ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) สรุปผลการดำเนินงาน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 โดยได้ประสานแต่ละจังหวัด ถอดบทเรียน และเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในการใช้รถใช้ถนนอย่างรอบด้านวันที่ 17 เมษายน 2564 กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมวันที่ 7 ของช่วง 7 วันอันตรายของการรณรงค์ (10-16 เมย. 64) เกิดอุบัติเหตุ 2,365 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 277 ราย ผู้บาดเจ็บ 2,357 คน โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2564 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 16 เมษายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่ 7 ของการรณรงค์ "สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด" เกิดอุบัติเหตุ 253 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 26 ราย ผู้บาดเจ็บ 255 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 35.18 ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 22.13 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 83.27 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 58.10 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 39.13 ถนนสายรองใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 37.15 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 33.20 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด อยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.79 ทั้งนี้ได้ตั้งจุดตรวจหลัก 1,908 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 59,389 นาย เรียกตรวจยานพาหนะ 316,725 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 65,549 ราย มีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่ 15,631 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย 15,201 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (15 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ อุบลราชธานี (3 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (14 คน) จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 5 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (106 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ ปทุมธานี (10 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (109 คน) ขณะเดียวกันทาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้รายงานผลการกวดขันจับกุม ตามมาตรการ 10 ข้อหาหลักช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 10-16 เมษายน 2564 ได้ผลดังนี้ 1. ไม่สวมหมวกนิรภัย 113,901 ราย 2. ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ปลอดภัย 30,865 ราย 3. ดื่มแล้วขับ 16,367 ราย 4. ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 54,922 ราย 5. ไม่มีใบขับขี่ 122,257 ราย 6. ขับรถความเร็วเกินกำหนด 68,780 ราย 7. ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร 15,937 ราย 8. ขับรถย้อนศร 14,682 ราย 9. แซงในที่คับขัน 9,444 ราย 10. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ 12,489 ราย โดยจํานวนผู้ที่ถูกดําเนินคดี ตามมาตรการ (10 มาตรการ) สะสม 7 วัน 459,644 ราย เปรียบเทียบสะสมกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2562 (1,466,741 ราย) ลดลง 1,007,097 ราย (-68.66 %) สำหรับผลการปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกัน และลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเทศกาลสงกรานต์ 2564 สะสม 7 วัน เกิดอุบัติเหตุ 2,365 ครั้ง เสียชีวิต 277 ราย ผู้บาดเจ็บ 2,357 ราย เมื่อเทียบกับจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ ลดลงจากค่าเฉลี่ยสงกรานต์ 3 ปีย้อนหลัง ลดลงมากกว่า 5 % ถือว่าบรรลุค่าเป้าหมายของตัวชีวัดระดับหน่วยงาน