ค่าย Renault กำลังใช้ความพยายามในการกลับมาร่วมมือเป็นพันธมิตร อีกครั้ง โดยครั้งนี้ปรับเปลี่ยนใหม่เป็นชื่อ Renault-Nissan และ Mitsubishi ซึ่งจะมี Renault เป็นผู้นำกลุ่ม โดยทำการประกาศก่อนการประกาศแผนฟื้นฟูของค่าย Nissanค่ายรถยนต์ทั้ง 3 ต่างประสบปัญหายอดการขายที่ตกต่ำ นับแต่อดีตประธานกลุ่ม Carlos Ghosn ถูกจับกุมตัวเมื่อปี 2561 และผลประกอบการของทั้งค่าย Nissan และ Mitsubishi ต่างก็ประสบปัญหาการขาดทุนทั้งคู่ เช่นเดียวกับ Renault ซึ่งรัฐมนตรีการคลังของ ฝรั่งเศส ระบุว่า อาจ “หายไปจากตลาด” หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล แถมยังถูกลดอันดับเครดิตจาก Moody เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ในสภาพความเป็นจริง สภาพทางการตลาดในอนาคต ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอน จากผลของโรคระบาดร้ายแรงครั้งนี้ ต่างก็ต้องเตรียมแผนงานเพื่อรองรับ เพราะยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น นับแต่อดีตผู้นำ Carlos Ghosn ถูกจับกุมตัว แต่ละค่าย ต่างก็แต่งตั้งผู้บริหารคนใหม่ และมอบหมายให้ Jean-Dominique Senard อดีต ซีอีโอ จาก Michelin ขึ้นมาเป็นประธานของกลุ่มพันธมิตร และผู้บริหารแต่ละค่าย ต่างก็ต้องระงับการพูดคุยถึงเรื่องการปรับโครงสร้าง โดยเฉพาะการปรับให้แต่ละค่าย ร่วมมือในกิจการต่างๆ จนกว่าแต่ละค่าย จะสามารถปรับปรุงเหตุการณ์ภายในของตนเองให้เรียบร้อยก่อน เป้าหมายสำคัญของการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของแต่ละค่าย ต่างก็มีเป้าหมายเพื่อการปรับลดกำลังการผลิตทั่วโลก รวมทั้งปรับตัวเพื่อรองรับการขายที่น้อยลง ซึ่งต้องมีการปิดโรงงานเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ซึ่งค่าย Nissan ก็ประกาศตัวมาในแผนการฟื้นฟูแล้ว นอกจากนั้น แผนการปรับปรุงในระดับ ผู้นำ-ผู้ตาม (Leader-Follower) นับแต่ Renault, Nissan และ Mitsubishi จะใช้แบ่งความรับผิดชอบในแนวทางที่ตนเองถนัด เพื่อลดการซ้ำซ้อน อาทิ Renault จะเป็นผู้นำในกลุ่มรถเพื่อการพาณิชย์ และเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซล, Nissanนิสสัน จะนำในกลุ่มรถไฟฟ้า และยานยนต์ไร้คนขับ ขณะที่ Mitsubishi มุ่งไปในทางเทคโนโลยี ไฮบริด-ไฟฟ้า รถครอสโอเวอร์ และรถขนาดเล็ก สำหรับการจำหน่ายในตลาดโลก ค่าย Nissan จะเป็นผู้นำในตลาดใหญ่ 3 แห่ง จีน, สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยประเมินว่า จะเป็นผู้ที่สามารถทำกำไรได้มากที่สุด ขณะที่ Renault ซึ่งถือหุ้นใน Nissan 43.4% ตัดสินใจที่จะยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์นั่งในประเทศจีน เพื่อหลีกทางให้ Nissan ขณะที่ในทวีปยุโรป Nissan จะหลีกทางให้ Renault เป็นผู้นำ โดยจะปิดโรงงานใน บาร์เซโลนา ประเทศสเปน ซึ่งไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังมานาน โดยมุ่งเป้าไปที่รถครอสโอเวอร์ และอาจให้ Renault ใช้สายการผลิตโรงงาน ในซันเดอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ ด้วย ส่วน Renault จะปิดสายการผลิตในฝรั่งเศส ตามเป้าหมายการลดค่าใช้จ่าย 2 พันล้านยูโร ราว 80 พันล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องโรงงานใน Flins ใกล้กรุงปารีส ซึ่งผลิตรถไฟฟ้า Renault Zoe และรถขนาดเล็ก Nissan Micra เช่นเดียวกับโรงงานใน Dieppe ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของฝรั่งเศส ซึ่งผลิตรถสปอร์ทยี่ห้อ Alpine ทางด้าน Mitsubishi กำลังเตรียมแผนงานกลางปี ซึ่งต้องแถลงผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2019-2020 จำเป็นต้องประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการลดลง 20% ให้ได้ 100 พันล้านเยน ราว 29 พันล้านบาท ภายในปีงบประมาณ 2022 ซึ่งเป็นการลดงบด้านการโฆษณา, ค่าใช้จ่ายการขาย และดำเนินการ โดยจะเปิดเผยในรายละเอียดเร็ววันนี้
บทความแนะนำ