สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย มูลนิธิเมาไม่ขับ คณะกรรมการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ฯลฯ ร่วมกันออกมาตรการเข้มข้น เพื่อลดอุบัติเหตุบนถนนจากสาเหตุเมาแล้วขับมาตรการใหม่นี้ ผู้ขับขี่ที่ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน หากเป็นฝ่ายผิดและตรวจพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอลในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ (ข้อบังคับเดิมต้องเกิน 150 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์) ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจทุกประเภท ทั้งชั้น 1, 2, 2+, 3, 3+ จะไม่คุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย แต่หากผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอลในเลือดเกินกำหนด ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็น "ฝ่ายถูก" หรือไม่ได้เป็นต้นเหตุของความเสียหาย จะได้รับความคุ้มครองเหมือนเดิม ส่วนข้อหาเมาแล้วขับต้องรับโทษไปตามระเบียบ ผู้ประสบภัยหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย ยังคงได้รับความคุ้มครอง โดยบริษัทประกันภัยของรถคันที่เป็นฝ่ายผิดเป็นผู้รับผิดชอบ และจะไล่เบี้ยเรียกคืนค่าเสียหายจากผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับในภายหลัง (ยกเว้นในกรณีมีปริมาณแอลกอฮอลในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์) รวมถึงไม่กระทบหรือเกี่ยวข้องกับความคุ้มครองจากประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.) แต่อย่างใด มาตรการดังกล่าว สอดคล้องกับราชกิจจานุเบกษา ที่ประกาศเมื่อวันที่ 31 พค. 2560 ว่าถ้าตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอลผู้ขับขี่อายุ 20 ปีขึ้นไป ได้เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ (ปริมาณแอลกอฮอลเท่ากับกฎหมายเดิม) และอายุต่ำกว่า 20 ปี ได้เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ถือว่าเป็นผู้เมาแล้วขับ ซึ่งจะมีโทษดังนี้ – เมาแล้วขับ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับ 5,000-20,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาต – เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ จำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือ ปรับ 20,000-100,000 พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต – เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุกไมเกิน 2-6 ปี หรือ ปรับ 40,000-120,000 พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต – เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุกไม่เกิน 3-10 ปี หรือ ปรับ 65,000-200,000 พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ หรือเพิกถอนใบอนุญาต
บทความแนะนำ