เมื่อลมหนาวมาเยือน เป็นสัญญาณว่าถึงเวลาวางแผนไปเที่ยวปลายปีแล้ว แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า รถของเราอยู่ในสถานะที่พร้อมพาเราไปได้ทุกที่ที่อยากไป Quick Lane แนะวิธีสังเกตอาการของยางรถยนต์ว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนยางแล้วหรือยัง เพื่อให้รถของคุณพร้อมรับมือกับทุกเส้นทางอย่างปลอดภัยสูงสุดรับฤดูท่องเที่ยวในหน้าหนาวนี้
สัญญาณว่าต้องเปลี่ยนยาง เชคได้ด้วยตนเอง
ยางรถยนต์ทุกเกรด และคุณภาพ ล้วนแล้วแต่มีวันที่จะเก่า และเสื่อมลงตามกาลเวลา เพราะการวิ่งบนถนนหลากหลายรูปแบบ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการใช้งาน ส่งผลต่อเนื้อยาง หน้ายาง และดอกยาง ผลกระทบเหล่านั้นสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้
1. รอยรั่ว รอยบาก หรือเศษของมีคมบนยาง-ไม่ควรปล่อยให้รถวิ่งบนยางที่มีตำหนิ หรือเศษสิ่งแปลกปลอมติดบนยาง เพราะอาจเป็นเหตุให้ยางแตก รั่ว และเกิดอันตรายได้ กรณีที่ยางจำเป็นต้องปะซ่อม ขอแนะนำให้ใช้วิธีการซ่อมแบบดอกเห็ดเท่านั้น และหลีกเลี่ยงการปะยางแบบแทงใยไหม หรือสตีมโดยเด็ดขาด เพราะทำให้ยางเกิดความเสียหาย
2. ระยะทางในการเบรกยาวขึ้นกว่าปกติ-การใช้งานยางเมื่อผ่านไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งจะเป็นเรื่องธรรมดาที่ดอกยางจะตื้นลง จึงควรเปลี่ยนยางทันทีเมื่อความลึกดอกยางน้อยกว่า 3 มม. เพราะจะส่งผลต่อระยะเบรคที่ยาวขึ้นโดยเฉพาะเมื่อขับขี่บนถนนเปียก
3. ควบคุมรถบนถนนที่ลื่นได้ยากขึ้น-ความลึกของดอกยางจะลดต่ำลงตามระยะทางขับขี่ที่ใช้งานไป และจะส่งผลต่อการยึดเกาะถนนของรถเมื่อขับรถบนถนนที่ลื่น หรือที่เรียกว่า อาการเหินน้ำ ซึ่งทำให้รถเสียการทรง ตัวระหว่างการขับขี่ โดยเฉพาะเมื่อความลึกดอกยางน้อยกว่า 3 มม.
4. ดอกยางสึกไม่สม่ำเสมอกัน [1]-การสึกหรอไม่เท่ากันของดอกยาง เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเติมลมยางที่ไม่ถูกต้อง หรือปัจจัยอื่น สังเกตได้จากจุดต่อไปนี้
· ขอบด้านนอก หรือขอบด้านในสึกมากกว่า (Toe Wear)-เกิดจากการตั้งศูนย์ล้อ มุมบังคับเลี้ยว (มุม Toe) ไม่สมดุล
· หน้ายางด้านใน หรือด้านนอกสึกมากกว่า (Camber Wear)-เกิดจากการตั้งศูนย์ล้อแนวตั้ง (มุม Camber) ไม่ถูกต้อง
· ส่วนกลางของหน้ายางสึกหรอเป็นพิเศษ (Center Wear)-เกิดได้จากแรงดันลมยางที่มากเกินไป
· ส่วนขอบของหน้ายางทั้งด้านใน และด้านนอกสึกหรอเป็นพิเศษ (Edge Wear)-บริเวณขอบทั้ง 2 ด้านสึกมากเป็นพิเศษ เกิดจากแรงดันลมยางน้อยเกินไป
ขอแนะนำให้เติมลมยางให้ได้ตามมาตรฐานของรถแต่ละรุ่น ซึ่งสามารถดูค่าความดันลมยางมาตรฐานได้จากคู่มือผู้ใช้รถ หรือป้ายแนะนำความดันลมยาง ซึ่งมักจะติดอยู่บริเวณเสากลางตัวรถด้านใน
5. อายุการใช้งาน-หากยางรถยนต์มีอายุการใช้งานครบ 6 ปี นับจากวันผลิต หรือมีความลึกดอกยางน้อยกว่า 3 มม. หรือใช้งานมาประมาณ 50,000 กม. Quick Lane แนะนำให้เปลี่ยนยางโดยทันที รวมถึงยางอะไหล่ที่ควรตรวจสอบ และเปลี่ยนทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงการสึกของดอกยางแต่อย่างใด
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความมั่นใจ
สำหรับเจ้าของรถมือใหม่ หรือใครที่ไม่มีอุปกรณ์ และเวลาในการดูแลรถ แนะนำว่าควรนำรถไปที่ศูนย์บริการยาง และรถยนต์ เพื่อขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการระบุจุดสึกหรอของยาง และให้คำแนะนำในการเปลี่ยนยางได้ตรงจุด อีกทั้งยังสามารถรับบริการเปลี่ยนยางรถยนต์ได้ทันที
Quick Lane ศูนย์บริการยาง และรถยนต์ประเภทเร่งด่วนมาตรฐานระดับโลก มีช่างเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ พร้อมชี้แนะแนวทางการดูแลยางรถยนต์ และเลือกยางรถยนต์ให้เหมาะกับรถ นอกจากนี้ ยังมียางรถยนต์คุณภาพระดับสากลสำหรับรถยนต์หลากรุ่น หลายยี่ห้อ ให้ลูกค้าได้เลือกสรรเพื่อการดูแลรถ ในราคาที่เข้าถึงได้ พร้อมรับประกันราคายางว่าไม่แพงกว่าใคร โดย Quick Lane ยังมีบริการหลังการขาย ทั้งตรวจเชค สลับยาง ปะยาง เปลี่ยน และตั้งศูนย์ถ่วงล้ออย่างครบวงจร
ยางทุกเส้นยังมาพร้อมการรับประกันคุณภาพนานสูงสุด 6 ปี พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย ตั้งแต่การผ่อนชำระยางทุกรุ่น ดอกเบี้ย 0 % นานสูงสุด 15 เดือน กับบัตรเครดิทชั้นนำ บริการเสริมครบครันเมื่อเปลี่ยนยาง 4 เส้น ได้แก่ ฟรีค่าแรง บริการถอด ใส่ และถ่วงล้อ 4 ล้อ สูงสุด 5 ครั้ง เติมลมไนโตรเจนฟรีตลอดอายุการใช้งาน สลับยาง และถ่วงล้อฟรีตลอด 2 ปี หรือ 50,000 กม. และที่สำคัญมีโปรแกรมรับประกันราคายางว่าไม่แพงกว่าคู่แข่ง ถ้ามีหลักฐานราคาที่สูงกว่า เรายินดีปรับลงให้เท่ากัน หรือคืนเงินทันที* (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด)
Quick Lane ทั่วประเทศไทยทั้ง 16 สาขา พร้อมให้บริการที่สะดวกกว่า วางใจได้จริง ตั้งแต่บริการตรวจเชคสภาพเบื้องต้น 30 รายการ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จนถึงบริการอื่นๆครอบคลุมกว่า 14 กลุ่ม เปิดทุกวัน ไม่มีวันหยุด ตั้ง แต่เวลา 8.00-20.00 น. สามารถสอบถามข้อมูลสินค้า ราคา และโปรโมชัน ได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าสัมพันธ์ Quick Lane ที่หมายเลข 0-2039-5798 หรือที่เฟศบุค ควิกเลน ประเทศไทย https://www.facebook. com/QuickLaneThailand หรือที่เวบไซท์ https://www.quicklane.com/th-th
[1] ข้อมูลจาก nhtsa.gov
บทความแนะนำ