วรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า จากข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ พบว่าตั้งแต่ปี 2561 ธุรกิจ Cold Chain Logistics หรือการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิในประเทศไทยมีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าธุรกิจอยู่ที่ประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 5 % ของตลาดธุรกิจลอจิสติคส์ทั้งหมด และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 8 % หรือคิดเป็นมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตมาจากการส่งออกสินค้าการเกษตร ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม ที่ตลาดมีความต้องการสูงขึ้น บวกกับปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่บ้านเพื่อลดความเสี่ยง และมีการสั่งสินค้าประเภทอาหารสดออนไลน์ให้จัดส่งถึงบ้านมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบริการขนส่งต้องปรับตัวหันมาให้บริการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ หรือ Cold Chain Logistics เพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด เห็นได้จากตัวเลขของกรมการขนส่งทางบกรายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตร และอาหารด้วยรถบรรทุกแบบควบคุมอุณหภูมิมีจำนวนถึง 1,500 ราย และมีรถบรรทุกแบบควบคุมอุณหภูมิจำนวน 9,800 คันทั่วประเทศ
การบริการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ หรือ Cold Chain Logistics มีบทบาทสำคัญอย่างมากกับสินค้าเกษตร เนื่องด้วยมีเงื่อนไขการขนส่ง ดังนี้ คือ 1. สินค้าต้องถูกขนส่งให้ถึงมือผู้บริโภคภายใน 24 ชม. เพื่อลดความเสียหายจากการขนส่ง 2. หีบห่อที่เหมาะสมในการขนส่ง เนื่องจากมีผลต่อคุณภาพสินค้า ช่วยลดความสูญเสีย และการระเหยของน้ำ รวมทั้งลดอัตราการเน่าเสียได้อย่างมาก 3. การบริหารการกระจายสินค้าที่เหมาะสม มีส่วนช่วยให้ความเสียหายของสินค้าลดลง แต่ทว่าที่ผ่านมา กลับพบตัวเลขประมาณการณ์การขนส่งแบบการควบคุมอุณหภูมิอยู่ในระดับต่ำไม่ถึง 10 % เมื่อเทียบกับการขนส่งแบบปกติในประเทศ เนื่องจากการใช้รถขนส่งแบบการควบคุมอุณหภูมิ หรือรถห้องเย็นนั้นยังมีจำนวนน้อย เพราะต้นทุนสูงกว่าการขนส่งปกติ ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางที่สูงกว่าจากระบบการควบคุมอุณหภูมิ และการซ่อมบำรุง
“แม้ตัวเลขจำนวนการขนส่งแบบการควบคุมอุณหภูมิของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ด้วยวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาทวีความรุนแรงขึ้น รวมไปถึงไม่สามารถส่งสินค้าเข้าไปในพื้นที่ควบคุมสีแดงเข้มที่จำกัดการเดินทางเข้า-ออก ทำให้ธุรกิจขนส่งต้องเผชิญกับปัญหาการขนส่งพัสดุล่าช้า จนมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในแบรนด์ของผู้ให้บริการ คลังสินค้า และศูนย์กระจายพัสดุมีจำนวนพัสดุตกค้าง ไม่สามารถนำส่งถึงมือลูกค้าได้ ก่อให้เกิดปัญหาในระบบการขน ส่งอย่างมาก โดยเฉพาะกับการขนส่งของสด”
จากกรณีปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันกลุ่มผู้ให้บริการขนส่งรายใหญ่หลายรายเริ่มปรับตัว โดยเพิ่มการลงทุนในการใช้รถห้องเย็นเพื่อเพิ่มการบริการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่สินค้าประเภทอาหาร หรือสินค้าเกษตรเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ขนส่งสินค้าประเภทยา และเวชภัณฑ์ได้อีกด้วย โดยการใช้เทคโนโลยีในการจัดการระบบ Cold Chain Logistics เช่น ระบบให้ความเย็นแบบประหยัดพลังงาน การใช้ระบบติดตามการขนส่ง และระบบการตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่ต้นทางจนถึงการส่งมอบสินค้า จึงสามารถตรวจ ติดตาม และประเมินคุณภาพสินค้าได้ตลอดระยะเวลาการขนส่ง ช่วยลดความเสียหายของสินค้า ในขณะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งได้เป็นอย่างมาก
Nostra Logistics ตระหนักถึงปัญหาระบบการขนส่งในทุกรุปแบบ จึงได้วางแผนพัฒนาเทคโนโลยีโซลูชันด้านลอจิสติคส์ และการขนส่ง เพื่อสนับสนุนการจัดการ Cold Chain Logistics ด้วยโซลูชันของ Nostra Logistics ที่มีเครื่องมือบริหารจัดการงานขนส่ง และติดตามตำแหน่งด้วยอุปกรณ์กล่องจีพีเอส (GPS Tracking) หรือสามารถใช้ระบบติดตามจีพีเอสที่มีบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและติดตั้งแอพพลิเคชัน Nostra Logistics EPOD ระบบติดตามการขนส่งอัจฉริยะบนมือถือ สามารถวางแผน และกำหนดเส้นทางขนส่งสำหรับจุดส่งสินค้าจำนวนมากในแต่ละวันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ติดตามตรวจสอบตำแหน่งที่รถวิ่ง หรือจอดอยู่อย่างแม่นยำ สนับสนุนการเชื่อมต่อเซนเซอร์ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนต่างๆ เช่น อุณหภูมิภายในห้องเย็น ประตูรถ ฝาน้ำมัน ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถติดตั้งระบบตรวจสอบความปลอดภัยเพิ่มเติมได้ด้วยเทคโนโลยีเทเลเมติคส์ (Telematics) เช่น กล้องวีดีโอในรถยนต์แบบออนไลน์ที่เรียกว่า MDVR (Mobile Digital Video Recorder) สำหรับบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ระหว่างการขับรถขนส่งสินค้าไปยังปลายทาง จึงทำให้ผู้ให้บริการขนส่งสามารถส่งมอบสินค้าควบคุมอุณหภูมิถึงปลายทางได้อย่างมีคุณภาพ และปลอดภัยตามมาตรฐานที่ผู้ประกอบการกำหนดได้เอง
จุดเด่นของการบริหารการขนส่งของ Nostra Logistics คือ สามารถควบคุมกระบวนการขนส่งได้ทุกขั้นตอน รวมถึงเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลงานขนส่งของลูกค้าผู้ใช้บริการระบบ ทำให้การขนส่งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง บริหารคลังสินค้า และการกระจายสินค้าได้อย่างแม่นยำ ลดความเสียหาย และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับสินค้าควบคุมอุณหภูมิ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลการขนส่งแบบออน ไลน์ Real-time ได้ตลอด 24 ชม. เพื่อการตรวจสอบสถานการณ์ขนส่ง วางแผน หรือปรับเปลี่ยนคำสั่งในงานขนส่ง ดูรายงานสรุป รวมถึงมีข้อมูลในการตรวจสอบข้อมูลงานขนส่งย้อนกลับ (Traceability) เพิ่มมาตรฐานให้แก่ธุรกิจ ตลอดจนเพิ่มความมั่นใจในการส่งมอบงานแก่ลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าได้เป็นอย่างดี