หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเตรียมความพร้อมในทุกมิติรองรับการท่องเที่ยว พร้อมแนะนำ 15 สถานที่ท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ผ่านถนน และสะพานสวยๆ ใน 5 ภูมิภาค โดยกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดำเนินการพัฒนาพื้นที่โดยรอบโครงสร้างพื้นฐานให้มีทัศนียภาพสวยงาม พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น ได้แก่
1. ยอดดอยอินทนนท์ จุดสูงสุดแดนสยาม ตั้งอยู่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 ม. เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ประชาชนสามารถสัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ชมวิวธรรมชาติภูเขา และทะเลหมอก ปัจจุบันบริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งสถานีเรดาร์ และสถานีทำการของทหารอากาศ
ประชาชนสามารถเยี่ยม และกราบพระพุทธศาสดาประชานาถ หอพระพุทธศาสดาประชานาถ นับเป็นพระพุทธรูปบูชาที่กองทัพอากาศจัดสร้างในโอกาสครบรอบ 100 ปี การทิวงคต จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” จากนั้นไปสักการะพระสถูปของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เพื่อขอพรเพิ่มสิริมงคลเสริมดวงให้แก่ตัวเองต้อนรับปีใหม่ 2567
2. เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา เป็นเส้นทางเดินสบายๆ ลัดเลาะเข้าไปในผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ และชมความสวยงามจากพันธุ์ไม้หายาก เช่น ต้นกุหลาบพันปี สถานที่แห่งนี้มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดมาสัมผัสโอโซนบริสุทธิ์
3. กิ่วแม่ปาน จุดชมวิวทะเลหมอกสุดฮิทที่บรรดานักท่องเที่ยวต้องไม่พลาด มีลักษณะเป็นป่าธรรมชาติสลับทุ่งหญ้ากึ่งอัลไพน์ นักท่องเที่ยวสามารถชมบรรยากาศ สัมผัสทะเลหมอก และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าได้อย่างน่าประทับใจ
4. พระมหาธาตุนภเมทนีดล-นภพลภูมิสิริ “มหาธาตุคู่” ซึ่งกองทัพอากาศสร้างขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสม เด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเป็นมิ่งมงคล แก่ประชาชนในแผ่นดินไทยร่มเย็นเป็นสุขชั่วนิรันดร์ บริเวณโดยรอบของพระมหาธาตุทั้ง 2 ตกแต่งด้วยสวนดอกไม้เมืองหนาว และการจัดสวนดอกไม้ประดับที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่มีความสวยเด่น และสง่างาม
5. อุทยานแห่งชาติดอยผาตั้ง เป็นจุดชมทัศนียภาพไทย-สปป.ลาว อากาศเย็นสบาย และชมทะเลหมอกได้ตลอดปี โดยเฉพาะเดือนธันวาคม-มกราคม จะมีดอกพญาเสือโคร่งบานสะพรั่งรอรับนักท่องเที่ยว ระหว่างทางเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านอีกด้วย
6. กาดม้ง จุดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์จากชาวเขาเผ่าต่างๆ รวมทั้งผัก ผลไม้ อาหารถิ่นพื้นเมือง
7. จุดพักนักเดินทาง โดยแขวงทางหลวงเชียงใหม่ที่ 1 สถานที่ให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ห้องน้ำ และลานกางเทนท์ฟรี ตั้งอยู่บนทางหลวง1009 ที่ กม. 30+700
8. โครงการหลวงดอยอินทนนท์ นักท่องเที่ยวต้องไม่พลาดจุดนี้ ชอพ ชม ชิม ผลิตภัณฑ์โครงการหลวงจบในที่เดียว
9. สถานีวิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) เดินทางบนทางหลวง 1009 ที่ กม. 30+300 เลี้ยวขวาเข้าสู่ทาง หลวงชนบทหมายเลข 1284 ระยะทางประมาณ 16 กม. ถึงแหล่งชมวิวอุโมงค์พญาเสือโคร่งที่สวยงาม และโร แมนติค ภายในพื้นที่ศูนย์วิจัยสามารถชมแปลงไม้พืช และผลเมืองหนาว
10. เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยว มีไฮไลท์สำคัญ คือ น้ำตกผาดอกเสี้ยว เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ บรรยากาศสดชื่น ชุ่มฉ่ำกับธารน้ำตกใสไหลเย็น
11. ภาคเหนือ ถนนสาย มส.4009 ทุ่งดอกบัวตอง ดอยแม่อูคอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจุดชมวิว และศาลาชมวิวที่นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นทุ่งดอกบัวตองได้ 360 องศา ถือเป็นหนึ่งใน Amazing Thailand ที่ครั้งหนึ่งในชี วิตควรหาโอกาสไปชมให้ได้ โดยดอกบัวตองจะบานเพียงปีละครั้งเท่านั้น สำหรับการเดินทางมายัง ทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ จากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ระยะทางประมาณ 90 กม. ใช้เส้นทางไปยังอำเภอขุนยวม ทางหลวง 108 (แม่ฮ่องสอน-ขุนยวม) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวง 1263 ที่สามแยกขุนยวม และเข้าสู่ถนนสาย มส.4009 ตามป้ายแนะนำเส้นทางแหล่งท่องเที่ยว
12. ภาคกลาง สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2 เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 2538 เพื่อเป็นโครงข่ายถนนรองรับการขนถ่ายลำเลียงสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพฯ ต่อเนื่องไปจนถึงพื้นที่อุตสา หกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ เพื่อไม่ให้รถบรรทุกสัญจรเข้าไปในตัวเมือง หรือทิศ ทางอื่น อันจะเป็นสาเหตุของการจราจรติดขัดโดยรอบ ซึ่งไม่เพียงแต่การกระจายการจราจรไปยังทิศทางต่างๆ แต่ยังเชื่อมระหว่างเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทำให้ประชา ชนชาวพระประแดง และสมุทรปราการ สามารถเข้าสู่กรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวกสบาย ประชาชนสามารถชมความสวยงามของสะพานดังกล่าวได้ อีกทั้งในช่วงเทศกาล และวันสำคัญจะมีการเปิดไฟประดับสะพานยามค่ำคืนที่ตระการตาเป็นอย่างมาก
13. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะพานเทพสุดา จังหวัดกาฬสินธุ์ สะพานข้ามน้ำจืดข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว ประชา ชนสามารถชมพระอาทิตย์ตกดินในยามเย็นบนสะพานโดยมีภูเขาเป็นฉากหลังเสริมให้ทัศนียภาพงดงาม รวมทั้งไฮไลท์ที่พลาดไม่ได้ คือ รูปปั้นไดโนเสาร์ ที่ตั้งอยู่บริเวณปลายสะพานทั้งสองฟากสะพานเทพสุดา และชมวิถีชี วิตการทำประมงของชาวบ้านในพื้นที่ ส่วนของการเดินทางจากตัวเมืองกาฬสินธุ์ ใช้ทางหลวง 227 มุ่งหน้าไปอำ เภอสหัสขันธ์ ประมาณ 32 กม. และเลี้ยวซ้ายบริเวณสี่แยกเข้าสู่ถนนสาย กส.3056 ขับตรงไปตามเส้นทางประ มาณ 6.6 กม. จนถึงสะพานเทพสุดา
14. ภาคใต้ ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดพัทลุง เป็นสะพานยกระดับที่ยาวที่สุดในประเทศไทยตามแนวทะเลน้อยกับทะเลหลวงของทะเลสาบสงขลา เชื่อมระหว่างจังหวัดพัทลุงและสงขลา รวมระยะทาง 5.450 กม. โดยในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี เป็นช่วงที่ดอกบัวแดงบานเหมาะกับการล่องเรือชมวิว และเป็นจุดชมนกน้ำนานาพันธุ์ สำหรับการเดินทางมายังถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ (พท.5050) สามารถเดินทางโดยเริ่มจากสี่แยกเอเชียพัทลุงวิ่งไปบนทางหลวง 41 จนถึงสี่แยกโพธิ์ทอง อำเภอควนขนุน จากนั้นให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง 4187 ระยะทาง 17 กม. และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสาย พท.4007 ระยะทาง 2.5 กม. จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ
15. ภาคตะวันออก ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต หรือถนนเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย มีแลนด์มาร์คอย่างจุดชมวิวเนินนางพญาที่สามารถมองเห็นวิวทะเลกับถนนที่คดเคี้ยวสวยงาม รวมทั้งเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง โดยสามารถขับรถชมวิวทะเล หรือปั่นจักรยานจากปากน้ำประแส จังหวัดระยอง มาจรดเนินนางพญาที่มีอ่าวคุ้งกระเบนของจังหวัดจันทบุรีได้เช่นกัน การเดินทางมาถนนเฉลิมบูรพาชลทิตนั้น จากตัวเมืองจังหวัดชลบุรี ใช้ทางหลวง 344 และทางหลวง 3 มุ่งหน้าไปยังจังหวัดจันทบุรี ถึงสามแยกประแสร์ เลี้ยวขวาเข้า ทางหลวง 3162 เมื่อถึงแยกคลองปูน ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ขับไปตามทางเรื่อยๆ เลยอ่าวคุ้งวิมาน ไปประมาณ 1.5 กม. จะถึงเนินนางพญา
นอกจากนี้ ถนน และสะพานยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่สำคัญต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ การคมนาคมภายในประเทศ ซึ่งสามารถช่วยยกระดับความเจริญให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และยังเป็นจุดเด่นในการนำนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในชุมชนได้อีกทาง ส่งเสริมเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในท้องถิ่นทั้ง 5 ภูมิภาค องประเทศไทยอย่างยั่งยืน