สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดตัวนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย พร้อมด้วยอุป นายกสมาคมฯ หวังผลักดัน ต่อยอด ส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้เติบโต พร้อมดันไทยเป็นศูนย์กลาง การผลิต EV ส่งออกอันดับต้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะทำงานชุดใหม่ของสมาคมยานยนต์ไฟ ฟ้า มีวาระนับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง 2 ปี ตั้งเเต่วันที่ 13 กรกฎาคม พศ. 2567 ได้แก่ สุโรจน์ เเสงสนิท นายกสมาคมฯ ผศ.ดร. อุเทน สุปัตติ อุปนายกฯ ฝ่ายวิชาการ และการพัฒนาบุคลากร, สยามณัฐ พนัสสรณ์ อุปนายกฯ ฝ่ายอุตสาหกรรม และการพัฒ นาธุรกิจ, จาตุรงค์ สุริยาศศิน อุปนายกฯ ฝ่ายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และธมลวรรณ ชลประทิน อุปนายกฯ ฝ่ายการสื่อ สาร และประชาสัมพันธ์
สุโรจน์ เเสงสนิท เผยว่า ผม พร้อมด้วย คณะกรรมการสมาคม และสมาชิกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยทุกๆ ท่านที่มอบความไว้วางใจให้กระผมดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ ซึ่งหน้าที่ และภารกิจสำคัญที่เราต้องการพุ่งเป้า หลังจากที่กระผมได้รับตำ แหน่งมานี้ คือ การโฟคัสที่การพัฒนา และผลักดัน อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ในห่วงโซ่อุปทาน เป็นภารกิจ และพันธกิจสำคัญที่ผมอยากเห็นอนาคตที่ไทยจะกลายเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ที่เป็นเทค โนโลยีเเห่งอนาคต นำมาสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่แรงงานไทย และพร้อมต่อยอดทักษะบุคลากรในประเทศให้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต การพัฒนา และการซ่อมบำ รุงยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านการเป็นพันธมิตรกับองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยยังมีพื้นที่การเติบโตไปได้ไกลอีกมาก หากได้รับการสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดัน จากทุกๆภาคส่วน และทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย พร้อมเป็นองค์กรในการประสานความร่วมมือในด้านต่างๆ กับองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศอย่างยั่งยืน และต่อยอดสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ที่เเข็งแรง
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุเทน สุปัตติ อุปนายกฯ ฝ่ายวิชาการ และการพัฒนาบุค ลากร กล่าวว่า การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการเสริมสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต และส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยพร้อมที่จะสนับสนุน และผลักดันให้บุคลากรในอุตสาหกรรมมีทักษะ และความเชี่ยวชาญที่ทันสมัย เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม และสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในตลาดโลกอย่างยั่งยืน
สยามณัฐ พนัสสรณ์ อุปนายกฯ ฝ่ายอุตสาห กรรม และการพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า สมาคมฯ สนับสนุนนโยบาย 30@30 ของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด หรือแม้แต่การส่งเสริมเชื้อเพลิง Biofuel ล้วนมีส่วนในการลดการปล่อยแกสเรือนกระจก ยิ่งไปกว่านั้นสมาคมฯ มีพันธกิจสำคัญต่อเนื่อง คือ การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถ ยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการใช้ชิ้นส่วน และซัพ พลายเชนในประเทศไทย หวังว่าวันหนึ่งประ เทศไทยจะเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อการส่งออก ให้เป็น Product Cham pion สร้างรายได้ให้ประเทศเช่นเดียวกับรถพิคอัพ สมาคมฯ ได้เริ่มหารือกับ BOI และสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) ในการส่งเสริมการผลิตดังกล่าว นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังร่วมมือกับ BOI ในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่สนใจมาลงทุนในธุรกิจ EV หรือ Ecosystem อีกด้วย
จาตุรงค์ สุริยาศศิน อุปนายกฯ ฝ่ายการพัฒ นาโครงสร้างพื้นฐาน เผยว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาห กรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เป็นสิ่งที่เราต้องทำ เมื่อมีความต้องการจากผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ดังจะเห็นได้จากข้อมูลการเติบโตของจำนวนผู้ใช้โครง สร้างพื้นฐานต่างๆที่รองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ล้วนเป็นสิ่งจำเป็น ภารกิจ และภาระหน้าที่ของสมาคมฯ คือ การผลักดันสิ่งอำ นวยความสะดวกให้เกิดขึ้นในประเทศ และสนับสนุน พร้อมผลักดันนโยบายที่ยืดหยุ่นให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวนี้ ได้พัฒนา ต่อยอด และสร้างประโยชน์ในห่วงโซ่อุปทานภายในประ เทศให้เติบโตอย่างมั่นคง
ธมลวรรณ ชลประทิน อุปนายกฯ ฝ่ายการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟ ฟ้า ภารกิจหลักของสมาคมฯ คือ การรวบ รวม และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประ ชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รุ่น และราคา สถานีชาร์จไฟฟ้าที่มีจำนวน และตำแหน่งที่ครอบคลุมทั่วประ เทศ รวมถึงการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมารยาทในการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า ข้อมูลเหล่านี้จะถูกเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ของสมาคม เช่น Directory เวบไซท์โซเชียลมีเดีย และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ และพันธกิจของสมาคมยานยนต์ไฟ ฟ้าไทย