ผลการศึกษาทางวิชาการ ระบุว่า ความสามารถและความตั้งใจในการขับขี่จะลดลง หากยังมีอาการแฮงโอเวอร์ แม้ว่าจะไม่มีแอลกอฮอลอยู่ในร่างกายแล้วก็ตาม โดยผลการศึกษาระบุว่า อาการแฮงโอเวอร์ จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการขับขี่ของเราจากการศึกษาของนักวิชาการ ซึ่งมีรายงานออกมาถึง 11 ฉบับ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยบาธ (University of Bath) นำเสนอว่า “ความสามารถในการควบคุมยานพาหนะ ตามมาตรฐานของแต่ละบุคคล จะเปลี่ยนแปลงไป” หลังจากผ่านการ “ดื่มอย่างหนัก” แม้ว่าจะยังมีแอลกอฮอลอยู่ในร่างกาย หรือไม่มีแอลกอฮอลในร่างกายแล้วก็ตาม จากรายงานของ Dr. Sally Adams นักวิชาการอาวุโส บรรยายอาการแฮงโอเวอร์ไว้ว่าเป็น “อาการที่ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติงานประจำวันลดลง อาทิ การขับขี่ยานพาหนะ” ขณะที่ Craig Gunn ผู้ประพันธ์อาวุโส อธิบายอาการแฮงโอเวอร์ จะนำไปสู่ “ความสามารถที่ลดลง การมองเห็นที่ลดลง ความทรงจำก็ลดลง และลดความสามารถในการตอบโต้” โดยจากการศึกษาพบว่า ความสามารถในการตอบสนองจะลดลง 20 % หากยังมีอาการแฮงโอเวอร์ รายงานดังกล่าวมาจากการเก็บข้อมูลในหัวข้อ “อาการตกค้างของแอลกอฮอล” และ “ปฏิกิริยาวันรุ่งขึ้น” โดยเป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 770 ราย ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีเพียง 11 รายที่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทำการศึกษาต่อ เพราะกลุ่มตัวอย่างที่เหลือ “ไม่มีอาการตกค้าง” จากผลสรุปการศึกษา นักวิชาการพิจารณาว่า แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะมีการห้ามดื่มสุรา หรือของมึนเมา ในสถานที่ทำงาน “พนักงานสามารถตอบสนองได้ดี เมื่อพิจารณาถึงการระมัดระวังความปลอดภัยในการทำงาน แต่ขณะที่ยังมีองค์กรและบริษัทแทกซีที่ยังต้องการให้มีการพิจารณา หรือจัดหายาเพื่อรักษาอาการแฮงโอเวอร์ แต่ในกลุ่มตัวอย่างบางราย กลับไม่พบอาการแฮงโอเวอร์ จากการดื่มอย่างหนักในคืนก่อนหน้านั้นปัจจุบัน ข้อจำกัดในการตรวจสอบแอลกอฮอลสำหรับผู้ดื่มสุรา ในอังกฤษ, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ อยู่ที่ 80 มิลลิกรัม/ปริมาณเลือด 100 มิลลิลิตร แต่ในสกอทแลนด์เข้มงวดกว่า เหลือเพียง 50 มิลลิกรัม เท่านั้น โดยมีคำแนะนำว่า สำหรับผู้ที่ดื่มไวน์ 1 แก้ว ในปริมาณ 250 มิลลิลิตร จะใช้เวลา 3 ชม. ในการทำให้ไม่พบปริมาณแอลกอฮอลในเส้นเลือด แต่หากเป็นเบียร์ในปริมาณท่ี่เท่ากัน จะใช้เวลา 2 ชม. เท่านั้น