บริษัท นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าโครงการ Protege ปีที่ 5 มุ่งยกระดับวิชาชีพช่างพ่นซ่อมสีรถยนต์ ตั้งงบประมาณ 6 ล้านบาท สานต่อความร่วมมือกับภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อช่วยผลักดัน และผลิตช่างสีรถยนต์คุณภาพที่มีทักษะความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานสากลให้เพียงพอต่อความต้องการในตลาดอาชีพนี้ที่ยังขาดแคลน และสร้างหลักประกันด้านรายได้ที่มั่นคงในอาชีพที่เป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ
นพดล ศรีสินรุ่งเรือง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย) จำกัด หน่วยธุรกิจสีพ่นซ่อมรถยนต์ เผยว่า “แม้ว่าปัจจุบันหลายหน่วยงานจะมีการนำเทคโนโลยีมาแทนที่มนุษย์ แต่ในสายงานอาชีพที่ใช้ทักษะยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะวิชาชีพช่างพ่นซ่อมสีรถยนต์ที่ตลาดยังเปิดกว้าง และมีความต้องการแรงงานอีกกว่า 30,000 คน เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจยานยนต์ของไทย โครงการ “Protege” เป็นโครงการระยะยาวที่ นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย)ฯ ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 และให้ความสำคัญเทียบเท่าการพัฒนาเทคโนโลยีและสินค้า โดยตั้งเป้าจะผลิตช่างสีรถยนต์ให้เพียงพอต่อความต้องการในตลาดอาชีพนี้ที่ยังขาดแคลน โดยร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนให้การส่งเสริมองค์ความรู้ในหลากหลายกิจกรรมทั้งในระดับอาชีวศึกษา และบุคคลทั่วไปในสายอาชีพ โดยคาดหวังว่าจะพัฒนาช่างสีที่เป็นแรงงานเก่าให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญมากขึ้น ส่วนช่างสีรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดจะมีทักษะความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานสากล มีหลักประกันด้านรายได้ที่มั่นคงในสายอาชีพเพราะช่างสีรถยนต์จะได้รับอัตราค่าจ้างวันละประมาณ 500-1,000 บาท ตามระดับความชำนาญซึ่งสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งตลอด 4 ปีที่โครงการ Protege มีส่วนสนับสนุนและผลักดันอย่างจริงจัง ทำให้จากเดิมในปี 2558 ที่มีสถาบันที่เปิดสอนสาขาวิชางานตัวถังและสีรถยนต์เพียง 12 วิทยาลัย ปัจจุบันมีกว่า 60 วิทยาลัย ชี้ให้เห็นแนวโน้มการขยายตัวของกลุ่มงานอาชีพตัวถังและสีรถยนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ และสนองตอบนโยบายประเทศไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0”
การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ Protege ปีที่ 5 ของ นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย)ฯ ได้แก่
“นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย)ฯ ยินดีส่งผู้เชี่ยวชาญไปฝึกอบรมให้กับพนักงานในหน่วยงานที่แจ้งความประสงค์มา ถือเป็นการช่วยสนับสนุนการพัฒนาและส่งเสริมความรู้และทักษะวิชาชีพช่างพ่นซ่อมสีรถยนต์ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เนื่องจากอาชีพนี้หากมีใจรัก อดทนและพร้อมเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ระดับที่สูงขึ้นในฐานะช่างเทคนิคขั้นสูง ที่ปรึกษางานซ่อมตัวถังและสี หรือผู้ชำนาญงานพิเศษยานยนต์เฉพาะกลุ่ม เพราะโอกาสความสำเร็จในวิชาชีพนี้ยังเปิดกว้างอีกมาก” นพดล กล่าวทิ้งท้าย