เมาแล้วขับ เป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุช่วงเทศกาล วันนี้เรามาอัพเดทกฎหมายเมาแล้วขับ ปี 2567 กันสักหน่อย ว่าบทลงโทษมีอะไรบ้าง เพื่อการตั้งสติตลอดการขับขี่ และลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง และคนรอบข้าง
- เมาแล้วขับ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน (สำหรับผู้ที่ปริมาณแอลกอฮอลในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์)
** กรณีที่เมาแล้วขับ แล้วปฏิเสธการเป่า จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000-20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน
- เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ
จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
- เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส
จำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี
- เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที
- ชนกันธรรมดา ไม่มีคนบาดเจ็บ หรือคนตาย
ผิดฐานขับรถโดยประมาท หรือน่าหวาดเสียว ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
- ชนกันบาดเจ็บเล็กน้อย ผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ
มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ชนกันจนคู่กรณีบาดเจ็บสาหัส พิการ สูญเสียอวัยวะ หรือต้องรักษาตัวเกิน 20 วัน
ผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ชนกันจนคู่กรณีถึงแก่ความตาย ผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ชนแล้วหนี
มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ ยังมีโทษของการขับรถแล้วเปิดเพลงเสียงดังไปด้วย โดยสร้างความรำคาญแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ทำให้ผู้อื่นเสียสมาธิในการขับรถ โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(ข้อมูลจาก พรบ. จราจรทางบก 2522)
- แม้จะไม่ได้ขับขี่เอง แต่ดื่มแอลกอฮอลขณะโดยสารในรถ ก็มีความผิดตามกฎหมายเช่นกัน อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- ความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดในเขตเมืองจะอยู่ที่ 80 กม./ชม. นอกเมืองอยู่ที่ 90 กม./ชม. แต่อาจมีการอนุโลมให้สามารถใช้ความเร็วเกินกว่านั้นได้ ในถนนบางสาย หากฝ่าฝืนมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- จอดรถในที่ห้ามจอดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีความผิดตามกฎหมาย อัตราโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
- การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่โดยไม่ผิดกฎหมาย จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม เช่น หูฟังบลูทูธ สมอลล์ทอล์ค และต้องมีที่ยึดจับโทรศัพท์ เพื่อความปลอดภัย หากฝ่าฝืนมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- การขาดต่อภาษีประจำปี หากถูกเรียกตรวจจะถูกปรับทันที มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ขาดต่อ พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะมีอัตราโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
- นั่งท้ายกระบะเกิน 6 คน หรือ Space Cab เกิน 3 คน, ยืนโดยสาร หรือนั่งริมขอบกระบะ และขับรถเกิน 60 กม./ชม. มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
อ่านเพิ่ม : สงกรานต์ 2567 ทางด่วนฟรี เส้นทางไหน วันไหนบ้าง
: เชครถให้ชัวร์ ! เตรียมตัวให้พร้อม (ก่อนเดินทางไกล)
บทความแนะนำ