ธุรกิจ
ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์
สอท. เผยยอดอุตสาหกรรมรถยนต์ มีค. 68
เดือนมีนาคม 2568 ผลิตรถยนต์ 129,909 คัน ลดลงร้อยละ 6.09 ขาย 55,798 คันลดลงร้อยละ 0.54 ส่งออก 80,914 คัน ลดลงร้อยละ 14.91 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 5,412 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 341.44 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 8,233 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.40
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาห กรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ร่วมเปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์เดือนมีนาคม 2568 มีทั้งสิ้น 129,909 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ร้อยละ 12.49 แต่ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 6.09 เพราะผลิตส่งออกลดลงร้อยละ 9.36 จากการผลิตรถยนต์นั่งลดลงร้อยละถึง 51.18 เพราะมีการเปลี่ยนรุ่นรถบางรุ่นของรถยนต์นั่ง แต่ผลิตรถยนต์นั่งเพื่อจำหน่ายในประ เทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.01 เพราะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง BEV และ PHEV เพิ่มขึ้น แต่ผลิตรถกระบะลดลงร้อยละ 29.32 ตามยอดขายรถกระบะยังคงลดลง
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 352,499 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนา คม 2567 ร้อยละ 14.88
รถยนต์นั่ง เดือนมีนาคม 2568 ผลิตได้ 45,588 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 12.50 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 18,451 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 41.77
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 5,412 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 341.44
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 2,360 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 289.44
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 19,365 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 4.21
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 มีจำนวน 119,865 คันเท่ากับร้อยละ 34 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 22.69 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 53,267 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 43.29
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 9,319 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 252.06
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 6,752 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 336.18
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 50,527 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 11.25
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนมีนาคม 2568 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-มีนา คม 2568 ไม่มีการผลิต
รถยนต์บรรทุก เดือนมีนาคม 2568 ผลิตได้ทั้งหมด 84,321 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 2.22 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น232,634 คัน ลดลงจากเดือนมกรา คม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 10.20
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมีนาคม 2568 ผลิตได้ทั้งหมด 83,417 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 0.25 และตั้ง แต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 230,038 คัน เท่ากับร้อยละ 65.26 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 8.08 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 40,362 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 12.70
• รถกระบะ Double Cab 142,616 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 11.43
• รถกระบะ PPV 47,060 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ9.47
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนมีนาคม 2568 ผลิตได้ 904 คันลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 70.09 รวมเดือนมกราคม-มีนาคม 2568 ผลิตได้ 2,596 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 70.55
ผลิตเพื่อส่งออก เดือนมีนาคม 2568 ผลิตได้ 83,217 คัน เท่ากับร้อยละ 64.06 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 9.36 ส่วนเดือนมกราคม-มีนาคม 2568 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 236,796 คัน เท่ากับร้อยละ 67.18 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 13.48
รถยนต์นั่ง เดือนมีนาคม 2568 ผลิตเพื่อการส่งออก 14,022 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 51.18 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 41,487 คัน เท่ากับร้อยละ 34.61 ของยอดผลิตรถ ยนต์นั่ง ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 49.29
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมีนาคม 2568 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 69,195 คันเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 9.68 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม2568 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 195,309 คัน เท่ากับร้อยละ 84.90 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 1.79 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 25,489 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ45.33
• รถกระบะ Double Cab 130,543 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 5.54
• รถกระบะ PPV 39,277 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 8.71
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เดือนมีนาคม 2568 ผลิตได้ 46,692 คัน เท่ากับร้อยละ 35.94 ของยอดการผลิตทั้ง หมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 0.36 และเดือนมกราคม-มีนาคม 2568 ผลิตได้ 115,703 คัน เท่ากับร้อยละ 32.82 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 17.62
รถยนต์นั่ง เดือนมีนาคม 2568 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 31,566 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 35.01 แต่ตั้ง แต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ผลิตได้ 78,378 คัน เท่ากับร้อยละ 65.39 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.01
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมีนาคม 2568 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 14,222 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 29.32 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 34,729 คัน เท่ากับร้อยละ 15.10 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 40.51 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 14,873 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 48.17
• รถกระบะ Double Cab 12,073 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 47.10
• รถกระบะ PPV 7,783 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 13.05
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนมีนาคม 2568 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-มีนา คม 2568 ไม่มีการผลิต
รถบรรทุก เดือนมีนาคม 2568 ผลิตได้ 904 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 70.09 และตั้งแต่เดือนมกรา คม-มีนาคม 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 2,596 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 70.55
รถจักรยานยนต์ เดือนมีนาคม 2568 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 233,782 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 6.54 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 185,931 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 3.41 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 47,851 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 20.75
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 664,485 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 0.71 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 531,458 คัน ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 0.36 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยาน ยนต์ (CKD) 133,027 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 5.26
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนมีนาคม 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 55,798 คันเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ร้อยละ 13.15 และลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 0.54 จากรถกระบะที่ยังคงขายลดลงร้อยละ 7.84 เพราะการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ยังกังวลหนี้ครัวเรือนสูง และเศรษฐกิจของประเทศเติบโตในอัตราต่ำ ค่าครองชีพสูง
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 34,685 คัน เท่ากับร้อยละ 62.16 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียว กันในปีที่แล้วร้อยละ 2.83
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 13,770 คัน เท่ากับร้อยละ 24.68 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 15.13
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 8,179 คัน เท่ากับร้อยละ 14.66 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 77.23
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 705 คันเท่ากับร้อยละ 1.26 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 250.75
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 12,031 คัน เท่ากับร้อยละ21.56 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.18
รถกระบะมีจำนวน 14,941 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 7.84 รถกระบะไฟฟ้า (BEV) มีจำนวน 54 ในปีที่แล้วไม่มียอดจำหน่าย รถ PPV มีจำนวน 3,360 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 2.21 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,472 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 6.95 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,286 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 12.81
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 151,331 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 2.55 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 0.93
ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 รถยนต์มียอดขาย 153,193 คัน ลดลงจากปี 2567 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 6.45 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 96,073 คันเท่ากับร้อยละ 62.71 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียว กันในปีที่แล้วร้อยละ 3.57
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 37,555 คัน เท่ากับร้อยละ 24.51 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 14.44
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 22,737 คัน เท่ากับร้อยละ14.84 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 18.85
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 2,458 คันเท่ากับร้อยละ 1.60 ของยอดขายทั้ง หมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 336.59
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 33,323 คัน เท่ากับร้อยละ 21.75 ของยอดขายรถยนต์นั่ง และรถ ยนต์นั่งตรวจการณ์ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.54
รถกระบะ มีจำนวน 40,379 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 13.37 รถกระบะไฟฟ้า (BEV) มีจำนวน 96 คัน ปีที่แล้วไม่มียอดจำหน่าย รถ PPV มีจำนวน 9,387 คัน ลดลงจากเดือนเดียว กันในปีที่แล้วร้อยละ 4.35 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำ นวน 3,589 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 21.93 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 3,669 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้ว 18.16
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 455,244 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 1.71
การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เดือนมีนาคม 2568 ส่งออกได้ 80,914 คัน ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 0.50 และลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 14.91 เพราะมีการเปลี่ยนรุ่นรถยนต์นั่งบางรุ่น และจากการเข้มงวดในการลดการปล่อยคาร์บอนของบางประเทศ และการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกของจีนในบางประเทศคู่ค้า จึงส่งออกลดลงในตลาดออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ อย่างไรก็ตาม ส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่เพิ่มขึ้นทั้งในสหรัฐ อเมริกา และญี่ปุ่น
ประเภทรถยนต์ส่งออกเดือนมีนาคม 2568 แบ่งเป็น ดังนี้
• รถกระบะ 52,337 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 64.68 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 3.49
• รถยนต์นั่ง ICE 10,630 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.14 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 51.62
• รถยนต์นั่ง HEV 4,920 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 6.08 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 0.65
• รถ PPV 13,027 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 16.10 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 6.94
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 57,416.07 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 15.47
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,139.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 30.72
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 15,828.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 8.90
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,305.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม2567 ร้อยละ 9.69
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมีนาคม 2568 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 78,689.06 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 9.52
เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 220,139 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 18.63 แบ่งเป็น
• รถกระบะ ICE 141,971 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 64.49 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 8.49
• รถยนต์นั่ง ICE 32,517 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 14.77 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 47.13
• รถยนต์นั่ง HEV 12,339 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 5.16 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 27.06
• รถ PPV 33,312 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 15.13 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 9.85
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 156,187.74 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – มีนาคม2567 ร้อยละ 17.43 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 8,795.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 28.15
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 41,564.39 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 10.17
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 6,747.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 6.75
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์และอะไหล่ มีมูลค่า 213,294.45 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 14.20
รถจักรยานยนต์ เดือนมีนาคม 2568 มีจำนวนส่งออก 91,951 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ร้อยละ 19.03 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 6.62 โดยมีมูลค่า 6,731.53 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ6.55 รถจักรยานยนต์ยังคงส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริการ้อยละ 32.2 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.47 ของยอดส่งออกรถจักรยาน ยนต์ สหราชอาณาจักรเป็นอันดับ 2 มีสัดส่วนร้อยละ 13.29 เบลเยียมเป็นอันดับ 3 มีสัดส่วนร้อยละ 11.89 ญี่ปุ่นร้อยละ 8.74
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 178.94 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 9.94
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 248.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 42.81
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนมีนาคม 2568 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 7,158.57ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 5.51
เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 242,096 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 4.58 มีมูลค่า 17,525.30 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 11.06
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 506.67 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 22.73
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 686.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 37.81
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 18,717.98 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 10.26
เดือนมีนาคม 2568 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 85,847.63 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 9.19
เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 232,012.43 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 13.90
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนมีนาคม 2568
เดือนมีนาคม 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 9,905 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีที่แล้วร้อยละ 33.20 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 7,839 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 57.31
o รถยนต์นั่ง จำนวน 7,570 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 144 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 4 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 18 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 14.29
• รถยนต์สามล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 3 คัน เท่ากับเดือนมีนาคม 2567
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 3 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 1,998 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 15.55
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 1,998 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 37 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีที่แล้วร้อยละ 428.57
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 10 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคมปีที่แล้วร้อยละ 82.14
เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 31,991 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคมปีที่แล้วร้อยละ 7.66 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 25,397 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 14.47
o รถยนต์นั่ง จำนวน 24,996 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 263 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 9 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 129 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 82 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 44.59
• รถยนต์สามล้อ มีทั้งสิ้น 5 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 28.57
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล 3 คัน
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 2 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 6,401 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 11.17
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 6,400 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 1 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 47 คัน เพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 2.17
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 59 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 51.24
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนมีนาคม 2568
เดือนมีนาคม 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 12,570 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีที่แล้วร้อยละ 4.92 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 12,468 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 4.41
o รถยนต์นั่ง จำนวน 12,390 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 4 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 51 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 23 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 102 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 161.54
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 102 คัน
เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 38,165 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคมปีที่แล้วร้อยละ 0.13 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 37,932 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 0.25
o รถยนต์นั่ง จำนวน 37,821 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 9 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 62 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 40 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 233 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ164.77
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 233 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนมีนาคม 2568
เดือนมีนาคม 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่ มีจำนวน2,038 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีที่แล้วร้อยละ 132.65 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 2,038 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีที่แล้วร้อยละ 132.65
o รถยนต์นั่ง จำนวน 2,018 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 20 คัน
เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสม มีจำนวน 4,132 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคมปีที่แล้วร้อยละ 52.47 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 4,132 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ร้อยละ 52.47
o รถยนต์นั่ง จำนวน 4,109 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 20 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 3 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 258,982 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 60.51 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 184,556 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 65.02
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 180,772 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 63.88
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 2,766 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 137.63
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 211 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 257.63
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 171 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 111.11
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน ซึ่งในช่วงเดียวกันไม่มีการจดทะเบียน
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค มีจำนวน 633 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 174.03
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 953 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 121.63
• รถยนต์สามล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,026 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 14.13
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 117 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 36.05
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ มีจำนวน 909 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 11.81
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 68,653 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 51.58
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 68,539 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี2567 ร้อยละ 51.78
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 114 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 14.93
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,833 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 14.88
o รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 946 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ156.37
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 507,224 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 32.99 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 497,734 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 33.70
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 496,479 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 33.68
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 500 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 3.73
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 135 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 125
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 256 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 43.82
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2567
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค มีจำนวน 359 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 136.18
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2567
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,487 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 3.99
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,487 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี2567 ร้อยละ 3.99
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2567
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 67,270 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 18.76 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 67,270 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ18.76
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 67,174 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 18.74
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 1 คัน ในปี 2567 ยังไม่มีการจดทะเบียน
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 63 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 53.66
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 21 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 8.70
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 66.67
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค มีจำนวน 6 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 20
.................................................................................................................................
Toyota เผยยอดขายเดือน มีค. ลดลง 0.5 %
Toyota (โตโยตา) รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2568 ยอดขายตลาดรวม 55,798 คัน ลดลง 0.5 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 21,054 คัน ลดลง 5.8 % ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 34,744 คัน เพิ่มขึ้น 2.9 % และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 18,355 คัน ลดลง 6.6 %
ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม 2568 มียอดขาย 55,798 คัน ลดลง 0.5 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่ง ทำยอดขายได้ 21,054 คัน ลดลง 5.8 % ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้น ด้วยยอดขาย 34,744 คัน เติบโตขึ้น 2.9 % และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขาย 18,355 คัน ลดลง 6.6 % ในส่วนของตลาด XEV มียอดขายทั้งหมด 23,123 คัน คิดเป็นสัด ส่วน 41.4 % ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้น 23.1 % เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว รถยนต์ HEV ทำยอดขายได้ 13,196 คัน เติบโตขึ้น 3.6 % และยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 8,598 คัน เพิ่มขึ้น 66.9%
ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน มีแนวโน้มในการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ภายใต้ปัจจัยชี้วัดสำหรับตลาดในเดือนเมษายนมาจากยอดจองรถยนต์ในงาน “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46” ในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 44.8 %
ทั้งนี้ ยอดจองของ Toyota ทั่วประเทศทั้งหมดในช่วงมอเตอร์โชว์ มีมากกว่า 21,000 คัน ซึ่งเป็นยอดจองภายในงานมอเตอร์โชว์ มากกว่า 9,600 คัน และจากยอดจอง 9,600 คัน อยู่ในระหว่างขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดย Toyota คาดว่าจะสามารถส่งมอบรถ สู่ลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 7,600 คัน ภายในเดือนเมษายน ทำให้เราคาดว่า เป็นสัญ ญาณบอกของตลาดรถยนต์ที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งอาจส่งผลให้ยอดขายปรับตัวดีขึ้นในช่วงปีนี้
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมีนาคม 2568
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 55,798 คัน ลดลง 0.5 %
อันดับที่ 1 Toyota 21,575 คัน ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนแบ่งตลาด 38.7 %
อันดับที่ 2 Honda 7,909 คัน ลดลง 3.8 % ส่วนแบ่งตลาด 14.2 %
อันดับที่ 3 Isuzu 7,320 คัน ลดลง 17.4 % ส่วนแบ่งตลาด 13.1 %
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 21,054 คัน ลดลง 5.8 %
อันดับที่ 1 Toyota 7,159 คัน เพิ่มขึ้น 8.4 % ส่วนแบ่งตลาด 34 %
อันดับที่ 2 Honda 4,029 คัน ลดลง 17.3 % ส่วนแบ่งตลาด 19.1 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 1,442 คัน ลดลง 29.3 % ส่วนแบ่งตลาด 6.8 %
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 34,744 คัน เพิ่มขึ้น 2.9 %
อันดับที่ 1 Toyota 14,416 คัน ลดลง 3.7 % ส่วนแบ่งตลาด 41.5 %
อันดับที่ 2 Isuzu 7,320 คัน ลดลง 17.4 % ส่วนแบ่งตลาด 21.1 %
อันดับที่ 3 Honda 3,880 คัน เพิ่มขึ้น 15.8 % ส่วนแบ่งตลาด 11.2 %
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 18,355 คัน ลดลง 6.6 %
อันดับที่ 1 Toyota 8,491 คัน ลดลง 1.6 % ส่วนแบ่งตลาด 46.3 %
อันดับที่ 2 Isuzu 6,429 คัน ลดลง 18.3 % ส่วนแบ่งตลาด 35 %
อันดับที่ 3 Ford 1,734 คัน ลดลง 0.6 % ส่วนแบ่งตลาด 9.4 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,360 คัน
Toyota 1,429 คัน-Isuzu 1,182 คัน-Ford 553 คัน-Mitsubishi 162 คัน-Nissan 34 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 14,995 ลดลง 7.5 %
อันดับที่ 1 Toyota 7,062 คัน ลดลง 4.1 % ส่วนแบ่งตลาด 47.1 %
อันดับที่ 2 Isuzu 5,247 คัน ลดลง 21.7 % ส่วนแบ่งตลาด 35 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 1,219 คัน เพิ่มขึ้น 80.9 % ส่วนแบ่งตลาด 8.1 %
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม-มีนาคม 2568
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 153,193 คัน ลดลง 6.5 %
อันดับที่ 1 Toyota 57,683 คัน ลดลง 1.9 % ส่วนแบ่งตลาด 37.7 %
อันดับที่ 2 Honda 21,369 คัน ลดลง 14.9 % ส่วนแบ่งตลาด 13.9 %
อันดับที่ 3 Isuzu 20,289 คัน ลดลง 17 % ส่วนแบ่งตลาด 13.2 %
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 58,234 คัน ลดลง 11.2 %
อันดับที่ 1 Toyota 19,625 คัน เพิ่มขึ้น 18 % ส่วนแบ่งตลาด 33.7 %
อันดับที่ 2 Honda 10,884 คัน ลดลง 23.3 % ส่วนแบ่งตลาด 18.7 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 3,434 คัน ลดลง 30.7 % ส่วนแบ่งตลาด 5.9 %
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 94,959 คัน ลดลง 3.2 %
อันดับที่ 1 Toyota 38,058 คัน ลดลง 9.8 % ส่วนแบ่งตลาด 40.1 %
อันดับที่ 2 Isuzu 20,289 คัน ลดลง 17 % ส่วนแบ่งตลาด 21.4 %
อันดับที่ 3 Honda 10,485 คัน ลดลง 3.9 % ส่วนแบ่งตลาด 11 %
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 49,862 คัน ลดลง 11.6 %
อันดับที่ 1 Toyota 22,069 คัน ลดลง 12.6 % ส่วนแบ่งตลาด 44.3 %
อันดับที่ 2 Isuzu 18,034 คัน ลดลง 16 % ส่วนแบ่งตลาด 36.2 %
อันดับที่ 3 Ford 4,934 คัน ลดลง 16.8 % ส่วนแบ่งตลาด 9.9 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 9,387 คัน
Toyota 3,545 คัน-Isuzu 3,414 คัน-Ford 1,836 คัน-Mitsubishi 482 คัน-Nissan 110 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 40,475 คัน ลดลง 13.2 %
อันดับที่ 1 Toyota 18,524 คัน ลดลง 14.2 % ส่วนแบ่งตลาด 45.8 %
อันดับที่ 2 Isuzu 14,620 คัน ลดลง 20.2 % ส่วนแบ่งตลาด 36.1 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 3,183 คัน เพิ่มขึ้น 68.2 % ส่วนแบ่งตลาด 7.9 %
.................................................................................................................................
Motor Expo แนะนำระบบวัดเสียงใหม่
บริษัท สื่อสากล จำกัด ผู้จัดงาน “มหกรรมยานยนต์” หรือ Motor Expo แนะนำระบบวัดเสียง (Sound Level Monitoring) ใหม่ ที่พร้อมใช้ในการจัดงาน “มหกรรรมยานยนต์ ครั้งที่ 42”
สำหรับระบบวัดเสียง Sound Level Monitoring เป็นระบบที่ทำงานผ่านอุปกรณ์เซนเซอร์ในการตรวจวัดความถี่ของเสียง ย่าน DBA ไม่เกิน 85 เดซิเบล และ DBC ไม่เกิน 95 เดซิเบล ส่งข้อมูลผ่านระบบ Wi-Fi สู่เซิร์ฟเวอร์ เพื่อประมวลผล และจัดเก็บค่าการตรวจวัดความถี่เสียงต่อเนื่องตลอดการจัดงาน ซึ่งเป็นผลดีต่อการจัดงานแสดงสินค้า ที่คำนึงถึงสุขภาพของผู้ร่วมงาน และผู้ชมงาน ในเรื่องการลดมลภาวะด้านเสียง
ระบบวัดเสียง Sound Level Monitoring ถูกปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่องมากว่า 15 ปี และเป็นไฮไลท์สำคัญที่มีส่วนช่วยเสริมความสำเร็จของงาน Motor Expo มาอย่างยาวนาน
.................................................................................................................................
Isuzu ผลิตรถพิคอัพไฟฟ้ารุ่นใหม่ในไทย
Isuzu (อีซูซุ) ประกาศแผนเดินหน้าผลิตรถพิคอัพไฟฟ้า Isuzu D-Max EV (อีซูซุ ดี-แมกซ์ EV) รุ่นใหม่ในประเทศไทย สำ หรับส่งออกไปยังประเทศหลักในยุโรป
Shinsuke Minami ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อีซูซุมอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น (สำนักงานใหญ่เมืองโยโกฮามา จังหวัดคานางาวะ) ประกาศเริ่มผลิต รถพิคอัพไฟฟ้า Isuzu D-Max EV ขนาด 1 ตัน รุ่นแรกของ Isuzu ในประ เทศไทย
รถพิคอัพไฟฟ้า suzu D-Max EV คันแรกของ Isuzu ได้จัดโชว์ต่อสาธารณชนในฐานะรถต้นแบบ ในงานบางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 ในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว Isuzu ได้เริ่มการผลิตรถรุ่นพวงมาลัยซ้าย และส่งไปยังประเทศหลักๆ ในยุโรป เพื่อจำหน่ายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2568
การผลิตรถรุ่นพวงมาลัยขวาของ รถพิคอัพไฟฟ้า Isuzu D-Max EV กำหนดจะมีขึ้นช่วงปลายปีนี้ โดยคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ในปี 2569 และจะขยายไปยังประเทศ และเขตอื่นๆ ตามความต้องการของตลาด
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Full Time ซึ่งมี E-Axles ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทำงานร่วมกันทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ช่วยให้มั่นใจในสมรรถนะอันยอดเยี่ยมบนพื้นที่ทุรกันดาร ระบบนี้ยังให้พลังเร่งแซงสูงแบบคงที่ตามแบบฉบับของรถยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียว กันก็ลดเสียงรบกวน และการสั่นสะเทือน นอกจากนี้ ความสามารถในการลากจูง และน้ำหนักบรรทุกที่สูง จากมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทรงพลังรวมถึงโครงสร้าง และตัวถังที่แข็งแรง ทำให้รถปิกอัพไฟฟ้า Isuzu D-Max EV สามารถเทียบเคียงกับสมรรถนะของรุ่นดีเซลที่มีอยู่ปัจจุบันได้
กลุ่ม Isuzu มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านการพัฒนายานยนต์ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนหลากหลายประ เภท ด้วยตระหนักดีว่าลูกค้าผู้ใช้รถพิคอัพมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย รถพิคอัพไฟฟ้า ณsuzu D-Max EV จึงได้รับการออก แบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้รถทั้งเพื่อการพาณิชย์ และส่วนตัว โดยยังคงประสิทธิภาพที่ทนทานตามความคาดหวังของการใช้งานรถพิคอัพ
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
รุ่นรถ: รุ่น 4 ประตู สำหรับตลาดยุโรป
น้ำหนัก |
น้ำหนักตัวรถ (กก.) |
2,350 |
|
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (กก.) |
1,010 |
||
ความสามารถในการลากจูงสูงสุด (กก.) |
3,500 |
||
มิติ |
ความยาวรวมกันชนหลัง (มม.) |
5,280 |
|
ความกว้างรวม (มม.) |
1,870 |
||
ความสูงรวมราวหลังคา (มม.) |
1,810 |
||
ฐานล้อ (มม.) |
3,125 |
||
ระยะห่างช่วงล้อ (หน้า/หลัง) (มม.) |
1,570 |
||
รัศมีวงเลี้ยวต่ำสุด (ม.) |
6.1 |
||
สมรรถนะ |
ระบบขับเคลื่อน |
4x4 แบบ Full Time |
|
กำลังสูงสุด (กิโลวัตต์) |
140 |
||
แรงบิดสูงสุด (นิวทันเมตร) |
325 |
||
ความเร็วสูงสุด (กม./ ชม.)
|
มากกว่า 130 |
||
ระยะทางวิ่ง/การชาร์จ (กม.) |
263 (WLTP) 361 (WLTP City mode) |
||
อัตราการสิ้นเปลืองไฟฟ้า (วัตต์ชั่วโมง/กม.) |
255 (WLTP) |
||
ประเภทแบทเตอรี |
ลิเธียม-ไออน |
||
ความจุแบตเตอรี่ (กิโลวัตต์ชั่วโมง) |
66.9 |
||
ระยะเวลาในการชาร์จ |
กระแสสลับ AC |
รองรับสูงสุด 11 กิโลวัตต์ ใช้เวลา 10 ชม. (0-100 %) |
|
กระแสตรง DC |
รองรับสูงสุด 50 กิโลวัตต์ ใช้เวลา 1 ชม. (20-80 %) |
.................................................................................................................................
Toyota พร้อมจัด Toyota Gazoo Racing Thailand 2025
Toyota Gazoo Racing Thailand 2025 พร้อมระเบิดความมัน 4 จังหวัด 5 สนาม ทั่วประเทศ เริ่มสนามแรกเดือนกรกฎาคมนี้
โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า กีฬามอเตอร์สปอร์ท คือ รากฐานในการสร้างยนตรกรรมที่ดียิ่งกว่า เราได้ขยายความร่วมมือกับพันธมิตร ผ่านการแข่งขันอีกหลายรายการทั่วโลก เพราะเราเชื่อว่า “ถนนสร้างคน และคนสร้างรถ” โดยการเข้าร่วมการแข่งรถในสนามต่างๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีให้ดียิ่งขึ้นสะท้อนกลับมาสู่ไลน์อัพของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ ยังเป็นการสะท้อนความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใต้กลยุทธ์ความหลากหลายด้านทางเลือก (Toyota Multiple Pathway) ปัจจุบัน เราได้ขยายความร่วมมือกับ Toyota Motor Asia (TMA) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อพัฒนายนตรกรรม และชิ้นส่วนรถยนต์ให้ดียิ่งกว่า สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสามารถตอบสนองสนามแข่งมอเตอร์สปอร์ทอันหฤโหดได้อย่างแท้จริง
ในปีที่ผ่านมา รถกระบะ Hilux Revo GR Sport 4x4 (ไฮลักซ์ รีโว จีอาร์ สปอร์ท 4x4) ได้รับการพัฒนาช่วงล่างให้ดียิ่งขึ้น โดยฝีมือวิศวกรชาวไทย ยังสามารถคว้าชัยชนะ แชมพ์อันดับ 1 ในรายการ Asia Cross Country Rally 2024 และในปีนี้เรายังได้ส่งรถยนต์ไฮบริดรุ่น Yaris Cross HEV (ยารีส ครอสส์ เอชอีวี) ในการแข่งขันแรลลี ที่จัดโดยราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (RAAT Rally) ซึ่งรุ่นนี้จะมีการปรับช่วงล่าง และเครื่องยนต์ไฮบริดเพื่อการแข่งขัน
ความสำเร็จเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่แรงบันดาลใจสู่การพัฒนา “ยนตรกรรม และชิ้นส่วนรถยนต์ที่ดียิ่งกว่า” แต่ยังนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ที่เห็นได้จากการพัฒนารถที่ใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์ บอน 2 รุ่น เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันบนสนามแข่ง ซึ่งได้แก่ Yaris Carbon Neutral Fuel และ Ativ Carbon Neutral Fuel นอกจากนี้ Toyota ยังมีการสนับสนุนทีมแข่ง Toyota Gazoo Racing Thailand ในการแข่งขันทั้งในรูปแบบแรลลี และแบบเซอร์กิท เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย และพัฒนารถยนต์ Toyota ในอนาคต
ในประเทศไทย Toyota เป็นผู้นำของวงการมอเตอร์สปอร์ท ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 39 ปี โดยกิจกรรม Toyota Ga zoo Racing Thailand นอกจากจะสร้างความสนุกสนาน และความเร้าใจของกีฬามอเตอร์สปอร์ทแล้ว กิจกรรมนี้ยังเป็นการส่งเสริมแนวทางการพัฒนารถยนต์สมรรถนะสูงของ Toyota ที่น่าเชื่อถือที่สุด
ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ปีนี้ Toyota Gazoo Racing Thailand จัดขึ้นในรูปแบบเฟสติวัล เพื่อให้ทุกท่านได้สัมผัสความสนุกสนาน ทั้งการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ One Make Race โดยเราจะมีรถเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 60 คัน เริ่มจาก One Make Race ทั้งหมด 4 รุ่น ได้แก่ Yaris Ativ Lady One Make Race/ Yaris One Make Race/Hilux Revo One Make Race และ Corolla Altis GR Sport One Make Race ที่ยังเปิดรับสมัครอยู่ และยังมอบข้อเสนอพิเศษ สำหรับลูกค้าที่เคยผ่านโครงการ Toyota Gazoo Racing Academy จะได้รับส่วนลด 10 % ของค่าสมัครการแข่งขันอีกด้วย หากผู้ที่ชื่นชอบ และรักในกีฬามอเตอร์สปอร์ท สามารถสมัครแข่งขันได้ภายใน 31 พฤษภาคมนี้ ผ่านทาง Facebook : ToyotaGazooRacingThailand ซึ่งในปีนี้ มิยา ป๊ายปาย และปังปอนด์ ก็ยังอยู่แข่งขัน One Make Race พร้อมสร้างความสนุก และความตื่นเต้น เหมือนเช่นเคย
และสำหรับผู้ที่รักการตกแต่งรถ ให้ดูโดดเด่น และเท่ยิ่งขึ้น เราได้ร่วมมือกับพันธมิตรชิ้นส่วนตกแต่งรถยนต์ชื่อดังระดับประ เทศ กับชุดอุปกรณ์ตกแต่งทางเลือก Associated Accessories Product หรือ AAP อาทิ ชุดตกแต่งรอบคัน GR Part จากบริษัท ทีซีดี เอเชีย จำกัด และล้ออัลลอยจากแบรนด์ Lenso
ส่วนกิจกรรมความบันเทิงในปีนี้ นอกจากความเข้มข้นในสนามแข่งแล้ว แฟนๆ มอเตอร์สปอร์ทจะได้พบกับกิจกรรมจัดเต็มทั้งไลฟ์สไตล์ ความบันเทิงต่างๆ อาทิ คอนเสิร์ทรอคสุดมัน จากวงไทรทศมิตร, คู่ดูโอ ป๊อบ ปองกูล และโอ๊ต ปราโมทย์, สาวน้อยเสียงหวาน น้องแอลลี ที่จังหวัดภูเก็ต และเชียงใหม่ พิเศษ ! ปีนี้เรามีกิจกรรมใหม่ GR Community ที่จะเชิญลูกค้า GR Supra, GR 86, GR Corolla และ GR Yaris เข้าร่วมชมการแข่งขัน พร้อมพบกับ Car Guru อย่าง เบียร์ ใบหยก และยังมีกิจ กรรม Meet and Greet กับอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง พร้อมชมโชว์สมรรถนะรถ Toyota สุดมันได้ ในกิจกรรม Car Performance Show ทั้งรถดริฟท์ รถสมรรถนะสูงตระกูล GR และ GR Sport
“สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณ การกีฬาแห่งประเทศไทย ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์/Yokoha ma/PTT Station/Modellista โดย TCD Asia/Lenso/Arto/Singha Corporation และสื่อมวลชนทุกท่าน ที่ร่วมสนับสนุนกิจ กรรม Toyota Gazoo Racing Thailand มาโดยตลอด”
สัมผัสความสนุกสนานเร้าใจของ “Toyota Gazoo RacingThailand 2025” ทั้ง 4 จังหวัด 5 สนาม ทั่วประเทศ
- สนามที่ 1 วันที่ 5-6 กรกฎาคม จ. ชลบุรี
- สนามที่ 2 วันที่ 16-17 สิงหาคม จ. ภูเก็ต
- สนามที่ 3 และ 4 วันที่ 13-14 กันยายน จ. บุรีรัมย์
- สนามที่ 5 (สนามสุดท้าย) วันที่ 15-16 พฤศจิกายน จ. เชียงใหม่
.................................................................................................................................
Tyreplus เปิดตัวสัญลักษณ์ EV Ready
Tyreplus รุกเปิดตัวสัญลักษณ์ EV Ready ตอบรับแนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า หรือ “รถอีวี” ในไทยที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ศูนย์บริการ Tyreplus ที่ผ่านการรับรองด้วยสัญลักษณ์ดังกล่าวพร้อมสร้างความปลอดภัย และความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ขับขี่รถอีวีด้วยพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นเพื่อให้มีความรู้ความชำนาญในการบริการรถอีวีระดับมืออาชีพ ทั้งการวินิจฉัยปัญหา การดูแลซ่อมบำรุง และการให้คำแนะนำต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยสำหรับดูแลซ่อมบำรุงรถอีวีโดยเฉพาะอย่างครบครัน ปัจจุบัน ศูนย์บริการ Tyreplus 115 แห่ง จากทั้งหมด 168 แห่งทั่วประเทศ หรือคิดเป็นสัดส่วน 68 % ได้รับสัญลักษณ์ EV Ready ที่แสดงความพร้อมในการให้บริการรถวีอีแล้ว โดย Tyreplus ตั้งเป้าผลักดันให้ศูนย์บริการทุกแห่งทั่วประเทศได้รับสัญลักษณ์ดังกล่าวภายในปี 2569
การมอบสัญลักษณ์ EV Ready ให้แก่เครือข่ายศูนย์บริการ Tyreplus ทั่วประเทศไม่เพียงตอกย้ำจุดยืนของ Tyreplus ในการให้บริการคุณภาพเพื่อความปลอดภัย และความสบายใจของผู้ขับขี่ แต่ยังเป็นหนึ่งในโครงการล่าสุดที่มุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากโครงการริเริ่มอื่นๆ ขององค์กรที่มีเป้าหมายในลักษณะเดียวกัน อาทิ การติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่เครือข่ายสาขาเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และลดการปล่อยแกสคาร์บอน ตลอดจนการบริหารจัดการยางรถยนต์ที่หมดอายุใช้งาน และน้ำมันเครื่องใช้แล้วเพื่อนำมารีไซเคิล และเปลี่ยนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอีกครั้ง
ทั้งนี้ สัญลักษณ์ EV Ready เป็นเสมือนประกาศนียบัตรรับรองว่าศูนย์บริการ Tyreplus ดังกล่าวให้บริการรถอีวีระดับมืออาชีพโดยพนักงานที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่ Tyreplus พัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาแรงงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นนำต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์นนทบุรี เขตเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิท ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ดอยสะเก็ด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง, วิทยาลัยเทคนิคตรัง ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถวินิจฉัยปัญหา ดูแลซ่อมบำรุง และให้คำแนะนำต่างๆ ได้อย่างแม่นยำและเหมาะสม อีกทั้งยังมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย และครบครันสำหรับดูแลซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้า หรือ “รถอีวี” ซึ่งมีคุณลักษณะเฉพาะต่างจากรถยนต์แบบดั้งเดิม
บริการสำหรับรถอีวีซึ่งศูนย์บริการ Tyreplus ที่มีสัญลักษณ์ EV Ready นำเสนอได้แก่
บริการด้านยาง อาทิ เปลี่ยนยาง ซ่อมยาง สลับยาง ตั้งศูนย์ และถ่วงล้อ เนื่องจากการติดตั้งยางที่เหมาะสมให้แก่รถอีวีซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า และมีแรงบิดสูงกว่ารถยนต์ทั่วไป จะช่วยให้ขับขี่ได้อย่างเต็มสมรรถนะ, ขับได้ไกลกว่า/การชาร์จแบทเตอรี 1 ครั้ง และขับได้ระยะทางมากขึ้นโดยไม่ต้องเปลี่ยนยางบ่อย ทั้งยังมอบประสบการณ์ขับขี่ที่เงียบสบายเหนือกว่า อีกทั้งการสลับยาง หรือถ่วงล้อแต่ละครั้งยังต้องใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อตั้งค่าเซนเซอร์จับแรงดันลมยาง (TPMS) ในรถอีวีให้ตรงกับตำ แหน่งล้อโดยช่างผู้ชำนาญ
บริการระบบช่วงล่าง ครอบคลุมการซ่อมบำรุง และเปลี่ยนอะไหล่ต่างๆ อาทิ ชอคอับ, สปริงชอคอับ, เบ้าชอคอับ, ลูกหมากแรค, ยางกันฝุ่นแรค, ลูกหมากปีกนก และบูชต่างๆ เพื่อให้การขับขี่มีความนุ่มนวลสูงสุด
บริการระบบเบรค อาทิ เปลี่ยนผ้าเบรค และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค ทั้งนี้ ระบบเบรคของรถอีวีซึ่งใช้ไฟฟ้าควบคุมมีความซับซ้อนการในการตรวจสอบ และบำรุงรักษา จึงต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ทันสมัยและช่างที่มีทักษะในการใช้เครื่องมือดังกล่าว เพื่อประสิทธิภาพการเบรค และความปลอดภัยสูงสุดของผู้ใช้รถ
บริการระบบส่งกำลัง อาทิ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะที่เหมาะสมสำหรับรถอีวีแต่ละรุ่น, เปลี่ยนเพลาขับ ซีล และยางกันฝุ่นเพลาขับ รวมถึงเปลี่ยนลูกปืนล้อหน้า และล้อหลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ ช่วยลดภาระยาง และยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
บริการเกี่ยวกับแบทเตอรี 12 โวลท์ อาทิ ตรวจเชคสุขภาพของแบทเตอรี และเปลี่ยนแบทเตอรี โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ แบทเตอรีเฉพาะ ทั้งยังมีแบทเตอรีแบรนด์ชั้นนำพร้อมรองรับรถอีวีแต่ละคันแบบตรงรุ่น
บริการระบบแอร์ อาทิ ล้างแอร์แ ละเปลี่ยนกรองแอร์ โดยมีผลิตภัณฑ์กรองแอร์จากแบรนด์พันธมิตรชั้นนำให้เลือกหลากหลาย ทั้งแบบมาตรฐาน และแบบคาร์บอนที่มีคุณสมบัติพิเศษช่วยดักจับฝุ่น PM2.5 และแบคทีเรีย เพื่ออากาศสะอาดภายในห้องโดยสารและสุขภาพที่ดี
บริการระบบระบายความร้อน อาทิ เปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็นตามระยะที่เหมาะสมสำหรับรถอีวีแต่ละรุ่น โดยมีน้ำยาหล่อเย็นสูตรเฉพาะสำหรับรถอีวีจากแบรนด์พันธมิตรชั้นนำให้เลือกใช้ เพื่อการระบายความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะช่วยให้แบทเตอรีทำงานได้อย่างปลอดภัย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
