เมื่อต้องเดินทางไกลสัมภาระต่างๆ ก็จะมีมากขึ้นกว่าปกติ แล้วจะเก็บสัมภาระอย่างไรให้เหมาะสม และสะดวกต่อการใช้งาน “autoinfo.co.th” มีทริคเล็กๆ ในการจัดการกับสัมภาระให้ถูกวิธีมาฝาก...คำนวณน้ำหนักก่อนบรรทุก ต้องไม่ขนของทุกอย่างใส่รถจนเต็ม ตั้งแต่พื้นจนถึงเพดาน พร้อมคำนึงถึงความสามารถการบรรทุกน้ำหนักสูงสุดของตัวรถ ซึ่งแต่ละคันถูกออกแบบให้รับน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน และต้องไม่บรรทุกสัมภาระที่ไม่จำเป็น จนเกินน้ำหนักที่รถยนต์สามารถรับไหว การนำสัมภาระน้ำหนักมากๆ ไว้ท้ายรถ จะทำให้ล้อหน้าลอย ส่งผลต่อสมรรถนะการบังคับเลี้ยว และการเบรค โดยอย่าลืมเก็บสัมภาระขนาดเล็กใส่กล่องให้เรียบร้อย ส่วนสัมภาระขนาดใหญ่ก็ต้องทำการรัดไว้ เพื่อป้องอันตรายจากสัมภาระเมื่อต้องเบรคกะทันหัน ทั้งนี้ ให้วางสัมภาระหนักที่สุดไว้ด้านล่างสุดของพื้นที่เก็บสัมภาระ ต้องให้น้ำหนักกระจายทั่วพื้นที่บรรทุก เพราะจะช่วยให้ศูนย์ถ่วงต่ำลง และปรับกระจกมองหลังให้เห็นชัดเจน เพราะถ้ากระจกมองหลังไม่ชัด ย่อมทำให้การขับขี่เป็นเรื่องยาก และก่อให้เกิดความเสี่ยงขณะถอย หรือขณะเปลี่ยนช่องทาง การเก็บสัมภาระไว้บนหลังคา “แรคหลังคา” เป็นอุปกรณ์ช่วยให้เราสามารถขนสัมภาระได้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางไกล ซึ่งรถยนต์บางรุ่นมีการติดตั้งจากโรงงาน แต่ส่วนใหญ่ไม่มีมาให้ ต้องติดเพิ่มเอง ดังนั้น การติดตั้งแรคหลังคาอย่างถูกต้องพร้อมราง จะช่วยเก็บสัมภาระให้ปลอดภัยได้ และต้องไม่บรรทุกของหนักบนหลังคารถ กระจายน้ำหนักเฉลี่ยเท่าๆ กัน พร้อมกับทำการรัดสัมภาระให้แน่น โครงสร้างของแรคหลายรุ่นทำด้วยอลูมิเนียม เหล็ก หรือพลาสติคที่แข็งแรงมากน้อยแตกต่างกันไป ต้องเลือกวัสดุของแรคให้แข็งแรงพอจะรับน้ำหนักสิ่งของ หรือสัมภาระที่จะบรรทุก โดยต้องคำนึงถึงความสูงที่เพิ่มขึ้นจากความสูงเดิมของตัวรถด้วย เมื่อตรวจสอบความแข็งแรงของแรค ที่ยึดติดกับตัวรถอย่างแน่นหนาแล้ว ต้องมีตาข่าย หรือผ้าคลุมครอบสิ่งของ พร้อมจัดเก็บสัมภาระบนหลังคาให้เป็นระเบียบ ไม่วางซ้อนกันเป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันการร่วงหล่น หรือหากจะเก็บสิ่งของที่ชิ้นไม่ใหญ่มาก ให้ใช้กล่อง ที่ได้รับการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ ซึ่งปลอดภัย และกันน้ำได้ พร้อมขับรถให้นุ่มนวล หลีกเลี่ยงการเร่งอย่างรวดเร็ว การเบรครุนแรง และการเข้าโค้งฉับพลัน เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วง และลักษณะการขับขี่ของรถจะเปลี่ยนไป เมื่อมีการบรรทุกสัมภาระบนหลังคา และหมั่นจอดรถตรวจสอบเป็นระยะ ว่าสัมภาระไม่ได้เคลื่อนที่ หรือสูญหายระหว่างทาง ของจำเป็นต้องหยิบง่ายเสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจทุกครั้งว่าเก็บชุดอุปกรณ์ฉุกเฉิน เช่น สายเคเบิลสำหรับจัมพ์สตาร์ท, โทรศัพท์มือถือ และน้ำดื่ม ไว้ในที่ที่หยิบได้ง่ายเมื่อต้องการใช้ พร้อมกับก่อนเดินทาง ต้องตรวจสอบยางเพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพดี ไม่สึกหรอ และพร้อมใช้งาน รวมถึงมีการเติมลมยางอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามคำแนะนำที่แสดงไว้บริเวณประตูด้านข้างของคนขับ ด้านในฝาน้ำมัน หรือในคู่มือผู้ใช้งาน
บทความแนะนำ