โอซากา และ ฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น-บริษัท พานาโซนิค เอเนอร์จี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มพานาโซนิค และมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศว่า ทั้ง 2 บริษัทได้เตรียมความพร้อมสำหรับการผลิตแบทเตอรีลิเธียม-ไอออน ชนิดรูปทรงกระบอกสำหรับยนตรกรรมแห่งอนาคตในเจเนอเรชันถัดไป ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งในยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตของ Mazda (มาซดา) (BEVs) โดยมีกำหนดเปิดตัวนับตั้งแต่ปี 2027 เป็นต้นไป ซึ่งการประกาศในครั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงของความร่วมมือก่อนหน้านี้ และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อความร่วมมือในระยะกลางถึงระยะยาวของทั้ง 2 บริษัท ทั้งนี้ กระ ทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น ได้อนุมัติโครงการความร่วมของทั้ง 2 บริษัทในการขยายกำลังการผลิตแบทเตอรี และการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างแหล่งผลิตแบทเตอรีที่มั่นคง และยั่งยืนในอนาคต
มาซาฮิโระ โมโร ประธาน และซีอีโอ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และคาซูโอะ ทาดาโนบุ ประธาน และซีอีโอ บริษัท พานาโซนิค เอเนอร์จี จำกัด เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะกลาง Sustain able Zoom-Zoom 2030 เพื่อโลกของเราที่ยังคงความสวยงามตลอดไป เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนให้มีความสุขยิ่งขึ้น และเพื่อสังคมที่น่าอยู่ตลอดไป Mazda ได้แบ่งแผนงานการพัฒนาการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าออกเป็น 3 เฟส เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงตามกลไกของตลาด และความต้องการของลูกค้า ซึ่งภายในปี 2027 Mazda วางแผนเตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟ ฟ้ารุ่นใหม่ (BEVs) ที่พัฒนาขึ้นจากพแลทฟอร์ม EV ที่ออกแบบเฉพาะขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ บริษัท พาโนโซนิค เอเนอร์จี จำกัด ตั้งเป้าที่จะเพิ่มกำลังการผลิตและมีแผนที่จะผลิตแบทเตอรีลิเธียม-ไอ ออน ชนิดรูปทรงกระบอกขึ้นที่โรงงาน ซูมิโนเอะ และคาอิซูกะ ในเมืองโอซากา เริ่มตั้งแต่ปี 2027 เป็นต้นไป โดยแบทเตอรีเหล่านี้จะถูกบรรจุเป็นโมดูลโดยพานาโซนิค เอเนอร์จีฯ และ Mazda ร่วมมือพัฒนาแบทเตอรีใหม่ และสำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ พานาโซนิค เอเนอร์จีฯ ได้วางกำลังการผลิตในประเทศญี่ปุ่นที่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ปี ภายในปี 2030
ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดให้แบทเตอรีสำหรับเก็บพลังงานไฟฟ้าเป็นทรัพย์สินเชิงกลยุทธ์ เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และกำลังมุ่งหน้าขยายห่วงโซ่อุปทานของแบทเตอ รีภายในประเทศ รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ จากความร่วมมือระหว่างMazda และพานาโซนิค เอเนอร์จีฯ ในครั้งนี้ จึงถือเป็นการช่วยเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานแบทเตอรีลิเธียม-ไอออน ชนิดรูปทรงกระบอกในประเทศ พร้อมทั้งขยาย และเสริมสร้างฐานการผลิตของญี่ปุ่นอีกด้วย
โดยทั้ง 2 บริษัทจะยังคงร่วมมือกันต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม เช่น การบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ และแบทเตอรี การสนับสนุนการจ้างงานในท้องถิ่น และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
คาซูโอะ ทาดาโนบุ ประธาน และซีอีโอ บริษัท พานาโซนิค เอเนอร์จี จำกัด กล่าวว่า ด้วยความร่วมมือในครั้งนี้ เรามีแนวโน้มที่จะขับเคลื่อนการขยายกำลังการผลิต BEVs และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแบทเตอรีของญี่ปุ่น ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของเรา คือ การสร้างสังคมที่ยั่งยืน และเรามุ่งมั่นที่จะบรรลุพันธกิจนี้
มาซาฮิโระ โมโร ประธาน และซีอีโอของ Mazda กล่าวเสริมว่า Mazda มุ่งมั่นที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน และกำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานไฟฟ้าด้วยแนวทางที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการ และวิถีชีวิตของลูกค้า เราจะใช้ประโยชน์จากแบทเตอรีที่มีประสิทธิภาพสูง มีประสิทธิภาพดี และปลอดภัย ซึ่งจัดหาโดยพานาโซนิค เอเนอร์จีฯ และนำเสนอรถยนต์ไฟ ฟ้าของ Mazda ที่เอกลักษณ์ และมีความสมดุลระหว่างการออกแบบ ความสะดวกสบาย และระยะทางในการขับขี่เพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้าของเรา
อ้างอิง
แผนการจัดหาแบทเตอรีลิเธียม-ไอออนที่ได้รับการอนุมัติโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น
รายการที่ผลิต |
แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนรูปทรงกระบอกสำหรับรถยนต์ |
ความสามารถในการผลิต |
6.5 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ปี (ตามที่คาดการณ์ไว้ในปี 2030; ส่วนกำลังการผลิตเพิ่มเติม) |
เงินลงทุนทั้งหมด |
ประมาณ 83.3 พันล้านเยน |
การสนับสนุนด้านการเงิน |
ประมาณ 28.3 พันล้านเยน (สูงสุด) |
กิจกรรม |
การจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานการผลิต การแนะนำ พัฒนา และปรับปรุงเทคโนโล ยีการผลิต |
ข้อมูลข้างต้นรวมถึงจำนวนเงินลงทุน เงินสนับสนุนของ พานาโซนิค เอเนอร์จีฯ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาอื่นๆ นอกเหนือจากความร่วมมือนี้