ข่าวจากสหรัฐอเมริกา ระบุว่า รายงานจาก Mitchell International ผู้ให้บริการด้านการคิดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ และประเมินค่าซ่อมรถที่เสียหายจากการชน แจ้งว่าค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่เสียหายจากอุบัติเหตุการชนนั้น รถไฟฟ้ามีค่าซ่อมสูงกว่ารถเครื่องยนต์สันดาปภายใน
อ้างรายงานไตรมาสที่ 2 ปี 2567 บริษัทประกันภัยแจ้งว่าทั้งรถไฟฟ้า และรถเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ผลิตในปี 2564 ประสบอุบัติเหตุเสียหายจนถึงระดับไม่คุ้มค่าที่จะซ่อม มีอัตราส่วนใกล้เคียงกัน โดยเป็นรถไฟฟ้า 9.16 % และรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน 9.45 %
แม้รถไฟฟ้าจะไม่เกิดความเสียหายทั้งคัน ยังมีค่าซ่อมแพงกว่ารถเครื่องยนต์สันดาปภายในถึง 20 % โดยในไตรมาสที่ 2 มีรายงานค่าซ่อมรถไฟฟ้าเฉลี่ยที่ 5,753 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน 4,806 เหรียญสหรัฐฯ ค่าซ่อมรถไฮบริดที่ 4,726 เหรียญสหรัฐฯ และรถพลัก-อิน ไฮบริด 5,059 เหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากใช้แพคแบทเตอรีขนาดใหญ่กว่า
ทั้งพบว่าช่วงเวลานั้นมีอัตราการเคลมเพิ่มขึ้น 45 % อาจเป็นเพราะมีอัตราส่วนรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนการชนของรถไฟฟ้ามากขึ้น การมีรถไฟฟ้ารุ่นใหม่หลายรุ่น การซ่อมส่วนใหญ่มักจะใช้อะไหล่ OEM ทำให้เกิดค่าซ่อมถึง 89 % ส่วนค่าซ่อมรถเครื่องยนต์สันดาปภายในอยู่ที่ 65 %
การซ่อมโครงสร้างรถไฟฟ้ามีอัตราส่วนน้อยกว่า เนื่องจากรถไฟฟ้ามีน้ำหนักมาก และแพคแบทเตอรีช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างรถมากขึ้น อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้ายังต้องใช้เวลาในการซ่อมที่ 8.18 % ส่วนรถเครื่องยนต์สันดาปภายในใช้เวลาซ่อมอยู่ที่ 5.21 %
จากรายงานล่าสุด เมื่อเทียบกับรายงานของ Mitchell ในปีที่ 2566 สรุปได้ว่า ค่าซ่อมรถไฟฟ้าแพงกว่ารถเครื่องยนต์สันดาปภายในเฉลี่ย 963 เหรียญสหรัฐฯ บริษัท Hertz กล่าวว่า ค่าซ่อมรถไฟฟ้ามีราคาสูง จึงทำให้แผนการเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าล่าช้าลง ทั้งทำให้ปัจจุบันเบี้ยประกันของรถไฟฟ้ามีราคาแพงกว่ารถไฮบริด