สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อการผลิต และพัฒนาสมรรถนะกำลังคน ด้านยานยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยว ข้องกับยายนต์ไฟฟ้า ระหว่างสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดแข่งขันรถจักร ยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ร่วมกับทาง สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยในปีนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้สนับสนุนมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ซึ่งการจัดเเข่งขันรถจักรยาน ยนต์ไฟฟ้าดัดเเปลงเเห่งอนาคตในครั้งนี้ เล็งเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะช่วยสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้แสดงออกถึงศักยภาพการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ที่สามารถต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต เพื่อผลักดันเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อสอดรับกับภารกิจมุ่งสู่ความเป็น กลางทางคาร์บอนตามนโยบายภาครัฐ
อาจารย์สมมาตร ทองคำ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ศ.ดร. บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบ ดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ให้เป็นผู้แทนในการเเถลงข่าวในครั้งนี้ เผยว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ทั้งในเรื่องความร่วมมือการจัดงานการแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรียินดีสนับ สนุนให้ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่จัดงานการเเข่งขัน และเรื่องความร่วมมือทางวิชาการของคณะวิศว กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธรบุรี มีศักยภาพ เเละพร้อมตอบรับการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันที่ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และจะมีส่วนช่วยในการผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง และเเข็งเเรง อีกทั้งยังเป็นการตอบรับนโยบายกระทรวง อว. เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อว. For EV) มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีได้ส่งเสริมการใช้รถ EV ในพื้นที่มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เตรียมเปิดหลักสูตรเพื่อผลิต และพัฒนาสมรรถนะกำลังคนด้าน EV รวมถึงการส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมด้าน EV ซึ่งมหาวิทยาลัยกรุงเพทธนบุรีมุ่งมั่นที่จะเป็นเครือข่ายที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายด้าน EV ของประเทศ
กฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวว่า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ในปีนี้รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเเห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งในวันนี้เราได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง ด้านความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อการผลิต และพัฒนาสมรรถนะกำลังคนด้านยานยนต์ไฟฟ้า กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภายใต้การสนับสนุนบุคลากร หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วางรากฐาน และแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี นอกจากนี้ทางสมาคมฯ ยังได้รับความร่วมมือจากทั้ง 2 ฝ่าย ในการจัดงานการแข่ง ขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ที่ทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการจัดการเเข่งขันขึ้นเป็น ครั้งที่ 3 เเล้ว โดยจะใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นสถานที่จัดงานการเเข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดเเปลง ซึ่งในปีนี้ได้รับความสนใจจากหลายทีมสมัครเข้าร่วมการเเข่งขัน โดยจะมีขึ้นในวันที่ 26-27 เมษายน นี้ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งการจัดงานเเข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดเเปลงเเห่งอนาคตในครั้งนี้ทางสมาคม ฯ มีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะผลักดันการปลูกฝัง และผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังมีการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ สอดรับกับเป้าหมายของรัฐบาลไทยที่ต้องการให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าป้อนสู่ตลาดโลก
บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการลงนามระหว่าง 2 ฝ่าย ได้เเก่ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งเป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการผลิต และพัฒนาสมรรถนะกำลังคนด้านยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้วัตถุประสงค์
1. เพื่อการร่วมมือกันในการร่างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่ ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
2. เพื่อร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อพัฒนาสมรรถนะ กำลังคนให้ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
3. เพื่อการร่วมมือกันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วางรากฐาน และแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า
4. เพื่อการร่วมมือกันวิจัย พัฒนา นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า
5. เพื่อการร่วมมือกันด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ บุค ลากร และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนในด้านการวิจัย พัฒนา นวัตกรรม การพัฒนา บุคลากร การฝึกอบ รม และด้านการจัดกิจกรรม/โครงการต่างๆ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
ส่วนกรอบระยะเวลาดำเนินการนั้น ตามกรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวนี้ มีระยะเวลา 3 ปี มีผล นับตั้งแต่วันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการนี้