รายงาน(formula)
อย่าปล่อยให้รถคุณเป็น เจ้าสาวที่กลัวฝน !
การใช้รถใน “หน้าฝน” สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญนอกเหนือจากการขับขี่อย่างระมัดระวัง คือ การดูแลอุปกรณ์ส่วนควบคุมของรถให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนนช่วงฝนฟ้าคะนอง
ยาง สำคัญที่ดอก และลมยาง
ดอกยาง
หากรถวิ่งด้วยความเร็วคงที่ 100 กม./ชม. ดอกยางจะรีดน้ำได้เฉลี่ยราว 10-15 ลิตร/วินาที ร่องยิ่งลึก ยิ่งรีดน้ำได้ดี ช่วงหน้าฝนนี้ ความลึกของดอกยาง ไม่ควรต่ำกว่า 4 มิลลิเมตร (ความลึกดอกยางใหม่ประมาณ 8–9 มิลลิเมตร) และดอกยางที่รีดน้ำได้ดีต้องมีร่องบริเวณแก้มยางเป็นลูกศรชี้ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้รีดน้ำออกได้เร็วขึ้น ช่วยควบคุมการทรงตัว และทิศทางของรถสลับยาง
ต้องสลับยางทุกๆ 1-2 หมื่นกิโลเมตร เพราะยางรถยนต์แต่ละเส้นจะสึกหรอไม่เท่ากัน โดยเฉพาะยางคู่หน้าจะสึกหรอเร็วกว่าล้อคู่หลังเสมอ เนื่องจากต้องทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนทิศทางระหว่างขับ ดังนั้น เพื่อให้ยางคู่หน้ารีดน้ำได้ดีที่สุดจึงจำเป็นต้องสลับยางตามคู่มือกำหนด เช่น นำยางล้อคู่หน้าสลับกับยางล้อคู่หลัง (เฉพาะรถที่มีขนาดล้อ และยางเท่ากัน) เพื่อให้ดอกยางของทุกล้อสึกเท่าเทียมกัน และอย่าลืมเชคลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนลุยฝนใบปัดน้ำฝน กวาดนํ้าได้เกลี้ยง
ใบปัดเสื่อมสภาพ
ยางปัดน้ำฝนที่เสื่อมสภาพจะมีรอยฉีกขาด เนื้อยางแข็งกรอบ ไม่สามารถกวาดน้ำบนกระจกได้หมด หลังปัดกระจกจะเกิดรอยขุ่นมัว มีละอองน้ำเกาะ แถมยังเกิดเสียงดังเวลาปัด รวมถึงมีอาการกระตุกเนื่องจากการเสียดสีระหว่างยางปัดกับกระจกเลือกใบปัดนํ้าฝน
ใบปัดน้ำฝนที่ดีต้องผลิตจากเนื้อยางคุณภาพ มีความคงทน และแนบสนิทไปกับกระจก ขนาดตรงกับรุ่นรถ ไม่เล็ก หรือใหญ่จนเกินไป ถ้าเป็นไปได้เลือกโครงปัดที่ทำมาจากโลหะ เพราะจะช่วยให้รีดน้ำจากกระจกได้ดีดูแลใบปัดง่ายนิดเดียว
พยายามจอดรถในร่มเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด เพื่อป้องกันยางแข็งกรอบ และเสื่อมสภาพ รวมถึงหมั่นทำความสะอาดยางปัดน้ำฝนอยู่เสมอ ด้วยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดยางของใบปัด อย่าใช้ผงซักฟอกทำความสะอาด เพราะจะทำให้ยางปัดน้ำฝนเสื่อมสภาพเร็วยางปัดน้ำฝนซื้อที่ไหนก็ได้
เราจะพบเห็นพ่อค้า แม่ค้า ตั้งแผง หรือจอดรถขายยางใบปัดน้ำฝนตามสองข้างทางบ่อยๆ คำถาม คือ เราสามารถซื้อยางใบปัดจากร้านริมถนนมาใช้แทนของเก่าได้หรือไม่ คำตอบ คือ “ได้” เพราะสินค้าที่เขาเอามาขายจะมีราคาที่ถูกกว่า และพอใช้ได้ แต่จะเหมาะสำหรับการใช้ชั่วคราว หรือในยามฉุกเฉินเท่านั้นน้ำฉีดกระจก
เติมน้ำฉีดกระจกให้เต็มอยู่เสมอโดยใช้น้ำเปล่าก็เพียงพอ ถ้าต้องการประสิทธิภาพการทำความสะอาดที่ดีขึ้น จะผสมน้ำยาล้างรถด้วยก็ได้เนื่องจากน้ำยา ล้างรถเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับทำความสะอาดผิวรถ และกระจกรถอยู่แล้ว ไม่ส่งผลทำให้ตัวรถเสียหายไฟต้องติดทุกดวง
ไฟทุกดวงต้องใช้ได้
เมื่อฝนตกหนักจนมองเห็นสิ่งรอบตัวไม่ชัดเจน ไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณต่างๆ จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยทั้งกับตัวเรา และเพื่อนร่วมทาง หน้าฝนจึงต้องตรวจสอบไฟหน้าทั้งสูง และต่ำ ไฟหรี่ ไฟเลี้ยว ไฟท้าย ไฟถอยหลัง และไฟส่องป้ายทะเบียน ให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพฝนตกหนักห้ามเปิดไฟสูง
ทิศทางแสงของไฟหน้าเป็นสิ่งสำคัญ บางคนเห็นว่าฝนตกหนักมาก มองไม่เห็นทางข้างหน้าจึงเปิดไฟสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะแสงจะไปเข้าตาคนขับรถที่สวนมาจนพร่ามัว ฉะนั้น เปิดแค่ไฟต่ำก็พอสำหรับการขับขี่ในช่วงที่ฝนตกหนัก ที่สำคัญไฟต่ำจะช่วยให้เห็นพื้นถนนชัดกว่าไฟสูงห้ามเปิดไฟฉุกเฉิน
สิ่งที่ต้องย้ำกันทุกหน้าฝน คือ “ห้ามเปิดไฟฉุกเฉินวิ่งขณะฝนตก” หลายคนอาจคิดว่า การเปิดไฟฉุกเฉินจะช่วยให้คันอื่นเห็นรถตัวเองง่ายขึ้น แต่ในความเป็นจริง การเปิดไฟฉุกเฉินวิ่งท่ามกลางสายฝน จะทำให้รถคันอื่นไม่สามารถรู้ได้เลยว่า รถของคุณจะเปลี่ยนเลน หรือจะเลี้ยวตอนไหน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้น แค่เปิดไฟหน้าเพื่อเพิ่มทัศนวิสัย และให้รถคันอื่นมองเห็นรถคุณง่ายขึ้นก็เพียงพอแล้วไฟตัดหมอกช่วยได้
ไฟตัดหมอกมีประโยชน์เมื่อฝนตกหนักจนมองไม่เห็นทาง ช่วยให้คนขับเห็นขอบถนนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่แสงไฟตัดหมอกมีความสว่างค่อนข้างสูง หากเปิดในเวลาปกติก็อาจไปแยงตาคนขับรถคันอื่น ดังนั้น หากเป็นช่วงที่ฝนตกปรอยๆ ยังพอมองเห็นไฟท้ายรถคันหน้าอยู่ในระยะ 50-100 เมตร แนะนำว่าเปิดเพียงไฟต่ำ แต่ถ้าฝนตกหนัก จนมองไม่เห็นทาง ให้เปิดไฟตัดหมอกช่วยด้วยเทคนิคเอาตัวรอด เมื่อขับลุยฝน
เว้นระยะจากคันหน้าให้มากขึ้น
สภาพถนนที่ลื่น ทำให้ต้องใช้ระยะเบรคเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ฉะนั้น ต้องใช้ความเร็วให้เหมาะสม หรือลดระดับความเร็วลงมาจากที่ขับปกติ พร้อมกับเว้นระยะห่างคันหน้าประมาณ 10-15 เมตร หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะสามารถหยุดรถได้ทัน อีกทั้ง การทิ้งระยะห่างจากคันหน้าจะสามารถทำให้เรา เตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้เสมอไม่ขับลุยแอ่งนํ้า
การขับรถผ่านแอ่งน้ำขังด้วยความเร็วสูง จะทำให้รถ “เหินน้ำ” อาจมีการทำให้ล้อหมุนลอยอยู่บนน้ำ และเกิดการลื่นไถล วิธีแก้ไข ถอนคันเร่งช้าๆ เพื่อลดความเร็ว จับพวงมาลัยให้มั่นคง จนกว่าการทรงตัวจะกลับมาเหมือนเดิม ดังนั้น ต้องชะลอความเร็วก่อนที่จะผ่านแอ่งน้ำ และขณะข้ามแอ่งน้ำไม่ ควรเหยียบคันเร่ง หรือเบรค เพราะ อาจทำให้รถเสียการควบคุมอย่าเบรคกะทันหัน
รถยนต์สมัยใหม่ มักติดตั้งระบบป้องกันล้อลอค หรือเอบีเอส ซึ่งช่วยให้สามารถบังคับทิศทางของพวงมาลัยได้ และใช้ระยะเบรคสั้นลง แต่ถ้าไม่มีระบบเบรค เอบี-เอส การเบรคแรงๆ บนถนนลื่น ล้อจะลอคจนรถปัดเป๋ถึงขั้นหมุนคว้าง ดังนั้น ต้องค่อยๆ ถอนคันเร่ง และแตะเบรคเบาๆ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการเบรคกะทันหัน และเผื่อระยะจากคันหน้าให้มากกว่าปกติเสี่ยงนักก็พักจอด
หากเจอฝนตกหนักมาก จนไม่สามารถมองเห็นทัศนวิสัยข้างหน้าได้ชัดเจนในระยะ 10 เมตร สิ่งที่ผู้ขับควรปฏิบัติ คือ หาที่จอดที่ปลอดภัย เช่น ในปั๊มน้ำมัน หรือในจุดที่มีแสงสว่าง รอจนฝนเบาลงแล้วค่อยเดินทางต่อ เพราะสภาพเส้นทางที่พื้นถนนเจิ่งนํ้า และมีความลื่นสูง บวกกับทัศนวิสัยที่เเย่นั้น อาจทำให้พลาดพลั้งจนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้พกสเปรย์ครอบจักรวาล ติดรถ
ถ้าเป็นรถเก่าควรตรวจเชคเครื่องยนต์ให้พร้อมก่อนลุยฝน โดยเชคจุดต่อสายไฟ และอุปกรณ์ที่อาจเกิดความเสียหายจากความ ชื้นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ หรือฉีดสเปรย์ครอบจักรวาลบริเวณที่มีความเสี่ยงเสมอ เช่น คอยล์จุดระเบิด จานจ่าย สายหัวเทียน และกล่องอีเลคทรอนิคส์ รวมถึงยังสามารถขจัด และป้องกันสนิม ด้วยการใช้งานแบบสารพัดประโยชน์ทำอย่างไร เมื่อต้องขับลุยนํ้าลึก ?
สังเกตระดับนํ้า จากรถคันหน้า
การขับรถลุยน้ำ สิ่งแรกที่ต้องรู้ คือ “ระดับความลึกของน้ำ” สังเกตง่ายๆ จากรถคันหน้า ที่มีความสูงใกล้เคียงกัน หากระดับน้ำสูงถึงชายล่างขอบประตู ก็ไม่ต้องลุยต่อ เพราะน้ำจะเข้ารถได้ แม้ว่าเครื่องยนต์จะยังไม่ดับก็ตาม (ถ้าระดับน้ำยังไม่ถึงกรองอากาศ) โดยให้เปลี่ยนเส้นทาง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ให้หาพลาสติค หรือผ้ายาง มาปิดตรงบริเวณกระจังหน้ารถ เพื่อป้องกันไม่ให้คลื่นน้ำเข้ามาในห้องเครื่องขับช้าๆ ปิดแอร์ ลดกระจก
หากประเมินแล้วว่า ลุยผ่านไปได้ ให้ปิดแอร์ ลดกระจกเล็กน้อย เพราะเมื่อเปิดแอร์ พัดลมระบายความร้อนระบบแอร์จะทำงาน ทำให้ใบพัดอาจปั่นไปโดนน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง ถ้าโดนระบบไฟ และเข้ากรองอากาศ เครื่องยนต์อาจดับได้ อย่าเหยียบคลัทช์ค้างไว้เพื่อเลี้ยงรอบเครื่องยนต์ให้สูง เพราะจะทำให้คลัทช์ลื่น ให้ใช้เกียร์ต่ำสุด และรักษาความเร็วอย่างสม่ำเสมอเสียหายแน่ ถ้านํ้าเข้า
หลังจากลุยน้ำ (ลึก) จะเกิดความเสียหายตามมาอย่างเงียบๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กจะเกิดสนิม และผุกร่อนเร็วกว่าปกติ เช่น เหล็กตัวถังรถที่อยู่ด้านใน (พ่นกันสนิมไม่ถึง) ส่วนควบของรถที่เป็นเหล็ก รวมถึงนอทต่างๆ นอกจากนี้ น้ำอาจเข้าตามท่อยางที่เสื่อมสภาพ อาทิ ยางหุ้มเพลาขับ เมื่อน้ำเข้าไปผสมกับจาระบี ชิ้นส่วนภายในจะขึ้นสนิม ทำให้เสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วขับรถก็ถูกฟ้าผ่าได้
“ฟ้าผ่า” เกิดจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกจากก้อนเมฆฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่ เมฆฝนที่ว่านี้ประกอบด้วยฐานเมฆ (สูงจากพื้นประมาณ 2 กม.) และยอดเมฆ (สูงจากพื้นประมาณ 20 กม.) ภายในมีการไหลเวียนกระแสอากาศอย่างรวดเร็ว และรุนแรง ทำให้หยดน้ำ และก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้าขึ้น ประจุบวกมักอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบจะอยู่บริเวณฐานเมฆ ซึ่งประจุลบที่ฐานเมฆนี่เอง เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งของต่างๆ ที่อยู่บนพื้นดิน หรือผืนน้ำ ซึ่งรถของเราก็อยู่ในความเสี่ยงนี้ด้วย งานวิจัยของสถาบันระดับสูงยืนยันว่า สถานการณ์แบบนี้ แม้จะเป็นตัวนำไฟฟ้าชั้นเยี่ยมอย่างทองคำ หรือตัวนำไฟฟ้าชั้นแย่อย่างต้นไม้ ก็ไม่ส่งผลให้ฟ้าผ่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากกว่ากัน มันขึ้นอยู่กับ “ระยะทาง” พูดง่ายๆ คือ ถ้าบริเวณนั้นมีความต่างศักย์สูงพอใกล้กับสิ่งใดก็จะผ่าสิ่งนั้น ดังนั้น รถของเราจึงมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก แม้ตัวถังรถของเราจะถูกสร้างจากโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้ามีโครงปิดล้อมคล้าย “กรงฟาราเดย์” (FARADAY CAGE) ที่สามารถป้องกันสนามไฟฟ้าได้ แต่สายฟ้าที่ฟาดลงมานั้นมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเป็นแสนโวลท์ และรถของเราก็ไม่ใช่ กรงฟาราเดย์ ที่สมบูรณ์แบบตามทฤษฎี ดังนั้น ถ้าอยู่กลางแจ้งที่มีฝนฟ้าคะนอง (ฟ้าแลบ ฟ้าร้องอย่างรุนแรง) โดยในระยะใกล้เคียงไม่มีรถคันอื่นมาช่วยรับความเสี่ยง เราต้องปฏิบัติตัวเป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัย โดยการหยุดขับรถ หาที่จอด ดับเครื่องยนต์ ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่าง ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด เปิดไว้อย่างเดียว คือ ไฟฉุกเฉิน (ถ้าเห็นสมควร) ห้ามเอามือ หรืออวัยวะส่วนใดไปสัมผัสกับโลหะ แม้แต่ที่ไม่ใช่โลหะที่ต่อเชื่อมกับตัวถังรถ พวงมาลัยก็ห้ามจับ ให้กุมมือหนึ่งมือใดด้วยมืออีกข้างไว้ตลอด แล้วนั่งรออย่างสงบจนกว่าสถานการณ์ฟ้าแลบฟ้าร้องจะเบาบางลงรถไฟฟ้า และไฮบริด ขับลุยนํ้าได้ไหม ?
ผู้ใช้รถยนต์ไฮบริด และรถไฟฟ้าล้วนไม่ต้องกังวลว่าไฟฟ้าแรงสูงจากแบทเตอรีจะดูดคนในรถหรือไม่ ถ้ารถต้องลุยน้ำสูงๆ หรือหากรถจมน้ำ เพราะรถไฮบริดส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าแรงสูง ทำอันตรายต่อผู้โดยสารอยู่หลายจุด เช่น สวิทช์ตัดไฟอัตโนมัติที่ด้านหน้ารถเมื่อเกิดการชน, เซนเซอร์ที่ถุงลมนิรภัย, BREAKER ตัดไฟ และวงจรตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยเมื่อรถยนต์ไฮบริด และรถไฟฟ้าจมน้ำในระดับเหนือแบทเตอรี และวงจรป้องกันต่างๆ ระบบเซนเซอร์จะสั่งการให้ตัดกระแสไฟฟ้าทันทีABOUT THE AUTHOR
อภินันท์ อุ่นทินกร
นิตยสาร 399 ฉบับเดือน สิงหาคม ปี 2563
คอลัมน์ Online : รายงาน(formula)