ธุรกิจ
ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์
เปิดตำนาน Ford Ranger
Ford Ranger เปิดตัวครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2525 โดยมีหัวใจสำคัญ คือ การเป็นรถที่แข็งแกร่งตามแบบฉบับของ Ford ในราคาที่เข้าถึงได้ พร้อมสมรรถนะที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า นับเป็นเวลากว่า 40 ปีที่ Ford Ranger ได้รับความนิยม และครองรางวัลระดับโลกมาแล้วมากมาย โดยปัจจุบัน Ford Ranger มีจำหน่ายในกว่า 180 ประเทศทั่วโลก
ประวัติศาสตร์รถบรรทุกของ Ford
Ford ผลิตรถบรรทุกมานานกว่า 100 ปี โดยเริ่มจากการเปิดตัวรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็กในช่วงต้นปี 2448 และเข้าสู่ธุรกิจรถบรรทุกอย่างเป็นทางการในปี 2460 ด้วยรถ Model TT ที่มีโครงรถ และเพลาล้อหลังที่แข็งแกร่งมากขึ้นเมื่อเทียบกับรถ Model T จึงทำให้รองรับน้ำหนักได้ถึง 1 ตัน ตอกย้ำความมุ่งมั่นของ Ford ในการผลิตรถยนต์ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้รับการออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อการใช้งานหนัก ตามแนวคิด "Built stronger to last longer"
วิวัฒนาการของรถกระบะ
ในกลางปี 2476 ฮูเบิร์ท เฟรนช์ กรรมการผู้จัดการของ Ford Australia ในขณะนั้น ได้รับจดหมายจากชาวนาสามีภรรยาคู่หนึ่งว่าตนไม่มีกำลังพอที่จะซื้อทั้งรถเพื่อใช้โดยสาร และรถสำหรับบรรทุกของได้ จึงอยากได้รถคันเดียวที่ทำได้ทั้งหมด เขาจึงได้ให้นักออกแบบนามว่า ลูอิส แบนด์ท ออกแบบรถโดยสารที่บรรทุกสัมภาระหนักได้ด้วย รถกระบะ Ford จึงถือกำเนิดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การออกแบบของแบนด์ท แตกต่างจากรถกระบะทั่วไปในสมัยนั้นที่ตัว cab เป็นไม้ กระบะท้ายเป็นเหล็ก โดยเขาสร้างรถเป็นแบบคูเป (2 ที่นั่ง ตัว cab ทำจากเหล็ก หน้าต่างทำจากกระจก) ติดตั้งกระบะท้ายทำจากเหล็ก และออกแบบให้ตัว cab และกระบะท้ายมีความต่อเนื่องเป็นคันเดียวกัน เพิ่มพื้นที่บรรทุกมากขึ้น รถคันแรกได้ออกจากสายการผลิตในปี 2477 และจำหน่ายไปกว่า 22,000 คัน ในระหว่างปี 2483-2497
รถกระบะ Ford รุ่นต้นแบบที่ออกแบบโดยแบนด์ท กลายเป็นคอนเซพท์ที่ส่งต่อไปผลิตทั่วโลก นอกจากนี้ ยังเป็นรากฐานสำคัญให้รถตระกูล Falcon ถึง 7 รุ่น ตลอดช่วงปี 2504-2559 รถตระกูล Bantam ในประเทศแอฟริกาใต้ รวมถึงในประเทศสหรัฐอเมริกายังมีการนำการออกแบบคอนเซพท์นี้ไปใช้ในรถตระกูล Maverick อีกด้วย คำว่า ute ที่แบนด์ทใช้เรียกนวัตกรรมของเขายังมีอิทธิพลให้ผู้คนในออสเตรเลียนำไปใช้ในความหมายเดียวกับรถกระบะ (Pickup) นับแต่นั้นเป็นต้นมา
กำเนิด Ford Ranger ในสหรัฐอเมริกา (ปี 2525)
ก่อนหน้านี้ Ranger เคยเป็นหนึ่งในรถรุ่นย่อยของ Ford F-Series ในปี 2508 และ Ford Bronco ในปี 2515 มาก่อน ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2525 Ford Ranger คันแรกเปิดตัวสู่สาธารณะที่งานซีราคิวส์ ออโตโชว์ โดยนับเป็นรุ่นปี 1983 แม้จะมีขนาดกะทัดรัด แต่มีพื้นที่รองรับผู้โดยสารได้ถึง 3 คน และรับน้ำหนักบรรทุกได้ 1,600 ปอนด์ (ประมาณ 725 กก.) พร้อมส่งมอบขุมพลังระดับตำนานของ Ford และการประหยัดน้ำมัน โดยเพียง 5 วันให้หลัง รถคันแรกได้ออกจากสายการผลิตที่เมืองหลุยส์วิลล์ รัฐเคนทัคคี
Ford Ranger กลายเป็นรถกระบะขนาดเล็กที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2530-2539 นอกจากนี้ ยังสร้างชื่อเสียงได้อย่างถล่มทลายในการแข่งขันออฟโรด Score ถึง 4 ฤดูกาลติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2527-2530 รวมถึงสร้างความสำเร็จให้แก่ทีม Rough Riders ของ Ford ในปี 2534-2538
การเติบโตระดับโลกของ Ford Ranger (ปี 2541)
ตัวอักษร Ranger ปรากฏครั้งแรกบนรถกระบะที่จำหน่ายในยุโรป และเอเชีย ในปี 2541 โดยมาแทนที่รุ่น Courier ที่เป็นหน้าเป็นตาของรถกระบะ Ford ในภูมิภาคนี้มากว่า 30 ปี Ranger เปิดตัวด้วยกระบะ cab 3 รูปแบบ ตัวเลือกฐานล้อ 2 แบบ และมาในเครื่องยนต์ และแรงบิดที่ทรงพลังให้เลือก Ford Ranger ยังเป็นหนึ่งในรถยนต์รุ่นแรกๆ ที่ผลิตขึ้นในโรงงานออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) จังหวัดระยอง
ถือกำเนิด Ford Ranger Wildtrak (ปี 2548)
Wildtrak เป็นรุ่นย่อยของรถกระบะตระกูล Ranger ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการใช้รถทั้งสำหรับทำงาน และพักผ่อน Ford Ranger Wildtrak สร้างมาเพื่อสะท้อนความแกร่ง ด้วยล้อที่ใหญ่ขึ้น สปอร์ทบาร์อันเป็นเอกลักษณ์ ราวกระบะท้าย ราวหลังคา และบันไดข้าง ซึ่งยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการออกแบบ Wildtrak มาจนถึงทุกวันนี้
Ford Ranger เจเนอเรชันที่ 2 (ปี 2549)
Ford Ranger เจเนอเรชันที่ 2 ได้สร้างมาตรฐานใหม่ทั้งด้านประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือ ด้วยการออกแบบที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และตัวเลือกเครื่องยนต์ดีเซล คอมมอนเรล 2 แบบ Ford จึงยุติการทำตลาดโมเดล Courier ในออสเตรเลีย และเอเชีย และหันมาปรับโฉม Ford Ranger ใหม่ ให้โดดเด่นยิ่งขึ้นไปอีกในปี 2552 ด้วยการออกแบบกระจังหน้าลาย 3 แถบแบบใหม่ และส่งรุ่นย่อย Wildtrak ไปจำหน่ายในประเทศอื่นๆ มากขึ้น รวมถึงประเทศไทย
Ford Ranger เจเนอเรชันที่ 3 (ปี 2554)
Ford Ranger เจเนอเรชันที่ 3 ที่พัฒนาในประเทศออสเตรเลีย เปิดตัวในงานแสดงรถยนต์นานาชาติออสเตรเลีย 2010 ที่ซิดนีย์ โดยรวมคุณสมบัติของรถกระบะขนาดกลางที่ใช้กันทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน และนับว่าเป็นกระบะขนาดกลางที่ทรงพลังที่สุดที่ Ford เคยผลิตมา โดยมีโรงงานผลิตอยู่ที่จังหวัดระยอง ประเทศไทย และเมืองซิลเวอร์ตัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยจัดจำหน่ายไปยังกว่า 180 ประเทศ
การปรับโฉมของ Ford Ranger เจเนอเรชันที่ 3 (ปี 2558)
Ford ได้ปรับโฉม Ranger อีกครั้ง โดยมีจุดเด่นที่กระจังหน้าแถบเดียวทรงรีที่แทนกระจังหน้า 3 แถบทรงเหลี่ยม ภายในออกแบบใหม่ด้วยแผงหน้าปัดที่ดุดันขึ้นโดยมีหน้าจอ SYNC ติดตั้งไว้ตรงกลาง อีกทั้ง Ford ยังเพิ่มฟีเจอร์ที่ไม่เคยมีในรถรุ่นอื่นในเซกเมนท์ เช่น ระบบควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง ระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ และระบบช่วยจอดทั้งหน้า และหลัง
ฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง (เอฟทีเอม)
Ford เปิดโรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง (เอฟทีเอม) ในปี 2555 และเริ่มผลิต Ford Ranger ใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั่วโลกในเวลาต่อมา
การเปิดตัว Ford Ranger Raptor (ปี 2561)
Ford Ranger Raptor รถกระบะสมรรถนะสูงดีเอนเอ Ford Performance เผยโฉมเป็นครั้งแรกโดยใช้ขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร เทอร์โบคู่ เกียร์อัตโนมัติ 10 จังหวะ ขับเคลื่อน 4 ล้อ และระบบกันสะเทือนด้วยชอคอับ Fox ที่ปรับแต่งมาเป็นพิเศษเพื่อการใช้งานแบบออฟโรด สร้างความคึกคักให้แก่ทั้งลูกค้า และสื่อมวลชน
Ford Ranger และ Ford Ranger Raptor เจเนอเรชันใหม่ (ปี 2565)
Ford Ranger เจเนอเรชันที่ 4 ได้เผยโฉมพร้อมกันทั่วโลก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ในรูปลักษณ์ใหม่ทั้งหมด ภายใต้แนวทางการออกแบบที่มุ่งเน้นผู้ใช้งานเป็นหลัก ก้าวข้ามขีดจำกัดของการออกแบบภายนอกแบบเดิมๆ ด้วยกระจังหน้าอันเป็นเอกลักษณ์ไฟหน้าใหม่รูปตัว C และบันไดเหยียบข้างกระบะท้าย โดยมาเปิดตัวที่ประเทศไทยในปี 2565 พร้อมกับ Ford Ranger Raptor เจเนอเรชันที่ 2 ซึ่งมีการออกแบบกระจังหน้า และไฟหน้าเหมือนกับ Ranger พร้อมนำเสนอเครื่องยนต์เบนซิน 3.0 ลิตร วี 6 และชอคอับ Fox แบบไลฟ์วาล์ว ยกระดับสมรรถนะด้านออฟโรดให้เหนือมาตรฐานสำหรับผู้หลงใหลการขับขี่ออฟโรดตัวจริง
Ford Ranger Raptor คว้าชัยชนะในการแข่งขันบาฮา 1000 (ปี 2565)
Ford Ranger Raptor ได้สร้างผลงานแทบไร้ที่ติในการแข่งขันออฟโรดครอสส์คันทรีสุดโหด Score-International Baja 1000 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเมกซิโก ไปจนถึงเมืองริเวอร์ไซด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย รถกระบะสมรรถนะสูงคันนี้ถูกปรับแต่งสำหรับการแข่งขันในออสเตรเลียโดยทีม Kelly Racing รวมถึงทดสอบ และปรับปรุงโดยทีม Lovell Racing และ Huseman Engineering ในสหรัฐอเมริกา
Ranger ยังคงพัฒนาต่อไป (ปี 2566)
Ford ยังคงนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ใน Ranger อย่างต่อเนื่องทั่วโลก รวมถึงในไทย โดยการสร้างปรากฏการณ์ขึ้นอีกครั้งด้วย Ford Ranger Stormtrak นำเสนอนวัตกรรมที่ยังไม่เคยมีมาก่อนใน Ranger อย่างราวหลังคา และสปอร์ทบาร์แบบปรับได้ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ใหม่ๆ ในรถกระบะได้สนุกยิ่งขึ้น
Ranger Wildtrak พร้อมขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ลิตร วี 6 (ปี 2567)
ในเดือนมีนาคม 2567 Ford ยกระดับมาตรฐานเซกเมนท์รถกระบะอีกครั้งในประเทศไทย ด้วยการเปิดตัว Ford Ranger Wildtrak V6 รถกระบะรุ่นย่อยใหม่ล่าสุดในตระกูล Ford Ranger แกร่งไปอีกขั้นด้วยขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ลิตร ที่ได้รับความนิยมมายาวนานในต่างประเทศ มีความเสถียร และทนทาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกำลัง และแรงบิดมากขึ้นสำหรับการลากจูง และการขับขี่แบบออฟโรด
Ford Ranger ใหม่ ได้รับการออกแบบ และพัฒนาในประเทศออสเตรเลีย ผลิตที่โรงงาน Ford 2 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง (เอฟทีเอม) โรงงานออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) รวมถึงในโรงงานที่เมืองซิลเวอร์ทัน พริทอเรีย (Ford South Africa) และจัดจำหน่ายไปยังกว่า 180 ประเทศ
สอท. สรุปยอดผลิต ขาย ส่งออกรถยนต์ จักรยานยนต์ เดือนมีนาคม 2567
เดือนมีนาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 138,331 คัน ลดลงร้อยละ 23.08 ขาย 56,099 คัน ลดลงร้อยละ 29.83 ส่งออก 95,089 คัน ลดลงร้อยละ 3.35 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 1,226 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.65 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 4,615 คัน ลดลงร้อยละ 28.38
ศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนเมษายน 2567
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนเมษายน 2567 มีทั้งสิ้น 104,667 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 11.02 จากการผลิตรถยนต์นั่ง และรถกระบะเพื่อขายในประเทศที่ลดลงร้อยละ 5.03 และ 45.94 ตามลำดับสอดคล้องกับยอดขายที่ลดลง เพราะหนี้ครัวเรือนที่สูง และเศรษฐกิจเติบโตในอัตราต่ำ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมติดลมมาหลายเดือน กำลังซื้อยังเปราะบาง และลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 24.34
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-เมษายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 518,790 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 17.05
รถยนต์นั่ง เดือนเมษายน 2567 ผลิตได้ 38,190 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 5.39 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 23,568 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 28.84
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 644 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 2,476
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 246 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 56.77
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 13,732 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 106.43
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2567 มีจำนวน 193,239 คัน เท่ากับร้อยละ 37.25 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 12.11 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 117,491 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 31.84
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 3,291 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 2,712.82
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 1,794 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 49.76
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 70,663 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 61.31
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนเมษายน 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 78.26
รถยนต์บรรทุก เดือนเมษายน 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 66,477 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 13.95 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 325,541 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 19.72
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนเมษายน 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 65,752 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 12.50 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 316,002 คัน เท่ากับร้อยละ 60.91 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 20.08 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 55,972 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 21.74
• รถกระบะ Double Cab 206,143 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 21.69
• รถกระบะ PPV 53,887 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 11.12
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนเมษายน 2567 ผลิตได้ 725 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 65.61 รวมเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตได้ 9,539 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 5.79
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนเมษายน 2567 ผลิตได้ 71,928 คัน เท่ากับร้อยละ 68.72 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 5.92 ส่วนเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 345,608 คัน เท่ากับร้อยละ 66.62 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.93
รถยนต์นั่ง เดือนเมษายน 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 20,792 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 5.03 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 102,597 คัน เท่ากับร้อยละ 53.09 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 4.25
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนเมษายน 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 51,136 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 6.29 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 243,011 คัน เท่ากับร้อยละ 76.90 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 5.67 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 21,119 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 23.80
• รถกระบะ Double Cab 177,648 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 10.64
• รถกระบะ PPV 44,244 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 42.17
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนเมษายน 2567 ผลิตได้ 32,739 คัน เท่ากับร้อยละ 31.28 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 34.17 และเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตได้ 173,182 คัน เท่ากับร้อยละ 33.38 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 35.71
รถยนต์นั่ง เดือนเมษายน 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 17,398 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 15.42 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2566 ผลิตได้ 90,642 คัน เท่ากับร้อยละ 46.91 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ลดลงร้อยละ 25.37
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนเมษายน 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 14,616 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 45.94 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 72,991 คัน เท่ากับร้อยละ 23.10 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 47.01 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 34,853 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 20.44
• รถกระบะ Double Cab 28,495 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 55.78
• รถกระบะ PPV 9,643 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 67.32
รถจักรยานยนต์
เดือนเมษายน 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 161,912 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 4.36 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 136,387 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 2.89 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 25,525 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.52
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-เมษายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 821,695 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 3.94 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 669,785 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 7.12 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 151,910 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 13.15
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนเมษายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 46,738 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 16.69 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 21.49 จากการเข้มงวดในการอนุมุติสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศเติบโตในระดับต่ำจากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ทำให้การใช้จ่ายการลงทุนของรัฐบาลลดลงมากจนทำให้กำลังซื้อของประชาชนอ่อนแอลง ยอดขายรถยนต์จึงลดลงจากปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 21.49 จนตกไปเป็นอันดับ 3 รองจากประเทศมาเลเซียแล้ว
เมื่องบประมาณปี 2567 มีผลแล้ว หวังว่ารัฐบาลจะเร่งรัดการเบิกจ่าย และการลงทุนรวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตซึ่งรัฐบาลก็ได้กระตุ้นการซื้ออสังหาริมทรัพย์เมื่อเดือนเมษายนแล้ว จึงขอรัฐ บาลช่วยกระตุ้นการซื้อรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์สันดาปภายใน และรถกระบะที่ใช้ชิ้นส่วนผลิตในประเทศกว่าร้อยละ 90 ซึ่งมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องจำนวนมากพอๆ กับอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้อุตสาห กรรมเหล่านี้มีการผลิตเพิ่มขึ้น จ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนมีงานทำมากขึ้น รัฐบาลเก็บภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่สูงขึ้น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 27,078 คัน เท่ากับร้อยละ 57.94 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 7.83
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 12,757 คัน เท่ากับร้อยละ 27.29 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 31.17
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 3,900 คัน เท่ากับร้อยละ 8.34 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 7.21
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 132 คัน เท่ากับร้อยละ 0.28 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.57
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 10,289 คัน เท่ากับร้อยละ 22.01 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 59.10
รถกระบะมีจำนวน 14,067 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 35.69 รถ PPV มีจำนวน 3,622 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 26.74 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 930 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 59.76 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,041 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 1.76
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 127,045 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 15.27 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 2.63
ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2567 รถยนต์มียอดขาย 210,494 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 23.90 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 126,707 คัน เท่ากับร้อยละ 60.20 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 6.04
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 56,650 คัน เท่ากับร้อยละ 26.91 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.09
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 23,031 คัน เท่ากับร้อยละ 10.94 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 31.43
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 695 คัน เท่ากับร้อยละ 0.33 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.69
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 46,331 คัน เท่ากับร้อยละ 22.01 ของยอดขายรถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 66.76
รถกระบะมีจำนวน 60,678 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.28 รถ PPV มีจำนวน 13,436 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.01 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 5,527 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 35.20 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 4,146 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 16.............
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 574,649 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 8.86
การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูป
เดือนเมษายน 2567 ส่งออกได้ 70,160 คัน ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 26.22 และลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 12.23 เพราะผลิตเพื่อส่งออกได้น้อยจากจำนวนวันทำงานน้อยในเดือนเมษายน ส่งออกเท่ากับร้อยละ 97.54 ของยอดการผลิตเพื่อการส่งออก จึงส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดอเมริกาเหนือ และตลาดยุโรป แบ่งเป็น
• รถกระบะ ICE 41,634 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 59.34 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 15.78
• รถยนต์นั่ง ICE 16,129 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 22.99 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 21.11
• รถยนต์นั่ง HEV 2,501 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 3.56 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 259.86
• รถ PPV 9,896 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 14.10 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 5.65
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 48,146.79 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 4.02
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,805.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 44.77
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 16,315.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 38.89
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,006.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 22.86
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนเมษายน 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 69,274.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 5.79
เดือนมกราคม-เมษายน 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 340,685 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 3.66 แบ่งเป็น
• รถกระบะ ICE 196,784 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 57.76 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 4.89
• รถยนต์นั่ง ICE 77,634 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 22.79 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 28.02
• รถยนต์นั่ง HEV 19,418 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 5.70 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 590.05
• รถ PPV 46,849 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.75 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 29.96
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 237,301.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 8.71 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 9,669.08 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 11.15
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 62,585.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 9.89
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 8,326.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 12.05
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-เมษายน 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 317,883.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 8.29
รถจักรยานยนต์
เดือนเมษายน 2567 มีจำนวนส่งออก 52,770 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 38.81 และลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 16.73 โดยมีมูลค่า 4,271.53 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 20.60
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 184.91 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 13.17
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 172.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 59.13
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนเมษายน 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,628.81 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 18.81
เดือนมกราคม-เมษายน 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 306,498 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 0.63 มีมูลค่า 23,976.21 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 3.61
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 840.60 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 17.17
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 670.18 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 1.50
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-เมษายน 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 25,486.99 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 4.08
เดือนเมษายน 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 73,903.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 3.82
เดือนมกราคม-เมษายน 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 343,370.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 7.26
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนเมษายน 2567
เดือนเมษายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 6,041 คัน ลดลงจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 16.60 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 4,091 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 7.09
o รถยนต์นั่ง จำนวน 4,009 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 69 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 2 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 11 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 4 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 100
• รถยนต์ 3 ล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 22 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 15.79
o รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 2 คัน
o รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ จำนวน 20 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 1,853 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 49.68
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 1,853 คัน
• รถโดยสารมีทั้งสิ้น 61 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 34.41
• รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 10 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 11.11
เดือนมกราคม-เมษายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 35,755 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายนปีที่แล้วร้อยละ 36.30 แบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 26,277 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 42.46
o รถยนต์นั่ง จำนวน 25,583 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 652 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 5 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 34 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 152 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 310.81
• รถยนต์ 3 ล้อ มีทั้งสิ้น 29 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 73.39
o รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 9 คัน
o รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ จำนวน 20 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 9,059 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 31.56
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 9,057 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 2 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 107 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 84.78
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 131 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 147.17
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนเมษายน 2567
เดือนเมษายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 10,414 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 68.02 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 10,371 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 68.31
o รถยนต์นั่ง จำนวน 10,359 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 4 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 4 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 4 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 43 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 19.44
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 43 คัน
เดือนมกราคม-เมษายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 48,528 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายนปีที่แล้วร้อยละ 58.41 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 48,397 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 59.12
o รถยนต์นั่ง จำนวน 48,343 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 10 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 12 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 29 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 131 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 39.91
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 131 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนเมษายน 2567
เดือนเมษายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 639 คัน ลดลงจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 18.49 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 639 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 18.49
o รถยนต์นั่ง จำนวน 639 คัน
เดือนมกราคม-เมษายน 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 3,349 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายนปีที่แล้วร้อยละ 19.73 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 3,349 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ร้อยละ 19.73
o รถยนต์นั่ง จำนวน 3,347 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 2 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 167,334 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 187.38 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 115,901 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 260.32
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 114,251 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 258.38
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 1,255 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 425.10
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 62 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 463.64
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 93 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1,450
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์มีจำนวน 240 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 700
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 434 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 366.67
• รถยนต์ 3 ล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 921 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 53.50
o รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 88 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 31.34
o รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ มีจำนวน 833 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 56.29
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 47,116 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 101.57
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 46,986 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 101.82
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 130 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 38.30
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,527 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 31.96
o รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 435 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 450.63
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 391,714 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 35.06 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 382,563 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 36.18
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 381,669 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 36.18
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 485 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1.04
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 65 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 109.68
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 183 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 90.63
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 66.67
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์มีจำนวน 156 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 300
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,148 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.43
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,148 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.43
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 57,269 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 23.07 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 57,269 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 23.07
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 57,197 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 23.08
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 41 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 5.13
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 23 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 43.75
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเล็คทรอนิคส์มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 400
เรเว่ ออโตโมทีฟฯ ขยายคลังอะไหล่แห่งใหม่
บริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด ผู้จัดจําหน่าย และให้บริการหลังการขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้า BYD อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ภายใต้กลุ่มธุรกิจเรเว่ เปิดตัว Rever BYD Spare Parts Warehouse คลังอะไหล่รถยนต์ไฟฟ้า BYD แห่งใหม่ มุ่งรองรับบริการหลังการขายให้มีอะไหล่สำรองที่ครบครัน และระบบการจัดการที่รวดเร็ว ด้วยพื้นที่ 18,000 ตารางเมตร ใหญ่กว่าเดิมถึง 4.5 เท่า จัดเก็บอะไหล่มากกว่า 1 ล้านชิ้น ครอบคลุมอะไหล่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า BYD ทุกรุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทย ทั้งยานพาหนะส่วนบุคคล และเพื่อการพาณิชย์ พร้อมระบบการจัดการอะไหล่แบบใหม่ และการเบิกจ่ายที่รวดเร็ว พร้อมส่งมอบอะไหล่ให้ถึงศูนย์บริการภายในวันถัดไป [1] รองรับศูนย์บริการครอบคลุมทั่วประเทศภายในปีนี้ นอกจากนี้ ยังยกระดับความปลอดภัยของคลังอะไหล่ โดยจัดให้มีการคัดกรองเฉพาะบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึงพื้นที่
ประธานวงศ์ พรประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจเรเว่ กล่าวว่า คลังอะไหล่แห่งใหม่ของเรเว่ตั้งอยู่บนพื้นที่มากถึง 18,000 ตารางเมตร ซึ่งใหญ่กว่าคลังอะไหล่เดิมที่ใช้อยู่ถึง 4.5 เท่า รองรับการจัดเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ทุกชิ้นสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า BYD ทุกรุ่นที่จัดจำหน่ายแล้วในไทย ทั้งยานพาหนะส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น BYD Atto 3, BYD Dolphin และ BYD Seal ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ BYD T3, BYD E6 พร้อมด้วยรถบรรทุก และรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนรถยนต์ของ BYD รุ่นอื่นที่จะเข้ามาในอนาคต โดยที่คลังอะไหล่แห่งใหม่นี้ เราได้ออกแบบการจัดเก็บในแนวสูง และเพิ่มพื้นที่บนชั้นวาง จึงทำให้สามารถจัดเก็บอะไหล่สำรองจำนวนมากกว่า 1 ล้านชิ้น พร้อมทั้งพัฒนาระบบการจัดการอะไหล่รูปแบบใหม่ เพิ่มการดำเนินงานให้มีความคล่องตัวยิ่งกว่าที่เคย สร้างความมั่นใจถึงความพร้อมในการส่งมอบอะไหล่ได้ทันท่วงที เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า BYD หลังจากที่ประสบความสำเร็จก้าวเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยสามารถรองรับได้ทั้งกลุ่มลูกค้าในปัจุบัน และอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ "New Energy For All" ที่มุ่งยกระดับระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของไทย เพราะลูกค้า คือ คนสำคัญของเรา และเป็นส่วนสำคัญที่จะร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ NEV Nation ไปด้วยกัน
ประธานพร พรประภา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจเรเว่ กล่าวว่า หนึ่งในหัวใจสำคัญของเรเว่ คือ การสร้างความเชื่อมั่น และความอุ่นใจให้แก่ลูกค้า BYD รวมถึงส่งมอบประสบการณ์หลังการขายที่ดีตลอดระยะเวลาการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของเรา คลังอะไหล่แห่งใหม่นี้จะเป็นศูนย์กลางการเบิกจ่าย และกระจายสินค้าอะไหล่ให้แก่ศูนย์บริการทั่วประเทศที่มีมากกว่า 100 แห่ง ซึ่งจะช่วยยกระดับบริการหลังการขายให้มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายของเราที่ต้องการขยายศูนย์บริการให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคภายในปี 2567 นี้ ด้วยอะไหล่สำรองที่ครบครัน และจัดเก็บได้ในจำนวนที่มากกว่าเดิม พร้อมระบบการจัดการอะไหล่แบบใหม่ที่แม่นยำ และรวดเร็ว โดยการใช้เครื่อง Handheld สแกนบาร์โคดตั้งแต่ขั้นตอนการรับเข้าสินค้า นำสินค้าเข้าจุดจัดเก็บ และนำสินค้าออกจากระบบ รวมถึงนำเครื่อง Handheld มาใช้ในระบบนำอะไหล่ออกจากที่เก็บ เพื่อสแกนบาร์โคดก่อนบรรจุลงกล่อง เพื่อให้มีข้อมูลสินค้าที่อยู่ในกล่องอย่างครบถ้วน ซึ่งระบบใหม่นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้พร้อมส่งถึงผู้จำหน่ายเร็วกว่าเดิม รวมถึงกระบวนการเบิกจ่ายอะไหล่ เพื่อกระจายไปยังศูนย์บริการต่างๆ ทั่วประเทศในวันถัดไป การันตีการส่งมอบอะไหล่อย่างทันท่วงที ทำให้ลูกค้าสามารถนำรถกลับไปใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
คลังอะไหล่ Rever BYD Spare Parts Warehouse แห่งใหม่นี้ตั้งอยู่บนพื้นที่บางนา-ตราด มีการแบ่งพื้นที่จัดเก็บอย่างชัดเจนเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ โดยแบ่งพื้นที่คลังอะไหล่ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 Inbound area พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร รองรับตู้คอนเทเนอร์ได้ 25 ตู้คอนเทเนอร์
ส่วนที่ 2 Storage area พื้นที่ 12,000 ตารางเมตร แบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 โซน สามารถจัดเก็บอะไหล่ได้มากกว่า 1 ล้านชิ้น โดยแบ่งตามขนาด และประเภทของอะไหล่ ประกอบด้วย
โซนที่ 1 On Floor สำหรับจัดเก็บสินค้าอะไหล่ขนาดใหญ่
โซนที่ 2 Selective Rack สำหรับจัดเก็บอะไหล่ขนาดกลางที่สามารถนำขึ้นชั้นวางได้ โดยสามารถจัดเก็บสินค้าอะไหล่ขนาดกลางได้มากกว่า 1,500 พาเลท
โซนที่ 3 Medium Rack สำหรับจัดเก็บอะไหล่ขนาดเล็ก และขนาดกลาง โดยสามารถจัดเก็บสินค้าอะไหล่ได้มากกว่า 2,500 รายการ
โซนที่ 4 Battery Room เป็นพื้นที่ควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสำหรับ Blade Battery โดยเฉพาะ โดยควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอะไหล่ทุกชิ้นยังคงประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเบิกจ่ายไปใช้งานจริง และสามารถจัดเก็บแบทเตอรีได้มากถึง 240 ลูก
ส่วนที่ 3 Packing Area พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ใช้สำหรับบรรจุหีบห่อ และตรวจสอบสินค้าอะไหล่ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการจัดส่ง
ส่วนที่ 4 Outbound Area พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่สำหรับนำจ่ายสินค้าให้แก่ทีมขนส่ง
แบ่งออกเป็น 6 เส้นทาง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก อำนวยความสะดวกจัดส่งสินค้าอะไหล่ถึงศูนย์บริการทั่วประเทศได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยขนาดพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นถึง 4.5 เท่า การยกระดับศักยภาพการจัดเก็บ และบริหารคลังอะไหล่ การรักษาความปลอดภัย ประกอบกับการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาระบบการจัดการอะไหล่ขึ้นใหม่ เรเว่จึงมั่นใจว่าคลังอะไหล่แห่งนี้จะสร้างความเชื่อมั่น และความอุ่นใจให้แก่ทั้งผู้จำหน่าย และลูกค้า BYD ในประเทศไทย เกิดความคล่องตัวในกระบวนการส่งมอบอะไหล่ไปถึงตัวแทนผู้จัดจำหน่ายในแต่ละพื้นที่มากกว่า 100 แห่งได้เร็วกว่าที่เคย รองรับการเติบโตของยอดผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล และเชิงพาณิชย์ของ BYD และการขยายศูนย์บริการครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งจะเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของสังคมผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ต่อไปในอนาคต
“Omakase Car” จับมือ “Alpha X” เจาะเซกเมนท์ใหม่ระดับ Hi-End
กลุ่มตรีเพชร ร่วมมือกับ บริษัท อัลฟ่า เอกซ์ จำกัด (Alpha X) ผู้ให้บริการทางการเงินสำหรับพาหนะลักชัวรี ครอบคลุมรถยนต์, บิกไบค์, เรือยอชท์, เรือสันทนาการ และเครื่องบินส่วนตัว ภายใต้พันธ มิตรทางธุรกิจ และผู้ร่วมลงทุนจัดตั้ง ระหว่างบริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ MGC-Asia และบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX รุกตลาดรถหรู ผ่านการประมูลรถยนต์มือสองรูปแบบออนไลน์ ด้วยแอพพลิเคชันใหม่บนสมาร์ทโฟน “Omakase Cars Online Auction” พร้อมให้บริการรถหลากรุ่น หลายแบรนด์ จากบริษัทชั้นนำอย่างครบวงจร
วิชัย สินอนันต์พัฒน์ กรรมการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เผยว่า “Omakase Car” ได้ดำเนินธุรกิจขาย และประมูลรถมือสอง มาเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งด้านคุณภาพของตัวรถ และการให้บริการโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมือที่ทันสมัย และยังได้มอบความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า ผ่านการประมูลรูปแบบออนไลน์บนแอพพลิเคชันใหม่ “Omakase Cars Online Auction” โดยได้รับกระแสตอบรับอย่างดีเยี่ยมมีผู้สนใจดาวน์โหลดแอพพลิเคชันมากกว่า 13,000 ราย ในปีนี้ธุรกิจ “Omakase Car” ได้ต่อยอดความสำเร็จอีกขั้น ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่ม Hi-End ผนึกกำลังกับ Alpha X ผู้ให้บริการทางการเงินสำหรับยานพาหนะพรีเมียม-ลักชัวรี คัดสรรรถอย่างพิถีพิถันเพื่อตอบสนองลูกค้า สามารถประมูลรถที่มีคุณภาพในราคาที่ดี สะดวก รวดเร็ว และหลากหลายรุ่น หลากหลายแบรนด์ ในเวลาเดียวกัน ผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลรถอย่างละเอียดด้วยตัวเอง ไม่มีค่าใช้จ่ายดำเนินการในการประมูล และที่สำคัญลูกค้ายังมั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนนั้นเป็นการประมูลอย่างโปร่งใส เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นมิติใหม่ของการประมูลรถยนต์ ผ่านการให้บริการครบวงจร สร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่สะดวกสบาย สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มผู้บริโภค ตรงกับคอนเซพท์ “สะดวก โปร่งใส ไว้ใจ Omakase Cars Online Auction"
วศิน ไสยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลฟ่า เอกซ์ จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ “Omakase Car” ผู้ให้บริการแอพพลิเคชันเพื่อการประมูลรถ ยนต์มือสองแบบออนไลน์บนสมาร์ทโฟน “Omakase Cars Online Auction” มีความมั่นใจในพแลทฟอร์มของ Omakase ที่ตอบสนองลูกค้าให้เข้าถึงการประมูลรถได้อย่างคล่องตัวพร้อมรายละ เอียดของรถยนต์ที่ชัดเจน ผ่านขั้นตอนที่โปร่งใส สะดวกสบาย และนอกจากนี้ หากลูกค้ามีความสนใจที่จะซื้อ-ขาย หรือแลกเปลี่ยนรถยนต์ในอนาคต Alpha X สามารถมอบประสบการณ์แสนพิเศษ ในการให้บริการได้ครบจบในที่เดียวกับ Omakase แอพพลิเคชัน
ปัจจุบัน “Omakase Car” มีทั้งหมด 8 สาขาทั่วประเทศ ดังนี้
กรุงเทพฯ และปริมณฑล : สาขางามวงศ์วาน, สาขาเกษตร-นวมินทร์ และสาขาบางใหญ่
ต่างจังหวัด : สาขากลางดง และสาขาปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา, สาขาวังมะนาว จังหวัดเพชรบุรี, สาขาท่าพระ จังหวัดขอนแก่น, สาขาบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย
สาขาใหม่ล่าสุดที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า มีแผนจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ คือ ที่สาขาท่าพระ จังหวัดขอนแก่น และสาขาบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย ในเดือนพฤษภาคม 2567 รวมถึงการประมูลรถยนต์มือสองออนไลน์รูปแบบใหม่ผ่านทางแอพพลิเคชันใหม่บนสมาร์ทโฟน “Omakase Cars Online Auction” สร้างความแตกต่าง และยกระดับการซื้อ-ขายรถยนต์มือสองในรูปแบบการประมูลออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชัน สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าในการเข้าถึงรถ Isuzu มือสอง รวมถึงรถหลากหลายรุ่น หลากหลายแบรนด์ที่มีคุณภาพได้ในราคาที่ดี สะดวก รวดเร็ว ผ่านการประมูลอย่างโปร่งใส
รถที่นำมาประมูลนั้น ได้ผ่านขั้นตอนการคัดรถยนต์จากแหล่งที่เชื่อถือได้จากบริษัทฯ และสถาบันการเงินชั้นนำ ผ่านการจัดเกรดรถที่มีมาตรฐานโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ ตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุงย้อนหลังจากศูนย์บริการมาตรฐาน Isuzu ก่อนนำรถเข้าสู่กระบวนการตรวจเชคสภาพกว่า 220 รายการ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อตรวจเชคการทำงานของระบบรถยนต์ และอุปกรณ์ต่างๆ และบริการหลังการขายครบวงจร
Cockpit เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา
Cockpit ศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร Fast Fit ภายใต้การบริหารงานโดย บริษัท บริดจสโตนเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง สู่เป้าหมายการเป็นหนึ่งในใจของลูกค้าด้านมาตรฐานสินค้า และการให้บริการ ในปีนี้รุกขยายกลุ่มเป้าหมายโดยเจาะลูกค้ากลุ่ม Gen Y และ Gen Z พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่ต้องการความทันสมัย และครบครันของการใช้บริการกับศูนย์บริการรถยนต์ โดย Cockpit เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาล่าสุด ดึง “ลุค อิชิคาวา” นายแบบ และนักแสดงสุดฮอท ตัวแทนของกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์ซึ่งมาร่วมถ่ายทอดสโลแกน “คุ้มครบไว อุ่นใจที่ Cockpit” และส่งต่อแนวคิด จุดแข็ง รวมถึงภาพลักษณ์การให้บริการที่โดนใจคนรุ่นใหม่ของ Cockpit ในฐานะเพื่อนรู้ใจที่พร้อมจะอยู่คู่ชีวิตรถยนต์ตลอดการเดินทาง
ภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่นี้จะเปิดตัวทางโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ด้วยการสื่อสารเพื่อเน้นย้ำสโลแกน “คุ้มครบไว อุ่นใจที่ Cockpit” พร้อมนำเสนอภาพลักษณ์ที่ทันสมัยด้วยมาตรฐานสินค้า และการให้บริการจากทีมงาน และทีมช่างมืออาชีพกว่า 270 สาขาทั่วประเทศ ในฐานะที่เป็นศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจรที่เข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่เพื่อให้อุ่นใจ และมั่นใจทุกครั้งผ่านการนำเสนอโซลูชัน โปรโมชัน ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงการบริการด้านรถยนต์ครอบคลุมทุกๆ ด้าน ด้วยเวลาที่รวดเร็วจากการให้บริการในราคาที่เหมาะสม และคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของลูกค้าตามวิสัยทัศน์ของ Cockpit คือ การเป็นศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจรที่พร้อมจะอยู่คู่ชีวิตรถคุณตลอดการเดินทาง หรือ “Total Car Life Partner” โดยภารกิจของเรา คือ “ทำให้ทุกการเดินทางของคุณมีความสุข และปลอดภัยไปด้วยกัน” ผ่านการชูไฮไลท์สำคัญ ดังนี้
คุ้ม: ด้วยการนำเสนอโปรโมชันดีๆ สำหรับการให้บริการรถยนต์ที่คุ้มค่า และมีให้เลือกมากมาย
ครบ: ด้วยบริการเปลี่ยนยางรถยนต์หลากหลายรุ่นภายใต้แบรนด์หลัก Bridgestone, Firestone และ Dayton ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน นอกจากนี้ Cockpit ยังให้บริการด้านอื่นๆ ที่ครบวงจรเพื่อรถ ยนต์ ได้แก่ น้ำมันเครื่อง เบรค ชอคอับ แบทเตอรี และการบำรุงรักษารถยนต์
ไว: ด้วยการให้บริการที่พร้อมให้ลูกค้าไม่ต้องรอนาน เพราะ Cockpit เข้าใจดีว่าเวลาของลูกค้ามีค่าเสมอ
อุ่นใจที่ Cockpit : ด้วยการให้บริการจากทีมงาน และทีมช่างมืออาชีพ พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ครบครัน นอกจากนี้ ยังบริการเคลมยางให้ฟรี ! ให้ลูกค้าได้หายห่วง และไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน Cockpit พร้อมจะดูแลรถยนต์ของลูกค้าผ่าน 270 สาขาทั่วประเทศ
ปตท. เผยผลประกอบการไตรมาส 1/67
ปตท. เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 28,968 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,113 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.0 จากกำไรสุทธิจำนวน 27,855 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2566
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 28,968 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,113 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.0 จากกำไรสุทธิจำนวน 27,855 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2566 โดยกำไรสุทธิส่วนใหญ่มาจากผลการดำเนินงานของบริษัทในเครือ ปตท. ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ประกอบด้วย ธุรกิจสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม 44 % ธุรกิจใหม่ และโครงสร้างพื้นฐาน และบริษัทย่อยอื่นๆ 39 % กลุ่มธุรกิจน้ำมัน และค้าปลีก 10 % และธุรกิจปิโตร เคมี และการกลั่น 5 % และมาจากผลการดำเนินงานของ ปตท. คิดเป็น 2 % ซึ่งลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2566 ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2567 ปตท. ได้มีการลงทุนเพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยราว 6,000 ล้านบาท โดยหลักจากการลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทางด้านพลังงาน เช่น ท่อส่งแกสธรรมชาติ และโรงแยกแกสธรรมชาติ นอกจากนี้ ไตรมาสแรกของปี 2567 ปตท. นำเงินส่งรัฐในรูปแบบของภาษีเงินได้รวมกลุ่ม ปตท. เป็นจำนวน 10,600 ล้านบาท
ปตท. ยึดมั่นพันธกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่การเติบโตระดับโลก พร้อมร่วมพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของคนไทยให้เติบโตอย่างยั่ง ยืนไปด้วยกัน โดยไตรมาส 1 ที่ผ่านมา บริษัท แพลนท์ แอนด์ บีน ประเทศไทย (Plant & Bean (Thailand) ผู้ผลิต และจำหน่ายอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-Based food) ภายใต้ บริษัท นิวทรา รีเจนเนอเรทีฟ โปรตีน จำกัด (Nutra Regenerative Protein Co. Ltd: NRPT) บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (อินโนบิก) (บริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้น 100 %) และบริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด (บริษัทย่อยของบริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน): NRF) ได้ผ่านการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยอาหารสากล “BRC Global Food Safety Standard (Issue 9): BRC” ในระดับ Grade A และได้รับการรับรองมาตรฐาน BRCGS Plant-Based ด้านการผลิต และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชเป็นบริษัทแรกในภูมิภาคอาเซียน ต่อยอดธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ นอกจากนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2583 และการปล่อยแกสเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593 ปตท. ได้ปลูกป่าไปแล้วกว่า 86,000 ไร่ ตั้งแต่ปี 2566 และล่าสุดได้ดำเนิน “โครงการปรับภูมิทัศน์ @ คลองเปรมประชากร” ร่วมสร้างพื้นที่สีเขียวกว่า 10 ไร่ ให้เป็นสวนเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
“ตลอดระยะเวลา 45 ปี ปตท. มุ่งมั่นรักษาเสถียรภาพ และความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย เป็นพลังที่ส่งต่อ สู่วันพรุ่งนี้ที่ยั่งยืน ของคนไทยทุกคน”