เฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น (Federal Express Corporation) หนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมผลักดันเป้าหมายความสำเร็จในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าปลอดมลพิษ ประ กาศส่งรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 4 คัน เข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย โดยการดำเนินการครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาปฏิบัติงานครั้งแรกในปี 2565 ซึ่งนับเป็นหนึ่งในความพยายามของบริษัทฯ ในการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้สำหรับการบริการรับ-ส่งพัสดุ (PUD) ทั้งหมดภายในปี 2583
ศศธร ภาสภิญโญ กรรมการผู้จัดการ FedEx ประเทศไทย กล่าววว่า FedEx ตอกย้ำเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ เดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนทั่วโลกภายในปี 2583 ซึ่งการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าในปีที่ผ่านมานี้ นับเป็นก้าวสำคัญในแผนการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อไป ซึ่งการนำรถยนต์ไฟฟ้าชุดใหม่จะมุ่งเน้นไปที่การบริ การรับ-ส่งพัสดุในกรุงเทพฯ และปทุมธานี ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นหลัก ได้แก่ ถนนแจ้งวัฒนะ, ติวานนท์, ลาดพร้าว, รามอินทรา, งามวงศ์วาน, ประเสริฐมนูกิจ, สุคนธสวัสดิ์, ธรรม ศาสตร์ และเชียงราก ด้วยระยะวิ่งสูงสุด 275 กม./การชาร์จเต็ม 1 ครั้ง เพื่อให้การขนส่งถึงมือผู้รับปลายทาง (Last-Mile Delivery) เป็นไปอย่างง่ายดาย และสะดวกยิ่งขึ้น
ตั้งแต่เริ่มให้บริการจนถึงเดือนสิงหาคม ปี 2567 ที่ผ่านมา รถยนต์ไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมของ FedEx ช่วยลดการปล่อยแกสคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ลงกว่า 153.06 เมตริกตัน และคาดว่าจะลดลงอีกถึง 27.51 เมตริกตัน/ปี หลังการส่งรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 4 คันเข้าให้บริการในประเทศไทย โดยคำนวณจากระยะวิ่งตามเส้นทางขนส่งเมื่อเทียบกับการใช้รถยนต์ดีเซลตามปกติ
“การเติบโตอย่างรวดเร็วของกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ศมีส่วนช่วยผลักดันให้เราปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความยั่งยืนมากขึ้น เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินการขนส่งด้วยรถยนต์ไฟฟ้า จะช่วยสร้างผลประ โยชน์ระยะยาวในการลดแกสคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมทั้งส่งมอบการบริการที่ดี และยั่งยืนมากกว่าที่เคยให้แก่ลูกค้าชาวไทยของเราต่อไป”
นอกจากนี้ FedEx ต่อยอดวิสัยทัศน์รัฐบาลไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน และเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ควบคู่กับเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2593 และการปล่อยแกสเรือนกระจกเป็นศูนย์ ในปี 2608 ทางบริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการเพื่อยกระดับการปฏิบัติงาน อาทิ การใช้รถยกไฟฟ้าภายในศูนย์บริการ การติดตั้งไฟ LED ประหยัดพลังงาน และการใช้เข็มขัดรัดสินค้าแทนการรัดห่อด้วยฟีล์ม และในปี 2566 FedEx ประเทศไทย ร่วมมือกับ บริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี (N15 Technology) ผ่านโครงการขยะกำพร้าสัญจร (Orphan Waste) นำขยะรีไซเคิลจากการขนส่งกว่า 3,500 กก. ได้แก่ พลาสติคห่อพัสดุ สติคเกอร์ติดฉลาก และแกนกระดาษ มาคัดแยก และแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse-Derived Fuel: RDF) ด้วยเตาเผาปูนซีเมนท์ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกของการบริหารจัดการขยะเพื่อลดการส่งขยะไปยังหลุมฝังกลบ อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยแกสเรือนกระจกอย่างแกสมีเทน
FedEx ยังเปิดตัวเครื่องมือการติดตามปริมาณการปล่อยแกสเรือนกระจก (FedEx Sustainability Insights) ในประเทศไทย โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลการปล่อยแกสเรือนกระจกจากการจัดส่งพัสดุที่ผ่านมากับ FedEx ได้ในบัญชีของตน พร้อมนำข้อมูลดังกล่าวมาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจสำหรับตัวเลือกการจัดส่งครั้งถัดไป เพื่อช่วยลดผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดกับสิ่งแวดล้อม