าจะเป็นแบบ Eco, Comfort, Sport, Individual และ Off-Road ซึ่งเป็นโหมดสำหรับการขับขี่ในรูปแบบ Off-Road โดยเฉพาะ ทั้งยังมาพร้อมกล้องรอบคัน 360° ที่ให้การแสดงผลแบบ Transparent Bonnet ที่จะแสดงภาพใต้ท้องรถแบบ Real-Time ทำให้สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างสะดวกสบายเมื่อขับขี่ในโหมด Off-Road
Mercedes-Benz EQS 450 4Matic SUV AMG Dynamic มีดีไซจ์นภายนอกที่มีการตกแต่งด้วยชุดแต่ง AMG Bodystyling พร้อมชุดกระจังหน้าแบบ Mercedes-Benz Pattern และตราสัญ ลักษณ์ Mercedes-Benz ติดตั้งไฟหน้าแบบ Digital Light พร้อมเทคโนโลยีปรับไฟสูงอัตโนมัติ Adaptive Highbeam Assist ที่สามารถส่องสว่างไกลถึง 650 ม. ขับเคลื่อนอย่างสะดวกสบายด้วยล้อแมกแบบ AMG Multi-Spoke Lightalloy Wheels Aerodynamically ขนาด 22 นิ้ว ผสานการทำงานด้วยระบบกันสะเทือนแบบถุงลม (Airmatic) และโฟมช่วยลดเสียงรบกวน
ห้องโดยสารให้ความหรูหราตามแบบฉบับของ Mercedes-Benz ผสานสีสันในสไตล์สปอร์ทด้วยการตกแต่งแบบ AMG Line Interior มอบความเพลิดเพลินให้แก่ผู้โดยสารในทุกที่นั่งด้วยระบบ MBUX7 รุ่นล่าสุด ติดตั้งหน้าจอ MBUX Hyperscreen แบบ "Zero-Layer" ยาวต่อเนื่องกันกว่า 1,410 มม. โดยซ่อนไว้ด้วยหน้าจอ OLED จำนวน 3 หน้าจอ กินพื้นที่จากเสา A-Pillar ฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่ง ทั้งยังมอบความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นด้วยเบาะนั่งแบบ 7 ที่นั่ง 3 ตอน ติดตั้งหน้าจอเพื่อความบันเทิงที่สามารถควบคุมได้ด้วยระบบสัมผัสแบบ MBUX High-End Rear Seat จำนวน 2 จอขนาด 11.6 นิ้ว สำหรับผู้โดยสารตอนหลัง มาพร้อมเบาะนั่งไฟฟ้าที่สามารถปรับตำแหน่งที่นั่งได้ ระบบฟอกอากาศแบบ Energizing Air Control Plus แอร์อัตโนมัติ Thermotronic 4 โซน และเทค โนโลยีอื่นๆ อย่างครบครัน
ในส่วนของระบบความบันเทิง รถยนต์คันนี้ยังครบครันด้วยระบบเสียงรอบทิศทางแบบ Burmester 3D ทรงพลังด้วยลำโพงคุณภาพสูงจำนวน 15 ตัว และรอบห้องโดยสารที่มีกำลังขับขนาด 710 วัตต์ จะช่วยมอบเสียงเพลงที่คมชัดสมจริงราวกับอยู่ในสตูดิโอ มาพร้อมเทคโนโลยี Dolby Atmos ถ่ายทอดเสียงได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา ที่จะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศภายในห้องโดยสารได้อย่างรื่นรมย์
สำหรับเทคโนโลยีและระบบความปลอดภัยภายใน EQS 450 4Matic SUV AMG Dynamic นั้นจัดมาให้อย่างเต็มพิกัด ทั้งระบบเลี้ยว 4 ล้อแบบ Rear Axle Steering ทำให้ทุกการขับขี่ง่ายดายยิ่งขึ้นด้วยล้อหลังที่สามารถเลี้ยวได้มากถึง 4.5 องศา รวมถึงระบบช่วยเหลือการขับขี่แบบ Driving Assistance Package ที่รวบรวมระบบความปลอดภัยต่างๆ ไว้อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นระบบช่วยเตือนอาการเหนื่อยล้าขณะขับขี่ (Attention Assist) ระบบช่วยเบรกอัตโนมัติ (Active Brake Assist) ระบบช่วยรักษารถให้อยู่ในช่องทางจราจร (Active Lane Keeping Assist) ระบบช่วยจำกัดความ เร็วแบบแอคทีฟ (Speed Limit Assist) ฯลฯ
โดยมีสีตัวถังให้เลือกทั้งหมด 4 สี ได้แก่ สีเทา (Manufaktur Alpine Grey Solid) สีเทา (Selenite Grey Metallic) สีขาว (Manufaktur Diamond White Bright) และสีดำ (Obsidian Black Metallic)
Mercedes-Benz EQE 300 ราคา 3,970,000 บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars/models/saloon/eqe/overview.html
Mercedes-Benz EQE 300 (เมร์เซเดส-เบนซ์ อีคิวอี 300) ยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้า 100 % รุ่นล่าสุดในไลน์อัพของ EQE ที่มาพร้อมตัวถังแบบซีดาน ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยว (Single Motor) บริเวณตำแหน่งล้อหลัง กำลังสูงสุด 245 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 550 นิวทันเมตร/56.1 กก.ม. อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. 7.3 วินาที แบทเตอรีความจุ 89 กิโลวัตต์ชั่วโมง ระยะทำการสูงสุด 651 กม./การชาร์จเต็ม 1 ครั้ง (มาตรฐาน WLTP) รองรับการชาร์จพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสตรง (DC Charge) สูงสุด 170 กิโลวัตต์ ใช้เวลาชาร์จจาก 10-80 % เพียง 32 นาที ส่วนการชาร์จแบบ กระแสสลับ (AC Charge) รองรับสูงสุด 11 กิโลวัตต์ ใช้เวลาชาร์จจาก 0-100 % ในระยะเวลา 9 ชม. 15 นาที
รูปทรงภายนอกของ EQE 300 มาพร้อมการตกแต่งรอบคันแบบ Electric Art Exterior Package เสริมด้วยชุดแต่ง Night Package และกระจังหน้าแบบ Mercedes-Benz Pattern ติดตั้งไฟหน้าแบบ LED High Performance พร้อมระบบปรับไฟสูงอัตโนมัติ Adaptive Highbeam Assist ในส่วนของช่วงล่างติดตั้งล้อแมกสไตล์สปอร์ทแบบ 5 ก้าน ขนาด 20 นิ้ว และยางรถยนต์พร้อมโฟมระ บบช่วงล่างแบบ Comfort suspension ติดตั้งระบบกุญแจแบบ Keyless-Go Comfort Package และระบบเปิด/ปิด บานประตูท้ายแบบ Hands-Free Access และกล้องถอยหลังที่มาพร้อมกับระ บบจอดอัตโนมัติ ที่จะช่วยให้การขับขี่เป็นไปอย่างราบรื่นในทุกเส้นทาง
เมื่อเข้ามายังภายในห้องโดยสารจะพบกับการตกแต่งแบบ Electric Art Interior ตามหลักแนวคิด “Progressive Luxury” ที่แฝงอยู่ในทุกมิติของห้องโดยสาร โดยตกแต่งคอนโซลด้วยวัสดุ Laser-Cut Backlit Trim ผสานเข้ากับดีไซจ์น Mercedes-Benz Pattern และวัสดุแบบ High-Gloss Black ติดตั้งพวงมาลัยมัลทิฟังค์ชันแบบสปอร์ทหุ้มหนัง โดยใช้เบาะนั่งแบบ Comfort Seats พร้อมระ บบดันหลัง 4 ทิศทาง Lumbar Support และฟังค์ชันปรับระดับเบาะนั่งด้วยระบบไฟฟ้าพร้อม Memory Seat สำหรับผู้ขับขี่ และผู้โดยสารตอนหน้า รวมถึงฟังค์ชันอำนวยความสะดวกที่ช่วยสร้างประ สบการณ์ที่ดีเยี่ยม อาทิ ระบบปรับรูปแบบการขับขี่ Dynamis Select ระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ Thermatic แบบแยก 2 โซน ระบบชาร์จแบบไร้สาย (Wireless Charging) และไฟเรืองแสง Ambient Light รอบห้องโดยสารที่สามารถปรับได้ถึง 64 เฉดสี โดยจะครอบคลุมในส่วนของโลโก Mercedes-Benz บริเวณแดชบอร์ดที่จะเปลี่ยนสีตาม Ambient Light ในตอนกลางคืน
สำหรับระบบการเชื่อมต่อ และ Infotainment ภายในรถ โดดเด่นด้วยระบบปฏิบัติการ MBUX7 รุ่นล่าสุด ผสานการทำงานของเทคโนโลยี AI พร้อมติดตั้งระบบจดจำโปรไฟล์ผู้ขับขี่ ด้วยการสแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint Scanner) และระบบจะปรับการตั้งค่าต่างๆ ในรถ ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ขับขี่ โดยติดตั้งหน้าจอแสดงผลบริเวณคอนโซลกลางแบบ OLED ขนาด 12.8 นิ้ว และหน้าจอแสดงผลข้อมูลการขับขี่แบบดิจิทอล 12.3 นิ้ว รองรับการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ IOS และ Android (Apple Car Play & Android Auto) ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารด้วยสัญญาณ 5G สำหรับบริการ Mercedes Me Connect ระบบแผนที่นำทางแบบ Hard-Disc Navigation พร้อมแผนที่แบบ 3 มิติ ระบบมัลทิมีเดีย MBUX Entertainment Plus และระบบตรวจสอบสภาพการจราจรแบบ Live Traffic Information ในทุกเส้นทาง
สำหรับเทคโนโลยีระบบความปลอดภัยของ EQE 300 มีการติดตั้งระบบความปลอดภัยตามมาตรฐานของ Mercedes-Benz พร้อมด้วย Assistance Package ที่ทำงานแบบ Active Safety อาทิ ระ บบรักษารถให้อยู่ในช่องทางจราจร (Active Lane Keeping Assist) ระบบช่วยเตือนเมื่อมีรถอยู่ในจุดอับสายตา (Blind Spot Assist) และ Active Distance Assist Distronic ที่มาพร้อมเรดาร์รักษาระยะห่างจากตัวรถคันข้างหน้า พร้อมติดตั้งระบบ Parking Package กล้องแสดงภาพด้านหลังขณะถอยจอด รวมถึงระบบป้องกันก่อนเหตุ (Pre-Safe system) และระบบเตือนแรงดันลมยาง ฯลฯ
Mercedes-Benz EQE 300 มีสีตัวถังให้เลือกทั้งหมด 5 สี ได้แก่ สีขาว (Polar White) สีดำ (Obsidian Black) สีเทา (Selenite Grey) สีเงิน (High-Tech Silver) และสีน้ำเงิน (Sodalite Blue)
รวม "ครั้งแรก" ของยุครถไฟฟ้าในประเทศไทย
ตลาดรถไฟฟ้าไทยบูมสุดขีดตลอดปีที่ผ่านมา แต่จริงๆ แล้ว ก่อนหน้านี้มีหลายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าเกิดขึ้นในบ้านเรา วันนี้เราจะมาไล่เรียงดูว่า จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันมีอะไรที่ปรากฏเป็น “ครั้งแรก” ในยุครถไฟฟ้าบ้านเรา (เฉพาะ EV ไม่นับ Hybrid และ Plug-in Hybrid)
ปี 2551
รถไฟฟ้าโชว์ตัวครั้งแรก
Mitsubishi (มิตซูบิชิ) นำ Mitsubishi I-MiEV (ไอ-เมียฟ) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100 % รุ่นแรกที่ออกจำหน่ายเป็นกิจจะลักษณะ มาแสดงในงาน Motor Expo 2008 ทำให้คนรักรถชาวไทย ได้สัมผัสรถไฟฟ้าเป็นครั้งแรก และมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย)ฯ ยังได้นำรถรุ่นนี้มาให้ลูกค้าทดลองขับในปี 2010 รวมถึงมอบให้หน่วยงานต่างๆ เช่น การไฟฟ้านครหลวง
นอกจากนี้ ในงาน Motor Expo 2010 ยังมีการจัดแสดง Mitsubishi i-MiEV Sport รถแนวคิดพลังไฟฟ้าที่พัฒนามาจาก Mitsubishi i-MiEV รุ่นแรก และเป็นรถต้นแบบสะท้อนเทคโนโลยีแห่งอนา คต จากการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา
รถไฟฟ้าแบรนด์อเมริกันรุ่นแรก
Chevrolet Volt (เชฟโรเลต์ โวลท์) รถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์อเมริกันที่เข้ามาเปิดตัวบ้านเราครั้งแรก ในงาน Motor Expo 2008 เป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีจุดเด่น คือ สามารถขับขี่ได้ไกลถึง 570 กม. พร้อมเทคโนโลยีการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์
ปี 2555
เปิดสถานีชาร์จรถไฟฟ้าในไทยแห่งแรก
การไฟฟ้านครหลวง สร้างสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์แห่งแรกของประเทศไทย ณ สำนักงานใหญ่ คลองเตย ให้บริการชาร์จฟรี 1 ปี โดยมีต้นทุนการก่อสร้าง 600,000 บาท ใช้เวลาชาร์จ 20-30 นาที ปัจจุบันยังคงเปิดให้บริการครอบคลุม 3 จังหวัด ในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ราคา 7.5 บาท/หน่วย
ปี 2558
จัดตั้งสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าครั้งแรก
ช่วงต้นปี 2558 หน่วยงานภาครัฐเริ่มให้ความสนใจเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และมีนโยบายส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ทำให้ภาควิชาการ และภาคเอกชน ประชุมหารือเพื่อจัดตั้งสมาคมฯ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2558 และจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ ในชื่อสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 โดยมี รศ.ดร. ยศพงษ์ ลออนวล ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ คนแรก
จากนั้นในปีเดียวกัน สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมกับสถาบันยานยนต์ และบริษัท สื่อสากล จำกัด จัดงานเปิดตัวสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และงานสัมมนา "ขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าไทยสู่อา เซียน" ในวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ภายในงาน Motor Expo 2015 ณ อิมแพคท์ เมืองทองธานี
รถไฟฟ้าแบรนด์ยุโรปรุ่นแรก
BMW I3 (บีเอมดับเบิลยู ไอ 3) รถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ยุโรปรุ่นแรกที่เข้าประเทศไทย เป็นรถยนต์ทรงแฮทช์แบคที่วางแนวคิดให้สื่อถึงอนาคต ตอบโจทย์เรื่องการลดมลภาวะ และการใช้ที่คล่องตัวในเมือง ให้ระยะทางขับขี่ราว 130-160 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง
ปี 2560
ครม. เห็นชอบผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยครั้งแรก
ในปีนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการออกมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
เปิดสถานีชาร์จในห้าง และคอนโดครั้งแรก
บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท โพลีเทคโนโลยี จำกัด Greenlots กลุ่มเซนทรัล และบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เริ่มโครงการ Chargenow เปิดสถานีชาร์จไฟรถพลัก-อินเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในไทย ที่ห้างสรรพสินค้าในเครือกลุ่มเซนทรัล และคอนโดมิเนียมในเครือ AP
แสดงเทคโนโลยีรถไฟฟ้าครั้งแรก
บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จัดงานแสดงเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และการประชุมนานาชาติ iEVTech 2018 ครั้งแรกในอาเซียน ณ อาคารเคเอกซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต โดยงานจัดขึ้นวันที่ 6-9 มิถุนายน 2561 ที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ปี 2561
เปิดตัว EV Taxi ครั้งแรก
กรมการขนส่งทางบก ร่วมมือกับ บริษัท อีวี โซไซตี้ จำกัด และบริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี จำกัด เปิดตัว EV Taxi VIP รถแทกซีไฟฟ้าครั้งแรกของประเทศไทย โดยใช้รถยนต์ไฟฟ้ารุ่น BYD E6 (บีวายดี อี 6) ที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า 100 % มาให้บริการ
เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อคนพิการครั้งแรก
สมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรชิ้นส่วนโลหะ และอุตสาหกรรมสนับสนุนไทย เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบ รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อคนพิการอัมพาตครึ่งท่อน “MED CMU EV Car” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อคนพิการคันแรกของประเทศไทยที่ใช้งานได้จริง
แอพพลิเคชันยานยนต์ไฟฟ้าเจ้าแรก
การไฟฟ้านครหลวง เปิดตัว MEA EV Application เจ้าแรกของประเทศไทย ให้บริการค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้า จองหัวชาร์จแบบเรียลไทม์ มีระบบนำทางไปยังสถานีชาร์จ พร้อมควบคุมการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าผ่านระบบรีโมทด้วยแอพพลิเคชัน รวมถึงฟังค์ชันอื่นๆ
จัดทดลองขับยานยนต์ไฟฟ้าครั้งแรก
Fomm (ฟอมม์) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสัญชาติญี่ปุ่น รุกกระแสตลาดรถ EV ในไทย ประเดิมจัด Test Drive ครั้งแรก ณ สนาม MSL Motorsports Land (แดนเนรมิตเก่า) โดยให้ลูกค้าทดลองขับรถ Fomm One (วัน) ที่จองไว้ และเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการทดลองขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก
สถานีชาร์จ กรุงเทพฯ-หัวหิน เจ้าแรก
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้าบนเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทางรวม 380 กม. ภายใต้ชื่อ “EA Anywhere” 9 จุด ได้แก่ สถานีชาร์จที่ปั๊มน้ำมันซัสโก (สำ นักงานใหญ่) ราษฎร์บูรณะ, ร้าน Cafe Amazon OPG บางขุนเทียน, ปั๊มน้ำมันบางจาก แพรกหนามแดง (อัมพวา), ร้านอาหารครัวบ้านขวัญ แยกวังมะนาว, ศูนย์บริการ A.C.T หัวหิน, โรงแรม Holiday Inn Vana Nava หัวหิน, โครงการ La Cacita แสนสิริ และ FN Outlet หัวหิน
รถไฟฟ้าแบรนด์จีนรุ่นแรก
รถไฟฟ้าสัญชาติจีนรุ่นแรกที่เข้ามาทำตลาดในบ้านเราก็คือ BYD E6 โดยนำมาใช้เป็น Taxi VIP วิ่งไกลประมาณ 350-400 กม. ซึ่งถือเป็นรถไฟฟ้าที่สามารถวิ่งได้ไกลที่สุดคันหนึ่งในขณะนั้น
ปี 2562
บริการรถไฟฟ้าในสถานศึกษาครั้งแรก
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับบริษัทยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำ รับมอบรถยนต์ไฟฟ้า 4 คันจาก Hyundai (ฮันเด) และ Fomm เป็นสถานศึกษาแห่งแรกที่พัฒนาสู่การเป็น Smart City ที่ริเริ่มการใช้รถ ยนต์ไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย โดยเปิดให้นักศึกษาเช่าระยะสั้นๆ ผ่านแอพพลิเคชันเช่ารถ HAUP
ปี 2564
สถานีชาร์จไฟฟ้าของหน่วยงานรัฐแห่งแรก
กระทรวงการคลัง จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้า Elex By EGAT ภายในพื้นที่ของกระทรวงการคลัง เพื่อใช้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของทางราชการ พร้อมอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่มาติดต่อ นับเป็นการนำร่องติดตั้งสถานีชาร์จเชิงพาณิชย์ในสถานที่ราชการเป็นแห่งแรกของไทย
ปี 2565
รัฐออกมาตรการ EV 3.0 ครั้งแรก
ภาครัฐออกมาตรการ EV 3.0 หรือมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าระยะแรก เช่น ให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิตสูงสุด 70,000-150,000 บาท พร้อมยกเว้นภาษีสรรพสามิต หวังดันคนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาค เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565-31 ธันวาคม 2566
EV Bus ลดโลกร้อน ฝีมือคนไทยครั้งแรก
เป็นครั้งแรกที่มีการพัฒนา 4 ต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้า หรือ EV Bus ฝีมือบริษัทคนไทย โดยดัดแปลงจากรถเมล์ ขสมก. ใช้แล้ว 20 ปี เพื่อส่งมอบให้ 4 หน่วยงาน คือ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ
ปี 2566
เปิดตัวรถไฟ EV ในไทยครั้งแรก
การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดตัวหัวรถจักร EV ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นหัวรถจักรต้นแบบแรกในการพัฒนารถไฟระบบ EV On Train ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศ ไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
สถานีชาร์จในวัดแห่งแรก
วัดอินทาราม ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าภายในวัด เป็นแห่งแรก และแห่งเดียวในไทย โดยเครื่องชาร์จไฟฟ้ามี ขนาด 7 กิโลวัตต์ รองรับหัวชาร์จมาตรฐานทุกรุ่น ให้บริการทุกวัน วันละ 3 รอบ ตลอด 24 ชม. รอบที่ 1 เวลา 04.30-05.30 น. รอบที่ 2 เวลา 08.00-09.00 น. รอบที่ 3 เวลา 18.30-19.30 น.
สถานีชาร์จความเร็วสูง ครั้งแรก
บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (Sharge) จับมือ เชลล์ (Shell) บริษัทพลังงานระดับโลก และ Porsche Asia Pacific (โพร์เช เอเชียแปซิฟิค) ติดตั้ง EV Charger ความเร็ว 180-360 กิโลวัตต์ สูงที่สุดในไทย ให้สถานีบริการ Shell Recharge สถานีชาร์จยานยนต์พลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง
แบรนด์ญี่ปุ่นผลิตรถ EV ในไทยครั้งแรก
บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดสายการผลิต Honda E:N1 (ฮอนดา อี:เอน 1) เอสยูวีพลังงานไฟฟ้า 100 % ณ โรงงาน Honda สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ. ปราจีนบุรี โดย Honda นับเป็นแบรนด์รถยนต์ญี่ปุ่นหลักที่เริ่มเดินสายการผลิตรถยนต์นั่งไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
กระบะไฟฟ้ารุ่นแรก
บริษัท ไทยอีวี จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ ได้นำเข้ารถกระบะไฟฟ้ามาในบ้านเราเป็นครั้งแรก นั่นคือเจ้า JAC T8 EV (เจเอซี ที 8 อีวี) เน้นใช้งานในเชิงพาณิชย์ หรือการขนส่งเป็นหลัก รองรับการบรรทุกได้สูงสุด 1,000 กก. และสามารถวิ่งได้ไกล 330 กม.
ปี 2567
สงครามราคา EV ครั้งแรก
นับเป็นช่วงเวลาทองของคนอยากซื้อรถ EV เมื่อแต่ละค่ายต่างหั่นราคาสู้กันอย่างดุเดือด โดยเฉพาะค่ายสัญชาติจีนที่หลายรุ่นปรับลดราคาหลายแสนบาท ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ผู้บริโภคที่ซื้อรถ ยนต์ไฟฟ้าไปก่อนหน้านี้ แถมยังกระทบไปถึงราคารถยนต์มือสองด้วย ทำให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สั่งการให้ สคบ. เข้าตรวจสอบการโฆษณาลดราคาของรถยนต์ไฟฟ้าว่าได้ปฏิบัติตามมาตร การการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณาหรือไม่
เวียดนามบุกตลาดไทยครั้งแรก
แบรนด์รถไฟฟ้าน้องใหม่สัญชาติเวียดนาม Vinfast (วินฟาสต์) ในเครือ VinGroup เข้ามาเปิดตลาด และเปิดตัวให้ชาวไทยได้ยลโฉมครั้งแรกในปี 2024
ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการนำ "ยานยนต์ไฟฟ้า" หรือ "รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า" เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยบริษัท Baker Electric Car พร้อมลงโฆษ ณาในหนังสือพิมพ์ Daily Arizona Silver Belt เมื่อปี 2452 ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระราชประสงค์ให้บริษัท Baker Electric Car จัดสร้างรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อทรงใช้เป็นพระราชพาหนะ
รถไฟฟ้าคันดังกล่าว ได้แก่ 1905 Oppermann Electric Tonneau (1905 ออพเพอร์มันน์ อีเลคทริค ทันเนา) ผลิตโดยบริษัท Carl Oppermann Electric Carriage จากประเทศอังกฤษ นำเข้าสยามในปี 2448 ตัวรถใช้มอเตอร์ขนาด 5 แรงม้า ระยะทางวิ่งสูงสุด 50 ไมล์ (80 กม. ความเร็วสูงสุด 14 ไมล์/ชม. หรือ 22 กม./ชม.)
Isuzu ทดสอบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผสม HVO
บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มทำการทดสอบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผสม HVO น้ำมันไบโอดีเซลเจนเนอเรชันใหม่สังเคราะห์จากน้ำมันพืชใช้แล้ว ซึ่งจะสามารถช่วยลดการปล่อยแกส CO2 ได้สูงสุด 30 % โดยนำมาทดสอบกับรถบรรทุก Isuzu ELF (อีซูซุ เอลฟ์) ของบริษัท มนต์ทรานสปอร์ต จำกัด บริษัททำธุรกิจขนส่งชั้นนำของประเทศไทย ภายใต้สภาพการใช้งานจริง จากการตรวจเชคล่าสุดที่ระยะวิ่ง 5,000 กม. ยังไม่พบปัญหา หรือความผิดปกติแต่อย่างใด
การทดสอบในครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายส่งเสริม “โซลูชันส์อันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Multi-Pathways to Carbon Neutrality) และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 Isuzu เชื่อว่าโครงการนี้จะมีส่วนช่วยทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้โดยสร้างผลกระทบน้อยที่สุดต่อโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน รวมถึงเครือข่ายการคมนาคมไทย
Ford เปิดตัวชุดแต่ง Adventure Pack
Ford ประเทศไทย นำเสนอชุดอุปกรณ์ตกแต่งพิเศษสำหรับ Ford Everest Sport (ฟอร์ด เอเวอเรสต์ สปอร์ท) ตอบโจทย์ลูกค้า Ford (ฟอร์ด) ที่ชื่นชอบการแต่งรถคู่ใจให้มีเอกลักษณ์ด้วยชุดแต่งพิ เศษ Adventure Pack มาในราคาสุดเร้าใจเพียง 20,000 บาท จากราคาปกติ 59,567 บาท พิเศษจำนวนจำกัด เมื่อจอง และออกรถยนต์ Ford Everest Sport พร้อมแพคเกจเทคโนโลยีช่วยการขับ ขี่ขั้นสูง (DAT Pack B) ตั้งแต่วันนี้-31 ตุลาคม 2567 และจัดไฟแนนศ์ผ่าน Ford Leasing พร้อมโปรโมชันพิเศษต่อที่ 2 ด้วยดอกเบี้ย 0.99 % ผ่อนนาน 48 เดือน ฟรีประกันภัยชั้น 1 พร้อมชุดแต่ง
เมธัส ลิขิตสัจจากุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด Ford ประเทศไทย กล่าวว่า Ford Everest Sport เป็นรถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัวที่พร้อมเป็นเพื่อนคู่ใจในทุกการเดินทาง นอกจากการออก แบบสุดเท่ สมรรถนะที่ดีเยี่ยม และแพคเกจเทคโนโลยีความปลอดภัยที่มาในราคาคุ้มค่าแล้ว ชุดแต่ง Adventure Pack ยังนับเป็นการรวบรวมชุดแต่งยอดนิยมที่เหมาะสำหรับการผจญภัยในวันหยุดพักผ่อนมานำเสนอในราคาเร้าใจ เราจัดเต็มด้วยชุดแต่งดีไซจ์นเท่ และอุปกรณ์เสริมสำหรับบรรทุกสัมภาระเพิ่มเติม ซึ่งเรามั่นใจว่าจะช่วยเสริมให้ Ford Everest Sport ตอบโจทย์การใช้งานที่ลูกค้ามองหาได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ชุดอุปกรณ์ตกแต่งพิเศษ Adventure Pack ช่วยเสริมความเท่ และดุดันให้แก่ตัวรถด้วย กระจังหน้า Ford สีดำ คิ้วไฟหน้า และคิ้วไฟท้ายสีดำ สติคเกอร์ตกแต่งด้านข้างตัวรถ เสริมลุคสปอร์ทด้วยชุดคิ้วโป่งล้อสีดำด้าน เสริมหล่อภายในด้วยชุดชายบันไดประตู สเตนเลสส์ พร้อมตอบโจทย์ไลฟสไตล์ลูกค้าที่ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวแบบผจญภัยสายแคมพิงด้วยชุดแรคติดหลังคา ARB ชุดอุป กรณ์ตกแต่งพิเศษ Adventure Pack เป็นอุปกรณ์ตกแต่งพิเศษซึ่งจำหน่าย และติดตั้งโดยผู้จำหน่าย Ford ลูกค้าที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ผู้จำหน่าย Ford ทั่วประเทศ โดยอุปกรณ์ตกแต่งแท้ Ford มาพร้อมการรับประกันคุณภาพสูงสุด 5 ปี/150,000 กม. (แล้วแต่ระยะใดถึงก่อน) ลูกค้าที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียด และเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ www.ford.co.th
Ford Everest Sport พร้อมแพคเกจเทคโนโลยีช่วยการขับขี่ขั้นสูง (DAT Pack B) รถยนต์นั่งอเนกประสงค์ที่มอบทั้งความสมบุกสมบันในการเดินทาง ความสะดวกสบาย และความปลอดภัย ในราคาสุดคุ้ม ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย รูปลักษณ์ภายนอกโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ พร้อมเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร เทอร์โบเดี่ยว ทำงานร่วมกับเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ และตกแต่งแนวสปอร์ท จำหน่ายในราคา 1,580,000 บาท มีให้เลือกทั้งหมด 6 สี ได้แก่ สีดำ Absolute Black สีน้ำตาล Equinox Bronze สีเทา Meteor Gray สีน้ำเงิน Lightning Blue สีเงิน Aluminium Metallic และสีขาว Snow flake White Pearl (เพิ่มเงิน 12,000 บาท)
หมายเหตุ:
1. แพคเกจ และอุปกรณ์เสริมสำหรับ Ford Everest Sport พร้อมแพคเกจเทคโนโลยีช่วยการขับขี่ขั้นสูง (DAT Pack B) ราคา 58,000 บาท
อัพเกรดจอสีแบบสัมผัส Multi-Touch จากขนาด 10.1 นิ้ว เป็น 12 นิ้ว
ระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ พร้อมระบบ Stop & Go และระบบควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง
ระบบเปิด/ปิดไฟสูงอัจฉริยะ Auto High Beam
ระบบช่วยเบรคอัตโนมัติพร้อมระบบตรวจจับคนเดินถนน AEB with Pedestrian Detection
ระบบเตือนการชนด้านหน้า Forward Collision Warning System
ระบบช่วยควบคุมรถหลังจากชน
ระบบช่วยเตือนเมื่อรถออกนอกช่องทาง
ระบบตรวจจับรถในจุดบอด และระบบตรวจจับขณะออกจากช่องจอด
กล้องมองรอบคัน 360 องศา
ระบบป้องกันการชนเมื่อถอยหลัง
ระบบช่วยการหักพวงมาลัยเพื่อเลี่ยงการปะทะ
ETON จับมือ Xpeng บุกเชียงใหม่
ETON Group ผู้นำอันดับ 1 ด้านยนตรกรรมนำเข้าสำหรับครอบครัว และผู้บริหาร พร้อมศูนย์บริการมาตรฐานครบวงจร จับมือ Xpeng (เสี่ยวเผิง) เปิดโชว์รูมที่เชียงใหม่
พีรศุษม์ ตันติยันกุล กรรมการผู้จัดการ ETON Group กล่าวว่า ETON ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ในนาม Xpeng สาขาเชียงใหม่ ตอกย้ำกลยุทธ์การสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้บริโภค เปิดโชว์รูมพร้อมศูนย์บริการครบวงจร ปักหลักฐานที่มั่นสำคัญ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ รองรับลูกค้าในพื้นที่ และโซนภาคเหนือที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมไปด้วยเครื่องมืออันทันสมัย พร้อมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรบมาอย่างดี เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
พร้อมเปิดตัวรุ่นแรก กับ Xpeng G6 ยานยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมียม รถไฟฟ้า 100 % SUV Coupe พัฒนาบน Platform SEPA 2.0 และ ใช้แบทเตอรี 800V Technology มีระบบ Xpeng Navigation Guided Pilot (XNGP) หรือ ADAS (Advanced Driver Assistance Systems) รวมไปถึง Computing Power มากสุดถึง 508 TOPS (Trillion Operations Per S econd) จากชิพประมวลผลความเร็วสูงของ Dual NVIDIA Drive Orin-X
• หลังคากระจก Panoramic Glass Roof กัน UV 99.9 % และ กันความร้อน มากกว่า 86 %
• ที่ชาร์จโทรศัพท์แบบไร้สาย Wireless Fast Charge กำลังชาร์จสูงสุด 50 วัตต์ 2 ช่อง และมี ช่องเป่าลม เพื่อระบายความร้อนให้โทรศัพท์
• มีระบบ Valet Parking Assist (VPA-L Memory Based Parking Function) เป็นระบบ Self Drive ที่ไม่มีคนขับนั่งในรถ
Powertrain ขุมพลัง
รุ่น Standard RWD ราคา 1,439,000 บาท
มอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัว พละกำลังสูงสุด 258 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 440 นิวทันเมตร แบทเตอรี 800V Technology (LFP) ขนาด 66 กิโลวัตต์ชั่วโมง ขับเคลื่อนล้อหลัง
• อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 6.6 วินาที
• Top Speed ความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม.
• วิ่งระยะทางสูงสุด 435 กม. (มาตรฐาน WLTP)
• วิ่งระยะทางสูงสุด 505 กม. (มาตรฐาน NEDC)
รุ่น Long Range RWD 1,599,000 บาท
มอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัว พละกำลังสูงสุด 285 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 440 นิวทันเมตร แบทเตอรี 800V Technology (NMC) ขนาด 87.5 กิโลวัตต์ชั่วโมง ขับเคลื่อนล้อหลัง
• Top Speed ความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม.
• วิ่งระยะทางสูงสุด 570 กม. (มาตรฐาน WLTP)
• วิ่งระยะทางสูงสุด 625 กม. (มาตรฐาน NEDC)
รองรับหัวชาร์จ Type 2/CCS Combo
• กระแสตรง DC Fast Charging รองรับสูงสุด 215 กิโลวัตต์ (รุ่น Standard)
• กระแสตรง DC Fast Charging รองรับสูงสุด 280 กิโลวัตต์ (รุ่น Long Range)
• ชาร์จ DC Fast Charging จาก 10-80 % ภายในเวลา 20 นาที
• ชาร์จ DC Fast Charging 10 นาที วิ่งได้ไกล 300 กม.
• ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า 220V ให้อุปกรณ์ภายนอก V2L
รายละเอียด Option
• ช่วงล่างด้านหน้า Double Wishbone Independent Suspension
• ช่วงล่างด้านหลัง Multi-Link Independent Suspension
• ระบบชอคอับ Multi-Valve ยี่ห้อ SACHS
• ระบบเบรค ดิสก์เบรค ด้านหน้า-ด้านหลัง
• Processor หน่วยประมวลผล NVIDIA Orin-X
• ระบบช่วยเหลือการขับขี่ Xpilot 2.5
• เซนเซอร์ Ultrasonic 12 ตัว และ กล้อง 12 ตัว
• ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน Adaptive Cruise Control (ACC)
• ระบบช่วบควบคุมรถให้อยู่กึ่งกลางเลน Lane Centering Control (LCC)
• ระบบควบคุมการเข้าโค้งอัตโนมัติแบบแปรผัน Adaptive Turning Cruise (ATC)
• ระบบเปลี่ยนเลนอัตโนมัติ Active Lane Change (ALC)
• ระบบรักษาความเร็วอัตโนมัติตามป้ายสัญญาณจราจร Automatic Speed Limiter (ASL)
• ระบบช่วยจอดอัตโนมัติ และ ออกจากที่จอดรถ Enhanced Auto Parking Assist (EAP 2.0)
• ระบบช่วยจอด พร้อมกล้อง 360 องศา Parking Assist with 360 Camera
• ระบบจำลองการมองเห็นใต้ท้องรถ Transparent Chassis
• ระบบตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่ Driver State Monitoring (DSM)
• ระบบตรวจสอบระยะห่าง Forward Distance Monitoring (FDM)
• ระบบช่วยเหลือการชนด้านหน้า Forward Collision Warning (FCW)
• ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ Autonomous Emergency Braking (AEB)
• ระบบตรวจสอบสัญญาณจราจร Traffic Sign Recognition (TSR)
• ระบบเปิดไฟสูงอัตโนมัติ Intelligent High Beam (IHB)
• ระบบช่วยแจ้งมุมอับสายตา Blind Spot Detection (BSD)
• ระบบช่วยเตือนเมื่อเสี่ยงต่อการถูกชนขณะประตูเปิด Door Open Warning (DOW)
• ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน และช่วยควบคุมรถเมื่อออกนอกเลน Emergency Lane Keeping (ELK)
• ระบบช่วยเตือนหากเสี่ยงต่อการโดนชนด้านหลัง Rear Collision Warning (RCW)
• ระบบช่วยเตือนเมื่อมีรถที่มุมอับสายตาขณะถอยหลัง Rear-Cross Traffic Alert (RCTA)
Xpeng เชียงใหม่ พร้อมมอบประสบการณ์ที่เหนือระดับให้กับชาวเชียงใหม่ รวมถึงพื้นที่โซนภาคเหนือทั้งภูมิภาค ได้สัมผัสตัวจริงเสียงจริง พร้อมท้าลองสมรรถนะ ทดลองขับ Xpeng G6 1st Experience ครั้งแรกในเชียงใหม่ ที่คุณจะได้สัมผัสประสบการณ์กับยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของโลกแบบใกล้ชิด ตั้งแต่วันนี้-1 กย. นี้ ณ Xpeng สาขาเชียงใหม่ แยกรวมโชค
Michelin เปิดแคมเปญโฆษณาใหม่
หลังเปิดตัวแคมเปญโฆษณาระดับโลกที่ใช้ชื่อว่า Motion for Life ไปเมื่อ 4 ปีก่อน เพื่อสื่อให้เห็นว่า Michelin ตระหนักถึงความสำคัญ และคุณค่าของ “การเคลื่อนที่” จึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการหลากหลายรูปแบบ ล่าสุด Michelin รุกออกแคมเปญชุดใหม่ที่มุ่งตอกย้ำจิตวิญญาณด้านนวัตกรรมของแบรนด์
แคมเปญโฆษณาชุดล่าสุดซึ่งใช้ชื่อว่า On The Road and Beyond! สะท้อนความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมของ Michelin โดยหยิบยกตัวอย่างความเชี่ยวชาญที่โดดเด่นบางส่วนมานำเสนอ
เรื่องราวการเดินทางบทใหม่ที่ตอกย้ำความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมของ Michelin
ขณะที่แคมเปญโฆษณาชุดก่อนหน้าสื่อถึงการเห็นคุณค่าของ “การเคลื่อนที่” พร้อมนำเสนอความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และบริการ แคมเปญโฆษณาล่าสุดซึ่งเป็นชุดที่ 2 จะนำผู้ชมเข้าสู่แก่นแท้ของความเชี่ยวชาญที่โดดเด่นแตกต่างของกลุ่มมิชลินในด้านวัสดุศาสตร์ และการนำวัสดุเหล่านั้น มาประกอบกัน
แคมเปญโฆษณาชุดล่าสุดนำเสนอเบื้องลึกเกี่ยวกับการนำความเชี่ยวชาญดังกล่าวไปใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ อาทิ ยานพาหนะไร้คนขับ ซึ่งเมื่อผนวกกับยางล้อที่ใช้วัสดุไฮเทคพิเศษ สามารถใช้สำ รวจพื้นผิวดวงจันทร์ได้ หรือนวัตกรรมใบเรือขนาดใหญ่สำหรับเรือเดินทะเลเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งช่วยลดปริมาณการปล่อยแกสคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการขนส่งทางทะเล
แคมเปญโฆษณา On The Road and Beyond! ยังคงใช้รูปแบบ “พื้นสีขาวตัดขอบด้วยสีดำ” (Black-Outlined White Code) เป็นรหัสสีพิเศษเพื่อสื่อถึง "Michelin Man" เช่นเดียวกับแคมเปญโฆษ ณาชุด Motion for Life ซึ่งเปิดตัวเมื่อปี 2563 และเพื่อดึงดูดให้ผู้ชมติดตามเรื่องราวการเดินทางบทใหม่เกี่ยวกับแก่นแท้ของนวัตกรรมจาก Michelin
ภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ล่าสุดนี้ถือเป็นความท้าทายทางความคิดสร้างสรรค์สำหรับบริษัทโฆษณาที่รับผิดชอบอย่าง BETC โดยผลิต และถ่ายทำผ่านการนำเสนอที่น่าตื่นตาตื่นใจด้วยฝีมือของผู้กำ กับมือทอง Henry Scholfield ซึ่งทำให้จิตวิญญาณด้านนวัตกรรมของมิชลินกลายเป็นภาพที่จับต้องได้ โดยรักษาสมดุลของการถ่ายทำภาพยนตร์กับการแต่งภาพด้วยเทคโนโลยีสามมิติได้อย่างลง ตัว
แคมเปญโฆษณาชุดนี้เปิดตัวพร้อมกันทั่วประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม และกำลังทยอยเปิดตัวในประเทศอื่นๆ ตลอดทั้งปีนี้
แคมเปญโฆษณาชุด On The Road and Beyond! นี้เปิดตัวผ่านสื่อต่างๆ ในหลายช่องทางและรูปแบบ รวมถึงป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (Billboard) ทั่วประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม และจะทยอยเปิดตัวต่อเนื่องในอีก 9 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ สเปน และอิตาลี ในทวีปยุโรป, ประเทศจีน ประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ในทวีปเอเชีย รวมถึงสหรัฐอเมริกา แคนาดา และบราซิล
Adeline Challon-Kemoun กรรมการบริหารกลุ่ม Michelin และหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมด้านองค์กรสัมพันธ์ แบรนด์ และไลฟ์สไตล์ เปิดเผยว่า แคมเปญสื่อสารแบรนด์ชุดนี้เผย ให้เห็นแก่นแท้ของ Michelin ในฐานะกลุ่มองค์กรที่พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งโดยมีนวัตกรรมเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ความแข็งแกร่งในเชิงนวัตกรรม ความหลากหลายครอบคลุม และการมองเชิงบวก ซึ่งอยู่ในเลือดเนื้อ และจิตวิญญาณขององค์กรมาตลอดระยะเวลา 135 ปี เป็นปัจจัยกำหนดอนาคตของกลุ่ม Michelin ในอนาคต Michelin จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม มีความไฮเทค และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นี่คือ ประเด็นที่แคมเปญชุดนี้ต้องการสื่อ โดยหยิบยกผลิตภัณฑ์เด่นๆ เพียงบางส่วนมานำเสนอ
Remi Babinet ประธานกรรมการผู้ก่อตั้งบริษัทโฆษณา BETC กล่าวเสริมว่า การคิดเรื่องราวแง่มุมใหม่ๆ ให้แก่แบรนด์ที่เป็นสากลอย่าง Michelin เป็นความใฝ่ฝันของนักโฆษณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นแบรนด์ที่ทรงพลังและพร้อมมุ่งสู่อนาคต เราต่างรู้ดีว่ายางล้อช่วยให้เราเคลื่อนที่ไปได้ไกล แต่อาจไม่เคยจินตนาการว่าจะไปได้ไกลขนาดไหนมาก่อน