ธุรกิจ
Toyota เผยยอดขายปี 2565
โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2564 ถือเป็นอีกปีที่เศรษฐกิจ และสังคมไทยเผชิญความท้าทายจากสถานการณ์ COVID-19 อย่างไรก็ตาม จากความมุ่งมั่นพยายามของภาครัฐ และบุคลากรทางการแพทย์ เราเชื่อว่าสถานการณ์กำลังจะก้าวเข้าสู่ภาวะคลี่คลาย ในส่วนของ Toyota เรายังคงเดินหน้าให้การสนับสนุนผ่านโครงการ "โตโยต้าเคียงคู่ไทย สู้ภัย COVID-19" โดยผนึกกำลังความร่วมมือกับผู้แทนจำหน่าย และผู้ผลิตชิ้นส่วนทั่วประเทศในการมอบรถยนต์ Toyota และสิ่งของจำเป็นให้แก่หน่วยงานราชการ และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า โดยเรามุ่งหวังที่จะก้าวข้ามผ่านความท้าทายครั้งนี้ไปด้วยกัน
ทั้งนี้ กลยุทธ์ของ Toyota พร้อมมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดย Toyota มุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้สำเร็จภายในปี 2593 ตามที่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้ประกาศไว้ว่า Toyota มีกลยุทธ์มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ กลยุทธ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบทเตอรี ท่านได้ประกาศไว้ว่า Toyota จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบทเตอรีครบทั้ง 30 รุ่น ภายในปี 2573 โดยรวมไปถึงรถซีรีส์ BZ จำนวน 5 โมเดล ซึ่งมาพร้อมกับพแลทฟอร์มที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบทเตอรีโดยเฉพาะ Toyota มุ่งมั่นที่จะขายรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบทเตอรีให้ได้ทั้งสิ้น 3.5 ล้านคัน ภายในปี 2573 ทั้งนี้ Toyota ทุ่มเงินลงทุน 1.2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบทเตอรี โดยที่เงิน 0.6 ล้านล้านบาทนั้นเป็นการลงทุนด้านแบทเตอรี และยังลงทุนอีก 1.2 ล้านล้านบาท สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าแบบพลัก-อิน ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง ภายในปี 2573
“เรายังเชื่อมั่นว่าหากเราสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนได้สำเร็จ ก็แปลว่าเราได้สร้างโลกใบที่ทุกคนที่อาศัยอยู่นั้นสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข เราอยากมีส่วนช่วยสร้างโลกแบบนั้นให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตาม เราอาศัยอยู่บนโลกที่มีความแตกต่างหลากหลาย อีกทั้งยังอยู่ในยุคสมัยที่คาดเดาอนาคตได้ยาก ดังนั้นการตอบโจทย์ความต้องการของทุกคนให้ได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวเลือกที่มีเพียงหนึ่งเดียวนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย Toyota จึงมุ่งเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอตัวเลือกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั่วโลก ด้วยแนวทางนี้ทำให้โตโยต้าสามารถบรรลุเป้าหมายของเราในการสร้าง "รถยนต์ที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และลดการปล่อยคาร์บอน" และสอดคล้องกับจุดยืนในการสร้างสรรค์ "การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน" และ "ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง" “ในประเทศไทยนั้น Toyota เป็นผู้ริเริ่มแนะนำเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2552 โดยครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ถึง 80 % และมีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของ Toyota มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เราสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปได้ 148,000 ตัน ซึ่งเท่ากับการปลูกต้นไม้ 2 ล้านต้น อีกทั้งในปีที่แล้ว เรายังได้ทำการแนะนำ เลกซัส UX300E ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบทเตอรี และ Lexus NX450H+ ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบพลัก-อิน ไฮบริด สำหรับแบรนด์ Toyota เรามีแผนที่จะทำการแนะนำ BZ4X ซึ่งถือเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของซีรีส์ BZ ออกสู่ตลาดภายในปีนี้ ยิ่งไปกว่านั้น เราจะพยายามส่งเสริมให้มีการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศให้มากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตหลักสำหรับการประกอบรถยนต์ไฟฟ้าอีกหลากหลายรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งความมุ่งมั่นดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางของภาครัฐที่มุ่งเดินหน้าส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้า การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนการบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนให้เป็น 0 นอกจากนี้ เรายังได้มีการประสานความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อพยายามผลักดันการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนโดยครอบคลุม "ตลอดทั้งวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์" ยกตัวอย่างเช่น "โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบที่ยั่งยืนโดยปราศจากมลภาวะ" ซึ่งเราจะสาธิตให้เห็นถึงการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าหลากหลายประเภทในการเดินทางคมนาคม ภายในเมืองพัทยา และเราได้เริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ในการริเริ่มใช้โครงสร้างพื้นฐานพลังงานสะอาด เช่น ไฮโดรเจน พลังงานแสงอา ทิตย์ และพลังงานชีวภาพ ใน "นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด" อีกด้วย “อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าปี 2564 เป็นปีที่สถานการณ์โรค COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต เช่น ปัญหาชิพขาดตลาด ด้วยเหตุนี้ ยอดขายรวมภายในประเทศจึงอยู่ที่ราว 759,119 คัน หรือลดลง 4.2 % เมื่อเทียบกับปี 2563”สถิติการขายรถยนต์ในปี 2564 | ยอดขายปี 2564 | การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการขายรวม | 759,119 คัน | - 4.2 % |
รถยนต์นั่ง | 251,800 คัน | -8.4 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 507,319 คัน | -1.9 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 393,476 คัน | -3.9 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 341,452 คัน | -6.4 % |
สถิติการขายรถยนต์ของ Toyota ในปี 2564 | ยอดขายปี 2564 | การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 | ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขาย Toyota | 239,723 คัน | -1.9 % | 31.6 % |
รถยนต์นั่ง | 62,403 คัน | -8.4 % | 24.8 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 177,320 คัน | +0.7 % | 35.0 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 151,501 คัน | +1.2 % | 38.5 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 128,639 คัน | -1.0 % | 37.7 % |
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2565 | ยอดขายประมาณการปี 2565 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2564 |
ปริมาณการขายรวม | 860,000 คัน | + 13.3 % |
รถยนต์นั่ง | 292,500 คัน | + 16.2 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 567,500 คัน | + 11.9 % |
ประมาณการยอดขายรถยนต์ Toyota ในปี 2565 | ยอดขายประมาณการปี 2565 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2564 | ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขาย Toyota | 284,000 คัน | + 18.5 % | 33.0 % |
รถยนต์นั่ง | 81,000 คัน | + 29.8 % | 27.7 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 203,000 คัน | + 14.5 % | 35.8 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 175,932 คัน | + 16.1 % | 40.6 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 149,000 คัน | + 15.8 % | 39.8 % |
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของ Toyota ในปี 2564 | ปริมาณในปี 2564 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการส่งออก | 292,000 คัน | + 35.5 % |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออก และการขายในประเทศ | 514,000 คัน | + 16.1 % |
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของ Toyota ปี 2565 | ปริมาณในปี 2565 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2564 |
ปริมาณการส่งออก | 371,000 คัน | + 27.2 % |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออก และการขายในประเทศ | 647,000 คัน | + 25.9 % |
อันดับที่ 1 Toyota | 27,150 คัน | ลดลง 18.2 % | ส่วนแบ่งตลาด 29.8 % |
อันดับที่ 2 Isuzu | 18,801 คัน | ลดลง 18.0 % | ส่วนแบ่งตลาด 20.7 % |
อันดับที่ 3 Honda | 11,556 คัน | เพิ่มขึ้น 14.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 12.7 % |
อันดับที่ 1 Honda | 8,763 คัน | เพิ่มขึ้น 4.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 27.5 % |
อันดับที่ 2 Toyota | 7,347 คัน | ลดลง 16.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 23.0 % |
อันดับที่ 3 Suzuki | 2,776 คัน | ลดลง 14.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 8.7 % |
อันดับที่ 1 Toyota | 19,803 คัน | ลดลง 18.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 33.5 % |
อันดับที่ 2 Isuzu | 18,801 คัน | ลดลง 18.0 % | ส่วนแบ่งตลาด 31.8 % |
อันดับที่ 3 Ford | 4,117 คัน | ลดลง 10.4 % | ส่วนแบ่งตลาด 7.0 % |
อันดับที่ 1 Isuzu | 16,908 คัน | ลดลง 21.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 39.5 % |
อันดับที่ 2 Toyota | 16,733 คัน | ลดลง 16.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 39.1 % |
อันดับที่ 3 Ford | 4,117 คัน | ลดลง 10.4 % | ส่วนแบ่งตลาด 9.6 % |
อันดับที่ 1 Isuzu | 14,918 คัน | ลดลง 20.5 % | ส่วนแบ่งตลาด 40.9 % |
อันดับที่ 2 Toyota | 14,274 คัน | ลดลง 18.0 % | ส่วนแบ่งตลาด 39.1 % |
อันดับที่ 3 Ford | 3,410 คัน | ลดลง 8.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 9.3 % |
อันดับที่ 1 Toyota | 239,723 คัน | ลดลง 1.9 % | ส่วนแบ่งตลาด 31.6 % |
อันดับที่ 2 Isuzu | 184,160 คัน | เพิ่มขึ้น 1.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 24.3 % |
อันดับที่ 3 Honda | 88,692 คัน | ลดลง 4.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 11.7 % |
อันดับที่ 1 Honda | 76,886 คัน | ลดลง 0.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 30.5 % |
อันดับที่ 2 Toyota | 62,403 คัน | ลดลง 8.4 % | ส่วนแบ่งตลาด 24.8 % |
อันดับที่ 3 Mazda | 19,800 คัน | ลดลง 20.3 % | ส่วนแบ่งตลาด 7.9 % |
อันดับที่ 1 Isuzu | 184,160 คัน | เพิ่มขึ้น 1.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 36.3 % |
อันดับที่ 2 Toyota | 177,320 คัน | เพิ่มขึ้น 0.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 35.0 % |
อันดับที่ 3 Ford | 32,329 คัน | เพิ่มขึ้น 8.3 % | ส่วนแบ่งตลาด 6.4 % |
อันดับที่ 1 Isuzu | 167,180 คัน | ลดลง 0.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 42.5 % |
อันดับที่ 2 Toyota | 151,501 คัน | เพิ่มขึ้น 1.2 % | ส่วนแบ่งตลาด 38.5 % |
อันดับที่ 3 Ford | 32,329 คัน | เพิ่มขึ้น 8.3 % | ส่วนแบ่งตลาด 8.2 % |
อันดับที่ 1 Isuzu | 150,741 คัน | ลดลง 6.0 % | ส่วนแบ่งตลาด 44.1 % |
อันดับที่ 2 Toyota | 128,639 คัน | ลดลง 1.0 % | ส่วนแบ่งตลาด 37.7 % |
อันดับที่ 3 Ford | 27,304 คัน | เพิ่มขึ้น 11.4 % | ส่วนแบ่งตลาด 8.0 % |