รายงาน(formula)
เปิดขั้นตอนออนไลน์กับกรมการขนส่งทางบก เลี่ยง COVID ชีวิตง่ายขึ้น
สถานการณ์ COVID-19 ทำให้สำนักงานขนส่งฯ หลายแห่งต้องปิดบริการ ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ต้องการทำใบขับขี่ ต่ออายุใบอนุญาต หรือชำระภาษีรถ กรมการขนส่งทางบกจึงได้เปิดบริการผ่านระบบออนไลน์ ไม่ต้องเดินทาง ใช้เวลาไม่นาน อยู่ที่ไหนก็ทำได้ โดยเราได้รวบรวมขั้นตอน และวิธีทำด้วยตัวเองง่ายๆ มาฝากต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ปี 2564 สิ่งที่ต้องมีในการต่อภาษีรถยนต์แบบออนไลน์ คือ 1. รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ต้องตรวจสภาพรถ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ให้ เรียบร้อย 2. พรบ. ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หากยังไม่มี สามารถซื้อได้ในเวบไซท์ของกรมการขนส่งทางบก www.eservice.dlt.go.th ขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ (ใส่ภาพประกอบตามขั้นตอน) 1. เข้าเวบไซท์ E-SERVICE ของกรมการขนส่งทางบก จากนั้นกด “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่” (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยยื่นชำระภาษีออนไลน์ ต้องสมัครสมาชิกก่อน) 2. หน้าลงทะเบียน กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ สามารถเลือกให้เป็นที่อยู่เดียวกับที่อยู่ปัจจุบันได้ จากนั้นกด “บันทึก” 3. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถที่ต้องการต่อภาษี ประเภทรถ, จังหวัด และเลขทะเบียนรถ จากนั้นกด “ลงทะเบียนรถ” (ถ้าเป็นรถเก่าจะต้องผ่านการตรวจสภาพรถจาก ตรอ.) เมื่อกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถเสร็จแล้วกด “ยื่นภาษี” 4. ระบุข้อมูลรถให้ครบ แล้วกด “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร” 5. ระบุที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารให้ถูกต้อง จากนั้นกด “เลือกวิธีการชำระเงิน” 6. เลือกวิธีการชำระเงิน โดยจะมี 3 วิธี 7. ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน” 8. ถ้าผู้ใช้งานเลือกวิธีชำระแบบพิมพ์ใบชำระหนี้ พโรแกรมจะแสดงหน้าจอดังรูป โดยจะต้องพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์ หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ เมื่อชำระเงินแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และกรมธรรม์ พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ (สำหรับป้ายภาษีติดหน้ารถ กรมการขนส่งทางบกจะส่งมาทาง EMS ใช้เวลาประมาณ 3-5 วันทำการ) 1. ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก ต้องมีบัญชีเงินฝาก และเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เนทกับธนาคาร ซึ่งจะต้องเสียค่าธรรม เนียมธนาคาร 20 บาท/รายการ ธนาคารที่ร่วมโครงการได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารยูโอบี 2. ชำระเงินโดยบัตรเครดิท/บัตรเดบิท จะต้องเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิท 2 % รวม VAT 7 % ของค่าธรรมเนียม ธนาคารที่ร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา 3. เคาน์เตอร์บริการ ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถ แล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์, ตู้ ATM ที่ร่วมโครงการ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารซีไอเอมบี ไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารไทยพาณิชย์, บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด, ทรู มันนี เซอร์วิส และเทสโก โลตัส ตรวจสอบสถานะ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” โดยกรมการขนส่งทางบกแจ้งไว้ว่ารวมระยะเวลาตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ ประมาณ 5-10 วันทำการ รวมถึงสามารถชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วันก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1584 อัตราค่าบริการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ปี 2564 - ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท - ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก) รายการละ 20 บาท - ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิท) 2 % และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ของยอดเงินทั้งหมด รถแบบไหนต่อภาษีออนไลน์ได้ ? กรมการขนส่งทางบก ประกาศว่า รถที่ต่อภาษีออนไลน์ได้ มีดังนี้ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก สามารถยื่นชำระภาษีรถประจำปีผ่านช่องทางออนไลน์ได้ แต่รถเก่าจะต้องตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อน นอกจากนี้ รถติดตั้งแกส และรถที่ค้างชำระภาษีรถเกิน 3 ปี ยังไม่สามารถชำระภาษีผ่านระบบออนไลน์ได้ ชำระภาษีรถผ่านแอพพลิเคชัน DLT VEHICLE TAX 1. ลงทะเบียน 2. บันทึกเลขบัตรประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคลผู้ครอบครองรถ 3. บันทึกข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัย 4. เลือกรับเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี ทางไปรษณีย์ทั่วไทย หรือตู้ KIOSK เฉพาะในกรุงเทพมหานคร 5. เลือกกดชำระค่าภาษีรถได้ 2 แบบ 1. เลือกชำระภาษีผ่าน SCB ESY APPLICATION หรือ 2. เลือกให้ระบบสร้าง QR CODE เพื่อนำไปชำระเงินในช่องทางอื่นๆ ขั้นตอนอบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ 1. เข้าไปที่เวบไซท์ www.dlt-elearning.com ระบบการอบรมต่ออายุ จากนั้นเลือกหัวข้อ “ลงทะเบียน” 2. กรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เช่น หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ และระบุวัน เดือน ปีเกิด ของผู้อบรม 3. เลือกการอบรม ตามใบอนุญาตขับรถที่ต้องการต่ออายุ - ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล (รถยนต์ รถยนต์ 3 ล้อ รถจักรยานยนต์) ระยะเวลาอบรม 3 ชม. - ใบอนุญาตขับรถขนส่ง ระยะเวลาอบรม 3 ชม. - ใบอนุญาตขับรถสาธารณะ (รถยนต์สาธารณะ รถยนต์ 3 ล้อสาธารณะ รถจักรยานยนต์สาธารณะ) ระยะเวลาอบรม 3 ชม. 4. เลือกหัวข้อ “แบบทดสอบก่อนอบรม” จากนั้นตอบคำถามแบบทดสอบก่อนอบรม หลังจากนั้นต้องชมวีดีโออบรม 5. ชมวีดีโอการอบรมการขับรถให้จบ ความยาว 1 ชม. /2 ชม./3 ชม. แล้วแต่กรณี จะไม่สามารถข้ามได้ 6. เมื่อดูวีดีโอจบแล้ว ทำแบบทดสอบถามหลังอบรม หากตอบผิด ระบบจะแสดงคำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นให้กด “ตกลง” (เป็นแบบสอบถามเพื่อวัดความรู้จากการชมวีดีโอ หากตอบผิด ไม่มีผลต่อการไม่ผ่านอบรม) 7. ระบบจะแสดงผล “ผ่านการอบรม” ให้บันทึกหน้าจอไว้เป็นหลักฐาน จากนั้นจึงจองคิวเพื่อเข้ารับบริการต่ออายุใบอนุญาตขับรถที่สำนักงานขนส่งต่อไป ** ผลการอบรมออนไลน์มีอายุ 6 เดือน นับจากวันผ่านการอบรม เพื่อความสะดวก แนะนำให้จองคิวผ่านแอพ DLT SMART QUEUE 5 วิธีจองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ เอกสารที่ต้องใช้สำหรับต่อใบขับขี่ ประกอบด้วย 1. บัตรประชาชนตัวจริง 2. ใบอนุญาตขับรถ (ถ้ามี) 3. ใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 1 เดือน (ใช้ในกรณีขาดต่ออายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปีเท่านั้น) โดยวิธีจองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ มีดังนี้ 1. เข้าแอพพลิเคชัน DLT SMART QUEUE 2. เลือกลงทะเบียนหรือเข้าสู่ระบบ (กรณีเคยลงทะเบียนไว้แล้ว) ถ้ายัง ให้กรอกข้อมูล และกดยืนยันการลงทะเบียน 3. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว เลือกจังหวัด, สำนักงานที่สะดวก และเลือกประเภทการต่อใบขับขี่ ต่ออายุรถส่วนบุคคล 5 ปี เป็น 5 ปี (สามารถเลือก 1. อบรมที่สำนักงาน 2. อบรมที่สำนักงานกรณีขาดต่อเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี 3. อบรมผ่าน E-LEARNING 4. เปลี่ยนชนิดชั่วคราว 2 ปี เป็น 5 ปี ที่สิ้นอายุไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น) 4. จองคิวโดยระบุ วันและเวลาที่สะดวกจะเข้าใช้บริการ (ต้องจองล่วงหน้าก่อน 1 วัน) 5. เมื่อจองเสร็จจะแสดงหน้า "ประวัติการจอง" ประกอบด้วยรหัสการจอง, วันและเวลาที่จอง, ประเภทงานที่เข้ารับการติดต่อ และสถานที่เข้ารับบริการ โดยสามารถกดยกเลิกได้ หากต้องการเปลี่ยนวันจอง รวมถึงพิมพ์เอกสารการจองเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ งดต่อใบขับขี่ทั่วประเทศไม่มีกำหนด หลังจากมีประกาศเพิ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) รวมทั้งสิ้น 29 จังหวัด กรมการขนส่งทางบก ได้ประกาศงดทำใบขับขี่ทั่วประเทศ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เอกสารประกอบคำขอรับ หรือขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ เช่น ใบรับรองแพทย์, หนังสือรับรองการผ่านการอบรมและทดสอบ, คำขอที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จใน 90 วัน, ผลผ่านการอบรมผ่าน E-LEARNING ที่สิ้นอายุตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2564 อนุโลมให้ใช้เป็นเอกสารประกอบการดำเนินการได้จนถึง 31 ธันวาคม 2564 ส่วนใบขับขี่และใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ ที่หมดอายุ สามารถใช้แสดงต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เช่นกัน ด้านบริการชำระภาษีรถประจำปี สำหรับสำนักงานขนส่ง 29 จังหวัด เปิดให้บริการเฉพาะต่อภาษีแบบดไรฟ ทรู (DRIVE THRU FOR TAX) ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณสำนักงานขนส่งจังหวัด หรือชำระภาษีรถประจำปีผ่านช่องทางออนไลน์ เวบไซท์ https://eservice.dlt.go.th/และแอพพลิเคชัน DLT VEHICLE TAX เท่านั้น ส่วนจังหวัดอื่นสามารถให้บริการได้ทุกช่องทางตามปกติ ยึดตามประกาศจังหวัดเป็นสำคัญ กรมการขนส่งทางบก ประสานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขยายเวลาผ่อนปรนให้ใช้ใบขับขี่ที่หมดอายุแล้ว ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 รวมถึงผ่อนปรนให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล สามารถขับรถรับจ้างขนส่งสินค้า ได้แก่ รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กก. ที่จดทะเบียนตามกฎหมาย (รถพิคอัพป้ายเหลือง) ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เช่นเดียวกัน
ABOUT THE AUTHOR
กองบรรณาธิการบทความและสารคดี formula
ภาพโดย : ฝ่ายภาพ,อินเทอร์เนทนิตยสาร 399 ฉบับเดือน ตุลาคม ปี 2564
คอลัมน์ Online : รายงาน(formula)