ธุรกิจ
ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์
สอท. เผยยอดผลิตรถ พย. ลดลงร้อยละ 28.23
สอท. เผยเดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตรถยนต์ 117,251 คัน ลดลงร้อยละ 28.23 ขาย 42,309 คัน ลดลงร้อยละ 31.34 ส่งออก 89,646 คัน ลดลงร้อยละ 10 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 464 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 46,400 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 5,519 คัน ลดลงร้อยละ 36.53
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประ เทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ดังต่อไปนี้
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีทั้งสิ้น 117,251 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 28.23 จากการผลิตส่งออกลดลงร้อยละ 20.67 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 40.42 และลดลงจากเดือนตุลาคม 2567 ร้อยละ 1.34
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,364,119 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 20.14
รถยนต์นั่ง เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ 45,491 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 24.68 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 28,876 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 32.04
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 464 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 46,400
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 386 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 48.53
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 15,765 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 8.11
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 มีจำนวน 519,691 คัน เท่ากับร้อยละ 38.10 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 13.20 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 330,807 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 27.84
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 8,490 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 5,522.52
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 5,453 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 37.85
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 174,941คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 33.18
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 91.38
รถยนต์บรรทุก เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 71,760 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 30.30 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 844,418 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 23.87
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 70,823 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 28.65 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 828,532 คัน เท่ากับร้อยละ 60.74 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 22.91 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 131,023 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 31.43
• รถกระบะ Double Cab 546,144 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 22.42
• รถกระบะ PPV 151,365 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 15.78
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ 937 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 74.67 รวมเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ 15,886 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 53.88
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ 80,022 คัน เท่ากับร้อยละ 68.25 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 20.67 ส่วนเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 941,938 คัน เท่ากับร้อยละ 69.05 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 12.25
รถยนต์นั่ง เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 23,925 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 21.13 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 280,742 คัน เท่ากับร้อยละ 54.02 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 8.27
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 56,097 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 20.47 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 661,196 คัน เท่ากับร้อยละ 79.80 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ13.84 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 56,074 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 22.66
• รถกระบะ Double Cab 483,705 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 16.20
• รถกระบะ PPV 121,417 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 3.16
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ 37,229 คัน เท่ากับร้อยละ 31.75 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 40.42 และเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ 422,181 คัน เท่ากับร้อยละ 30.95 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 33.48
รถยนต์นั่ง เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 21,566 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 28.26 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ผลิตได้ 238,949 คัน เท่า กับร้อยละ 45.98 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ลดลงร้อยละ 18.35
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 14,726 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 48.72 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 167,336 คัน เท่ากับร้อยละ 20.20 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 45.56 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 74,949 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 36.79
• รถกระบะ Double Cab 62,439 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 50.75
• รถกระบะ PPV 29,948 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 51.73
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 91.38
รถบรรทุก เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ 937 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 74.67 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 15,886 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 53.88
รถจักรยานยนต์
เดือนพฤศจิกายน 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 193,540 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 8.21 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 148,142 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 16.80 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 45,398 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 38.40
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,223,753 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 2.11 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,733,506 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.38 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 490,247 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 55.37
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพฤศจิกายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 42,309 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2567 ร้อยละ 12.25 แต่ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 31.34 จากการเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินเพราะเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแอเติบโตในอัตราต่ำที่ 3 % ในไตรมาสสามของปีนี้ แต่หนี้เสียรถยนต์เพิ่มขึ้น 22.8 % จากไตรมาสสามปีที่แล้ว หนี้ครัวเรือนสูงถึง 89.6 % ของ GDP ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงลดลง ยอดขายบ้านลดลงจากปีที่แล้ว รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในอัตราต่ำ
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 25,347 คัน เท่ากับร้อยละ 59.91 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 29.17
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 12,006 คัน เท่ากับร้อยละ 28.38 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 28.12
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 5,519 คัน เท่ากับร้อยละ 13.04 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.53
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 223 คัน เท่ากับร้อยละ 0.53 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 346
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 7,599 คัน เท่ากับร้อยละ 17.96 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 26.50
รถกระบะ มีจำนวน 11,481 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 35.69 รถ PPV มีจำนวน 2,954 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 30.51 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,181 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 45.73 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,346 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 12.26
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 136,622 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 2.49 และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 4.54
ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 รถยนต์มียอดขาย 518,659 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 26.69 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 309,651 คันเท่ากับร้อยละ 59.70 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 15.74
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 140,670 คัน เท่ากับร้อยละ 27.12 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.35
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 61,443 คัน เท่ากับร้อยละ 11.85 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 5.20
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 2,104 คัน เท่ากับร้อยละ 0.41 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.67
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 105,434 คัน เท่ากับร้อยละ 20.33 ของยอดขายรถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 32
รถกระบะมีจำนวน 148,937 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 39.26 รถ PPV มีจำนวน 32,349 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.03 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 14,763 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 39.44 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 12,959 คัน ลดลงจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้ว 11.14
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,558,446 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 9.63 แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ICE จำนวน 1,558,246 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.57 รถจักรยานยนต์ BEV จำนวน 200 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 50.98
การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป
เดือนพฤศจิกายน 2567 ส่งออกได้ 89,646 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 6.30 แต่ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 10 เพราะปีที่แล้วฐานสูง และสงครามอิสราเอลกับฮามาสขยายไปหลายพื้นที่ทำให้จำนวนเที่ยวเรือมารับรถน้อยลงรวมทั้งหลายประเทศในเอเชียได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจของประเทศจีนที่ชะลอตัวลง จึงส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย ตะวันออกกลางและยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ส่งออกเพิ่มขึ้นตลาดอเมริกาเหนือแห่งเดียว
ประเภทรถยนต์ส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2567 แบ่งเป็น ดังนี้
• รถกระบะ 47,255 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 52.71 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 13.48
• รถยนต์นั่ง ICE 26,677 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 29.76 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 10.93
• รถยนต์นั่ง HEV 3,587 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 4 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 45.69
• รถ PPV 12,127 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.53 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 3.62
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 57,957.65 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 11.62
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,886.39 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 21.43
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 14,589.62 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 17.95
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,265.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 0.23
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 77,699.50 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 12.98
เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 942,867 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 8.21 แบ่งเป็น
• รถกระบะ ICE 533,839 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 56.62 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.91
• รถยนต์นั่ง ICE 237,622 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 25.20 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 19.39
• รถยนต์นั่ง HEV 44,923 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 4.76 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 276.55
• รถ PPV 126,483 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.41 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 10.48
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 646,748.13 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 1.63 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 32,475.34 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 9.41
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 176,280.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 2.11
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 24,415.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 8.59
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 879,920.27 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 0.96
รถจักรยานยนต์
เดือนพฤศจิกายน 2567 มีจำนวนส่งออก 81,225 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากเดือนตุลาคม 2567 ร้อยละ 53.60 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 6.67 โดยมีมูลค่า 5,855.60 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 14.50
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 215.90 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 9.68
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 86.79ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 27.95
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 6,158.29 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 13.94
เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 857,587 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 14.95 มีมูลค่า 58,607.17 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.71
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 2,398.90 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 13.15
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,791.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 2.14
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 62,797.69 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราค-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 6.75
เดือนพฤศจิกายน 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 83,857.79 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ13.05
เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 942,717.96 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 1.37
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนพฤศจิกายน 2567
เดือนพฤศจิกายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 7,354 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วร้อยละ 34.86 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,429 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 39.54
o รถยนต์นั่ง จำนวน 5,392 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 31 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 6 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 20 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 44.44
• รถยนต์สามล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 1 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 98.92
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 1 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 1,715 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 21.26
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 1,714 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 1 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 8 คัน ซึ่งเดือนพฤศจิกายน 2566 ไม่มีการจดทะเบียน
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 181 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วร้อยละ 4,425
เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสม มีจำนวน 89,658 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายนปีที่แล้วร้อยละ 0.94 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 64,627 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 3.39
o รถยนต์นั่ง จำนวน 62,876 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 1,665 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 10 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 73 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 569 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 221.47
• รถยนต์สามล้อ มีทั้งสิ้น 145 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 62.72
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล จำนวน 38 คัน
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 107 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 23,471 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 16.89
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 23,361 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 110 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 296 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราค-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 75.56
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 550 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 633.33
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนพฤศจิกายน 2567
เดือนพฤศจิกายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,409 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วร้อยละ 11.76 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 8,356 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 11.62
o รถยนต์นั่ง จำนวน 8,346 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 3 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 1 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 6 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 53 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 39.47
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 53 คัน
เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 121,228 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายนปีที่แล้วร้อยละ 52.37 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 120,709 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 52.78
o รถยนต์นั่ง จำนวน 120,599 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 30 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 18 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 59 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 519 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 6.15
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 519 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนพฤศจิกายน 2567
เดือนพฤศจิกายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 768 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วร้อยละ 2.17 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 768 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วร้อยละ 2.17
o รถยนต์นั่ง จำนวน 768 คัน
เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสม มีจำนวน 8,851 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายนปีที่แล้วร้อยละ 20.75 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 8,851 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 20.75
o รถยนต์นั่ง จำนวน 8,844 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 7 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
ณ วันที่ 31 พฤศจิกายน 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 220,439 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 82.61 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 153,948 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 91.19
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 151,092 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 89.32
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 2,282 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 372.46
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 79 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 119.44
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 149 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 351.52
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน ซึ่งในช่วงเดียวกันไม่มีการจดทะเบียน
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์มีจำนวน 343 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 109.15
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 834 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 247.50
• รถยนต์สามล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,025 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 19.19
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 121 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 53.16
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ มีจำนวน 904 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 15.75
• รถจักรยานยน ต์มีจำนวนทั้งสิ้น 61,062 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 67.80
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 60,939 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 68.03
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 123 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.81
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,713 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 12.34
o รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 857 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 200.70
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 463,663คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 37.11 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 454,315 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 38.05
o รถยนต์นั่ งมีจำนวน 453,330 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 38.09
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 495 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 3.77
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 73 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 48.98
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 211 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 40.67
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 150
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 201 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 59.52
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,345 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.85
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,345 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.85
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 62,670 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 17.25 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 62,670 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 17.25
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 62,599 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 17.27
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 43 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 4.88
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 18 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 14.29
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 66.67
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25
................................................................................................................
Toyota เผยยอดขายเดือน พย.ลดลง 31.3%
สถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 ยอดขายตลาดรวม 42,309 คัน ลดลง 31.3 %
ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2567 มียอดขาย 42,309 คัน ลดลง 31.3 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่งชะลอตัวที่ 26.7 % ด้วยยอดขาย 18,000 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวเช่นกันที่ 34.4 % ด้วยยอดขาย 24,309 คัน และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ทำยอดขายได้ 14,435 คัน ลดลง 34.7 % ในส่วนของตลาด XEV มียอดขายทั้งหมด 14,988 คัน คิดเป็นสัดส่วน 35 % ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตลดลง 26 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายรถยนต์ HEV 8,373 คัน คิดเป็นสัดส่วน 56 % ของตลาด XEV ทั้งหมดเติบโตลดลง 20 % และยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 5,870 คัน คิดเป็นสัดส่วน 39 % จากยอดขายในกลุ่ม XEV ทั้งหมด ลดลง 36 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ตลาดรถยนต์เดือนธันวาคม มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จากยอดจองทั้งหมดรวมทุกยี่ห้อและประเภทรถยนต์ ในงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41" หรือ Thailand International Motor Expo 2024 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน-10 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่มาพร้อมกับรถยนต์รุ่นใหม่ และแคมเปญกระตุ้นตลาดช่วงสุดท้ายปลายปี ที่แต่ละค่ายต่างขนกันมาแบบจัดเต็ม ทำยอดจองได้ถึง 54,513 คัน เติบโตขึ้น 2.38 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการผลักดันตลาดรถยนต์เดือนธันวาคมให้เติบโตขึ้นได้
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2567
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 42,309 คัน ลดลง 31.3 %
อันดับที่ 1 Toyota 17,107 คัน ลดลง 21.2 % ส่วนแบ่งตลาด 40.4 %
อันดับที่ 2 Isuzu 6,068 คัน ลดลง 41.7 % ส่วนแบ่งตลาด 14.3 %
อันดับที่ 3 Honda 4,874 คัน ลดลง 33.5 % ส่วนแบ่งตลาด 11.5 %
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,000 คัน ลดลง 26.7 %
อันดับที่ 1 Toyota 5,751 คัน ลดลง 23.4 % ส่วนแบ่งตลาด 32 %
อันดับที่ 2 Honda 3,829 คัน ลดลง 2.5 % ส่วนแบ่งตลาด 21.3 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 1,461 คัน เพิ่มขึ้น 67.5 % ส่วนแบ่งตลาด 8.1 %
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 24,309 คัน ลดลง 34.4 %
อันดับที่ 1 Toyota 11,356 คัน ลดลง 20 % ส่วนแบ่งตลาด 46.7 %
อันดับที่ 2 Isuzu 6,068 คัน ลดลง 41.7 % ส่วนแบ่งตลาด 25 %
อันดับที่ 3 Ford 1,603 คัน ลดลง 31 % ส่วนแบ่งตลาด 6.6 %
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 14,435 คัน ลดลง 34.7 %
อันดับที่ 1 Toyota 6,521 คัน ลดลง 23.7 % ส่วนแบ่งตลาด 45.2 %
อันดับที่ 2 Isuzu 5,251 คัน ลดลง 44 % ส่วนแบ่งตลาด 36.4 %
อันดับที่ 3 Ford 1,603 คัน ลดลง 31 % ส่วนแบ่งตลาด 11.1 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,954 คัน
Toyota 1,194 คัน-Isuzu 918 คัน-Ford 640 คัน-Mitsubishi 149 คัน-Nissan 53 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 11,481 คัน ลดลง 35.7%
อันดับที่ 1 Toyota 5,327 คัน ลดลง 25.2 % ส่วนแบ่งตลาด 46.4 %
อันดับที่ 2 Isuzu 4,333 คัน ลดลง 45 % ส่วนแบ่งตลาด 37.7 %
อันดับที่ 3 Ford 963 คัน ลดลง 34.9 % ส่วนแบ่งตลาด 8.4 %
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 518,659 คัน ลดลง 26.7 %
อันดับที่ 1 Toyota 199,487 คัน ลดลง 17.5 % ส่วนแบ่งตลาด 38.5 %
อันดับที่ 2 Isuzu 77,429 คัน ลดลง 45.3 % ส่วนแบ่งตลาด 14.9 %
อันดับที่ 3 Honda 67,322 คัน ลดลง 20.3 % ส่วนแบ่งตลาด 13 %
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 203,421 คัน ลดลง 23.6 %
อันดับที่ 1 Toyota 59,784 คัน ลดลง 35 % ส่วนแบ่งตลาด 29.4 %
อันดับที่ 2 Honda 41,169 คัน ลดลง 19.7 % ส่วนแบ่งตลาด 20.2 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 16,640 คัน เพิ่มขึ้น 16.4 % ส่วนแบ่งตลาด 8.2 %
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 315,238 คัน ลดลง 28.5 %
อันดับที่ 1 Toyota 139,703 คัน ลดลง 6.7 % ส่วนแบ่งตลาด 44.3 %
อันดับที่ 2 Isuzu 77,429 คัน ลดลง 45.3 % ส่วนแบ่งตลาด 24.6 %
อันดับที่ 3 Honda 26,153 คัน ลดลง 21.3 % ส่วนแบ่งตลาด 8.3 %
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 181,286 คัน ลดลง 39.8 %
อันดับที่ 1 Toyota 82,940 คัน ลดลง 29.8 % ส่วนแบ่งตลาด 45.8 %
อันดับที่ 2 Isuzu 67,267 คัน ลดลง 47.1 % ส่วนแบ่งตลาด 37.1 %
อันดับที่ 3 Ford 19,023 คัน ลดลง 43.4 % ส่วนแบ่งตลาด 10.5 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 32,349 คัน
Toyota 11,476 คัน-Isuzu 11,121 คัน-Ford 7,287 คัน-Mitsubishi 2,038 คัน-Nissan 427 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 148,937 คัน ลดลง 39.3 %
อันดับที่ 1 Toyota 71,464 คัน ลดลง 26.9 % ส่วนแบ่งตลาด 48 %
อันดับที่ 2 Isuzu 56,146 คัน ลดลง 47.9 % ส่วนแบ่งตลาด 37.7 %
อันดับที่ 3 Ford 11,736 คัน ลดลง 48.2 % ส่วนแบ่งตลาด 7.9 %
................................................................................................................
MG รับการรับรองจาก “Made in Thailand (MiT)”
บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายรถยนต์ MG (เอมจี) ในประเทศไทย สร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า New MG4 Electric (เอมจี 4 อีเลคทริค) ใหม่ ของบริษัทฯ ได้รับการรับรอง “Made in Thailand (MiT)” ซึ่งถือเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองในหมวดรถยนต์ไฟ ฟ้า โดยความสำเร็จครั้งนี้ ไม่เพียงสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในนวัตกรรม และคุณภาพ แต่ยังเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้สามารถส่งออกไปสู่ประเทศต่างๆ ได้ในอนาคต
จ้าว เฟิง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด กล่าวว่า ใบรับรอง MiT ถือเป็นมาตรฐานที่ออกโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศตามระเบียบของภาครัฐ สินค้าที่ได้รับการรับรอง MiT จะได้รับสิทธิพิเศษในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้รถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทฯ ได้รับการบรรจุในระบบการจัดซื้อของภาครัฐ รวมถึงยังช่วยผลักดันการพัฒนาการขนส่งพลังงานสะอาดภายในประเทศอีกด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ การรับรอง MiT ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของสินค้า ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณภาพ และการเสริมสร้างความไว้วางใจระหว่างบริษัทกับพันธมิตร และผู้บริโภค โดย New MG4 Electric เป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ได้รับการรับรอง MiT และถือเป็นมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยคุณภาพ และมาตรฐานขั้นสูง
สำหรับข้อได้เปรียบอีกประการของการรับรอง MiT คือ การสนับสนุนการขยายตลาดสู่ระดับนานาชาติ โดยอาศัยนโยบายสนับสนุนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การรับรอง MiT สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับการส่งออก ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับสินค้าไทย การรับรองนี้ยังช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของรถยนต์ไฟฟ้าในระดับโลก และวางรากฐานอันมั่นคงสำหรับการขยายแบรนด์ไปสู่ระดับโลกได้
"บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรม และความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้ทัดเทียมระดับโลก พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานให้แก่ผู้บริโภค และพันธมิตร เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อน และผลักดันสินค้าไทยให้เปล่งประกายบนเวทีระดับโลก New MG4 Electric ถือเป็นรถยนต์รุ่นแรกของ MG ที่เป็น Global Model โดยได้รับการการันตีจากรางวัลระดับโลก ในเรื่องการขับขี่ที่มีเอกลักษณ์ รวมถึงการออกแบบที่มีดีไซจ์นโฉบเฉี่ยว ราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่าย พร้อมด้วยระบบความปลอดภัยครบครัน จนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ EV of The Year ปี 2023 จากสมา คมสื่อมวลชนสายยานยนต์ไทย โดยรถยนต์รุ่นนี้ ทาง MG ได้มีการรับประกันแบทเตอรีแรงดันสูงและระบบมอเตอร์ขับเคลื่อนแบบไม่จำกัดระยะทาง ซึ่งถือเป็นแบรนด์แรก และแบรนด์เดียวในประเทศ ไทย เพื่อให้หมดกังวลในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าระยะยาว พร้อมตอกย้ำถึงความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าชาวไทย"
................................................................................................................
Aion จับมือพันธมิตรพัฒนาโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Aion Thailand) ผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และบริษัท จีเอซี เอนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี (ประเทศ ไทย) จำกัด (GAC Energy) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยีสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน และลดการปล่อยแกสเรือนกระจก ในการศึกษาระบบเชื่อมต่อ และความเข้ากันได้ระหว่างเครื่องอัดประจุไฟฟ้าของ GAC Energy กับ PEA Volta เพื่อพัฒนาโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
Wang Haoyong กรรมการผู้มีอำนาจ และผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั่วไป บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า Aion (ไอออน) มีความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่าง PEA และ GAC Energy ในการร่วมกันศึกษาระบบเชื่อมต่อ และความเข้ากันได้ระหว่างเครื่องอัดประจุไฟฟ้าของ GAC Energy กับ PEA Volta เพื่อให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟ ฟ้าภายใต้ชื่อ PEA Volta โดยความร่วมมือนี้จะช่วยเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ EV และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่การเดินทางที่ปลอดมลพิษในประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์ร่วมกันที่มุ่งเน้น “ความยั่งยืน ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และการลดคาร์บอน” เราจึงสามารถบรรลุข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในวันนี้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในประเทศไทย
ในกรอบความร่วมมือครั้งนี้ ทั้ง 3 องค์กรจะร่วมกันพัฒนา และศึกษาเทคโนโลยีด้านการจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Management) และการเชื่อมต่อระบบสถานีชาร์จ EV ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งาน EV และตอบโจทย์การเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
ภายใต้ MOU ฉบับนี้ ทั้ง 3 ฝ่ายยังได้วางแผนร่วมกันเพื่อพัฒนาธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้า โดยครอบคลุมทั้งด้านการตลาด ด้านเทคนิค และด้านการเงิน รวมถึงการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ EV ได้อย่างครอบคลุม
ประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ รองผู้ว่าการธุรกิจ และการตลาด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า PEA มีความมุ่งมั่นในการสร้างระบบพลังงานที่ทันสมัย และยั่งยืน การจับมือกับ Aion และ GAC Energy จะช่วยสร้างความมั่นใจในระบบไฟฟ้าสำหรับ EV และเพิ่มโอกาสในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในวงกว้าง ในปัจจุบันสถานีชาร์จ PEA Volta เปิดให้บริการแล้วกว่า 400 แห่ง โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะร่วมกันศึกษา และพัฒนาธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA Volta เพื่อตอบโจทย์การให้บริการที่ครอบคลุมทุกมิติ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจในการเข้าถึงผู้ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ
โครงการนี้ยังมุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้งาน EV ในกลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยเฉพาะผ่านระบบ Volta Fleet ที่ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับองค์กร พร้อมทั้งการพัฒ นาระบบ Volta Platform ซึ่งเป็นพแลทฟอร์มดิจิทอลที่สนับสนุนการใช้งาน และจัดการสถานีชาร์จไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
Wang Haoyong กล่าวเสริมว่า ความร่วมมือครั้งนี้ไม่เพียงช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานในประเทศไทย แต่ยังเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ส่งเสริมความยั่งยืน และนวัต กรรม”
Jin Rongbo ผู้อำนวยการฝ่ายการขาย บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ปัจจุบันสัดส่วนผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย อยู่ที่ราวๆ 20 % แต่จากยอดขายรถ ยนต์ไฟฟ้าภายในงาน Motor Expo 2024 ปีนี้ คาดว่าจำนวนผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีความตั้งใจที่จะร่วมมือกับ PEA ในการพัฒนาระบบการใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย และไร้กังวล ซึ่งถือเป็นอีก้าวสำคัญในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างยั่งยืน
Xiang Zhongyuan ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอซี เอนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันเครื่องชาร์จของ GAC Energy ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก PEA และเข้าสู่ระบบ PEA Volta อย่างเป็นทางการแล้ว ปัจจุบันได้ขยายเครือข่ายสถานีชาร์จไปมากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก พร้อมด้วยผู้ใช้งานที่ให้ความไว้วางใจมากกว่า 1 ล้านคน นับเป็นก้าวสำคัญในการมอบประสบการณ์การชาร์จที่สะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุดให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ GAC Energy ที่ตอบโจทย์การใช้งานในระดับสากลอย่างแท้จริง ซึ่งทาง GAC Energy คาดว่าจะมีการสร้างสถานีชาร์จทั่วประเทศไทยให้ได้ 200 แห่ง ภายในปี 2571 พร้อมร่วมมือในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การกำหนดนโยบาย และมาตรฐาน การกักเก็บพลังงาน การชาร์จไฟ และการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะระหว่างรถยนต์ สถานีชาร์จ เพื่อร่วมผลักดันการพัฒนา และยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ในประเทศไทย
................................................................................................................
Yamaha เผยแนวคิดการออกแบบในอนาคต
Yamaha (ยามาฮา) เผยแนวคิด และทิศทางการออกแบบนวัตกรรมYamaha ในอนาคต หวังยกระดับการออกแบบให้สอดคล้อง และตอบสนองการใช้งานของผู้ขับขี่ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น เตรียมสานต่อการออกแบบรถแข่งสำหรับเวทีมอเตอร์สปอร์ทในอนาคต
คิโนชิตะ ทาคูยะ Executive Officer & Chief General Manager of Creative Center บริษัท ยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) กล่าวว่า การออกแบบ “Yamaha Y/AI (ยามาฮา วาย/เอไอ)” สะท้อนวิสัยทัศน์ของ Yamaha ในอีก 100 ปีข้างหน้า พร้อมเผยถึงทิศทางการออกแบบรถจักรยานยนต์ในระยะเวลา 3-5 ปี หลังจากนี้จะแบ่งการออกแบบเป็น 2 ส่วนหลักๆ โดย
ส่วนที่ 1 คือ การผสานระหว่างคนกับรถจักรยานยนต์ ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาก เราอยากดีไซจ์นให้ผู้ขับขี่มีความปลอดภัย โดยนำเทคโนโลยี Interface มาใช้ และการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน เข้าไปร่วมกับงานดีไซจ์น รวมถึงหมวกนิรภัยที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ในส่วนที่ 2 คือ การออกแบบภายนอก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ Vintage, Futuristic และ Cus tomized โดยเฉพาะการ Customized เราตั้งคำถามว่าเราจะสามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างไรบ้าง ส่งผลให้ต้องดีไซจ์นไปพร้อมๆ กับผู้ใช้งาน หรืออาจจะต้องสร้าง Community เพื่อเก็บข้อมูลมาใช้ในการออกแบบ
“Yamaha Y/AI” เป็นการออกแบบใหม่ทั้งหมด ไม่ได้มีการนำรุ่นไหนมาเป็นต้นแบบ ทว่ายังคงไว้ซึ่งปรัชญาของ Yamaha อยู่ในการออกแบบรุ่นนี้ด้วยเช่นกัน สำหรับ “Yamaha Y/AI” นับเป็นอีกความสำเร็จในการผสานความร่วมมือกับ Netflix ซึ่งทีมออกแบบ ได้คาดหวังไว้ 2 เรื่อง โดยอันดับแรกหวังว่าคนที่ไม่เคยใช้รถจักรยานยนต์ได้ดูแล้วรู้สึกอยากลองสัมผัส ลองใช้งานดู พร้อมเก็บรายละเอียดลูกค้าที่เข้ามาดู Netflix เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาในอนาคต และส่วนที่ 2 คือ อยากให้ “Yamaha Y/AI” เป็นที่จดจำ สร้างตัวตนของตนเองที่ชัดเจน
จากผลตอบรับที่ยอดเยี่ยมในการร่วมกับ Netflix ส่งผลให้ Yamaha พร้อมสานต่อแนวทางดังกล่าว และมองถึงการร่วมงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยในอนาคตจะมีการร่วมงานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ 3 เซกเมนท์ ที่มีความสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน ได้แก่ 1. เชิงธุรกิจ อยากพัฒนาต่อยอดในเรื่องของรถอีวี ทั้งยังมองถึงความจำเป็น และความสำคัญของ Infrastructure ที่ต้องดีไซจ์นควบคู่ไปด้วย 2. เชิงสัง คม เน้นในเรื่องสิ่งเแวดล้อมต่างๆ รวมถึงการแก้ปัญหาร่วมกัน เนื่องจากสินค้าของเราตอบสนองการใช้งานของลูกค้าทั่วโลก ดังนั้น พื้นที่ต่างๆ จึงถือเป็นสนามทดสอบสำหรับรถของเรา ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบ Mountain Bike ในญี่ปุ่นที่ช่วยกระตุ้นให้คนอยากท่องเที่ยวในแนวทางดังกล่าวมากยิ่งขึ้น และ 3. เชิงสร้างสรรค์ ในอนาคตเราอยากร่วมงานกับศิลปินระดับโลกอีกด้วย
นอกจากนี้ ทีมออกแบบ ยังได้เผยถึงแนวคิดการขับขี่โดยไร้คน ที่เป็นสารตั้งต้น และนำมาซึ่งการออกแบบ Motoroid ในก่อนหน้านี้ และเตรียมที่จะนำ AI มาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบในอนาคต โดยหวังให้รถสามารถเก็บข้อมูล และนำไปประมวลผลได้ด้วยตนเองได้ ซึ่งน่าจะได้เห็นหลังจากนี้ รวมถึงจะมีการยกระดับต่อยอดจาก Motoroid2 ด้วยเช่นกัน
หลังจากนี้ “Yamaha Y/AI” จะไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานแสดงนวัตกรรมต่างๆ โดยคาดว่าอาจจะเป็นในยุโรป และอเมริกา รวมถึงญี่ปุ่น ซึ่งไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นงานแสดงยานยนต์เพียงเท่านั้น ก่อนจะทิ้งท้ายว่าหลังจากนี้ จะได้เห็นการพัฒนาต่อยอด “Yamaha Y/AI” ในทิศทางของมอเตอร์สปอร์ท ซึ่งในอนาคตอาจจะพัฒนาเป็นรถแข่งอีวี แทนที่เชื้อเพลิงเช่นในปัจจุบัน และอาจจะต่อยอดไปจนถึงเวที Formula E ต่อไป
ทีมออกแบบ Yamaha เผยถึงแรงบันดาลใจ และแนวคิดในการออกแบบ “Yamaha Y/AI” เรศไบค์แห่งอนาคต หลัง ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ฯ อิมพอร์ท “Yamaha Y/AI” มาโชว์ตัวให้แฟน Yamaha ได้สัมผัสนวัตกรรมแห่งอนาคต ภายในงาน Motor Expo 2024
ซาโตชิ นากามูระ (ที่ 3 จากซ้าย) กลุ่มการออกแบบเชิงนวัตกรรม ฝ่ายการออกแบบ การวางแผน บริษัท ยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) เผยถึงแนวคิดในการออกแบบว่า “Yamaha Y/AI” ว่า สำหรับ Yamaha Y/AI เป็นรถแข่งแห่งอนาคตในอีก 100 ปี ข้างหน้า ขับเคลื่อนด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่ง Yamaha ให้ความสำคัญกับฟีลิงการขับขี่ที่ยังคงเป็นการควบคุมโดยมนุษย์ ซึ่งส่วนที่เป็น Soft Part (สีแดง) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ได้รับการออกแบบเน้นความอ่อนโยน ขณะที่ส่วนที่เป็น Hard Part ด้านล่าง สื่อถึงเครื่องจักรเครื่องยนต์
สำหรับความยูนีคของ R1 (อาร์ 1) และ Vmax (วีแมกซ์) ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของ “Yamaha Y/AI” ในซีรีส์ Tokyo Override นั้น ซาโตชิ นากามูระ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ R1 เป็นรถรุ่นทอพในตระกูลเรศไบค์ ใช้คอนเซพท์เดียวกันกับ “Y/AI” ผสานการทำงานระหว่างมนุษย์ และเทคโนโลยีในการขับเคลื่อน ส่วน Vmax เป็นรถสตรีทสไตล์รุ่นใหญ่ มีแนวคิดการออกแบบเช่นเดียวกับ Y/AI จะแตกต่างกันในเรื่องยุคสมัย
นอกจากนี้ ทีมออกแบบยังได้ถึงความเกี่ยวโยงกับรถรุ่นต่างๆ ของ Yamaha นับตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน รวมถึงรถต้นแบบอย่าง Motoroid ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบสำหรับรถในอนาคตอีก 100 ปีข้างหน้าอย่าง “Yamaha Y/AI” โดยเชื่อว่ารถต้นแบบสไตล์เรศไบค์นี้จะสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนารถแข่ง และหวังว่าในอีก 100 ปีข้างหน้า จะยังคงมีการขับเคี่ยวบนสังเวียนความเร็ว และเป็นหนึ่งในเอนเตอร์เทนเมนท์ในอนาคต
นอกจากนี้ ฟาบิโอ กวาร์ตาราโร และอเลกซ์ ริน ดูโอนักบิดสังกัด Yamaha ที่มีส่วนร่วมในการออกแบบ “Y/AI” ยังกล่าวชื่นชมหลังได้ทดลองขี่ พร้อมทิ้งคำถามถึงทีมออกแบบว่า “Y/AI” เร็ว แรง แค่ไหน ผมตอบว่ามีความเร็วมากในอนาคตอีก 100 ปี”
................................................................................................................
ตำรวจทางหลวงแนะนำเส้นทางเลี่ยงรถติด
ตำรวจทางหลวงแนะเส้นทางเลือกเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ 2025 เพื่ออำนวยความสะดวก และลดความหนาแน่นบนถนนสายหลัก ตำรวจทางหลวงขอแนะนำเส้นทางเลือกสำหรับผู้เดินทางในเส้นทางกรุงเทพฯ-ภาคใต้, กรุงเทพฯ-ภาคเหนือ, กรุงเทพฯ-ภาคตะวันออก และกรุงเทพฯ-ภาคอีสาน โดยมีดังนี้
กรุงเทพฯ-ภาคใต้
1. ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2)
เส้นทางผ่านจังหวัดสมุทรสาคร-สมุทรสงคราม-เพชรบุรี
2. ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
เส้นทางผ่านจังหวัดราชบุรี-เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์
กรุงเทพฯ-ภาคเหนือ
1. วงแหวนตะวันออก (ถนน ทล.9) เลี้ยวซ้ายเข้าทางระดับคลองหลวงใช้ทางหลวง 3214 เข้าสู่ทางหลวง 347 และ 32 (สายเอเชีย)
2. วงแหวนตะวันตก (ถนน ทล.9) เชื่อมต่อทางหลวง 340 และ 32 ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี-ชัยนาท-อุทัยธานี
กรุงเทพฯ-ภาคอีสาน
1. ถนนพหลโยธิน (ถนน ทล.1) เข้าทางแยกต่างระดับบางปะอิน และเข้าสู่จังหวัดสระบุรี
2. ถนน ทล.304 ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา-นครราชสีมา-บุรีรัมย์
3. เส้นทางสาย ทล.21 และ ทล.205 มุ่งหน้าสู่จังหวัดชัยภูมิ-ขอนแก่น-อุดรธานี
กรุงเทพฯ-ภาคตะวันออก
1. ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์)
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านมีนบุรี-หนองจอก ออกสู่ภาคตะวันออก
3. ใช้ทางหลวงหมายเลข 34 (เทพรัตน) ผ่านบางนา-บางปะกง หรือใช้ทางพิเศษบูรพาวิถีออกสู่ภาคตะวันออก
4. ทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท)
ข้อแนะนำพิเศษสำหรับประชาชนที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงปีใหม่ 2568 ควรวางแผนเส้นทางล่วงหน้า ติดตามข้อมูลจราจรแบบเรียลไทม์ ตรวจสอบสภาพรถก่อนออกเดินทาง สามารถติดตามข่าวสารที่ www.highway.police.go.th
โทรสายด่วน 1193
ขอบคุณข้อมูลจาก ตำรวจทางหลวง