ผลทดสอบต่างแดน
จีพ แรงเลอร์ รูบิคอน
รูบิคอน ทเรล (RUBICON TRAIL) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นดินแดนเมกะแห่งผู้ที่คลั่งไคล้รถขับเคลื่อน
4 ล้อ รัฐหนึ่งในสหรัฐอมเริกา ที่คิดว่าครั้งหนึ่งในชีวิตต้องมาสัมผัสกับความโหดหินสุดๆ ของเส้นทางนี้
ให้ได้ และความเสียหายสามารถเกิดขึ้นได้กับรถทุกคัน แม้ว่าจะมีการเตรียมรถมาอย่างดีแล้วก็ตาม
จากความโหดของเส้นทาง จึงทำให้ค่าย จีพ ใช้เส้นทางนี้เป็นสนามทดสอบ ในการพิสูจน์ความสุดยอด
ของรถยนต์แต่ละรุ่น นับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา
การเดินทางมาของ รูบิคอน ทเรล ในครั้งนี้ คือ บทพิสูจน์ความสุดยอดของ จีพ อีกครั้งหนึ่ง
กับการเปิดตัว แรงเลอร์ (WRANGLER) ใหม่ โดยจัดทดสอบรถทั้งรุ่น 2 และ 4 ประตู จากแรกเห็น
พอคะเนด้วยสายตาว่า ขนาดใหญ่กว่าเดิมพอควร มีความกว้าง 1,872 มม. ความยาว 3,881 มม. ส่วนฐานล้อ และความกว้างฐานล้อเพิ่มขึ้นอีก 51 และ 89 มม. ตามลำดับ สำหรับรุ่น 4 ประตู อันลิมิเทด (UNLIMITED) ยาวขึ้น ด้วยฐานล้อ 2,946 มม. และความยาวตัวรถ 4,404 มม.
จีพ แรงเลอร์ ใหม่ แตกต่างไปจากรุ่นก่อน ภายนอก มีการย้ายชุดไฟเลี้ยวไปไว้ใต้โคมไฟหน้า
กระจังหน้าลาดเทมากขึ้น และแยกคนละชิ้นส่วนกับตัวถัง เพื่อความสะดวกในการสับเปลี่ยนชิ้นส่วน
หากมีความเสียหายเกิดขึ้น
กระจกหน้าทรงโค้ง ยังสามารถพับลงได้เหมือนเดิม โป่งล้อพลาสติคสามารถถอดเปลี่ยนได้ ประตูมีให้
เลือกทั้งแบบครึ่งบาน และเต็มบาน สามารถปลดออกได้เช่นกัน ชุดไฟสัญญาณท้ายถูกออกแบบให้มี
ความกลมกลืนเข้ากันกับด้านท้ายมากยิ่งขึ้น
แรงเลอร์ รูบิคอน มาพร้อมกับล้ออลูมิเนียมขนาด 17 นิ้ว และยางบีเอฟ กูดริช มัด เทอร์เรน ขนาด 32
นิ้ว และถ้าต้องการล้อขนาด 18 นิ้ว ก็มีให้เลือกอีกเช่นกัน
หลังคาก็มีให้เลือกทั้งหลังคาอ่อน และแข็ง สามารถถอดออกได้โดยใช้ผู้ช่วย 4 คน ทั้งยังเลือกถอดออก
เฉพาะข้างซ้าย หรือขวา ชิ้นหลังคาหน้า หรือหลัง ได้ทั้งนั้น ส่วนหลังคาแบบหลังคาอ่อน หรือ ซัน
ไรเดอร์ (SUN RIDER) สามารถเลือกเปิดได้เฉพาะด้านหน้าแบบซันรูฟก็ได้
ภายในห้องโดยสาร จะพบกับแผงหน้าปัดซึ่งออกแบบใหม่ ทรงย้อนยุค ผิดกับรุ่นเดิมอย่างเห็นได้ชัด
ภายในให้ความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น มีการเก็บเสียงดีขึ้น
แต่วัสดุยังต้องปรับปรุงคุณภาพอีกเล็กน้อย
เบาะหน้ากว้างขวาง สะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงสะโพก และไหล่ ส่วนเนื้อผ้าที่ใช้เป็นชนิดป้อง
กันการสะสมของฝุ่น และเชื้อโรค ที่สามารถปรับเลื่อนระดับความสูงได้ เพื่อทัศนวิสัยที่ดีขึ้น
ในรุ่น 2 ประตู สามารถรับผู้โดยสารได้เพียง 4 คน ส่วนรุ่น อันลิมิเทด สามารถพับเบาะหลังในสัดส่วน
60:40 ได้ ทั้งยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอีกมากมาย อาทิเช่น ระบบกระจกไฟฟ้า เซนทรัลลอค
รีโมทปลดลอค จอแสดงระบบนำทาง MP3 และวิทยุระบบดาวเทียม SIRIUS รวมไปถึงระบบความ
ปลอดภัยอย่างคานเหล็กนิรภัยด้านข้าง
ทั้ง 2 รุ่น มีเนื้อที่เลกรูมมากขึ้น โดยเฉพาะรุ่น 4 ประตูที่เน้นความสะดวกสบายของการเดินทางแบบ
ครอบครัว แต่ห้องเก็บสัมภาระหลังมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับการเดินทาง
รุ่น 2 ประตู สามารถพับพนักเบาะให้เนื้อที่บรรทุกเป็น 1.6 ลูกบาศก์เมตร และถ้าถอดเบาะออกจะได้
ปริมาตร 1.73 ลูกบาศก์เมตร ส่วนรุ่น อันลิมิเทด มีปริมาตรห้องเก็บสัมภาระ 1.31 และ 2.46
ลูกบาศก์เมตร เมื่อพับเบาะลงกับพื้น ที่พิเศษสำหรับ แรงเลอร์ ใหม่ คือ ช่องเก็บสัมภาระใต้พื้นห้องเก็บสัมภาระหลัง
ภายใต้ฝากระโปรง เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์เบนซิน วี 6 สูบ ขนาด 3.8 ลิตร ให้กำลังมากเป็น 205
แรงม้า ที่ 5,000 รตน. และแรงบิด 32.7 กก.-ม. ที่ 4,000 รตน. น้ำหนักตัวรถมากขึ้นเป็น 1,873 กก.
สำหรับรุ่นทอพ ส่วนรุ่น 4 ประตูหนักถึง 1,969 กก. ระบบเกียร์มีให้เลือกทั้งธรรมดา 6 จังหวะ และอัตโนมัติ 4 จังหวะ
ระบบจ่ายไอดีได้เปลี่ยนจากลิ้นปีกผีเสื้อระบบกลไก มาเป็นระบบควบคุมลิ้นปีกผีเสื้อด้วยระบบ
อีเลคทรอนิค ซึ่งมีผลให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพดีขึ้น สามารถลดอัตราสิ้นเปลืองลงมาอยู่ในระดับ
13.1/100 ลิตร/กม. สำหรับรุ่นเกียร์ธรรมดา และ 13.5/100 ลิตร/กม. สำหรับรุ่นเกียร์อัตโนมัติ
สามารถทำอัตราสิ้นเปลืองในเส้นทางการทดสอบ เส้นทางรอบทะเลสาบได้ระดับ 13.0/100 ลิตร /กม.
แต่ถ้าใช้เส้นทาง รูบิคอน ทเรล คงจะเปลืองมากกว่านี้แน่นอน
สำหรับ แรงเลอร์ สเปคยุโรป จะมีเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร ให้เลือก แต่ถ้าเป็นแถบออสเตรเลีย
น่าจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซล 2.8 ลิตร 4 สูบ คอมมอนเรล ให้กำลังสูงสุด 163 แรงม้า และมีแรงบิดสูงสุด 40.8 กก.-ม.
ส่วนผู้ที่ชอบการเดินทางพร้อมกับรถทเรเลอร์ ในรุ่น 2 ประตู สามารถลากจูงได้ถึง 900 กก. ส่วนรุ่น
อันลิมิเทด สามารถลากจูงได้ 1,600 กก. นอกจากนั้นยังมีออพชันให้เลือก คือ เฟืองท้ายอัตราทด 4.1/1
ขอลากทเรเลอร์ สายลาก และขอเกี่ยวหน้าอีก 2 จุด
แรงเลอร์ มีการเพิ่มความแข็งแกร่งให้เฟรม สามารถทนแรงบิดเพิ่มได้อีก 100 % และตัวถังอีก 50 %
ทำให้มีการควบคุมการขับขี่ที่ดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับรุ่นเดิม ทั้งเฟรม และระบบรองรับแบบคอยล์สปริง
FIVE-LINK SOLID-AXLE ได้มีการปรับรูปแบบ และระยะใหม่ มีผลให้สามารถเลื่อนถังน้ำมันไปที่กึ่งกลาง
ตัวรถมากขึ้น พวงมาลัยแบบลูกปืนหมุนวนได้รับการปรับปรุงให้แข็งแกร่ง และแม่นยำมากขึ้น
แรงเลอร์ ใหม่ทุกรุ่นมีการติดตั้งระบบดิฟเฟอเรนเชียล ลอค เพื่อทำงานร่วมกับระบบ ESP
ซึ่งประกอบด้วย ไฮดรอลิค เบรค ทแรคชัน คอนทโรล และอีเลคทรอนิค โรลล์ มิทิเกชัน
(ELECTRONIC ROLL MITIGATION) ที่สามารถเลือกระดับการทำงานได้แบบ FULL ON,
PARTIAL ON หรือ FULL OFF เพื่อความมัน และความเหมาะสมกับเส้นทางนั้นๆ
แรงเลอร์ ใหม่ สามารถผ่านอุปสรรคได้ดียิ่งขึ้น มีมุมปะทะ 44.4 องศา ส่วนมุมจาก 40.5 องศา ส่วน
ระยะห่างใต้ท้องรถของรุ่น 4 ประตู ทำได้น้อยกว่าเดิม คือ มีเพียง 20.8 องศา ซึ่งทำให้ต้องพลาดขึ้นไป
แขวนอยู่บนโขดหินถึง 2 ครั้ง แต่ก็สามารถถอยออกมาได้ ส่วนรุ่น 2 ประตู มีระยะห่างใต้ท้องรถ
25.5 องศา มุมปะทะ 44.3 องศา และมุมจาก 44.4 องศา โดยใช้ยาง LT255/75 R17
ซึ่งนับว่าดีกว่ารุ่นเดิม
ทั้ง 2 รุ่น ได้รับการติดตั้งชุดเฟืองท้าย DANA 44 เข้ากับชุดเพลาหน้า และหลังเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
และมีการปรับเพลาขับให้อยู่ในตำแหน่งเหนือเฟืองขับ ทำให้มีระยะห่างใต้ท้องด้านหน้ามากถึง 267
มม. และ 259 มม. ในด้านหลัง สำหรับชุดทรานสเฟอร์ เป็นรุ่น NV241 เป็นชนิด 2 จังหวะ โดยมีอัตราทดต่ำที่ 4.0:1
ส่วนรุ่นอื่นๆ ของ แรงเลอร์ ใช้ชุดทรานสเฟอร์ NV241 พาร์ทไทม์ 2 จังหวะ อัตราทดต่ำ 2.72:1
และมีเฟืองขับท้ายแบบลิมิเทด สลิพ เป็นออพชันให้เลือก
ก่อนออกสู่สนามทดสอบ เส้นทางซึ่งเป็นโขดหิน ลำธารเก่า มีสภาพสุดโหด
ทำให้ล้อต้องมีระยะเคลื่อนตัวมากขึ้น เพียงกดปุ่มปลดกันโคลง จะได้ระยะเคลื่อนตัวมากกว่า 200 มม. และเมื่อใช้ความเร็วเกิน 29 กม./ชม. เหล็กกันโคลงก็จะถูกลอคเข้าที่โดยอัตโนมัติ ส่วนระบบดิฟฟ์ลอคหน้า/หลัง ก็ควบคุมการทำงานจากสวิทช์ภายในห้องโดยสาร
ในเส้นทางทดสอบ แรงเลอร์ รุ่น 4 ประตู ความคล่องตัวเป็นรอง โดยเฉพาะการข้ามสิ่งกีดขวางที่ต้อง
แขวนบนโขดหินถึง 2 ครั้ง โชคดีที่สกิดพเลท สามารถป้องกันได้เป็นอย่างดี ส่วนตัวรถที่กว้างขึ้น
ทำให้รถทดสอบคันหนึ่งต้องเสียบังโคลนไป ส่วนคันอื่นๆ มีเพียงรอยขีดข่วนเล็กน้อย
จากการทดสอบพบว่ายางบีเอฟ กูดริช ให้การยึดเกาะพื้นผิวหินไม่ดีพอ การขับผ่านอุปสรรคที่ดีที่สุด
คือ การใช้ความเร็วต่ำ และเลือกไลน์ให้ดี จะช่วยลดการสูญเสียการยึดเกาะไปได้
ABOUT THE AUTHOR
อ
อกนิษฐ์ ทัพภะสุต
ภาพโดย : -นิตยสาร 417 ฉบับเดือน เมษายน ปี 2550
คอลัมน์ Online : ผลทดสอบต่างแดน