ย้อนอดีตรถยนต์ไทย (formula)
รถยนต์สมัยน้ำมันถูก
เมื่อ 25 กว่าปีมาแล้ว เมืองไทยมีรถยนต์อยู่หลายยี่ห้อหลายประเทศทั่วโลกในบรรดาที่สร้างรถยนต์ และมีตัวแทนจำหน่ายอยู่ในประเทศ
จากหนังสือคู่มือประจำรถ 2517 ของราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีรายชื่อรถยนต์ต่างๆ ที่เข้ามาขายในเมืองไทยเวลานั้นคือ
แจกวาร์ เอกซ์ เจ 6 4.2
4 สูบ โอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 4,235 ซีซี 173 แรงม้า ที่ 4,750 รตน. เกียร์ซินโครเมช 4 จังหวะ ระบบห้ามล้อแบบ จานทั้ง 4 ล้อ ระบบรองรับแบบอิสระทั้ง 4 ล้อ
ซิมคา 1301 สเปเชียล
4 สูบ 1,290 ซีซี 70 แรงม้าที่ 5,400 รตน. แรงบิดสูงสุด 9.6 กก.-ม. ที่ 2,600 รตน. เกียร์ ซินโครเมช 4 จังหวะ ห้ามล้อ มีหม้อลมเบรคช่วย พร้อมด้วยลิ้นควบคุมความดันเบรคที่ล้อหลัง ความเร็วสูงสุด 148 กม./ชม.
ซีตรอง เอสเอม
6 สูบ 2,965 ซีซี 180 แรงม้า ที่ 6,000 รตน. เกียร์ มีทั้งแบบธรรมดา และอัตโนมัติ ห้ามล้อแบบจานทั้ง 4 ล้อ ระบบกันกระเทือนอิสระทั้ง 4 ล้อ ทำงานด้วยไฮดรอลิค
เชฟโรเลต์ คาพรีศ
เครื่องเทอร์โบ-ไฟร์ 400-2 วี 8 สูบ เกียร์อัตโนมัติ 3 จังหวะ เทอร์โบไฮดรา-แมทิค ระบบห้ามล้อ ด้านหน้าแบบจานหลังแบบดุม
ซาบ 99
เครื่องยนต์แบบ 4 สูบ ขับเคลื่อนด้วยล้อคู่หน้า 1,854 ซีซี 86 แรงม้า ที่ 3,000 รตน. เกียร์กระปุก 4 จังหวะระบบห้ามล้อ แบบจานทั้ง 4 ล้อ มีระบบเซอร์โวช่วย ความเร็วสูงสุด 155 กม./ชม.
ทไรอัมพ์ 2000 มาร์ทู
6 สูบ คาร์บูเรเตอร์คู่ 1,998 ซีซี 84 แรงม้าที่ 5,000 รตน. เกียร์ ระบบซินโครเมช ขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง ระบบห้ามล้อแบบจานทั้ง 4 ล้อ มีระบบเซอร์โวช่วย ความสิ้นเปลืองน้ำมัน 1 ลิตร/9 กม. ความเร็วสูงสุด 220 กม./ชม.
บีเอมดับเบิลยู 520
4 สูบ 1,990 ซีซี 115 แรงม้า (ดิน) ที่ 5,800 รตน. แรงบิดสูงสุด 16.1 กก.-ม. ที่ 3,700 รตน. เกียร์ระบบซินโครเมช 4 จังหวะ ล้อหน้าแบบจาน ล้อหลังแบบดุม ความเร็วสูงสุด 173 กม./ชม. ความสิ้นเปลืองน้ำมัน 1ลิตร/10.7 กม.
ดัทสัน 160 เจ
4 สูบ 1,595 ซีซี 100 แรงม้า ที่ 6,000 รตน. เกียร์กระปุก และธรรมดา ระบบห้ามล้อหน้าจานเบรค ล้อหลังดุมเบรค ความเร็วสูงสุด 140 กม./ชม.
โตโยตา คารินา 1600
4 สูบ แบบโอเวอร์เฮดวาล์ว 1,600 ซีซี 102 แรงม้า ที่ 6,000 รตน. แรงบิดสูงสุด 14.0 กก.-ม. เกียร์ธรรมดา 4 จังหวะ แบบซินโครเมชทั้งหมด ระบบห้ามล้อไฮดรอลิค แบบอิสระทั้ง 4 ล้อ ความสิ้นเปลืองน้ำมัน 1 ลิตร/12 กม. ความเร็วสูงสุด 175 กม./ชม.
เปอโฌต์ 504
4 สูบ 1,971 ซีซี 110 แรงม้า ที่ 5,600 รตน. เกียร์อัตโนมัติ ระบบกันกระเทือนแบบอิสระทั้ง 4 ล้อ ห้ามล้อแบบจานทั้งหมด ความเร็วสูงสุด 173 กม./ชม. ความสิ้นเปลืองน้ำมัน 1 ลิตร/10.5 กม.
ฟอร์ด เอสคอร์ท
4 สูบ 1,300 ซีซี 61.5 แรงม้าที่ 5,000 รตน. แรงบิดสูงสุด 10.4 กก.-ม. ที่ 2,500 รตน. เกียร์เดินหน้า 4 จังหวะ ซินโครเมช ความเร็วสูงสุด 157 กม./ชม. อัตราเร่ง 0-60 กม./ชม. ใน 14 วินาที
ฟอร์ด คอร์ทินา จีเอกซ์แอล
2,000 ซีซี โอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 115 แรงม้า ที่ 6,000 รตน. แรงบิดสูงสุด 17.7 กก.-ม. เกียร์ระบบซินโครเมช เดินหน้า 4 จังหวะ เบรคระบบเพาเวอร์แบบจานทั้ง 4 ล้อ ความเร็วสูงสุด 168 กม./ชม.
ฟอร์ด แฟร์มอนท์
เครื่องยนต์ 258 ซีไอดี โอเวอร์เฮดไฮดรอลิควาล์ว 155 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 29.0 กก.-ม. ความเร็วสูงสุด 170กม./ชม.
สโกดา เอส 100 แอล
4 สูบ 988 ซีซี 48 แรงม้า ที่ 4,750 รตน. แรงบิดสูงสุด 7.5 กก.-ม. ที่ 3,000 รตน. เกียร์ซินโครเมช 4 จังหวะ ห้ามล้อ หน้าแบบจาน หลังแบบดุม ความเร็วสูงสุด 125 กม./ชม. ความสิ้นเปลืองน้ำมัน 1 ลิตร/9 กม.
ออสติน แมกซี 1750
4 สูบ ทวินโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 1,748 ซีซี 84 แรงม้าที่ 5,000 รตน. เกียร์ซินโครเมช 5 จังหวะ ห้ามล้อ ระบบไฮดรอลิค ล้อหน้าแบบจาน ล้อหลังแบบดุม ความสิ้นเปลืองน้ำมัน 1 ลิตร/9 กม.
เฟียต 132 เอส
4 สูบแนวนอน ทวินโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 1,756 ซีซี 105 แรงม้า ที่ 6,000 รตน. เกียร์ซินโครเมช 5 จังหวะ ระบบห้ามล้อแบบจานทั้ง 4 ล้อ มีระบบเซอร์โว แยกเป็น 2 วงจร ความเร็วสูงสุด 170 กม./ชม.
โฟล์คสวาเกน เค 70
4 สูบ 1,600 ซีซี 105 แรงม้า ที่ 5,500 รตน. แรงบิดสูงสุด 15.2 กก.-ม. ที่ 4,500 รตน. เกียร์ซินโครเมช 4 จังหวะ ระบบห้ามล้อ วงจรคู่พร้อมด้วยวงจรด้านหน้าเพิ่มเติมอีกหนึ่งวงจร ล้อหน้าแบบจาน ล้อหลังใช้ดุม ความเร็วสูงสุด 158 กม./ชม.
มาซดา อาร์เอกซ์ 4
เครื่องยนต์แบบโรตารี 2 โรเตอร์ 573 ซีซี x 2 แรงอัด 9.4 แรงบิดสูงสุด 16.5 กก.-ม. ที่ 4,000 รตน. เกียร์ซินโครเมชเดินหน้า 5 จังหวะ ระบบห้ามล้อด้านหน้าแบบจาน หลังแบบดุม ความเร็วสูงสุด 190 กม./ชม.
เมร์เซเดส-เบนซ์
6 สูบ แบบทวินโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 2,746 ซีซี 185 แรงม้า ที่ 6,000 รตน. เกียร์ธรรมดาหรือกระปุก 4-5 จังหวะ ระบบห้ามล้อแบบจานมีระบบเซอร์โวช่วย ความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม.
โรเวอร์ 3500
4 สูบ 3,500 ซีซี 145 แรงม้า ที่ 5,000 รตน. เกียร์กระปุก 4 จังหวะ ระบบห้ามล้อแบบจานทั้ง 4 ล้อ ใช้ระบบเซอร์โวช่วย ความเร็วสูงสุด 195 กม./ชม.
ลันชา เบตา
4 สูบ 1,756 ซีซี 110 แรงม้า ที่ 6,000 รตน. เกียร์กระปุก 5 จังหวะ ระบบห้ามล้อแบบจานทั้ง 4 ล้อ มีระบบเซอร์โวช่วย ความสิ้นเปลืองน้ำมัน 1 ลิตร/8.9 กม. ความเร็วสูงสุด 175 กม./ชม.
โวลโว 144
4 สูบ 2,000 ซีซี 118 แรงม้า ที่ 5,800 รตน. เกียร์อัตโนมัติ ระบบห้ามล้อแบบจานทั้ง 4 ล้อ วงจรสามเหลี่ยม ความเร็ว 180 กม./ชม.
แวเรียนท์ รีกัล
6 สูบ 4,015 ซีซี 165 แรงม้า เกียร์ซินโครเมช เดินหน้า 3 จังหวะ ระบบห้ามล้อ ด้านหน้าแบบจาน ด้านหลังแบบดุม มีระบบเซอร์โวช่วย ความเร็วสูงสุด 170 กม./ชม.
เอาดี 100 คูเป เอส
4 สูบ 1,871 ซีซี 112 แรงม้า ที่ 5,600 รตน. แรงบิดสูงสุด 16.3 กก.-ม. ที่ 3,500 รตน. เกียร์ซินโครเมช 4 จังหวะ ห้ามล้อ ด้านหน้าแบบจาน หลังแบบดุม ความเร็วสูงสุด 190 กม./ชม.
ฮิลล์แมน อเวนเจอร์
4 สูบ 1,500 ซีซี เกียร์ กระปุก 5 เกียร์ หรืออัตโนมัติ ห้ามล้อแบบจาน ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.
เรอโนลต์ 17
4 สูบ 1,565 ซีซี ที่ 102 แรงม้า 5,500 รตน. เกียร์ซินโครเมช 4 จังหวะ ระบบห้ามล้อ ด้านหน้าแบบจาน ด้านหลังแบบดุม ความสิ้นเปลืองน้ำมัน 1 ลิตร/9 กม. ความเร็วสูงสุด 168 กม./ชม.
โฮลเดน เบลมอนท์
6 สูบ แนวตรง 3,310 ซีซี 135 แรงม้า ที่ 4,400 รตน. แรงบิดสูงสุด 26.8 กก.-ม. ที่ 2,000 รตน. เกียร์ซินโครเมช 3 จังหวะ ระบบห้ามล้อ แยก 2 วงจร ทำงานด้วยไฮดรอลิคมีหม้อลมช่วย ความเร็วสูงสุด 150กม./ชม.
โฮลเดน พรีเมียร์
6 สูบ แนวตรง 3,310 ซีซี 135 แรงม้า ที่ 4,400 รตน. แรงบิดสูงสุด 26.8 กก.-ม. ที่ 2,000 รตน. เกียร์กระปุก เดินหน้า 4 จังหวะ ซินโครเมชทั้งหมด ระบบห้ามล้อด้านหน้าแบบจาน หลังแบบดุม ใช้ระบบเซอร์โวช่วย ความเร็วสูงสุด 160กม./ชม.
มิตซูบิชิ แลนเซอร์
4 สูบ 1,400 ซีซี 92 แรงม้า ที่ 6,300 รตน. เกียร์กระปุก 4 จังหวะ ระบบห้ามล้อ ด้านหน้าแบบจาน หลังแบบดุม
ความสิ้นเปลืองน้ำมัน 1 ลิตร/15 กม. ความเร็วสูงสุด 165 กม./ชม.
สมัยนั้นมีข้อน่าสังเกตก็คือ รถเล็กหรือรถขนาดกลางส่วนใหญ่เป็นรถที่มีกระจกหูช้าง สำหรับเปิดรับลมที่ประตูหน้าทั้งซ้ายและขวา ทั้งนี้ก็เนื่องจากไม่มีแอร์ติดมากับรถ ถ้าจะติดแอร์เองก็ต้องซื้อใส่ต่างหาก ซึ่งต่างกับปัจจุบันซึ่งบริษัทติดแอร์มากับตัวรถเสร็จ สมัยนั้นถ้าไม่ติดแอร์ เจ้าของรถบางคันก็ใช้ติดพัดลม ซึ่งก็มีราคาถูกกว่าแอร์ แต่คุณภาพไม่เย็นเท่าแอร์
ข้อดีที่ไม่มีแอร์ก็คือ เครื่องยนต์ไม่ทำงานหนักและไม่ต้องเสียค่าน้ำมันเพิ่มขึ้น
อีกประการหนึ่งก็คือ ในสมัยนั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้แอร์ เนื่องจากรถวิ่งตามท้องถนนได้ตลอดเวลา รถไม่ติดสามารถรับลมเย็นจากหูช้างและจากหน้าต่างรถได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันรถในท้องถนนมีมากขึ้นตามประชากรที่เพิ่มขึ้น รถที่วิ่งตามถนนในกรุงเทพ ฯ โดยเฉพาะตามชุมชนรถจึงติดกันมากในตอนเช้าและเย็น และบางถนนก็ติดแทบจะตลอดทั้งวันเลยทีเดียว ซึ่งถ้าไม่มีแอร์ ก็แทบจะทนความอบอ้าวในรถไม่ไหว
อนึ่ง ค่าน้ำมันรถในสมัยนั้น น้ำมันเบนซินซูเพอร์ราคาเพียงลิตรละ 2.10 บาท ส่วนน้ำมันโซลาราคาเพียง 1บาทเท่านั้น
ABOUT THE AUTHOR
เ
เทพชู ทับทอง
ภาพโดย : -นิตยสาร 399 ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2545
คอลัมน์ Online : ย้อนอดีตรถยนต์ไทย (formula)