กฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เเถลงเเผนการดำเนินงานของสมาคม เเละทิศทางการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าใน ประเทศไทย พร้อมด้วย รศ. ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ อุปนายกฯ ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย, สรรเพชญ ตั้งเสาวภาคย์ อุปนายกฯ ฝ่ายอุตสาหกรรม, ผศ. ดร. อุเทน สุปัตติ อุปนายกฯ ฝ่ายวิชาการ เเละฉันทกร เดวิชญ์ จำศิลป์ อุปนายกฯ ฝ่ายส่งเสริมการใช้ โดยคณะกรรมการชุดใหม่นี้จะมีวาระการทำงานในระหว่างปี 2563 ถึง 2565
กฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมฯ กล่าวว่า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการชุดใหม่นี้ เเบ่งการทำงานออกเป็น 5 ฝ่าย ได้เเก่ ฝ่ายเลขานุการ, ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย, ฝ่ายวิชาการ, ฝ่ายอุตสาหกรรมและฝ่ายส่งเสริมการใช้ ทุกฝ่ายล้วนมีการทำงาน ด้วยวิสัยทัศน์เดียวกัน คือ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่จะช่วยลดปัญหามลพิษ ในท้องถนนโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ทำให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรม การผลิต พัฒนาและวิจัยยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ตลอดจนสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ให้มีความเข้มแข็งและสามารถ แข่งขันในตลาดสากลได้มากขึ้น
ผลงานในปีที่ผ่านมาไปจนถึงเดือนกันยายน 2563 นี้ สมาคมได้ดำเนินการเเบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก ได้เเก่
1. ผลงานในความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งทางสมาคมได้จับมือเป็นพันธมิตรกับองค์กรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศต่างๆ เช่น Asian Federation of Electric Vehicle Association (AFEVA) ที่มีสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เป็นพันธมิตรในโครงการความร่วมมือต่างๆระหว่างสมาคมฯ นอกจากนี้ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยยังได้ลงนามข้อ ตกลงความร่วมมือ ด้านข้อมูล เทคโนโลยี เเละพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าระหว่างประเทศไทยเเละเกาหลีใต้, และในด้านความร่วมมือทางวิชาการนั้น สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมบรรยายและสัมมนาในหัวข้อยานยนต์ไฟฟ้าบนเวที นานาชาติในประเทศฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย เเละเกาหลีใต้ เป็นต้น
2. ผลงานในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการสนับสนุนร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐ เมื่อปี 2562 ทางสมาคมได้เข้าชี้แจงข้อเสนอแนวทางการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้ากับคณะเลขาธิการ ณ กระทรวงพลังงาน, ดร. ยศพงศ์ ลออนวล นายกสมาคม กิตติมศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 1-1/2563 ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการ นโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ , ทางสมาคมยังได้เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลเรื่องการจัดซื้อรถยนต์ xEV ในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับทางสำนักงบฯ อีกหนึ่งโครงการความร่วมมือที่ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ 11 องค์กรพันธมิตรผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบ เชื่อมต่อการใช้สถานีอัดประจุไฟฟ้าข้ามเครือข่าย ร่วมกับทางภาครัฐเเละภาคเอกชน หรือที่เรียกชื่อโครงการนี้ ว่า Charging Consortium เพื่อให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าได้ในทุกเครือข่ายฯ รวมไปถึงการพัฒนาระบบการให้บริการที่เป็นมาตรฐานในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ทางสมาคมยังได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับ ภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (Thailand Energy Storage Technology Alliance: TESTA) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช), มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ) เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานในการ พัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทยตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่าซึ่งจะยิ่งทำให้ประเทศไทยมีองค์ความรู้ด้านการกักเก็บ พลังงาน จากนักวิจัยของประเทศเอง เเละจะสามารถสร้างสรรค์ เทคโนโลยีต่างๆ ที่เอื้อต่อการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าได้อีกด้วย
3. ผลงานการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านวิชาการและความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป ทางสมาคมได้มีการจัดทำรถ 3 ล้อไฟฟ้า ต้นเเบบ เปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปเป็นไฟฟ้า เพื่อเป็นเเนวทางในการผลิตสำหรับ ผู้ประกอบการ อีกทั้งทางสมาคมได้จัดทำ EVAT Directory 2020 ที่รวบรวมข้อมูลสมาชิก ยานยนต์ไฟฟ้าที่จัดจำหน่ายในไทย เเละให้บุคคลทั่วไป สามารถดาวน์โหลด ข้อมูลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เเละที่ผ่านมาล่าสุด สมาคมฯ ร่วมกับอินฟอร์มา มาร์เกทส์ ได้จัดการประชุมด้านยานยนต์ไฟฟ้านานาชาติ (iEVTech 2020) ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ประจำปี 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ภายใต้หัวข้อ “Scaling-up Electric Mobility & Beyond” ภายในงานยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงของค่ายรถยนต์ชั้นนำ 7 บริษัท มาแสดงวิสัยทัศน์ในการยกระดับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย แถลงตัวเลขผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งเเต่ปี 2558 ถึง 2563 ทั้งในส่วนของรถยนต์ประเภทพลัก-อิน ไฮบริด (PHEV) ที่มีเเนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากแบทเตอรี (BEV) ก็มีสถิติการจดทะเบียนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 สูงกว่ายอดจดทะเบียนของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากแบทเตอรีในปี 2562 ทั้งปี
นอกจากนี้ในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ ได้จัดทำผ้าใบใสสำหรับกั้นที่นั่งผู้โดยสารและผู้ขับขี่ และได้นำไปแจกให้เเก่ผู้ขับขี่รถ 3 ล้อรับจ้างในเขตกรุงเทพมหานครฯ และเชียงใหม่ จำนวนกว่า 150 ชุด โดยดำเนินโครงการร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง สำหรับทิศทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการชุดใหม่นี้ สมาคมฯ จะยังคงสานต่อ 8 ข้อเสนอ เเนะเเนวทางส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อันได้เเก่กฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมฯ กล่าวถึงแนวทางการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าไทยว่า ปัจจุบัน สมาคมมีสมาชิกกว่า 190 ราย ทั้งภาคเอกชน ภาควิชาการ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่มีประสบการณ์และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เราทำงานเพื่อให้การสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อร่วมส่งเสริมการใช้เเละพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อันจะช่วยลดมลพิษและปัญหาสิ่งเเวดล้อม พร้อมๆไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคของยานยนต์ไฟฟ้าต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้