ย้อนหลังไปประมาณ 30 ถึง 40 ปีก่อน ผู้ขับที่ถูกผู้ที่ขับสวนทางมา กะพริบไฟสูงเตือน จะจัดการปรับระดับแสงไฟหน้าให้ดีขึ้น ต่างจากผู้ใช้รถในปัจจุบัน ที่ไม่ค่อยใส่ใจกับความเดือดร้อนของผู้อื่น ถ้าเจอรถที่ขับสวนทางมา กะพริบไฟเตือน ว่าลำแสงมันเข้าตาเขาโดยตรงจนมองทางแทบไม่เห็น ก็จะเปิดไฟสูงใส่ทันที เพื่อบอกเป็นนัยว่า "นี่ไฟต่ำอยู่แล้วนะโว้ย" โดยไม่มีความคิดที่จะกลับไปปรับปรุงรถอย่างใดทั้งสิ้น
จากการได้พบปะกับผู้ใช้รถจำนวนมากในการทำงานของผม ผมค่อนข้างแปลกใจว่า มีผู้ที่ทราบหน้าที่ของดอกยางน้อยมาก บางคนเข้าใจว่ามีไว้กันลื่น และบางคนก็เข้าใจว่า ถ้าดอกยางยิ่งน้อย หรือยิ่งตื้น ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการระเบิด ที่จริงแล้วดอกยางทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวครับ คือ ช่วย "รีด" น้ำบนผิวถนน ให้ทะลักออกทางด้านข้าง ด้านหน้า และด้านหลังของหน้ายางส่วนที่กำลังสัมผัสกับผิวถนน เพราะการที่ล้อของเราสามารถส่งแรงขับเคลื่อน และแรงเบรคลงสู่ผิวถนนได้นั้น ต้องอาศัยแรงเสียดทานจากการกดสัมผัสกันระหว่างหน้ายางและผิวถนน เมื่อใดที่มีน้ำมาคั่นระหว่างผิวทั้งสอง ความสามารถนี้ก็จะหมดไปทันที นั่นหมานถึง หน้ายางของรถเรา จะไถลไปบนผิวน้ำ ทำนองเดียวกับสกีน้ำนั่นเองครับ ถ้าเราดูที่หน้ายางจะเห็นว่ามีส่วนที่เป็นก้อนยางกับส่วนที่เป็นร่อง ส่วนที่เป็นก้อนยางนี้ เรียกเป็นทางการว่าส่วนโพสิทีฟ (POSITIVE) หรือบวก ส่วนที่เป็นร่อง คือ ส่วนเนกาทีฟ (NEGATIVE) หรือลบ ยางที่รีดน้ำได้ดีจะมีส่วนร่องนี้ใหญ่ แต่ถ้าส่วนที่เป็นก้อนยางน้อย ยางก็จะสึกเร็ว และหยุ่นขณะเบรค เร่ง หรือเข้าโค้ง เราลองมาคำนวณแบบง่ายๆ ดูว่า หน้ายางของเราต้องรีดน้ำได้รวดเร็ว และมากมายขนาดไหนครับ สมมติว่าตอนฝนตกหนัก มีน้ำอยู่บนผิวถนน หนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หรือ 5 มม. หน้ายางของเรากว้าง 14 ซม. ถ้ารถของเราแล่นด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. ล้อของเราแต่ละล้อจะต้องรีดน้ำ ในอัตราเท่ากับ 0.5x14 ซม. เท่ากับ 7 ตารางเซนติเมตร เปลี่ยนหน่วยความเร็วจาก กม./ชม. เป็น ซม./วินาที ก็จะได้ความเร็ว 100x1,000x100 แล้วหารด้วย 60x60 จะได้ประมาณ 2,778 ซม./วินาที คูณด้วย 7 ตารางเซนติเมตร ก็จะเป็นน้ำที่ถูกหน้ายางรีดจากผิวถนนราวๆ 20,000 ซีซี/วินาที หรือ 20 ลิตร ในทุกๆ วินาที คิดเฉพาะส่วนที่ถูกเฉพาะก้อนยาง หรือส่วนโพสิทีฟ สมมติว่าคิดเป็น 75 % ของหน้ายาง เอา 20 คูณด้วย 0.75 ก็ยังคงมีอัตราสูงถึง 15 ลิตร/ทุกๆ วินาที ถ้ารีดได้ไม่เท่าอัตรานี้ (ในตัวอย่าง) ก็หมายความว่าล้อของเรา จะต้อง "เหินน้ำ" และรถของเราจะเสียการทรงตัวได้ ซึ่งอันตรายมากครับ
ไม่ได้เข้าข้างพวกเดียวกันนะครับ แต่เป็นเพราะงานแสดงรถยนต์ ที่กำลังจะมาถึงปลายปีนี้ ฝ่ายเราเป็นผู้จัดพอดีครับ ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นงานที่ให้ความตื่นเต้นเป็นพิเศษ เพราะความก้าวหน้าของการพัฒนารถไฟฟ้า ที่รุดหน้าไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในวงการของรถยนต์นั่ง โดยเฉพาะผลงานจากประเทศที่เป็น “น้องใหม่” และในเวลาเดียวกัน ก็เป็น “พี่เบิ้ม” ของวง การนี้ไปพร้อมกันด้วย เนื้อที่เหลืออยู่ไม่มากครับ ผมจึงขอฝากความเห็นสำ หรับเดือนนี้ ไว้เพียงเรื่องเดียวก่อน ซึ่งก็คือ ระยะเวลาของการรับประกันคุณภาพ เนื่องจากรถไฟฟ้าได้เปรียบรถที่ใช้เครื่องยนต์อยู่มากพอสมควร เพราะจำนวนชิ้นส่วนน้อยกว่าเป็นอย่างมาก เพื่อความเป็นธรรมต่อลูกค้า ระยะเวลาที่รับประกันคุณภาพ ก็ควรจะยาวนานกว่าพอสมควร เท่าที่ทราบในขณะนี้ ซึ่งผมยังไม่ได้สำรวจครบทุกบแรนด์นะครับ พบว่ามีบางรายกำ หนดไว้ที่ 8 ปี หรือ 200,000 กม. แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะครบก่อน ผมว่าเป็นค่าที่เหมาะสม แต่อย่ายึดถือเป็นมาตรฐานนะครับ รายไหนเพิ่มได้มาก กว่านี้ ก็ยิ่งเป็นเรื่องดีครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นเลข “สวย” หรือ “ลงตัว” และต้องไม่มีเงื่อนไขอื่นมาเป็นข้อแม้ประกอบด้วย ไม่ว่าเจ้าของรถจะเป็นผู้ครอบครองลำดับที่เท่าไรก็ตาม ต้องได้รับสิทธิเท่ากับเจ้าของแรกเสมอนะครับ
บทความแนะนำ