ธุรกิจ
โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ฉลองความสำเร็จครบรอบ 10 ปี

บรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นันทวัฒน์ ศรีวรัตน์อัชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมเป็นเกียรติภายในงานฉลองความสำเร็จครบรอบ 10 ปี โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับการพัฒนาธุรกิจชุมชนไทยอย่างครบวงจร ควบคู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ริเริ่มโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ตั้งแต่ปี พศ. 2557 โดยเกิดจากความมุ่งหวังที่จะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนไทย อันเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย ให้สามารถเพิ่มประ สิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มพูนกำไร และดำเนินธุรกิจด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน
โดยตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา โครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ได้มีส่วนเข้าไปช่วยเหลือธุรกิจชุมชนในลักษณะของการเป็น “พี่เลี้ยงทางธุรกิจ” โดยร่วมศึกษาถึงสาเหตุของปัญหา พร้อมนำองค์ความรู้ และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของ Toyota ได้แก่ วิถีโตโยต้า (Toyota Way) ระบบการผลิตแบบ Toyota (TPS : Toyota Production System) และหลักการ Kaizen เข้าไปถ่ายทอด และประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของธุรกิจชุมชนต่างๆ มีส่วนช่วยให้การดำเนินงานของธุรกิจเหล่านี้มีการพัฒ นา และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ และสร้างผลกำไร พร้อมทั้งได้มีการยกระดับไปสู่การเปิดเป็น “ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ครบทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
นอกจากนี้ Toyoya ยังได้มีการขยายผลโดยนำองค์ความรู้ และประสบการณ์จากการดำเนินโครงการ ไปถ่ายทอดเพื่อพัฒนาศักยภาพธุรกิจ โดยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ อาทิ ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระ ทรวงอุตสาหกรรม ในการดำเนินงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมในจังหวัดกรุงเทพฯ นครราชสีมา ชลบุรี และโครง การ ชุมชนดีพร้อม ตลอดจนการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศอีกด้วย ทำให้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา การขยายผลต่อยอดองค์ความรู้ของโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาธุรกิจต่างๆ ไปแล้ว 2,089 ธุรกิจ ช่วยเพิ่มพูนผลกำไรได้เป็นมูลค่ารวม 805 ล้านบาท และส่งต่อองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ และผู้คนทั่วไปที่สนใจเรียนรู้ไปแล้วกว่า 100,000 คน
สำหรับการก้าวสู่ปีที่ 11 ของโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ มีความมุ่งหวังที่จะยกระดับการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อช่วยปรับปรุง และพัฒนาธุรกิจชุมชนไทยให้ครอบคลุมในทุกมิติของการดำเนินงานอย่างครบวงจร ควบคู่ไปกับการส่งเสริมแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน จึงนำมาสู่การลงนามความร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาห กรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในการส่งเสริมความร่วมมือ และสนับสนุนโครงการต่างๆ อาทิ
1. การถ่ายทอดความรู้เชิงขั้นตอนให้กับผู้ประกอบการชุมชน ผ่านโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการชุมชน ในการบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้ได้มาตรฐาน พร้อมเสริมความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ ร่วมกับการเสริมทักษะในด้านอื่นๆ ที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ โดยการสนับสนุนจากกองพัฒนาอุตสาห กรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
2. กิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติผ่านกลไกความร่วมมือ Global Player ซึ่งจัดขึ้นโดยกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ภายใต้การดำเนินการร่วมกับ บริษัท โตโยต้า ออโต้ บอดี้ ประเทศไทย จำกัด ตลอดระยะเวลา 3 ปี กับอีก 23 บริษัท โดยการนำองค์ความรู้ทั้งด้านการจัดการการผลิต และการนำเทคโนโลยีเครื่องจักรอัตโนมัติ มาใช้เพื่อเพิ่มประ สิทธิภาพ คุณภาพ และลดต้นทุนการผลิตให้ผู้ประกอบการไทย
3. การร่วมดําเนินโครงการอื่นๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน
ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการไทย ผ่านองค์ความรู้ด้านการผลิตที่เป็นจุดเด่นของ Toyota โดยส่งเสริมทั้งในด้านผลิตผล คุณภาพ การส่งมอบสินค้า การบริหารสินค้าคงคลัง และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สอดคล้องกับแนวทาง ของภาครัฐ ที่ส่งเสริมนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนสู่ระดับชุมชน ในขณะที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งพร้อมให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการไทยอย่างรอบด้าน จะเป็นส่วนที่ช่วยเติมเต็มการพัฒนาในด้านอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการไทยต้องการ อาทิ ทักษะการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ การตลาด การเงินการบัญชี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ระบบลอจิสติคส์ ตลอดจนด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ โดยองค์ประกอบทางความรู้ต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทย ในการพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อนธุรกิจของตนเองได้อย่างครบวงจร เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐสู่อุตสาหกรรม 4.0 และช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งในกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจของประเทศต่อไป