สังคมรถโบราณ(formula)
งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 42 “ความสุขที่หวนคืน-THE RETURN OF HAPPINESS”
สมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ จัด “งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 42” ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่หวนคืน-THE RETURN OF HAPPINESS” อวดโฉมรถหายากนับ 100 คัน พร้อมกิจกรรมมากมาย ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน ที่ผ่านมาพิธีเปิดงาน ได้รับเกียรติจาก เชิดชัย สนั่นศรีสาคร รองอธิบดีฝ่ายบริหาร กรมการขนส่งทางบก เป็นประธาน ร่วมด้วย ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ นายกสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย, รัตนา อนันทนุพงศ์ ผู้อำนวยการด้านการตลาด ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ และสื่อมวลชนจำนวนมาก ภายในงานจัดแบ่งเป็น 2 โซน คือ โซนรถเข้าประกวด แบ่งเป็น ประเภทรถรุ่นบรรพบุรุษ (รถที่ผลิตจนถึงปี 1904), ประเภทรถรุ่นผ่านศึก (ปี 1905-1918), ประเภทรถโบราณ (ปี 1919–1930), ประเภทรถก่อนสงคราม (ปี 1931-1945), ประเภทรถหลังสงคราม (ปี 1946–1960), ประเภทรถคลาสสิค (ปี 1961-1970), ประเภทรถคลาสสิคร่วมสมัย (ปี 1971-ปัจจุบัน-30 ปี), ประเภทรถจำลอง, รถดัดแปลง และรถประดิษฐ์พิเศษ, ประเภทรถ โฟล์คสวาเกน, ประเภทรถ แจกวาร์ และเดมเลอร์, ประเภทรถ มีนี และประเภทรถอเมริกัน รางวัลยอดเยี่ยมอีก 3 รางวัล ได้แก่ รางวัลรถบูรณะใหม่ยอดเยี่ยม, รางวัลงานสียอดเยี่ยม และรถที่มีคะแนนรวมสูงสุด อีกโซนจะเป็นรถจัดแสดง คือ ไม่ร่วมประกวด แต่นำมาอวดโฉมให้เห็นถึงความงดงาม โดยรถจะจัดแสดงอยู่ทั่วบริเวณชั้น G ของ สเปลล์ หลักเกณฑ์การให้คะแนนของคณะกรรมการ พิจารณาทั้งด้านความสวยงาม และการดูแลรักษาสภาพเดิม ไม่ว่าจะเป็น สีรถ ยาง เบาะ เครื่องยนต์ ฯลฯ รวมถึงพิจารณาคุณค่าของตัวรถด้วย เช่น บแรนด์ ปีที่ผลิต ความหายาก และสภาพดั้งเดิม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมถ่ายรูปคู่กับรถโบราณ รักคันไหน ชอบคันไหน เดินเล็งไว้ แล้วเรียกช่างภาพประจำงาน ถ่ายคู่กับรถในแอคชันเท่ๆ แล้วรอรับรูปกลับบ้านไปใส่กรอบสวยๆ ได้เลย แต่ถ้าไม่อยากเสียเงิน ก็ไปเก็บภาพประทับใจกับตู้ถ่ายภาพดิจิทอล 3D ที่ทันสมัย (INTERACTIVE PHOTO VINTAGE) เป็นการถ่ายภาพสุดแนว พร้อมแชร์ให้เพื่อนในโลกออนไลน์ได้เห็นทันที บริเวณ ZPOTILIGHT ชั้น G สเปลล์ อีกทั้งยังมีโซนของที่ระลึกมากมาย อาทิ รถโมเดลขนาดเล็กให้เลือกซื้อไปสะสม หรือเป็นของฝาก ส่วนนักสะสมแสตมป์ สมาคมฯ นำสแตมป์ภาพรถโบราณมาจำหน่าย ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้จริงอีกด้วย ส่วนหนอนหนังสือ ในงานมีหนังสือเกี่ยวกับรถโบราณจากต่างประเทศ ให้เลือกซื้อมากมาย ส่วนบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด นำแสตมป์รุ่นล่่าสุดมาให้นักสะสมหาซื้อด้วยเช่นกัน ช่วงเย็นของทุกวัน พร้อมเพลิดเพลินไปกับเสียงเพลงย้อนยุค บรรเลงโดยวงดนตรีในตำนาน อาทิ THE LONG RIDER COUNTRY MUSIC, คีตะเสวี, THE CLASS REPLAY, COLD SHOT คณะเรา (หมูตาวันและเพื่อน) และ THE YOUNGSTERS เชิดชัย สนั่นศรีสาคร รองอธิบดีฝ่ายบริหาร กรมการขนส่งทางบก (ที่ 3 จากซ้าย) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ร่วมด้วย ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ นายกสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย (ที่ 4 จากซ้าย), รัตนา อนันทนุพงศ์ ผู้อำนวยการด้านการตลาด ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต (ที่ 3 จากขวา) พร้อมด้วย วิรุฬห์ ปริวุฒิพงศ์ อุปนายกสมาคมฯ (ซ้ายสุด) อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการสมาคมฯ (ที่ 2 จากซ้าย) อดิศักดิ์ บางโม ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายกิจกรรมการตลาด ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค (ขวาสุด) และสิริพร ใจสะอาด ผู้อำนวยการสายงานโฆษณาและลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) มาซากิ ชิมิสุ ผู้แทนของสมาพันธ์ยานยนต์โบราณสากล (Federation Internationale des Vehicules Anciens : FIVA) ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าเยี่ยมชม “งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 42” ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และ ZPELL โดย ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ นายกสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย และกรรมการบริหารสมาคมฯ ให้การต้อนรับ
งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 42 ได้รับการสนับสนุนจาก
*บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด *บริษัท อมร เพรสทีจ จำกัด • บริษัท โคเรีย มอเตอร์ เซลส์ จำกัด *บริษัท โซล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด *บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด *บริษัท ดูคาทิสติ จำกัด • บริษัท เจเนอร์รัล ออโต้ ซัพพลาย จำกัด *บริษัท ไทยยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด • บริษัท วัชรธุรกิจเซ็นเตอร์ จำกัด *บริษัท บาเซโลนา มอเตอร์ จำกัด • บริษัท เมกไกวส์ (ไทยแลนด์) จำกัด *บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) *บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) *บริษัท สยามไวเนอรี เทรดดิ้งพลัส จำกัด *บริษัท บุญรอด เทรดดิ้ง จำกัด *จี๊ดสตอรีแคเทอริง *บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัดรางวัลชนะเลิศประเภทต่างๆ
ประเภทรถโบราณ (ปี 1919–1930)
ออสติน เซเวน ปี 1929 ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ประเภทรถก่อนสงคราม (ปี 1931-1945)
เอมจี ทีเอ ปี 1936 บางกอก รัษฐปานะประเภทรถหลังสงคราม (ปี 1946–1960)
โพร์เช 356 เอ ปี 1958 สุรพันธ์ จรรยงพันธ์ประเภทรถจำลอง
โพร์เช 356 สปีดสเตอร์ ปี 1958 อัครพัจน์ ตั้งตรงจิตรประเภทรถดัดแปลง
บิวอิค ทรัค ปี 1950 อิทธิพร พยัคฆันตรประเภทรถประดิษฐ์พิเศษ
โอเพล “ดอคเตอร์ คาร์” ปี 1909 TON HILLEBRANDประเภทรถ แจกวาร์ และเดมเลอร์
แจกวาร์ เอกซ์เจ 6 แอล ปี 1975 วีระชัย ศรีวงศ์ทองรถที่มีคะแนนรวมสูงสุด
เมร์เซเดส-เบนซ์ 600 ลีมูซีน ปี 1966 วีระชัย ศรีวงศ์ทองเจ้าของรถที่มีความพยายามยอดเยี่ยม
เชฟโรเลต์ ทรัค ปี 1947 อัษฎาวุธ พุ่มประยูรประเภทรถคลาสสิค
เมร์เซเดส-เบนซ์ 600 ลีมูซีน ปี 1966 วีระชัย ศรีวงศ์ทองประเภทรถคลาสสิคร่วมสมัย (ปี 1974–ปัจจุบัน-30 ปี)
เดมเลอร์ คูเป ปี 1977 ณภัสป์ชัย น้อยเพิ่มพูลประเภทรถ มีนี
ออสติน มีนี ปี 1960 เจริญ เลิศอัครธรประเภทรถ โฟล์คสวาเกน
โฟล์คสวาเกน ที 1 แคมเพอร์ เวสต์ฟาเลีย ปี 1967 พรสถิตย์ นฤนาถวานิชรางวัลงานสียอดเยี่ยม
เชฟโรเลต์ คอร์เวทท์ ปี 1980 DEAN GILIARDรางวัลราชินีแห่งความสง่างาม
(CONCOURS D’ELEGANCE) ประไพศรี ปภัสร์พงษ์ผลการประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 42
ประเภทรถรุ่นบรรพบุรุษ (รถที่ผลิตจนถึงปี 1904)
ไม่มีรถเข้าประกวดประเภทรถรุ่นผ่านศึก (ปี 1905-1918)
ไม่มีรถเข้าประกวดประเภทรถโบราณ (ปี 1919–1930)
รางวัลที่ 1 ออสติน เซเวน ปี 1929 ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ รางวัลที่ 2 ออสติน เซเวน ซาลูน ปี 1933 วิรุฬห์ ปริวุฒิพงศ์ รางวัลที่ 3 ออสติน เซเวน ปี 1929 วิรุฬห์ ปริวุฒิพงศ์ประเภทรถก่อนสงคราม (ปี 1931-1945)
รางวัลที่ 1 เอมจี ทีเอ ปี 1936 บางกอก รัษฐปานะ รางวัลที่ 2 ออสติน เซเวน (โอเพน โรด ทัวเรอร์) ปี 1936 นารา รัษฐปานะ รางวัลที่ 3 ออสติน บิก 8 ปี 1937 วิรุฬห์ ปริวุฒิพงษ์ประเภทรถหลังสงคราม (ปี 1946–1960)
รางวัลที่ 1 โพร์เช 356 เอ ปี 1958 สุรพันธ์ จรรยงพันธ์ รางวัลที่ 2 เมร์เซเดส-เบนซ์ 190 ปี 1958 กันธิชา ฉิมศิริ รางวัลที่ 3 บีเอมดับเบิลยู 503 คูเป ปี 1956 ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ประเภทรถคลาสสิค (ปี 1961-1970)
รางวัลที่ 1 เมร์เซเดส-เบนซ์ ลีมูซีน ปี 1966 วีระชัย ศรีวงศ์ทอง รางวัลที่ 2 เมร์เซเดส-เบนซ์ 230 เอสแอล ปาโกดา ปี 1967 รังษี เวคะวนิชย์ รางวัลที่ 3 โวลโว 122 เอส ปี 1967 พิพัฒน์พล น้อยบุญสุกกุลประเภทรถคลาสสิคร่วมสมัย (ปี 1971-ปัจจุบัน-30 ปี)
รางวัลที่ 1 เดมเลอร์ คูเป ปี 1977ณภัสป์ชัย น้อยเพิ่มพูล รางวัลที่ 2 ซีตรอง จีเอส 1220 ปี 1977 ณภัสป์ชัย น้อยเพิ่มพูล รางวัลที่ 3 เฟียต เอกซ์1/9 ปี 1980 ลภน โมกขะสมิตประเภทรถจำลอง, รถดัดแปลง และรถประดิษฐ์พิเศษ
รถจำลอง โพร์เช 356 สปีดสเตอร์ ปี 1958 อัครพัจน์ ตั้งตรงจิตร รถดัดแปลง บิวอิค ทรัค ปี 1950 อิทธิพร พยัคฆันตร รถประดิษฐ์พิเศษ โอเพล “ดอคเตอร์ คาร์” ปี 1909 TON HILLEBRANDประเภทรถ โฟล์คสวาเกน
รางวัลที่ 1 โฟล์คสวาเกน ที 1 แคมเพอร์ เวสต์ฟาเลีย ปี 1967 พรสถิตย์ นฤนาถวานิช รางวัลที่ 2 โฟล์คสวาเกน คาร์มันน์ กีอา ปี 1965 วงศ์ศิริ จายนียโยธินประเภทรถ แจกวาร์ และเดมเลอร์
รางวัลที่ 1 แจกวาร์ เอกซ์เจ 6 แอล ปี 1975 วีระชัย ศรีวงศ์ทอง รางวัลที่ 2 เดมเลอร์ ดับเบิล ซิกซ์ ปี 1974 ณวรา จันทรัตน์ รางวัลที่ 3 เเจกวาร์ เอกซ์เจซี ปี 1977 ฟ้าสาง ปริวุฒิพงศ์ประเภทรถ มีนี
รางวัลที่ 1 ออสติน มีนี ปี 1960 เจริญ เลิศอัครธร รางวัลที่ 2 ออสติน มีนี ปี 1959 ภุชชงค์ วงษ์โต รางวัลที่ 3 มอร์ริส มีนี ไมเนอร์ ปี 1963 สุรศักดิ์ กลมเกลียวรถบูรณะใหม่ยอดเยี่ยม
เมร์เซเดส-เบนซ์ 190 ปี 1958 กันธิชา ฉิมศิริรถที่มีคะแนนรวมสูงสุด
เมร์เซเดส-เบนซ์ 600 ลีมูซีน ปี 1966 วีระชัย ศรีวงศ์ทองรางวัลงานสียอดเยี่ยม
เชฟโรเลต์ คอร์เวทท์ ปี 1980 DEAN GILIARDเจ้าของรถที่มีความพยายามยอดเยี่ยม
เชฟโรเลต์ ทรัค ปี 1947 อัษฎาวุธ พุ่มประยูรประเภทรถอเมริกัน
ไม่มีรถได้รับรางวัลรถสภาพเดิมยอดเยี่ยม
ไม่มีรถได้รับรางวัลรางวัลราชินีแห่งความสง่างาม (CONCOURS D’ELEGANCE)
ประไพศรี ปภัสร์พงษ์ABOUT THE AUTHOR
ปาร์จารีย์ ทัศนชลีจิระโชติ
ภาพโดย : ฝ่ายภาพนิตยสาร 399 ฉบับเดือน สิงหาคม ปี 2561
คอลัมน์ Online : สังคมรถโบราณ(formula)