คนส่วนใหญ่ทราบดีว่าการขับรถในเวลากลางคืนบนท้องถนนที่มีแสงไฟสลัวนั้นอันตราย แต่ก็มียังผู้ขับขี่จำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และนักขับมือใหม่ประสบอุบัติเหตุจากการขับรถตอนกลางคืน รายงานบางฉบับเผยว่า อุบัติเหตุดังกล่าวมีสาเหตุมาจากความเหนื่อยล้า การขาดประสบการณ์การขับขี่ตอนกลางคืน และสมรรถภาพการตอบสนองที่ลดลง ไปจนถึงความสามารถในการปรับสภาวะสายตาจากแสงไฟสะท้อนที่สาดเข้ามา (1)
สถิติจากสมาคมความปลอดภัยบนถนนทางของหลวงของสหรัฐอเมริกา (Governors Highway Safety Associa tion) (2) ระบุว่าผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อย หรือที่เป็นมือใหม่มีแนวโน้มที่จะประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่ที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในช่วงเวลาระหว่าง 21.00 น. ถึงเที่ยงคืนมากกว่าช่วงกลางวันถึง 3 เท่า
ขณะที่ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน (ThaiRSC) (3) ในประเทศไทยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างด้านอายุของผู้ขับขี่ที่มีแนวโน้มจะประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนในเวลากลางคืน โดยพบข้อมูลผู้เสียชีวิตสะสมจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยในปี พศ. 2566 ว่าผู้ขับขี่ช่วงอายุระหว่าง 35-60 ปี มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติบนท้องถนนสูงสุด ตามด้วยผู้ขับขี่ในช่วงอายุ 25-35 ปี โดยช่วงเวลา 20.00 น. เป็นเวลาที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด ย้ำให้เห็นถึงอันตรายของการใช้รถ และถนนในประเทศไทยในช่วงเวลากลางคืน
ในปีนี้ Ford ประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นให้ความสำคัญด้านการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนน และได้สานต่อโครง การ "ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย" หรือ Ford Driving Skills For Life (DSFL) เป็นปีที่ 16 พร้อมสนับสนุนให้ผู้ขับ ขี่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดความเสี่ยงจากการขับขี่ตอนกลางคืน โดยโครงการ Driving Skills For Life (DSFL) เป็นโครงการเพื่อสังคมภายใต้การสนับสนุนของ Ford Motor Company ซึ่งจัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการขับขี่โดยที่ผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นับตั้งแต่ริเริ่มโครงการดังกล่าวมีผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม และเรียนรู้ทักษะการขับขี่อย่างปลอดภัยมาแล้วกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก
เคล็ดลับการขับขี่อย่างปลอดภัยในเวลากลางคืนจาก Ford มีดังนี้
เช็ดกระจกหน้ารถด้านในให้สะอาด
คนส่วนใหญ่คิดว่าสิ่งสกปรกบนกระจกหน้ารถเกิดขึ้นแค่ด้านนอกรถเท่านั้น จึงมักเลือกทำความสะอาดกระจกรถเฉพาะด้านนอก แต่รอยนิ้วมือ และฝ้าที่ก่อตัวขึ้นด้านในรถก็มีส่วนทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ลดลงได้เช่นกัน แสงจากภายนอกที่ส่องเข้ามาอาจกระทบรอยเปื้อนเหล่านี้ และทำให้เกิดความพร่ามัว ดังนั้น จึงควรเตรียมผ้าไมโครไฟเบอร์ไว้ใกล้มือเพื่อใช้ทำความสะอาดกระจกหน้ารถได้อยู่เสมอ
เลือกใช้ไฟหน้าให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมในการขับขี่
หากคุณขับรถในขณะที่มีหมอกลง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเปิดใช้งานไฟตัดหมอกไว้แล้ว เนื่องจากไฟตัดหมอกออกแบบมาสำหรับใช้งานในสภาพอากาศเลวร้ายที่กระทบทัศนวิสัยการขับขี่ หลักการทำงานของไฟตัดหมอก คือการสาดลำแสงไปยังด้านหน้ารถเพื่อตัดทะลุหมอก ต่างจากการเปิดไฟหน้าปกติที่สาดแสงกระจายไปยังกลุ่มหมอก และอาจสะท้อนกลับสู่สายตาของผู้ขับขี่ เราไม่แนะนำให้เปิดไฟสูงเนื่องจากจะทำให้หมอกสว่างจ้าจนอาจ มองไม่เห็นท้องถนน คุณมองหาสวิทช์เพื่อเปิดใช้งานไฟตัดหมอกได้บริเวณสวิทช์แผงควบคุมไฟ และควรเปิดใช้งานไฟตัดหมอกเฉพาะในขณะที่ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลงเท่านั้น นอกจากนี้ ยังไม่แนะนำให้ใช้ไฟวิ่งกลางวันแทนไฟตัดหมอก เพราะไฟวิ่งกลางวันออกแบบมาเพื่อช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นรถของคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้นขณะขับขี่ระหว่างวันเท่านั้น แต่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทดแทนการทำงานของไฟตัดหมอก
อย่ามองไปที่แสงโดยตรง
ขณะขับรถตอนกลางคืน สายตาของเราจะปรับให้ชินกับความสลัวภายในห้องโดยสาร และถนนด้านหน้าโดยอัต โนมัติ ดังนั้น เมื่อมีแสงสว่างจ้ากะทันหัน เช่น จากไฟหน้าของรถที่ขับสวนมา สายตาของเราจะไม่สามารถปรับสภาพ และสู้แสงนั้นได้ทันทีในเวลากลางคืน ทั้งยังลดความสามารถในการมองเห็น ส่งผลถึงความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย1 คุณหลีกเลี่ยงอาการสายตาพร่ามัวได้ง่ายๆ โดยเลี่ยงการจ้องมองแสงตรงๆ เพื่อช่วยปกป้องทัศน วิสัยการมองเห็นของคุณในเวลากลางคืน
ระวังสัตว์บนท้องถนน
สัตว์หลายประเภทออกหากินเวลากลางคืน ด้วยสภาพแวดล้อมที่มืดอาจทำให้สังเกตเห็นได้ยากขึ้น บางครั้ง ไฟหน้าก็อาจเป็นสิ่งดึงดูดให้สัตว์บางชนิดวิ่งเข้าหารถ คุณจึงต้องระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้น หากคุณทราบว่าพื้นที่นั้นๆ มีสัตว์ใดบ้างที่ควรระวัง จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณมองเห็นสัตว์ข้างทางได้ไวขึ้น และชะลอความเร็วรถเพื่อหลีกเลี่ยงการชนได้อย่างปลอดภัย อีกข้อสังเกตง่ายๆ คือ ไฟรถจะสะท้อนดวงตาของสัตว์เหล่านี้ก่อนที่คุณจะเห็นสัตว์ทั้งตัว ซึ่งจะช่วยให้คุณเพิ่มความระวังได้มากขึ้น
นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ควรทำขณะขับรถ คือ มองถนนให้ไกลที่สุดเท่าที่ทัศนวิสัย และสภาวะแวดล้อมจะเอื้ออำนวย ยิ่งคุณคาดการณ์อันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ในระยะไกลเท่าไร ก็ยิ่งช่วยให้คุณมีเวลาเตรียมตัวควบคุมการขับขี่ได้ดีขึ้นเท่านั้น
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระยะส่องสว่าง
โดยปกติแล้วไฟต่ำจะส่องสว่างได้ไกลราว 70 ม. ขณะที่ไฟสูงจะส่องสว่างได้ไกลราว 200 ม. ระบบไฟหน้าแบบ Matrix LED ในรถ Ford Ranger, Ford Ranger Raptor และ Ford Everest มาพร้อมระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam) โดยเมื่ออยู่ในสภาวะปกติจะส่องแสงสว่างโดยใช้หลอดไฟ LED หลายดวง จึงสามารถเพิ่มแสงสว่างให้แก่ท้องถนน และช่วยให้มองเห็นอันตรายต่างๆ ได้ดีขึ้น
ไฟหน้าแบบ Matrix KED มาพร้อมระบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam)
ระบบไฟหน้าแบบ Matrix LED มาพร้อมระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam) ในรถ Ford Ranger และ Ford Everest โดยทำงานร่วมกับกล้องหน้ารถเพื่อตรวจจับแสงสว่างของไฟหน้า และไฟท้ายของรถคันอื่นได้ไกลถึง 800 ม. เมื่อระบบตรวจพบรถคันอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ขับรถสวนมา หรือรถคันหน้า ไฟ LED จะถูกหรี่ลงเฉพาะบริเวณหน้า หรือท้ายรถคันนั้น เพื่อไม่ให้แสงไฟรบกวนผู้ใช้ถนนรายอื่นจากไฟสูงแยงตา
นั่นหมายความว่า ไฟสูงจะยังคงทำงาน และมอบความสว่างให้แก่พื้นที่โดยรอบ โดยไม่กระทบผู้ขับขี่รายอื่นบนท้องถนน
ระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam) จะทำงานภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
เมื่อคุณขับรถด้วยความเร็วสูงกว่า 40 กม./ชม.
เมื่อระบบตรวจไม่พบไฟหน้า หรือไฟท้ายของรถคันอื่นภายใน "ระยะการมองเห็น"
เมื่อเปิดใช้งานไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตาผ่านระบบสั่งงานด้วยเสียง SYNC และเมื่ออยู่ในสภาพถนนที่มืดจนต้องใช้ไฟสูง
ถนนทุกสายไม่ได้เป็นเส้นตรง
ไฟหน้าระบบ Matrix LED ของรถ Ford ยังมาพร้อมเทคโนโลยี Dynamic Bending Lights ซึ่งทำงานเมื่อเปิดไฟต่ำ โดยใช้เซนเซอร์ในการตรวจวัดความเร็ว และองศาการเลี้ยวของรถ เพื่อหมุนดวงไฟด้านหน้าไปตามทางโค้งได้สูงสุด 15 องศา ซึ่งเพียงพอที่จะส่องสว่างแม้บนทางโค้งหักศอก นอกจากเทคโนโลยี Dynamic Bending Lights แล้ว รถ Ford Ranger เจเนอเรชันใหม่ ยังมาพร้อมไฟตัดหมอกแบบติดตามการเลี้ยวของพวงมาลัย (Static Cornering Lights) ที่จะทำงานในขณะที่รถกำลังเข้าโค้ง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเลี้ยวรถในที่มืด
ระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ (Automatic High Beam Control)
ถ้ารถของคุณไม่ได้ติดตั้งไฟหน้าแบบ Matrix LED ที่มาพร้อมระบบ Glare-Free High Beam แต่มีระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ (Automatic High Beam Control) ระบบไฟในรถ Ford Ranget จะทำงานโดยใช้กล้องหน้ารถตรวจจับแสงสว่างไฟหน้า หรือไฟท้ายของรถคันอื่น และจะเปิดใช้ไฟสูงโดยอัตโนมัติเมื่ออยู่ในสภาวะที่จำเป็น
โครงการ "ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย" หรือ Driving Skills For Life (DSFL)
โครงการ DSFL เป็นโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการขับขี่อย่างถูกต้อง และปลอดภัย โดยหลักสูตรดังกล่าวได้รวบรวมเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมรถขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน การควบคุมพวงมาลัย การเลี้ยว และเข้าโค้ง และการถอยจอด นอกจากนี้ ในประเทศไทย Ford ยังได้นำชุดจำลองสภาวะมึนเมามาให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสทดลองสัมผัสถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล
สำหรับปีนี้ โครงการ "ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย" หรือ DSFL ในประเทศไทยจัดขึ้นเป็นปีที่ 16 ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมสามารถติดตามข่าวสารของโครงการได้ทาง Facebook ของ Ford ประเทศไทย
หมายเหตุ:
1ราชสมาคมแห่งลอนดอนในการป้องกันอุบัติเหตุ (The Royal Society for the Prevention of Accidents), มิถุนายน 2560, Driving at Night Factsheet, สืบค้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2566, จากเวบไซท์: https://www.rospa.com/rospaweb/docs/advice-services/road-safety/drivers/driving-at-night.pdf
2สมาคม Governors Highway Safety Association ในสหรัฐอเมริกา, 1 พฤษภาคม 2556, Promoting Parent Involvement in Teen Driving, สืบค้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2566, จากเวบไซท์: https://www.ghsa.org/sites/default/files/2016-11/TeenDrivingParentReport%20low.pdf
3ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน, 2565, สถิติข้อมูลผู้เสียชีวิต สะสม ประเทศไทย ปี 2566, สืบต้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2566, จากเวบไซท์ https://www.thairsc.com/