ธุรกิจ
ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์
สอท. เเผยยอดผลิตรถเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 19.28
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ดังต่อไปนี้
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีทั้งสิ้น 133,690 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 19.28 และลดลงจากเดือนมกราคม 2567 ร้อยละ 5.92 เพราะผลิตเพื่อส่งออก และผลิตเพื่อขายในประ เทศลดลงร้อยละ 9.25 และ 32.96 ตามลำดับ ผลิตเพื่อส่งออกลดลงจากการผลิตรถกระบะลดลงเพราะบางบริ ษัทขาดชิ้นส่วนบางชิ้น ผลิตเพื่อขายในประเทศลดลงจากการผลิตรถยนต์นั่งลดลงเพราะถูกรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาแบ่งส่วนแบ่ง และจากการผลิตรถกระบะลดลง เพราะยอดขายลดลงจากการเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 275,792 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม -กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 15.90
รถยนต์นั่ง เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ 50,441 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 14.56 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 29,587 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 34.25
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 766 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 1,602.22
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 541 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 52.96
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 19,547 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 52.19
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 มีจำนวน 102,950 คัน เท่ากับร้อยละ 37.33 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 10.99 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 62,239 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 31.58
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 1,421 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 2,632.69
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 942 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 56.08
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 38,348 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 70.41
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 58.33
รถยนต์บรรทุก เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 83,249 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 21.88 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 172,832 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภา พันธ์ 2566 ร้อยละ 18.57
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 80,252 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 22.77 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 167,040 คัน เท่ากับร้อยละ 60.57 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 19.41 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 30,522 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 24.32
รถกระบะ Double Cab 106,461 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 21.97
รถกระบะ PPV 30,057 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 1.43
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ 2,997 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภา พันธ์ 2566 ร้อยละ 13.35 รวมเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ 5,792 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุม ภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 16.14
ผลิตเพื่อส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ 86,762 คัน เท่ากับร้อยละ 64.90 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 9.26 ส่วนเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 181,872 คัน เท่ากับร้อยละ 65.95 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.82
รถยนต์นั่ง เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 25,497 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 0.71 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 53,086 คัน เท่ากับร้อยละ 51.56 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 0.67
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 61,265 คัน ลดลงจากเดือนกุมภา พันธ์ 2566 ร้อยละ 12.85 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 128,786 คัน เท่ากับร้อยละ 77.10 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 4.18 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 11,926 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 26.98
รถกระบะ Double Cab 91,578 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 11.68
รถกระบะ PPV 25,282 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 75.70
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ 46,928 คัน เท่ากับร้อยละ 35.10 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนกุม ภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 32.96 และเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ 93,920 คัน เท่ากับร้อยละ 34.05 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 33.29
รถยนต์นั่ง เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 24,944 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 26.03 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ผลิตได้ 49,864 คัน เท่ากับร้อยละ 48.44 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ลดลงร้อยละ 20.76
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 18,987 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 43.52 และตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 38,254 คัน เท่ากับร้อยละ 22.90 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 47.49 ซึ่งแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 18,596 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 22.52
รถกระบะ Double Cab 14,883 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 54.56
รถกระบะ PPV 4,775 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 70.35
รถจักรยานยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 215,760 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 1.74 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 175,770 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.64 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 39,990 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 27.73
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 440,349 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 3.73 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 353,592 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 7.48 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 86,757 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 15.34
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 52,843 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2567 ร้อยละ 3.60 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 26.15 เพราะยอดขายรถกระบะ และรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 43.2 และ 20.1 ตามลำดับจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อตามนโยบายการให้กู้แบบรับผิดชอบและหนี้ครัวเรือนสูง และยอดขายรถ PPV ลดลงร้อยละ 47.6 จากการไปซื้อรถยนต์นั่งตรวจการณ์ที่เป็น HEV มากขึ้นเพราะราคาถูกกว่า รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตในระดับต่ำเพราะงบประมาณรายจ่ายปี 2567 ล่าช้าไปถึงเดือนเมษายน ทำให้การใช้จ่าย และการลงทุนของภาครัฐลดลง แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 31,536 คัน เท่ากับร้อยละ 59.68 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 9.14
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 13,360 คัน เท่ากับร้อยละ 25.28 ของยอดขายทั้ง หมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 41.38
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 4,731 คัน เท่ากับร้อยละ 8.95 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 28.56
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 255 คัน เท่ากับร้อยละ 0.48 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.93
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 13,190 คัน เท่ากับร้อยละ 24.96 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 65.77
รถกระบะมีจำนวน 15,535 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 43.15 รถ PPV มีจำนวน 3,304 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 47.61 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,471 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 28 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 997 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 14.42
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 143,663 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 6.71 และลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 11.78
ตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 รถยนต์มียอดขาย 107,657 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 21.49 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 65,900 คันเท่ากับร้อยละ 61.21 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 0.60
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 27,668 คัน เท่ากับร้อยละ 25.70 ของยอดขายทั้ง หมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 37.38
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 14,575 คัน เท่ากับร้อยละ 13.54 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 111.97
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 303 คัน เท่ากับร้อยละ 0.28 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 48.03
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 23,354 คัน เท่ากับร้อยละ 21.69 ของยอดขายรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 68.46
รถกระบะมีจำนวน 30,399 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 43.31 รถ PPV มีจำนวน 6,378 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 45.87 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 3,015 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 16.94 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,965 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 24.13
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 297,666 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 7.59
การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ส่งออกได้ 88,720 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 2.31 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 0.22 แยกเป็นรถยนต์สันดาปภายใน ICE 81,644 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 7.07 ส่งออกรถยนต์ HEV 7,076 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 951.41 ส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากความไม่ปลอดภัยในเส้นทางทะเลแดง จึงต้องไปอ้อมแหลมกูดโฮม การใช้เวลาในการขนส่งมากขึ้นจึงทำให้จำนวนเที่ยวลดลง และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าบางแห่งชะลอลง จึงส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ตะวันออก กลาง แอฟริกา และยุโรป มูลค่าการส่งออก 60,661.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 10.69
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,351.38 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 23.80
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 16,697.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 14.79
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,300.36 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 22.45
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 82,010.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 10.36
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 175,436 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 ระยะเวลาเดียวกันปีที่แล้ว แยกเป็นรถยนต์สันดาปภายใน ICE 163,407 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 5.97 ส่งออกรถยนต์ HEV 12,029 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 686.72 มูลค่าการส่งออก 121,228.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกรา คม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 12.80 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 4,461.84 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 19.23
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 31,735.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 15.68
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 4,218.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 17.76
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 161,644.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 12.24
รถจักรยานยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีจำนวนส่งออก 84,636 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนมกรา คม 2567 ร้อยละ 2.15 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 9.09 โดยมีมูลค่า 6,744.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 2.79
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 236.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 0.62
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 176.74 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 7.90
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 7,157.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 2.43
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 167,489 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 1.41 มีมูลค่า 12,501.29 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 3.05
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 457 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.23
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 324.08 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.74
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 13,282.36 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 3.45
เดือนกุมภาพันธ์ 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยาน ยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 89,168.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 9.68
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 174,926.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 10.87
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนกุมภาพันธ์ 2567
เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 6,335 คัน ลดลงจากเดือนกุม ภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 15.94 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 3,629 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 33.51
รถยนต์นั่ง จำนวน 3,530 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 94 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 1 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 1 คัน
รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 41 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 412.50
รถยนต์ 3 ล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 2 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 92.59
รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 2 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 2,587 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 40.45
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 2,587 คัน
รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 18 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 91
รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 58 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ร้อยละ 5,700
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 22,278 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 81.97 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 17,203 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 104.72
รถยนต์นั่ง จำนวน 16,852 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 336 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 2 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 10 คัน
รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 127 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 309.68
รถยนต์ 3 ล้อ มีทั้งสิ้น 4 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 93.22
รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 4 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 4,840 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 42.98
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 4,838 คัน
รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 2 คัน
รถโดยสารมีทั้งสิ้น 39 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 89.17
รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 65 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 1,200
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนกุมภาพันธ์ 2567
เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 11,991 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 51.38 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 11,966 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 52.72
รถยนต์นั่ง จำนวน 11,958 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 3 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 5 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 25 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 70.93
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 25 คัน
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 26,134 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ร้อยละ 67.44 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 26,085 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 68.42
รถยนต์นั่ง จำนวน 26,055 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 4 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 6 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 20 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 49 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 59.17
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 49 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนกุมภาพันธ์ 2567
เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 894 คัน ลดลงจากเดือนกุม ภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 28.42 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 894 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 28.42
รถยนต์นั่ง จำนวน 894 คัน
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 1,834 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 17.01 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 1,834 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 17.01
รถยนต์นั่ง จำนวน 1,834 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 154,020 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 247.72 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 106,907 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 383.15
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 105,650 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 382.97
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 913 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 305.78
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 56 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 700
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 66 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1,300
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 222 เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1,287.50
รถกระบะและรถแวน มีจำนวน 408 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 292.31
รถยนต์ 3 ล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 899 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 61.69
รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 84 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 33.33
รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ มีจำนวน 815 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 65.31
รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 42,979 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 115.93
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 42,846 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 115.99
รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 133 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 98.51
อื่นๆ
รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,458 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 56.36
รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 369 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1,090.32
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 369,532คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 34.28 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 360,421 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 35.44
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 359,558 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 35.44
รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 481 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.21
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 57 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 83.87
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 174 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 91.21
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 2 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 33.33
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 149 เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 380.65
รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,108 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.32
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,108 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.32
อื่นๆ
รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 55,782 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 25.08 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 55,782 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 25.08
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 55,713 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25.10
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 41 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.50
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 21 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 23.53
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์มีจำนวน 4 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 300
ไทยฮอนด้าฯ ประกาศแผนปี 2567 ยกระดับขับขี่ปลอดภัย
ไทยฮอนด้าฯ ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ Honda ในประเทศไทย ประ กาศแผนงานส่งเสริมการขับขี่ปลอดภัย ประจำปี 2567 ภายใต้โครงการ "ฮอนด้าเมืองไทยขับขี่ปลอดภัย (Honda Safety Thailand)" เดินหน้าสานต่อนโยบายร่วมสร้างสังคมที่ปลอดอุบัติเหตุ ด้วยการยกระดับขยายความรู้ทักษะขับขี่ปลอดภัยที่ถูกต้องให้แก่ผู้ใช้รถบนท้องถนนทั้งหมด โดยขยายความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆ รวมถึงนักเรียน อาชีวศึกษา พร้อมนำร่องด้วยการนำเครื่องจำลองการขับขี่ Riding Trainer ไปยังศูนย์ Honda Wing Center ทั่วประเทศมากกว่า 500 แห่ง รวมถึงผลักดันการรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยผ่านแคมเปญ "คลับไม่เสี่ยง" เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยบนท้องถนนได้อย่างทั่วถึง
ชิเกโตะ คิมูระ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด กล่าวว่า “นับเป็นเวลากว่า 35 ปีที่ Honda ให้ความสำคัญ และดำเนินการรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ "ฮอนด้าเมืองไทยขับขี่ปลอด ภัย (Honda safety Thailand)" เราให้การอบรมผู้ใช้รถใช้ถนนในเมืองไทยไปแล้วกว่า 35 ล้านคน โดยปีที่ผ่านมาการเสียชีวิต และอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นการตอกย้ำความสำเร็จที่ ไทยฮอนด้าฯ ได้ถ่าย ทอดทักษะขับขี่ที่ถูกต้องให้แก่ผู้ใช้งาน”
“สำหรับปี 2567 นี้ Honda ได้ยกระดับแผนงานส่งเสริมการขับขี่ปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อครอบคลุมในทุกด้าน ด้วยแผนงานหลัก 3 ส่วนประกอบด้วย
1. การฝึกทักษะขับขี่ปลอดภัยไปยังทุกภาคส่วน จากเดิมที่ได้มีการร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษาภาครัฐ สู่การเพิ่มความร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนไปพร้อมกัน โดยได้ผนึกกำลังกับ สอศ. เพื่อส่งมอบการเรียนรู้อย่างทั่วถึง
2. ขยายสื่อการเรียนรู้ โดยการนำเครื่องจำลองการขับขี่ Riding Trainer ที่พัฒนามาสำหรับการฝึกคาดการณ์อุ บัติเหตุ ไปยังศูนย์ Honda Wing Center กว่า 500 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาทด สอบทักษะการขับขี่ได้โดยไม่ต้องเข้าที่ศูนย์ฝึกฯ
3. การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยผ่านแคมเปญ "คลับไม่เสี่ยง" ที่ได้ "ณเดชน์-คูกิมิยะ" พรีเซนเตอร์รถจักรยานยนต์ Honda เข้ามาร่วมผลักดัน และได้ช่องยูทูปชื่อดังอย่าง "โคตรคูล" เข้ามาสื่อสารการรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยผ่านรายการ "คลับไม่เสี่ยง" เน้นไปยังกลุ่มวัยรุ่นยุคใหม่ พร้อมอินฟลูเอนเซอร์อื่นๆ อีกมากมาย ที่จะมาช่วยสร้างจิต สำนึกขับขี่ให้สังคมไทยเป็นเมืองแห่งการขับขี่ปลอดภัย
“ด้วย 3 แผนงานหลักดังกล่าว ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของเป้าหมายหลักที่จะทำให้อุบัติเหตุลดลง ตามนโยบายหลักของ Honda Motor ที่ได้ประกาศเป็น Global Vision โดยตั้งเป้าลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดกับรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ Honda ทั่วโลก ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593”
OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด
ดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ร่วมถ่ายทอดแนวคิดของ OR ในฐานะผู้บุกเบิกการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำในการเสวนาในหัวข้อ “Energy Transition การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”
ความมุ่งมั่นของ OR ในการปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ OR ให้ความสำ คัญมาโดยตลอด และชี้ให้เห็นถึงบทบาทของ OR ในการเป็นผู้บุกเบิกสู่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำผ่าน ทางพแลทฟอร์มต่างๆ ของ OR ซึ่งครอบคลุมทั้งในกลุ่มธุรกิจ Mobility และกลุ่มธุรกิจ Lifestyle เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี คศ. 2030 และ Net Zero ปี 2050 ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ประกอบด้วย
• การบุกเบิกด้านพลังงานแห่งอนาคต เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนผ่านของการใช้พลังงาน (Pioneering The Low Carbon Shift : OR’s Mobility Solution) ไม่ว่าจะเป็นการหนุนการใช้พลังงานสะอาดด้วยการติดตั้งเครื่องชาร์จ EV Station PluZ ครอบคลุมเส้นทางหลัก 77 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมตั้งเป้าขยายหัวชาร์จให้ครบ 7,000 หัวชาร์จ ในปี พศ. 2573 (คศ. 2030) นอกจากนี้ ยังเสริมความแข็งแกร่งด้านพลังงานแห่งอนาคต (Future Energy) ด้วยการเปิดสถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจนสาหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) แห่งแรกของประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัท บางกอกอินดัส เทรียลแก๊ส จำกัด เพื่อขยายผลการขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงยังได้ร่วมกับการ บินไทยทดลองนำร่องใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (SAF)
• การพัฒนา Platform แห่งอนาคต เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน และการใช้ชีวิตที่หลากหลาย (Propelling Seamless Energy Transition : OR’s Network of The Future) ด้วยการเป็นผู้บุกเบิกการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านพแลทฟอร์มแห่งอนาคต (Future Platform) โดย OR ได้เปิด PTT Station Flagship วิภาวดี 62 สถานีบริการต้นแบบในอนาคต ซึ่งถือเป็นต้นแบบ “Green Station” โดยใช้เทคโนโลยีพลัง งานสะอาด (Renewable Energy) 100 % ผ่านการใช้พลังงานจาก Solar Rooftop เพื่อใช้ภายในสถานีบริการและร้านค้าที่ OR ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบทเตอรี (G-Box) จากกลุ่มบริษัทในเครือ Nuovo Plus เพื่อจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการซื้อพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการใช้เอกสารสิทธิ์เพื่อยืนยันการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือ REC (Renewable Energy Certificate) รวมทั้งอยู่ระหว่างการพัฒนาการนำเทคโนโลยี AI-CCTV มาช่วยคำนวณคาร์บอนของรถที่เข้า-ออก ในสถานีบริการเพื่อร่วมกันลดการปล่อยคาร์บอน
• การผลักดันให้ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจสู่ความเป็น Green ตลอดทั้งระบบนิเวศน์ของ OR (Promoting Green value Chain : OR’s Ecosystem) ผ่านโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเมล็ดกาแฟแบบยั่งยืน (Green Sourcing) ซึ่งประกอบไปด้วย การส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ส่งเสริมการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรในรูปแบบการปลูกเชิงเดี่ยว สู่การสร้างป่าเชิงนิเวศน์ในพื้นที่ปลูกกาแฟ และการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรโดยตรง โดยล่าสุด OR ได้เปิดจุดรับซื้อ และโรงแปรรูปกาแฟ Cafe Amazon อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดรับซื้อเมล็ดกาแฟกะลา Arabica จากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรโดยตรงในราคาที่เป็นธรรม นอกจากนี้ OR ยังบุก เบิกโครงการด้าน Green Logistics ด้วยการนำร่องใช้รถไฟฟ้าขนาดใหญ่ขนส่งเมล็ดกาแฟดิบเส้นทางระยะไกลรายแรกของไทย ตลอดจนผลักดันการปรับรูปแบบการขนส่งผลิตภัณฑ์ เพื่อมุ่งเน้นการลดคาร์บอน โดยการขนส่งน้ำมันผ่านทางท่อมากขึ้น อีกทั้งยังมุ่งเน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ในการปฏิบัติงาน (Green Operation) รวมถึงการปรับให้ทั้ง PTT Station หรือ Cafe Amazon เป็น Green Outlet ที่ใช้พลังงานสะอาด และการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในร้าน Cafe Amazon
นอกจากนี้ OR ยังได้ดำเนินโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน โดยได้ร่วมกับหลากหลายหน่วยงานในการส่งเสริมการปลูก และรับซื้อกาแฟจากเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายเมล็ดกาแฟที่มั่นคง มีตลาดที่แน่นอน ในระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) ควบคู่กับการพัฒนาความรู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2558-2566 OR ได้สนับสนุนเกษตรกรด้วยการเป็นตลาดรับซื้อกาแฟสารจากเกษตร กรไทยรวมแล้วกว่า 6,109 ตัน (6,109,000 กก.) หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1,100 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายว่าภายในปี พศ. 2570 จะสามารถขยายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นแปลงปลูกกาแฟ และไม้ร่มเงารวมทั้งสิ้น 4,600 ไร่ ส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ 1,800 ครัวเรือน อย่างยั่งยืน และเป็นตลาดรับซื้อในระบบ Fair Trade สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรกว่า 200 ล้านบาท/ปี อีกทั้งยังมีแนวคิดในการพัฒนาอุทยาน Cafe Amazon บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ ณ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ Cafe Amazon ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ของ Cafe Amazon ให้ยั่งยืน
OR มุ่งตอบโจทย์วิถีแห่งอนาคต ผ่านแนวทาง SDG ในแบบฉบับของ OR ที่คำนึงถึงมิติสังคม ชุมชน สิ่งแวด ล้อมควบคู่การเติบโตทางธุรกิจ ด้วยแนวคิดการสร้างโอกาสให้คนตัวเล็กเพื่อยกระดับสังคมชุมชน (S-Small) สร้างการเติบโตผ่านพแลทฟอร์มของ OR (D-Diversified) ตลอดจนการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (G-Green) ซึ่ง OR ได้นำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริงแบบ In Action ตั้งแต่กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และเป้าหมายธุรกิจจนเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก้าวที่มั่นคงสู่เป้าหมายการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนในปี 2030 (OR 2030 Goals) ที่ครอบคลุมทั้งสังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินการที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป
ผศ.ดร. จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หรือ มทร. ล้านนา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานสะอาด และพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะในเรื่องของระบบสะสมพลังงาน และยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ โดยล่าสุด มทร. ทั้ง 9 แห่ง มีนโนบายชัดเจนในการพัฒนาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในส่วนของ มทร. ล้านนา ได้มีการศึกษาเส้นทางการติดตั้งสถา นีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละจุด แต่ละวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า อยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่ง มทร. ล้านนา มีทั้งหมด 6 วิทยาเขต 1 สถาบัน ได้แก่ เขตพื้นที่ภาคพายัพ เขตพื้นที่เชียงราย เขตพื้นที่ตาก เขตพื้นที่น่าน เขตพื้นที่ลำปาง เขตพื้นที่พิษณุโลก และสถาบันวิจัยลำปาง ซึ่งเบื้องต้นต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ยังไม่สามารถติดตั้งสถา นีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ขณะนี้
“ผมได้อนุมัติ และหลักการการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบควิคชาร์จ ซึ่งชาร์จได้เร็วเพียง 15-20 นาทีเท่านั้น โดยจะดำเนินการบริการในบริเวณของ มทร. ล้านนา ห้วยแก้ว จ. เชียงใหม่ ถือเป็นจุดสำคัญเนื่องจากติดกับถนนใหญ่ สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ อีกทั้งการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะมีประโยชน์ต่อนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การบริหารจัดการสถานี ระบบการชาร์จ การดูแล และโปรโมชันทางการตลาดเป็นอย่างไร อันนำไปสู่การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงจากพโรเจคท์จริงๆ” ผศ.ดร. จัตตุฤทธิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำผลิตภัณฑ์จากพโรเจคท์ต่างๆ ร่วมกับชุมชนจะได้นำมาขายในร้านค้า หรือร้านกาแฟ Coffee Go Green ที่อยู่ในสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชน รวมถึงเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย โดยขณะนี้มีภาคเอกชนให้ความสนใจที่จะมาติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบควิคชาร์จ ประมาณ 5 สถานีภายในห้วยแก้ว จ. เชียงใหม่ ซึ่งการชาร์จ 1 ครั้งนั่งรอเพียง 15-20 นาที จะทำให้ชาร์จได้ 80 % ก็สามารถเดินทางไปยังเส้นทางต่างๆ ในเมืองเชียงใหม่ได้"
ผศ.ดร. จัตตุฤทธิ์ กล่าวต่อว่า หลังจากนี้จะมีการขยายการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบควิคชาร์จ ไปยังพื้น ที่เขตต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางเชียงราย น่าน พิษณุโลก ต่อไป อย่างไรก็ตาม การที่มหาวิท ยาลัยเปิดให้มีการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่หน้ามหาวิทยาลัย หรือพื้นที่ที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของวิทยาเขต และสถาบันแต่ละแห่ง ซึ่ง มทร. ล้านนา สถานที่ตั้งส่วนใหญ่จะติดกับถนนใหญ่ จึงอาจจะทำให้เหมาะแก่การลงทุน ดังนั้น มทร. ล้านนา หรือกลุ่ม มทร. ทั้งหมด พร้อมที่จะเป็นสถานีติดตั้งรถยนต์ไฟฟ้า เพียงแต่รัฐบาลอาจต้องให้การสนับสนุน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด และช่วยลดโลกร้อน